กล่องสืบค้นอยู่ทางด้านซ้ายมือหรือด้านบนขวาจะนำคุณยังบทความที่คุณสงสัยหากบทความนั้นมีอยู่ หากไม่มีบทความนั้น การสืบค้นจะปรากฏรายการค้นหาแทน ถ้าคุณต้องการแสดงผลการค้นหาเท่านั้น คลิกที่ไอคอน สืบค้น ที่อยู่ถัดจากไอคอน ไป เมื่อที่จะนำคุณไปสู่หน้าค้นหา

หน้าผลการสืบค้น

การสืบค้นโดยปริยายจะสามารถใช้ได้กับเมนสเปซซึ่งเก็บรวบรวมบทความอยู่เท่านั้น เมื่อคุณค้นหาบทความ กล่องที่อยู่ด้านขวามือของรายการค้นหาจะแสดงผลการค้าหาที่ใกล้เคียงที่สุดจากโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย อย่างเช่น วิกิพจนานุกรม วิกิซอร์ซ และวิกิตำรา หน้าเนื้อหาประเภทอื่นสามารถค้าหาได้โดยการเลือกตัวเลือกจากกล่องประเภทการค้นสีเทาที่อยู่ด้านล่างของกล่องป้อนคำสืบค้น

หากคุณเลือก มัลติมีเดีย คุณจะสามารถค้นหาภาพ วิดีโอ และเพลงซึ่งเก็บอยู่บนวิกิพีเดียหรือวิกิมีเดียคอมมอนส์ ตัวเลือกนี้จะค้นหาชื่อไฟล์และคำอธิบายไฟล์

หากคุณเลือก วิธีใช้และหน้าโครงการ คุณจะสามารถค้นหาเนมสเปซ "วิธีใช้" และ "วิกิพีเดีย" เนมสเปซดังกล่าวรวบรวมหน้าวิธีใช้ นโยบายและแนวปฏิบัติวิกิพีเดีย และหน้าทั้งหมดซึ่งใช้สำหรับการบริหารและการบำรุงรักษาไซต์ หากคุณมีคำถามที่เจาะจงเกี่ยวกับวิกิพีเดีย คุณสามารถหาที่ที่ถูกต้องสำหรับถามคำถามได้ที่ วิกิพีเดีย:ถามคำถาม

หากคุณเลือก ทุกสิ่งทั้งหมด คุณจะสามารถค้นหาเนมสเปซทั้งหมด

ในการค้นหาสับเซตของเนมสเปซทั้งหมด ' วิธีการที่เร็วกว่าในการค้นหาเนมสเปซประเภทใดประเภทหนึ่งคือการพิมพ์ชื่อเนมสเปซนั้น ตามด้วยโคลอน (:) และตามด้วยคำค้นหาในกล่องค้นหา ยกตัวอย่างเช่น วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ จะแสดงรายการค้นหาสำหรับ "การพิสูจน์ยืนยันได้" ในเนมสเปซวิกิพีเดีย

ผู้ใช้ลงทะเบียนสามารถปรับเปลี่ยนค่าโดยปริยายประเภทของเนมสเ]]

หน้านำทาง

หน้านำทางจะพยายามจะนำคุณไปยังบทความที่คุณต้องการหาอย่างถูกต้อง ในการค้นหาหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง คุณอาจพบกับหน้าซึ่งมีจุดประสงค์ดังกล่าวได้ 2 ประเภท

หน้าแก้ความกำกวม

คุณอาจใส่คำค้นหาลงไป (ตัวอย่างเช่น อังกฤษ ซึ่งคุณจะเห็นว่าหน้าดังกล่าวได้แสดงรายการบทความจำนวนหนึ่งที่อาจตรงกับสิ่งที่คุณต้องการหมายถึง เนื่องจากมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน นี่เป็นหน้าประเภท "แก้ความกำกวม" และเป็นหน้าที่ทำให้คุณสามารถทำการค้นหาได้ง่ายขึ้น เช่น หน้าที่ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องเดาวลีที่ตรงทุกตัวอักษรที่จำเป็นต้องใช้ในการระบุหน้าที่คุณต้องการจะหมายถึง

การเปลี่ยนทาง

หัวเรื่องบางเรื่องสามารถอ้างอิงถึงได้ในหลายชื่อ อย่างเช่น สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว อาจเรียกได้ว่า บี้ สุกฤษฎิ์ หรือ บี้ เดอะสตาร์ เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้ในบทความจำนวนมากพอสมควร การค้นหาจะได้รับการจัดเตรียมเพื่อที่ว่าเมื่อคุณสืบค้นโดยใช้คำค้นอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น คุณก็จะยังได้รับข้อมูลในที่ที่เหมาะสม

ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนทางแล้ว คุณก็จะต้องสืบค้นวลีที่ไม่ได้มีการจัดเตรียมในการเปลี่ยนทางมายังบทความที่มีอยู่ (และคุณจะต้องเสียเวลาในการค้นหาบทความที่คุณต้องการในรายการค้นหา) ในกรณีดังกล่าว: คุณอาจดูรายการสืบค้นเพื่อหาหัวเรือ่งที่เหมาะสม, พยายามสืบค้นรูปแบบการสะกดหรือชื่ออื่นของหัวเรื่องเดียวกัน หรือพยายามสืบค้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ "สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว"

เมื่อคุณพบเนื้อหาที่คุณกำลังมองหาอยู่แล้ว พึงพิจารณาเพิ่มหน้าเปลี่ยนทางสำหรับคำค้นที่คุณได้พยายามสืบค้นไปก่อนหน้า แต่ไม่ได้นำไปยังบทความที่คุณต้องการ เมื่อคุณสร้างหน้าเปลี่ยนทาง คุณก็จะช่วยให้การค้นหาหัวเรื่องเดียวกันของผู้ที่สนใจรายต่อไปง่ายขึ้นอีกมาก (เช่น คุณอาจสร้างหน้า บี้ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว เพื่อลิงก์ไปยัง สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว เป็นต้น)

ฟีเจอร์ของโปรแกรมค้นหา

ฟีเจอร์ดังกล่าวสามารถใช้ได้กับการค้นหาในวิกิพีเดีย:

  • วลีในเครื่องหมายอัญประกาศเปิด-ปิด – คุณสามารถสืบค้นวลีได้โดยการใส่เครื่องหมายอัญประกาศ เช่น "holly dolly" จะได้รายการสืบค้นน้อยกว่า holly dolly
  • การค้นหาแบบบูลีน (boolean) – โดยปริยายเฉพาะในโปรแกรมสืบค้นขนาดใหญ่ทั้งหมดเท่านั้นที่ "AND" สามารถใช้ได้กับคำค้นทุกคำ คำค้นดังกล่าวสามารถใช้ได้กับเครื่องหมาย - ยกตัวอย่างเช่น วินโดวส์ -วิสตา หรือ "OR" วินโดวส์ OR วิสตา (พึงระลึกว่าคุณจะต้องจัด OR ให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ)
  • การค้นหาแบบไวล์คาร์ด (wildcard) – ไวล์คาร์ด (ตัวอักษรซึ่งแทนที่ตัวอักษรใด ๆ หรือข้อความที่ไม่รู้หรือไม่สามารถระบุอย่างเจาะจงได้) อย่างเช่น **สถาน จะให้คำค้นหาอย่าง ประเทศอัฟกานิสถาน และรัฐราชสถาน เป็นต้น
  • Fuzzy search – คุณสามารถเพิ่มเครื่องหมายทิลดา (~) ท้ายคำใด ๆ ซึ่งอาจตรงกับคำที่สะกดใกล้เคียงกัน (กล่าวคือ คุณสามารถค้นหาชื่อที่ถูกต้องได้ แม้ว่าคุณจะสะกดผิดก็ตาม) ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณค้นหาด้วยคำว่า เจมส์~ วัตต์~ รายการสืบค้นของคุณจะมีเจมส์ วัตต์, เจมส์ ดี. วัตสัน และธีโอ วัลคอตต์ เป็นต้น
  • intitle: - การใช้พารามิเตอร์ intitle: ผลการสืบค้นจะถูกทำให้แคบลงโดยหัวเรื่อง พารามิเตอร์ intitle: สามารถวางได้ตรงจุดใดก็ได้ในชื่อเรื่อง ยกตัวอย่างการสืบค้นโดยใช้ intitle:
คำค้น ผลการสืบค้น
intitle:สนามบิน บทความทั้งหมดที่มีคำว่า "สนามบิน" อยู่ในชื่อบทความ
รันเวย์ intitle:ท่าอากาศยาน บทความทั้งหมดที่มีคำว่า "ท่าอากาศยาน" อยู่ในชื่อบทความ และเนื้อหามีคำว่า "รันเวย์"
intitle:ท่าอากาศยานนานาชาติ บทความทั้งหมดที่มีคำว่า "ท่าอากาศยานนานาชาติ" อยู่ในชื่อ (ตรงตามตัวอักษร)
  • incategory: – การใช้พารามิเตอร์ incategory: จะให้ผลการค้นหาในหมวดหมู่ที่คุณกำหนดให้ (ตราบเท่าที่หน้านั้นได้รับการจัดหมวดหมู่โดยตรง และไม่รวมไปถึงหน้าที่จัดหมวดหมู่ผ่านทางแม่แบบ) ฟีเจอร์ดังกล่าวไม่รวมไปถึงผลการค้นหาในหมวดหมู่ย่อย พึงระลึกว่า สำหรับชื่อหมวดหมู่ซึ่งมีช่องว่างอยู่ด้วย ช่องว่างนั้นจะต้องถูกแทนที่ด้วยอันเดอร์สกอร์หรือคุณจะต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศคร่อมชื่อหมวดหมู่ด้วย เพื่อให้ผลการค้นหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างการค้นหาโดยใช้ incategory:
คำค้น ผลการสืบค้น
พ.ศ. 2553 incategory:พ.ศ._2553 บทความซึ่งมีข้อความ "พ.ศ. 2553" ใน หมวดหมู่:พ.ศ. 2553
incategory:บริษัทมหาชน incategory:บริษัทที่มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บทความที่ถูกจัดเข้าสู่หมวดหมู่ทั้งสอง - หมวดหมู่:บริษัทมหาชน และ หมวดหมู่:บริษัทที่มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • prefix: – การใช้พารามิเตอร์ prefix: เพื่อจำกัดผลการค้นหาโดยอาศัยชื่อบทความที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่ตามมา ถ้ามีการกำหนดเนมสเปซในการค้นหาร่วมกับ prefix: ด้วย หน้านั้นจะลบล้างผลการค้นหาเนมสเปซอื่น prefix: ควรเป็นพารามิเตอร์สุดท้ายที่ใช้ในการค้นหา ดูเพิ่มที่ พิเศษ:PrefixIndex ตัวอย่างการสืบค้นโดยใช้ prefix:
คำค้น ผลการสืบค้น
จม prefix:อาร์เอ็มเอส บทความทั้งหมดที่มีคำว่า "จม" และมีชื่อขึ้นต้นด้วย "อาร์เอ็มเอส"
prefix:วิธีใช้:สารบัญ/ หน้าย่อยของวิธีใช้:สารบัญ พึงทราบว่าหน้าย่อยจะไม่มีการใช้ในเนมสเปซบทความ

การสืบค้นไปยังหน้าโดยตรง

เมื่อคุณสืบค้นไปยังหน้าโดยตรง ความแตกต่างระหว่างตัวอักษรพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ (ในภาษาอังกฤษ) นอกเสียจากว่ามีบทความสองชื่อที่แตกต่างกันเฉพาะตัวอักษรพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่

ผู้ใช้ที่ชำนาญแล้วอาจใช้การสืบค้นไปยังหน้าโดยตรงจากวิธีการด้านล่างนี้:

  • ถ้าคุณต้องการไปยังหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งในหน้า ให้พิมพ์เชื่อมด้วยเครื่องหมายสี่เหลี่ยม (#) เช่น หากคุณต้องการไปหน้าโปแลนด์ ส่วนประวัติศาสตร์ พิมพ์ โปแลนด์#ประวัติศาสตร์
  • ถ้าคุณต้องการไปยังหน้าพิเศษ ให้พิมพ์หน้าพิเศษดังกล่าวแล้วตามด้วยเครื่องหมายทับ ตัวอย่างเช่น พิเศษ:Log/ตัวอย่าง
  • ถ้าคุณต้องการไปยังหน้าวิกิพีเดียภาษาอื่นหรือโครงการวิกิมีเดียอื่นโดนตรง ให้ใช้ prefix ของอินเตอร์วิกิที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น พิมพ์ fr:France ไปยังบทความ "France" ในวิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศส หรือ wikt:ไทย เมื่อไปยังผลการค้นหาคำว่า "ไทย" ในวิกิพจนานุกรม
  • ถ้าคุณต้องการดูเรื่องที่ไอพีเขียน สามารถพิมพ์หมายเลขไอพีได้เลย เช่น 123.45.67.89
  การค้นหา เป็นหน้านโยบาย วิธีใช้ หรือหน้าโครงการของวิกิพีเดียที่ยังเป็นโครง
หน้าวิธีใช้ และหน้าโครงการของวิกิพีเดียภาษาไทย อาจต่างกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานนโยบายเดียวกัน