วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก

วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก (อังกฤษ: sedentary lifestyle) เป็นรูปแบบหนึ่งของวิถีการใช้ชีวิตที่ประกอบด้วยการมีกิจกรรมทางกายน้อยมากจนถึงไม่มีเลย บุคคลที่มีวิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากมักนั่งหรือนอนขณะทำกิจกรรมจำพวกอ่านหนังสือ, เข้าสังคม, ชมโทรทัศน์, เล่นวิดีโอเกม หรือใช้โทรศัพท์มือถือ/คอมพิวเตอร์ เป็นเวลาส่วนใหญ่ของวันหนึ่ง ๆ วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากอาจนำไปสู่ความเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพ และอาจนำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิตที่ป้องกันได้[1][2]

ครอบครัวหนึ่งกำลังนั่งดูโทรทัศน์

เวลาบนหน้าจอ หรือ สกรีนไทม์ (อังกฤษ: screentime) เป็นคำศัพท์ยุคปัจจุบันที่หมายถึงระยะเวลาที่บุคคลหนึ่งใช้ในการจ้องหน้าจอทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสาร สกรีนไทม์ที่มากเกินไปนั้นมีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อสุขภาพในทางลบ[3][4][5][6]

อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากนั้นไม่เหมือนกันกับการขาดการเคลื่อนไหวทางกาย (physical inactivity) โดยที่วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากนั้นมีการให้คำนิยามไว้ว่าเป็น "พฤติกรรมขณะตื่น (waking behaviours) ที่มีลักษณะการใช้พลังงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.5 เมทาบอลิกอีควิวาเลนต์ (metabolic equivalents; METs) ในขณะนั่ง นอน หรือนอนแผ่" การใช้เวลาส่วนใหญ่ขณะตื่น (waking hours) หมดไปกับการนั่งเฉย ๆ ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมีสิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากเสมอไป[7] ถึงแม้มันจะถูกเรียกว่าเป็นแบบนั้นอยู่บ่อยครั้งก็ตาม[8]

ผลกระทบต่อสุขภาพ แก้

ผลกระทบของวิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากรวมถึงในชีวิตทำงานมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรงหลักที่พบได้ชัดเจนที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของค่าดัชนีมวลกายซึ่งอาจนำไปสู่ความอ้วน การขาดกิจกรรมทางกายเป็นหนึ่งในสาเหตุของความตานที่ป้องกันได้ที่เป็นอันดับต้น ๆ ทั่วโลก[9]

ในสหรัฐอเมริกา ปีหนึ่ง ๆ มีการเสียชีวิตก่อนวัย (premature deaths) อย่างน้อย 300,000 ราย และค่าใช้จ่าย $90 พันล้านดอลล่าร์ในบริการสุขภาพทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับความอ้วนและวิถีชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ [10]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "2018 Physical Activity Guidelines Advisory Committee Scientific Report". 18 Feb 2019.
  2. Owen, Neville; Healy, Genevieve N.; Dempsey, Paddy C.; Salmon, Jo; Timpero, Anna; Clark, Bronwyn K.; Goode, Ana D.; Koorts, Harriet; Ridgers, Nicola D.; Hadgraft, Nyssa T.; Lambert, Gavin (2020-01-08). "Sedentary Behavior and Public Health: Integrating the Evidence and Identifying Potential Solutions". Annual Review of Public Health. 41: 265–287. doi:10.1146/annurev-publhealth-040119-094201. ISSN 0163-7525. PMID 31913771.
  3. Mark, A. E; Janssen, I (2008). "Relationship between screen time and metabolic syndrome in adolescents". Journal of Public Health. 30 (2): 153–160. doi:10.1093/pubmed/fdn022. PMID 18375469.
  4. Wiecha, Jean L; Sobol, Arthur M; Peterson, Karen E; Gortmaker, Steven L (2001). "Household Television Access: Associations with Screen Time, Reading, and Homework Among Youth". Ambulatory Pediatrics. 1 (5): 244–251. doi:10.1367/1539-4409(2001)001<0244:HTAAWS>2.0.CO;2. PMID 11888409.
  5. Laurson, Kelly R; Eisenmann, Joey C; Welk, Gregory J; Wickel, Eric E; Gentile, Douglas A; Walsh, David A (2008). "Combined Influence of Physical Activity and Screen Time Recommendations on Childhood Overweight". The Journal of Pediatrics. 153 (2): 209–214. doi:10.1016/j.jpeds.2008.02.042. PMID 18534231.
  6. Olds, T.; Ridley, K.; Dollman, J. (2006). "Screenieboppers and extreme screenies: The place of screen time in the time budgets of 10–13 year-old Australian children". Australian and New Zealand Journal of Public Health. 30 (2): 137–142. doi:10.1111/j.1467-842X.2006.tb00106.x. PMID 16681334.
  7. Owen, Neville; Healy, Genevieve N.; Dempsey, Paddy C.; Salmon, Jo; Timperio, Anna; Clark, Bronwyn K.; Goode, Ana D.; Koorts, Harriet; Ridgers, Nicola D.; Hadgraft, Nyssa T.; Lambert, Gavin; Eakin, Elizabeth G.; Kingwell, Bronwyn A.; Dunstan, David W. (2020). "Sedentary Behavior and Public Health: Integrating the Evidence and Identifying Potential Solutions". Annual Review of Public Health. 41: 265–287. doi:10.1146/annurev-publhealth-040119-094201. PMID 31913771.
  8. "What is Sedentary Behaviour?". Sedentary Behaviour Research Network. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
  9. Lopez AD, Mathers CD, Ezzati M, Jamison DT, Murray CJ (May 2006). "Global and regional burden of disease and risk factors, 2001: systematic analysis of population health data". Lancet. 367 (9524): 1747–57. doi:10.1016/S0140-6736(06)68770-9. PMID 16731270. S2CID 22609505.
  10. Manson JoAnn E; และคณะ (2004). "The escalating pandemics of obesity and sedentary lifestyle: a call to action for clinicians". Archives of Internal Medicine. 164 (3): 249–258. doi:10.1001/archinte.164.3.249. PMID 14769621.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้