วิกิแมเปีย (อังกฤษ: Wikimapia) เป็นโครงการสารานุกรมออนไลน์ทางภูมิศาสตร์ โครงการนี้มีแผนที่เชิงโต้ตอบ "ที่คลิกได้" ซึ่งใช้กูเกิล แผนที่กับระบบทางภูมิศาสตร์ที่อิงจากวิกิ

วิกิแมเปีย
ประเภทสารานุกรมออนไลน์ทางภูมิศาสตร์
ภาษาที่ใช้ได้101 ภาษา
สร้างโดยAlexander Koryakin และ Eugen Saveliev [1]
รายได้จากAdSenseและโฆษณาวิกิแมเปีย[2]
ยูอาร์แอลwww.wikimapia.org
เชิงพาณิชย์ใช่
ลงทะเบียนไม่จำเป็น
ผู้ใช้2,500,000 (จำนวนล่าสุด)
เปิดตัว24 พฤษภาคม 2006; 17 ปีก่อน (2006-05-24)
สถานะปัจจุบันเปิดใช้งาน
ลิขสิทธิ์เนื้อหาCreative Commons (CC-BY-SA)[3]

เว็บไซต์วิกิแมเปียผลิตโดย Alexandre Koriakine และ Evgeniy Saveliev ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006[1] ข้อมูลเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 มีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากผู้ใช้ที่ลงทะเบียนและไม่ได้ลงทะเบียนที่น้อยกว่า 28,000,000 อย่าง[4] และทั้งหมดเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์[3][5] ถึงแม้ว่าชื่อโครงการทำให้นึกถึงวิกิพีเดีย และผู้สร้างก็นำปรัชญา"วิกิ"บางส่วนมาใช้ด้วย[1] เว็บนี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิวิกิมีเดีย งานวิจัยใน ค.ศ. 2017 ระบุว่าเว็บไซต์นี้ได้รับความนิยมน้อยลง[6]

สถานะปัจจุบัน แก้

  • 16 สิงหาคม 2549 - จำนวนสถานที่ที่ถูกระบุพิกัด ครบ 1,000,000 ตำแหน่ง [7]
  • 4 กันยายน 2549 - สามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนจาวา โดยใช้โปรแกรม Mobile GMaps [8]
  • 21 กันยายน 2549 - สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องรับจีพีเอส [9]
  • 2 ตุลาคม 2549 - สามารถเชื่อมโยงกับกูเกิลเอิร์ธ [10]
  • 8 ตุลาคม 2549 - เริ่มนำระบบสมาชิกมาใช้ ผู้ใช้ที่สมัครสมาชิก เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง จะสามารถย้าย ขยาย และป้องกันการแก้ไขสถานที่ได้
  • 22 พฤศจิกายน 2549 - จำนวนสถานที่ที่ถูกระบุพิกัด ครบ 2,000,000 ตำแหน่ง [11]
  • 3 มีนาคม 2550 - จำนวนสถานที่ที่ถูกระบุพิกัด ครบ 3,000,000 ตำแหน่ง [12]
  • 22 มีนาคม 2550 - สามารถระบุสถานที่เป็นรูปหลายเหลี่ยม เพื่อเพิ่มความถูกต้อง และเพิ่มเครื่องมือวัดระยะทาง วัดพื้นที่ [13]

ข้อมูลในวิกิเมเปีย สามารถเชื่อมโยงกับกูเกิลเอิร์ธได้ โดยผู้ใช้กูเกิลเอิร์ธ เวอร์ชันล่าสุด (Release 4 beta) ที่โหลด Wikimapia data layer for Google Earth จะเรียกใช้งานข้อมูลที่บันทึกในวิกิเมเปียได้

จนถึงปัจจุบัน วิกิแมเปีย ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของข้อมูล ยังไม่มีการระบุสัญญาอนุญาต และซอฟต์แวร์ของเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ได้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจมีการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ และมีการต่อต้านในวิกิพีเดียบางภาษา ส่งผลให้บทความ Wikimapia ในภาษาเนเธอร์แลนด์[14][15] และภาษาเยอรมัน [16] ถูกผู้ดูแลลบทิ้ง

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Wikimapia Team". Wikimapia.org. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015.
  2. "Wikimapia Ads". Wikimapia.org. 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2015. สืบค้นเมื่อ 24 August 2015.
  3. 3.0 3.1 "Wikimapia terms reference; Terms of Service, Copyright Notice and Privacy Notice". Wikimapia.org. 24 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2012. สืบค้นเมื่อ 23 August 2015.
  4. "Wikimapia Statistics". Wikimapia.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2011. สืบค้นเมื่อ 23 August 2015.
  5. ""Happy Birthday Wikimapia!" forum page". Wikimapia.org. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2012. สืบค้นเมื่อ 23 August 2015. Therefore to make Wikimapia content more accessible for distribution we decided to change Wikimapia license type to the most popular among Wikis "Creative Commons license Attribution-ShareAlike" (CC BY-SA).
  6. Ballatore, Andrea; Arsanjani, Jamal Jokar (2019). "Placing Wikimapia: an exploratory analysis" (PDF). International Journal of Geographical Information Science. 33 (8): 1633–1650. doi:10.1080/13658816.2018.1463441. S2CID 67466148.
  7. http://wikimapiablog.blogspot.com/2006/08/wikimapia-reached-1-million-places.html
  8. http://www.mgmaps.com
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-23. สืบค้นเมื่อ 2006-11-20.
  10. http://wikimapiablog.blogspot.com/2006/10/wikimapia-now-feeds-google-earth.html
  11. http://wikimapiablog.blogspot.com/2006/11/half-year-and-2000000-places-reached.html
  12. http://wikimapiablog.blogspot.com/2007/03/3-million-places.html
  13. http://wikimapiablog.blogspot.com/2007/03/polygons-and-geotools.html
  14. [1]
  15. [2] (โปแลนด์)
  16. [3]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้