วิกิลีกส์ (อังกฤษ: Wikileaks) เป็นเว็บไซต์ที่นำข้อมูลเอกสารของรัฐบาลและบริษัท ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเผยแพร่ เพื่อการกล่าวหาได้ โดยไม่ถูกผลกระทบทางลบกลับจากองค์กรเหล่านั้น เว็บไซต์วิกิลีกส์อ้างว่าการส่งข้อความต่าง ๆ นั้นจะไม่สามารถถูกติดตามได้ ไม่ว่าจากใครก็ตาม

วิกิลีกส์
ประเภทวิกิ
ภาษาที่ใช้ได้มากกว่า 30 ภาษา (ภาษาอังกฤษเป็นหลัก)
เจ้าของเดอะซันไชน์เพรส
สร้างโดยจูเลียน อาสซานจ์
ยูอาร์แอลWikiLeaks.org
เชิงพาณิชย์ไม่
ลงทะเบียนจำเป็นสำหรับการเพิ่มเนื้อหา

เว็บไซต์ทำงานโดยใช้รุ่นดัดแปลงของซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ

ประวัติ แก้

ส่วนหนึ่งของเว็บไซต์พัฒนาโดยผู้คัดค้านรัฐบาลจีน[1] จากข้อมูลในเว็บไซต์ Wikileaks เป้าหมายหลักของการเปิดโปงคือ กลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต กลุ่มประเทศซับซาฮารา และประเทศในตะวันออกกลาง แต่พวกเขาก็คาดหวังให้เว็บไซต์ถูกใช้งานสำหรับข้อมูลที่รั่วไหลเกี่ยวกับรัฐบาลและบริษัทในประเทศตะวันตก[2]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 วิกิลีกส์ได้เผยแพร่ภาพวิดีโอที่ถูกบันทึกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 แสดงภาพการโจมตีทางอากาศต่อกรุงแบกแดดโดยกองทัพสหรัฐ ที่ทำให้มีพลเรือนชาวอิรักเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากนั้นในเดือนกรกฎาคม ก็ได้เผยแพร่เอกสารลับที่ไม่เคยถูกเผยแพร่จำนวนมากกว่า 76,900 ฉบับ เกี่ยวกับปฏิบัติการของสหรัฐในอัฟกานิสถาน และในเดือนตุลาคม ก็ได้เผยแพร่เอกสารลับกว่า 400,000 ฉบับเกี่ยวกับสงครามอิรัก

เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2553 ทางเว็บไซต์ได้เผยแพร่โทรเลขเอกสารลับและเอกสารปกปิดทางการทูต กว่า 100,000 หน้าของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา จนทำให้นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐได้ออกแถลงการณ์ประณาม ต่อมาในวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ตำรวจสากลได้ออกหมายจับจูเลียน อาสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ในข้อหาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ จากนั้นเว็บไซต์ได้ถูกแครกเกอร์โจมตีด้วย DDoS จนทำให้ผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิก DNS ที่ชี้ไปยังโดเมนเนม WikiLeaks.org ด้วยข้ออ้างว่าถูกโจมตีอย่างหนัก [3] อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ก็ยังสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางไอพีแอดเดรส และโดเมนสำรองที่จดทะเบียนในสวิตเซอร์แลนด์ [4]

ในเดือนมิถุนายน 2553 รัฐบาลไทยได้ทำการบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์นี้[5] เนื่องจากเผยแพร่เนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯแต่ในปัจจุบันสามารถเข้าเข้าถึงเว็บไซต์นี้ได้แล้ว

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้