วิกิพีเดีย:การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ

การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ เป็นแบบรูปการแก้ไขที่อาจกินเวลานานในหลายหน้าบทความ และทำให้ความก้าวหน้าของการปรับปรุงบทความหรือสร้างสารานุกรมเกิดความวุ่นวาย การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบนี้ไม่ใช่การก่อกวน (vandalism) เสมอไป การแก้ไขทำนองดังกล่าวควรพิจารณาเป็นรายกรณี คือ ให้คำนึงถึงว่าการกระทำนั้นละเมิดนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียหรือไม่ หากผู้เขียนถือว่าสถานการณ์ที่ไม่ใช่การก่อกวนอย่างชัดเจนว่าเป็นการแก้ไขที่ทำให้เสียระบบแล้ว อาจก่อผลเสียต่อวิกิพีเดียเสียเองโดยการผลักไสผู้เขียนที่มีศักยภาพ

การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบนี้ไม่ได้มีเจตนาเสมอไป ผู้เขียนอาจทำให้เสียระบบโดยอุบัติเหตุเพราะเขาอาจไม่เข้าใจการแก้ไขที่ถูกต้อง หรือเพราะขาดทักษะทางสังคมหรือความสามารถ (competence) ที่จำเป็นต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น กระนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าการทำให้เสียระบบเกิดขึ้นโดยสุจริตใจก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่าการนั้นก่อผลเสียต่อวิกิพีเดียเช่นเดิม

แนวปฏิบัติ "การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ" นี้ เป็นแนวปฏิบัติที่ใช้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549

ความย่อ แก้

ความสำเร็จของวิกิพีเดียส่วนหนึ่งมาจากการเปิดกว้าง ทว่า ความเปิดกว้างของวิกิพีเดียดึงดูดบุคคลที่มุ่งฉวยโอกาสจากเว็บไซต์เพื่อเป็นเวทีสำหรับผลักดันทัศนะอย่างใดอย่างหนึ่ง งานค้นคว้าต้นฉบับ การแก้ต่างหรือการโฆษณาตัวเอง แม้ว่าเว็บไซต์ยินดีรับความคิดเห็นส่วนน้อยที่มีความสำคัญ (notable) ที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ผ่านแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และผู้เขียนที่สร้างสรรค์บางทีก็ผิดพลาดได้ แต่บางทีผู้เขียนวิกิพีเดียก่อปัญหาระยะยาวโดยการแก้ไขหน้าหนึ่งหรือหลายหน้าเป็นนิจด้วยสารสนเทศที่ไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ด้วยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือยืนกรานสอดแทรกทัศนะข้างน้อยอย่างไม่เป็นกลาง

เมื่อคิดรวมกัน ผู้เขียนที่ทำให้เสียระบบก่อผลเสียต่อวิกิพีเดียโดยการลดความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียและทำให้ผู้เขียนที่สร้างสรรค์หมดความอดทนและอาจผละจากโครงการไปเพราะอึดอัดเมื่อผู้เขียนที่ทำให้เสียระบบเช่นนี้ยังคงพฤติกรรมต่อไปโดยไม่ต้องรับผิดชอบ

การแก้ไขครั้งเดียวอาจยังไม่ถือว่าเป็นการทำให้เสียระบบ แต่อาจเป็นส่วนหนึ่งของแบบรูปที่ทำให้เสียระบบ กลุ่มการแก้ไขที่ทำให้เสียระบบนี้อาจเกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน หรือนาน ๆ ที อาจจำกัดอยู่ในหน้าเดียว หรือหลายหน้า และอาจเป็นการแก้ไขที่มีรูปแบบคล้ายกันมาก หรือโดยผิวเผินดูแตกต่างกันก็ได้

ผู้เขียนที่ทำให้เสียระบบอาจซ่อนเร้นพฤติกรรมของตนให้ดูเหมือนการแก้ไขที่สร้างสรรค์ แต่ยังคงไว้ซึ่งลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างจากผู้เขียนที่สร้างสรรค์ เมื่อการอภิปรายไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ และเมื่อมีความเห็นพ้องอย่างไม่มีความลำเอียงจากผู้ใช้ที่ไม่ใช่คู่กรณีเห็นตรงกันแล้ว การทำให้เสียระบบต่อไปเป็นเหตุบล็อกได้ และอาจนำไปสู่มาตรการทางวินัยที่ร้ายแรงกว่านั้นได้ ซึ่งในกรณีร้ายแรงที่สุด การแบนทั้งเว็บไซต์ก็เคยปรากฏมาแล้ว

แม้ว่าผู้เขียนที่ทำให้เสียระบบปฏิบัติกฎการย้อนไม่เกินวันละสามครั้ง ไม่ถือเป็นเป็นข้อแก้ต่างต่อมาตรการที่ใช้เพื่อบังคับนโยบายนี้ต่อผู้เขียนที่ทำให้เสียระบบ แต่ทั้งนี้ ผู้เขียนที่สร้างสรรค์เองก็ไม่ควรฝ่าฝืนกฎการย้อนสามครั้งนี้ด้วย พึงปฏิบัติตามกระบวนการที่แนะนำไว้ด้านล่างแทน

พยายามหลบเลี่ยงการตรวจจับ แก้

ผู้เขียนที่ทำให้เสียระบบและมีเจตนาไม่สุจริตมีวิธีการหลีกเลี่ยงมาตรการทางวินัยหลายทาง

  • การแก้ไขของพวกเขากินเวลานาน ซึ่งการแก้ไขเพียงครั้งเดียวของเขานั้นอาจไม่ถือว่าทำให้เสียระบบ แต่แบบรูปถือว่าทำให้เสียระบบ
  • การแก้ไขของพวกเขาส่วนใหญ่จำกัดอยู่แต่ในหน้าคุย ซึ่งไม่ได้ก่อผลเสียต่อบทความโดยตรง แต่มักขัดขวางผู้เขียนอื่นมิให้บรรลุความเห็นพ้องในการปรับปรุงบทความ
  • ความเห็นของพวกเขาอาจเลี่ยงการละเมิดนโยบายประพฤติเยี่ยงอารยชน โดยการเลี่ยงการโจมตีตัวบุคคล แต่ยังคงขัดขวางการแก้ไขและการอภิปรายร่วมกันอย่างมีอารยะ
  • การแก้ไขของพวกเขาจำกัดอยู่เฉพาะไม่กี่หน้าที่มีผู้จับตาดูน้อย
  • ในทางกลับกัน การแก้ไขของพวกเขาอาจกระจัดกระจายในบทความจำนวนมากเพื่อให้ผู้ใช้คนใดคนหนึ่งมีโอกาสน้อยลงในการเฝ้าติดตามบทความที่ได้รับผลกระทบและสังเกตเห็นการทำให้เสียระบบ

กระนั้น การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบละเมิดบรรทัดฐานของวิกิพีเดีย

ตัวอย่างการแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ แก้

แนวปฏิบัตินี้ครอบคลุมการละเมิดที่เห็นได้ชัด และซ้ำ ๆ ซึ่งนโยบายมูลฐาน แต่ไม่ได้รวมถึงปัญหาที่ละเอียดอ่อนที่บุคคลที่มีเหตุมีผลอาจเห็นไม่ตรงกันได้

ผู้เขียนที่ทำให้เสียระบบ คือผู้เขียนที่มีแนวโน้มพฤติกรรมดังต่อไปนี้:

  1. มีแนวโน้มไปทิศทางเดียว (tendentious): แก้ไขบทความหรือกลุ่มบทความเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลานานแม้ผู้เขียนอื่นคัดค้าน ผู้เขียนซึ่งมีแนวโน้มไปทิศทางเดียวไม่เพียงสอดแทรกเนื้อหาที่ทำให้เสียระบบเท่านั้น แต่บางคนก็ลบเนื้อหาอันทำให้เสียระบบเช่นกัน เช่น ลบแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากผู้เขียนอื่นซ้ำ ๆ
  2. ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ ; ไม่อ้างอิงแหล่งที่มา อ้างอิงแหล่งที่มาซึ่งไม่เป็นสารานุกรม บิดเบือนแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ หรือนำเสนองานค้นคว้าต้นฉบับ
  3. "ติดป้ายต้องการอ้างอิงแบบทำให้เสียระบบ" ; เพิ่มป้ายระบุ {{citation needed}} อย่างไม่สมเหตุสมผลเมื่อเนื้อหานั้นมีแหล่งอ้างอิงแล้ว หรือพยายามใช้ป้ายระบุดังกล่าวเพื่อให้เข้าใจว่าเนื้อหาที่มีแหล่งอ้างอิงเหมาะสมแล้วน่าเคลือบแคลง
  4. ไม่เข้าร่วมกระบวนการสร้างความเห็นพ้อง:
    ก. เพิกเฉยต่อคำถามหรือคำขอให้อธิบายจากผู้เขียนอื่นเกี่ยวกับการแก้ไขหรือข้อคัดค้านการแก้ไขซ้ำ ๆ
    ข. เพิกเฉยต่อคำอธิบายการแก้ไขของผู้ใช้อื่นซ้ำ ๆ
  5. ปฏิเสธหรือเพิกเฉยต่อความเห็นของชุมชน: ขัดขืนการประนีประนอม และคำขอความเห็น หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง, แก้ไขเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปแม้มีความเห็นพ้องจากผู้เขียนที่ไม่ใช่คู่กรณีแล้ว

นอกจากนี้ บางคนอาจ

  1. รณรงค์เพื่อขับไล่ผู้เขียนที่สร้างสรรค์: กระทำการขัดต่อนโยบายและแนวปฏิบัติอย่าง วิกิพีเดีย:ประพฤติเยี่ยงอารยชน, วิกิพีเดีย:อย่าว่าร้ายผู้อื่น หรือ วิกิพีเดีย:ความเป็นเจ้าของบทความ หรือหุ่นเชิด ที่อาจยังไม่ทำให้ชุมชนโดยทั่วไปหมดความอดทน แต่ยังกระทำการโดยมีเป้าหมายในบั้นปลายเพื่อให้ผู้เขียนในบางบทความที่สร้างสรรค์และปฏิบัติตามกฏ

ประชดกฏ แก้

เมื่อผู้เขียนคนใดคนหนึ่งรู้สึกอึดอัดใจกับการใช้นโยบายหรือแนวปฏิบัติ เขาอาจรู้สึกอยากพยายามลดทอนความน่าเชื่อถือของกฏหรือการนำไปปฏิบัติโดยการใช้กฎนั้นอย่างต่อเนื่อง โดยบางทีเป็นการนำกฎมาใช้เพื่อพิสูจน์จุดยืนในข้อพิพาทท้องถิ่น หรือในกรณีอื่น อาจพยายามบังคับใช้กฎในทางที่ไม่ได้รับความนิยมเป็นส่วนใหญ่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เปลี่ยนกฎนั้น

กลวิธีดังกล่าวทำให้วิกิพีเดียเสียระบบอย่างมาก หากคุณรู้สึกว่านโยบายหนึ่งเป็นปัญหา หน้าคุยของนโยบายนั้นเป็นที่ที่เหมาะสมสำหรับเสนอความกังวลของคุณ หากคุณไม่เห็นด้วยกับการกระทำของผู้ใช้บางคนในบทความหนึ่ง ให้อภิปรายในหน้าคุยของบทความหรือหน้าที่เกี่ยวข้อง

พึงระลึกว่า เราสามารถชี้ประเด็นได้อย่างสมเหตุสมผลได้โดยไม่จำเป็นต้องทำให้เสียระบบเพื่อประชดประชัน

ไม่ยอม "เข้าใจประเด็น" แก้

 
"ไม่เห็นผิดตรงไหนเลย"

บางทีผู้เขียนพยายามคงข้อพิพาทต่อไปเรื่อย ๆ โดยการยึดติดกับข้ออ้างหรือทัศนะอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลานานหลังมีความเห็นพ้องของชุมชนซึ่งก้าวข้ามไปยังหัวข้ออื่นแล้ว พฤติกรรมเช่นว่าทำให้วิกิพีเดียเสียระบบ

ความเชื่อว่าคุณมีประเด็นที่สมเหตุสมผลมิได้ทำให้คุณมีสิทธิกระทำราวกับว่าจุดยืนของคุณได้รับความเห็นชอบจากชุมชนเมื่อคุณได้รับการตักเตือนแล้วว่าการกระทำนั้นยอมรับไม่ได้ การปฏิเสธของชุมชนนั้นไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าชุมชนไม่ฟังคุณ ให้คุณหยุดฟัง และไตร่ตรองสิ่งที่ผู้เขียนอื่นบอกคุณเสียบ้าง ใช้ความพยายามเพื่อเข้าใจเหตุผลของพวกเขา และหาจุดที่ตกลงกันได้ อย่าสับสนว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคุณคือผู้ที่ไม่ฟังคุณ

บางทีแม้ผู้เขียนกระทำการโดยสุจริตใจ การแก้ไขของพวกเขายังอาจทำให้เสียระบบและสิ้นเปลืองเวลาได้ไม่รู้จบ ตัวอย่างเช่น กล่าวซ้ำ ๆ ว่าไม่เข้าใจปัญหา แม้ผู้เขียนควรได้รับการส่งเสริมให้มีความกล้า และลงมือกระทำสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง แต่บางทีด้วยเหตุขาดความสามารถอาจเป็นการบั่นทอนได้ ถ้าชุมชนต้องเสียเวลาตามเก็บกวาดข้อผิดพลาดของผู้เขียนและให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติมากเกินความจำเป็น ก็อาจต้องถึงเวลาใช้มาตรการ

การรับมือการแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ แก้

ต่อไปนี้เป็นแบบจำลองสำหรับการเยียวยา แม้ว่าอาจไม่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏ ในกรณีที่ร้ายแรง การแจ้งความผู้ดูแลระบบโดยเร็วอาจเป็นขั้นแรกที่ดีที่สุด และในบางกรณีที่พบน้อย การรวบรัดเสนอต่อชุมชนเพื่อให้แบนทั้งเว็บไซต์ (community ban) ก็มีความเมหาะสม แต่โดยทั่วไป สถานการณ์ส่วนใหญ่พึงใช้วิธีค่อย ๆ ยกระดับ ด้วยหวังให้แต่ละขั้นตอนระงับปัญหาได้

  • พบการสอดแทรกเนื้อหาที่ไม่เป็นสารานุกรมครั้งแรกจากผู้ใช้ที่สงสัยว่าทำให้เสียระบบหรือไม่
    • สันนิษฐานว่าผู้อื่นสุจริตใจ อย่าโจมตีผู้เขียนที่คุณสงสัยว่าทำให้เสียระบบ อย่างไรก็ตามให้ย้อนเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงหรือไม่เป็นสารานุกรม ใช้ความย่อการแก้ไขอธิบายปัญหาโดยไม่ชวนทะเลาะเบาะแว้ง รักษาความประพฤติเยี่ยงอารยชน ตั้งกระทู้ในหน้าคุยเพื่อขอให้อภิปรายและ/หรือสอบถามหาแหล่งอ้างอิง กรุณาดู อย่ากัดผู้ใช้ใหม่ และพึงตระหนักว่าคุณอาจกำลังรับมือกับผู้ใช้ใหม่ที่ยังไม่เข้าใจ ไม่ใช่ผู้เขียนตัวปัญหา
  • หากผู้เขียนย้อนกลับ หรือแทรกเนื้อหาเดิมเข้ามาอีก
    • ถ้าครั้งนี้ใส่แหล่งอ้างอิงแล้วอย่าย้อนอีก แต่ถ้ายังเป็นเช่นเดิม ให้ย้อนอีกครั้งหากไม่มีการตอบสนองในหน้าคุย ดูให้แน่ใจว่าคุณอธิบายอย่างชัดเจนไว้ในหน้าคุยของบทความแล้ว พร้อมระบุไว้ในความย่อการแก้ไข และหากเป็นไปได้ แนะนำข้อประนีประนอมยังหน้าคุย ด้วย
  • ถ้าการย้อนดำเนินต่อไปไม่หยุด และผู้ใช้นั้นแทรกสารนิเทศซึ่งปราศจากแหล่งที่มา :
    • ย้อนอีกครั้ง และ ขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลระบบ ผ่าน วิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ/แจ้งความ (ANI) ใส่ผลต่างของการย้อนแต่ละครั้งของผู้เขียนคนนั้น พยายามโพสต์สั้น ๆ (ไม่เกิน 500 คำ) ใส่ผลต่างเป็นหลักฐานให้พร้อม และมุ่งประเด็นไปยังความประพฤติของผู้ใช้ (เช่น ไม่ยอมอภิปราย, แทรกเนื้อหาปราศจากแหล่งที่มา, เพิกเฉยต่อความเห็นพ้องในหน้าคุย) พยายามเลี่ยงพูดถึงประเด็นด้านเนื้อหาบทความที่ ANI เพราะผู้ดูแลระบบไม่ใช่ผู้ที่ตัดสินว่าเนื้อหาในบทความควรเป็นอย่างไร
    • หมายเหตุ: บางทีผู้ดูแลระบบก็ตรวจสอบประวัติของคุณเช่นเดียวกัน ฉะนั้นควรประพฤติเยี่ยงอารยชนและอย่าย้อนหลายครั้งเสียเอง
  • หากเป็นการแก้ไขที่ใช้แหล่งอ้างอิง แต่แหล่งอ้างอิงนั้นด้อยคุณภาพหรือบิดเบือนแหล่งอ้างอิง:
  • หากความพยายามระงับข้อพิพาทถูกปฏิเสธ ล้มเหลว และ/หรือ ปัญหายังดำเนินต่อไป
    • ให้แจ้งต่อผู้เขียนที่คิดว่าทำให้เสียระบบในหน้าคุยของเขา
      ให้ระบุพฤติกรรมที่มีปัญหา ให้ระบุชื่อส่วน และ/หรือ ความย่อการแก้ไข ให้ระบุอย่างชัดเจนว่าคุณมองว่าพฤติกรรมของเขานั้นทำให้เสียระบบ แต่หลีกเลี่ยงการยั่วยุที่ไม่จำเป็น

การบล็อกและการลงโทษ แก้

  • การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบอาจถูกตักเตือนและถูกบล็อกได้ และการบล็อกจะกินเวลานานขึ้นตามลำดับหากพฤติกรรมที่เป็นปัญหายังคงอยู่
  • บัญชีที่ใช้เพื่อทำให้เสียระบบเป็นหลักอาจถูกบล็อกอย่างไม่มีกำหนดได้