วิกิพีเดีย:การอ้างอิงถึงวิกิพีเดีย

การอ้างอิงถึงวิกิพีเดีย

หมายเหตุ: วิกิพีเดียมีเครื่องมือสำหรับการสร้างการอ้างอิงสำหรับบทความใดบทความหนึ่งโดยเฉพาะ สำหรับเครื่องมือในการอ้างอิง ดูที่ Special:Cite หรือคลิกตามลิงก์ "อ้างอิงบทความนี้" ทางด้านซ้ายมือของบทความที่คุณต้องการ

เราแนะนำให้ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้วิกิพีเดียเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับโครงการวิจัย การใช้วิกิพีเดียและสารานุกรมอื่น ๆ ในวงวิชาการปกติไว้สำหรับหาข้อเท็จจริงทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาและเพื่อรวบรวมคำสำคัญ แหล่งอ้างอิง ตัวบ่งชี้ทางบรรณานุกรมเท่านั้น ไม่ได้ใช้เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในตัว อย่าลืมว่าวิกิพีเดียเป็นวิกิ และใครก็ตามสามารถแก้ไขบทความ ลบสารนิเทศที่แม่นยำหรือเพิ่มสารนิเทศเท็จ ซึ่งผู้อ่านอาจไม่ทราบก็ได้ ฉะนั้น คุณไม่ควรอ้างวิกิพีเดีย

แต่ถ้าคุณยังตัดสินใจอ้างวิกิพีเดีย พึงระลึกว่าบทความมีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา ควรอ้างวัน เวลาและรุ่นของบทความที่กำลังใช้ให้ชัดเจน ซึ่งสามารถใช้ประวัติหน้า และคุณลักษณะกล่องเครื่องมือ "อ้างบทความนี้" และ "ลิงก์ถาวร" มีประโยชน์มากในการหาสารนิเทศนั้น

ถ้าคุณตัดสินใจยกข้อความหรือถอดความจากวิกิพีเดีย (แม้ว่าคำเตือนทั้งหมดข้างต้นแล้ว) เช่นนั้นคุณจะต้องอ้างวิกิพีเดียให้เหมาะสม มิฉะนั้นคุณก็เข้าข่ายโจรกรรมทางวรรณกรรม ซึ่งขัดต่อบรรทัดฐานทางวิชาการและถูกตำหนิโทษได้ ถ้าไม่อ้างวิกิพีเดียให้ถูกต้องจะขัดต่อสัญญาอนุญาต CC BY-SA ของวิกิพีเดีย และขัดต่อกฎหมายลิขสิทธิ์

ข้อควรระวังก่อนการอ้างอิงถึงวิกิพีเดีย

เช่นเดียวกันกับแหล่งข้อมูลอื่นทุกแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งข้อมูลที่ปราศจากนามของผู้เขียน คุณควรจะระมัดระวังและพิสูจน์ยืนยันความถูกต้องของข้อมูลบนวิกิพีเดียด้วยตัวคุณเองหากเป็นไปได้; ในหลายจุดประสงค์ แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางวิชาการ วิกิพีเดียอาจเป็นแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้รับการยอมรับ[1] ศาสตราจารย์และครูบางท่านอาจปฏิเสธงานที่อ้างถึงวิกิพีเดียโดยสมบูรณ์ นี่เป็นความจริงอย่างยิ่งเมื่อการอ้างอิงดังกล่าวปราศจากหลักฐานยืนยันสนับสนุน (corroboration) อย่างไรก็ตาม ข้อความจำนวนมากบนวิกิพีเดียมีการอ้างอิงอยู่ในตัวมันเอง ดังนั้น คุณมีทางเลือกที่จะอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลซึ่งน่าเชื่อถือซึ่งเชื่อมโยงไปจากบทความมากกว่าตัวบทความเอง

เราขอแนะนำให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในการใช้วิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับโครงงานการวิจัย การนำวิกิพีเดียและสารานุกรมอื่นไปใช้ในเชิงวิชาการโดยปกติแล้วมักจะใช้เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงโดยทั่วไปของปํญหาและเพื่อค้นคำค้น (keyword) แหล่งอ้างอิงและตัวชี้วัดเกี่ยวกับบรรณานุกรม แต่มิใช่เป็นแหล่งข้อมูลในตัวของมันเอง พึงระลึกไว้เสมอว่าวิกิพีเดียเป็นวิกิ ซึ่งหมายความว่า ทุกคนบนโลกสามารถแก้ไขบทความได้ รวมถึงสามารถลบข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำหรือเพิ่มข้อมูลที่ผิดพลาด ซึ่งผู้อ่านอาจไม่สามารถรับรู้ได้

อย่างไรก็ตาม เรายังมีความเชื่อมั่นว่าวิกิพีเดียจะมอบมุมมองในภาพรวมได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับหัวข้อส่วนใหญ่ที่บทความวิกิพีเดียกล่าวถึง โปรดศึกษา วิกิพีเดีย:การใช้วิกิพีเดียประกอบการวิจัย, วิกิพีเดีย:การใช้ในเชิงวิชาการ และ วิกิพีเดีย:ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วิกิเป็นรูปแบบของสื่อที่ไม่ธรรมดา และมันไม่ได้มีลักษณะแบบเดียวกับรูปแบบการอ้างหนังสือโดยทั่วไป วิกิไม่ใช่เอกสารตีพิมพ์ ดังนั้น คุณจำเป็นจะต้องใช้รูปแบบการอ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์แทน รูปแบบที่แน่นอนนั้นขึ้นอยู่กับคู่มือแนะนำการอ้างอิงที่คุณยึดถือ แต่ด้านล่างนี้จะมีหลักปฏิบัติโดยทั่วไปบางประการให้คุณได้พิจารณา:

  • เรามีเครื่องมือพิเศษสำหรับการอ้างอิงที่จะช่วยเหลือคุณ ทางด้านซ้ายของแต่ละบทความ จะมีลิงก์ "อ้างอิงบทความนี้" ซึ่งเมื่อคุณคลิกแล้ว มันจะนำคุณไปยังรายชื่อข้อมูลที่สัมพันธ์กัน เช่นเดียวกับการสร้างรูปแบบการอ้างอิงอัตโนมัติในหลากหลายรูปแบบ หมายเหตุว่านี่จะยังเป็นความรับผิดชอบ ของคุณ ที่จะทำให้แน่ใจว่าการอ้างอิงจะครบตามหลักเกณฑ์ทุกประการ
  • คุณ ไม่ควร อ้างอิงผู้เขียนบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ สำหรับบทความวิกิพีเดีย คุณสามารถตรวจสอบประวัติของหน้า ผู้เขียนหลายคนถูกบันทึกไว้เพียงหมายเลขไอพีหรือชื่อบัญชีผู้ใช้ซึ่งเป็นนามแฝง; คุณไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้และมักจะไม่สามารถแม้กระทั่งจะคาดเดาถึงเอกลักษณ์ของพวกเขาเหล่านั้น
  • การอ้างอิงของคุณควรประกอบด้วยชื่อบทความและ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ให้มากเท่าที่คุณจะทำในบทความในงานตีพิมพ์เอกสาร ทุกบทความควรอ้างอิงแยกจากกัน
  • รูปแบบการอ้างอิงส่วนใหญ่มักจะต้องการยูอาร์แอลเต็มของบทความ คุณสามารถคลิก "ลิงก์ถาวร" ในกล่องเครื่องมือทางด้านซ้ายของหน้านี้ นี่จะนำคุณไปสู่ยูอาร์แอล รวมไปถึงเอกลักษณ์พิเศษซึ่งคุณสามารถสืบค้รกลับมายังรุ่นที่ถูกต้องของบทความที่คุณกำลังอ้างอิงอยู่ อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องการหรือไม่ต้องการที่จะปรับใช้วิธีการดังกล่าว ขึ้นอยู่กับบริบทของการอ้างอิงของคุณ โดยวิธีการดังกล่าวจะแสดงให้คุณในสิ่งที่คุณเห็นและไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการเข้าหน้านั้น ถ้าคุณต้องการการอ้างอิงแบบรวบรัด คุณสามารถใช้ยูอาร์แอลแบบทั่วไป หรือคุณอาจเลือกอ้างอิงเฉพาะยูอาร์แอลของไซต์ (ยกตัวอย่างเช่น http://th.wikipedia.org/ สำหรับบทความภาษาไทย) เนื่องจากยูอาร์แอลของบทความสามารถแสดงว่ามาจากบทความใดได้
  • รูปแบบการอ้างอิงอาจต้องการวันที่และเวลาในรูปแบบเต็มของรุ่นบทความที่คุณจะใช้ ถ้าคุณใช้ฟีเจอร์ลิงก์ถาวร นี่อาจไม่จำเป็นก็ได้ อย่างไรก็ตาม รุ่นและเวลาของการแก้ไขล่าสุดสามารถพบได้ที่บรรทัดล่างสุดของทุกหน้า (เหนือประกาศลิขสิทธิ์)

ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ปรากฏด้านล่างนี้ สมมุติว่าคุณกำลังอ้างบทความวิกิพีเดีย โจรกรรมทางวรรณกรรม โดยใช้รุ่นซึ่งได้แก้ไขเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2552 เวลา 14:24 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด และคุณได้ทำการสืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

APA

รูปแบบการอ้างอิงซึ่งแนะนำโดย American Psychological Association:

หมายเหตุ: ในรูปแบบการอ้างอิง APA อิดิชั่น 5 การอ้างอิงจะต้องเป็นไปตามระเบียบด้านล่าง:

  • สำหรับหนังสืออ้างอิง ซึ่งรวมไปถึงสารานุกรม พจนานุกรม อภิธานศัพท์: ชื่อเรื่องของหนังสือจะมาก่อนคำว่า "ใน" ไม่ใส่ตัวเอียงหากนำชื่อเรื่องขึ้นก่อน แต่ให้ใช้ตัวเอียงกับชื่อเรื่องหากนำชื่อเรื่องตามหลัง
  • หากชื่อเรื่องปรากฏในรูปแบบของประโยค ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ (capitalize) คำแรก, คำแรกหลังเครื่องหมายโคลอน (,) และคำวิสามานยนาม
  • ยูอาร์แอลที่ระบุจะต้องเชื่อมโยงไปยังหน้าที่คุณอ้างอิงถึงอย่างแม่นยำ
  • ไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนหลังยูอาร์แอล
  • ถ้อยคำหรือชื่อของบทความปรากฏในตำแหน่งผู้ประพันธ์ ใช้กรณีประโยคสำหรับถ้อยวลีหรือชื่อเรื่อง ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ในคำแรก, คำแรกหลังเครื่องหมายโคลอน (,) และวิสามานยนาม

MLA

รูปแบบการอ้างอิงซึ่งแนะนำโดย Modern Language Association:

  • "โจรกรรมทางวรรณกรรม". วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย. 10 เมษายน 2552. เว็บ. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2553

หมายเหตุ: รูปแบบ MLA ต้องการระบุวันที่สร้างผลงาน (หรือการอัปเดตครั้งล่าสุด) และวันที่ซึ่งได้มีการสืบค้นข้อมูล ตามคู่มือ MLA รุ่นล่าสุด รูปแบบการอ้างอิงดังกล่าวจำเป็นต้องระบุถึงหน่วยงานด้วย หมายเหตุเช่นเดียวกันว่าสถานศึกษาและสถาบันจำนวนมากเปลี่ยนวายกสัมพันธ์ (syntax) เล็กน้อย

ในปี พ.ศ. 2552 MLA ได้เผยแพร่รุ่นปรับปรุงของรูปแบบการอ้างอิงของตน โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการเพิ่มเว็บ (Web.) หรือสิ่งตีพิมพ์ (Print.) หลังวันที่สร้างผลงานด้วย ประการต่อมาคือไม่จำเป็นต้องระบุยูอาร์แอล แต่หากคุณต้องการจะระบุยูอาร์แอลด้วย ให้วางไว้ในวงเล็บเหลี่ยมด้านหลังสุดของการอ้างอิง

ตัวอย่างการอ้างอิงโดยระบุยูอาร์แอลด้วย:

โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณระบุด้วยวายกสัมพันธ์ (syntax) ที่ถูกต้องตามรูปแบบการอ้างอิงที่คุณใช้

สำหรับการอ้างอิงวิกิพีเดียเป็นไซต์:

  • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย. 10 เมษายน 2552. เว็บ. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2553.

MHRA

การอ้างอิงแบบ MHRA โดยสมาคมวิจัยมนุษยศาสตร์สมัยใหม่

  • อาสาสมัครวิกิพีเดีย, 'โจรกรรมทางวิชาการ', วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 10 เมษายน 2552, 7:24 UTC, <http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1&oldid=1742143> [เข้าถึง 8 เมษายน 2553]

Chicago

  • อาสาสมัครวิกิพีเดีย, "โจรกรรมทางวรรณกรรม," วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1&oldid=1742143 (เข้าถึง 8 เมษายน 2553).

โปรดทราบว่าแนวทางการเขียนแบบ Chicago กล่าวว่า "หนังสืออ้างอิงซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น พจนานุกรมและสารานุกรมที่สำคัญ มักจะอ้างอิงในรูปแบบของเชิงอรรถมากกว่าบรรณานุกรม"

CBE/CSE

การอ้างอิงในรูปแบบ CBE/CSE style แนะนำโดย Council of Science Editors:

  • อาสาสมัครวิกิพีเดีย. โจรกรรมทางวรรณกรรม [อินเทอร์เน็ต]. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี; 2552 เม.ย. 10, 7.24 UTC [อ้างเมื่อ 2553 เม.ษ. 8]. เข้าถึงได้จาก: http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1&oldid=1742143.

เชิงอรรถ

1 "โจรกรรมทางวรรณกรรม," ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี; (มูลนิธิวิกิมีเดีย, อัปเดต 10 เมษายน 2552, 7.24 UTC) [สารานุกรมออนไลน์]; เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/โจรกรรมทางวรรณกรรม; เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2553
2 อาสาสมัครวิกิพีเดีย, "โจรกรรมทางวิชาการ" วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, http://th.wikipedia.org/wiki/โจรกรรมทางวรรณกรรม (เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2547)

บรรณานุกรม

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย. อัปเดต 10 เมษายน 2552, 7.24 UTC. สารานุกรมออนไลน์. เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/โจรกรรมทางวรรณกรรม. อินเทอร์เน็ต. เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2553.

(เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่ควรเว้นช่องไฟตามรูปแบบการอ้างอิงที่กำหนด การนำเสนอดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักการ)

การอ้างอิงแบบวงเล็บ

("โจรกรรมทางวิชาการ", วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

รายการอ้างอิง

โจรกรรมทางวิชาการ. 10 เมษายน 2552, 7.24 UTC. ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย. สารานุกรมออนไลน์. เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/โจรกรรมทางวรรณกรรม. อินเทอร์เน็ต. เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2553.


อ้างอิง

  1. "Anthropology 333 syllabus from American River College" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2006-02-07. Do NOT use Wikipedia or other online or print encyclopedias as a source for your paper.