วิกิพีเดีย:การควบคุมประวัติ

การควบคุมประวัติ (อังกฤษ: oversight หรือ suppression) เป็นการลบขั้นสูงรูปแบบหนึ่ง ซึ่งต่างจากการลบปกติโดยที่เป็นการลบสารสนเทศนั้นจากการเข้าถึงตามปกติทุกรูปแบบ รวมทั้งผู้ดูแลระบบด้วย ให้ใช้การควบคุมประวัติในข้อจำกัดอย่างเข้มงวดเพื่อคุ้มครองภาวะเฉพาะส่วนตัว ลบเนื้อหาหมิ่นประมาท และบางทีใช้เพื่อลบการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างร้ายแรง ออกจากการแก้ไข รุ่นแก้ไข หน้าหรือรายการปูม (รวมทั้งรายการผู้ใช้หากจำเป็นด้วย) บนวิกิพีเดียภาษาไทย

การควบคุมประวัติบนวิกิพีเดียภาษาไทยมีการมอบหมายให้ผู้ใช้จำนวนจำกัดเพื่อให้ระงับเนื้อหาที่ตรงตามข้อกำหนดเข้มงวดด้านล่าง การใช้เครื่องมือเหล่านี้มีผู้ควบคุมประวัติคนอื่นเฝ้าสังเกตอยู่ อาจเพิกถอนผู้ควบคุมประวัติที่ใช้เครื่องมือในทางที่ผิดหรือละเมิดได้

ประชาคมหรือคณะอนุญาโตตุลาการของวิกิพีเดีย (ถ้ามี) จะเป็นผู้อนุมัติสิทธิดังกล่าว หลังมีการปรึกษาในชุมชนและตรวจสอบภูมิหลังแล้ว กำหนดให้ผู้ควบคุมประวัติในวิกิพีเดียภาษาไทยต้องมีคุณสมบัติเดียวกับเกณฑ์การเสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแลระบบ ทั้งนี้ ผู้นั้นไม่จำต้องเป็นผู้ดูแลระบบ แต่จะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันที่เสนอชื่อ และลงนามในข้อตกลงการรักษาความลับสำหรับสารสนเทศส่วนบุคคลของมูลนิธิวิกิมีเดียก่อนได้รับแต่งตั้ง

นโยบายการควบคุมประวัติ แก้

อนุญาตให้ใช้ความสามารถนี้ได้ในกรณีต่อไปนี้

  1. การลบสารสนเทศส่วนบุคคล เช่น เลขประจำตัวประชาชน, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่บ้าน, สถานที่ทำงาน, การระบุนามแฝงหรือสารสนเทศของบุคคลทั่วไปอื่นที่ไม่สามารถเปิดเผยได้กับสาธารณชน รวมถึงการซ่อนข้อมูลหมายเลขไอพีของผู้ใช้ที่ออกจากระบบโดยฉุกเฉิน และไม่มีความตั้งใจเปิดเผยหมายเลขไอพี รวมทั้งซ่อนข้อมูลหมายเลขไอพีของผู้ใช้โดยไม่มีชื่อผู้ใช้ เมื่อมีการร้องขอ การสกัดกั้นเป็นเครื่องมือชนิดแรกในการนำข้อมูลเหล่านี้ออก

ในกรณีต่อไปนี้ อาจใช้การระงับรุ่นการแก้ไข และ/หรือ ปูมเมื่อชอบตามพฤติการณ์ อย่างไรก็ดี ควรพิจารณาด้วยว่าการลบรุ่นแก้ไข (Revision deletion) ซึ่งผู้ดูแลระบบก็สามารถกระทำได้นั้น เป็นการสนองที่เหมาะสมหรือไม่โดยไม่ต้องใช้การควบคุมประวัติ

  1. การลบสารสนเทศที่อาจหมิ่นประมาท: ก) โดยคำแนะนำของที่ปรึกษามูลนิธิวิกิมีเดีย หรือ ข) เมื่อกรณีดังกล่าวประจักษ์ชัด และไม่มีเหตุผลเชิงบรรณาธิการในการเก็บรุ่นแก้ไขนั้น
  2. การลบเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยคำแนะนำของที่ปรึกษามูลนิธิวิกิมีเดีย
  3. การซ่อนชื่อผู้ใช้ที่โจมตีผู้อื่นอย่างชัดแจ้งบนรายชื่อผู้ใช้และปูมอัตโนมัติต่าง ๆ โดยไม่รบกวนประวัติการแก้ไข การโจมตีอย่างชัดแจ้งหมายความถึงเจตนาใส่ร้าย ข่มขู่ หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือรังควานบุคคล
  4. การลบการก่อกวน อาจใช้การระงับบางโอกาสเพื่อลบการก่อกวนซึ่งมาตรการของผู้ดูแลระบบตามปกติไม่เพียงพอ กรณีเช่นว่าควรมีการอภิปรายล่วงหน้าในจดหมายกลุ่มผู้ควบคุมประวัติ ยกเว้นเป็นกรณณีเร่งด่วนหรือขึ้นกับเวลา ซึ่งควรอภิปรายในจดหมายกลุ่มในภายหลัง

ปฏิบัติการ แก้

การกระทำ แก้

ผู้ควบคุมประวัติสามารถกระทำสิ่งต่อไปนี้ได้

  1. ระงับหรือเลิกระงับส่วนของรุ่นแก้ไขหน้าหนึ่ง ๆ (ข้อความรุ่นการแก้ไข, ชื่อผู้ใช้ หรือความย่อการแก้ไข) โดยใช้ส่วนขยายของฟังก์ชัน RevisionDelete ของซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ
  2. ระงับหรือเลิกระงับหน่วยปูม (การกระทำ / ผู้ใช้หรือหน้าเป้าหมาย ความย่อปูม หรือชื่อผู้ใช้/ไอพีที่ดำเนินการกระทำนั้น) โดยใช้ตัวเลือกขยายทางหน้าฟังก์ชัน RevisionDelete
  3. ระงับชื่อผู้ใช้บัญชีเป้าหมายจากการแก้ไขและปูมทั้งหมดเมื่อใช้การบล็อกแทนหน้าฟังก์ชันบล็อก
  4. ระงับการแก้ไขทั้งหมดในหน้าหนึ่งเมื่อลบหน้านั้นแทนหน้าฟังก์ชันลบ
  5. ทบทวนปูมการระงับที่มีรายการการกระทำที่ผู้ควบคุมประวัติอื่นกระทำที่เกี่ยวข้องกับการระงับ ตลอดจนเนื้อหาที่ผู้ใช้อื่นนั้นระงับ
  6. ดูการแก้ไขและหน่วยปูมที่ถูกระงับ

การเก็บปูม แก้

 
ช่องสี่เหลี่ยมล่างสุดทางด้านซ้าย สำหรับผู้ควบคุมประวัติทำเครื่องหมายว่าต้องการสกัดกั้นประวัติการแก้ไข

ส่วนขยายฟังก์ชัน RevisionDelete ของซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ สามารถใช้ได้ทั้งผู้ควบคุมประวัติและผู้ดูแลระบบ โดยผู้ควบคุมประวัติจะมีความสามารถมากกว่านั่นคือเมื่อทำเครื่องหมายที่ช่องสี่เหลี่ยมล่างสุด จะเป็นการสกัดกั้นเนื้อหา ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้อื่นนอกเหนือจากผู้ควบคุมประวัติไม่สามารถดูเนื้อหาที่ถูกสกัดกั้นได้ หรือหากไม่ทำเครื่องหมายดังกล่าว จะเป็นการซ่อนเนื้อหาซึ่งเป็นฟังก์ชันของผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลระบบที่เข้ามาในหน้าฟังก์ชันนี้จะไม่มีช่องทำเครื่องหมายการสกัดกั้นเนื้อหา ซึ่งปฎิบัติการดังกล่าวจะถูกบันทึกไว้ใน ปูมการสกัดกั้นเนื้อหา หรือ ปูมการลบ แล้วแต่กรณี

  1. ผู้ควบคุมประวัติสามารถทำเครื่องหมาย "สกัดกั้นเนื้อหาจากผู้ดูแลระบบเช่นเดียวกับผู้ใช้อื่น" ซึ่งจะทำให้รุ่นการแก้ไขและปูมบันทึกต่างๆ ถูกสกัดกั้น โดยปฎิบัติการนี้จะถูกบันทึกไว้ในปูมการสกัดกั้นเนื้อหา และจะไม่บันทึกลงในปูมการลบ
  2. หากผู้ควบคุมประวัติไม่ทำเครื่องหมาย "สกัดกั้นเนื้อหาจากผู้ดูแลระบบเช่นเดียวกับผู้ใช้อื่น" หรือเป็นปฎิบัติการของผู้ดูแลระบบ ปฎิบัติการนี้จะถูกบันทึกไว้ในปูมการลบ
  3. บัญชีผู้ใช้ที่ถูกบล็อกไม่มีกำหนด และถูกผู้ควบคุมประวัติซ่อนประวัติการแก้ไขโดยทำเครื่องหมาย "สกัดกั้นชื่อผู้ใช้จากการแก้ไขและปูมต่างๆ" จะไม่มีผลต่อปูมการบล็อกผู้ใช้ (หากไม่ทำเครื่องหมายสกัดกันชื่อผู้ใช้ และต่อมาได้เปลี่ยนการบล็อก จะไม่มีผลต่อปูมการบล็อกผู้ใช้ หากเปลี่ยนการบล็อกไปพร้อมกับการสกัดกั้นชื่อผู้ใช้ จะทำให้การบล็อกนั้นถูกบันทึกในปูมการบล็อกผู้ใช้ และไม่บันทึกลงในปูมการสกัดกั้น)
  4. บัญชีผู้ใช้ที่ถูกบล็อก โดยผู้ควบคุมประวัติไม่ทำเครื่องหมาย "สกัดกั้นชื่อผู้ใช้จากการแก้ไขและปูมต่างๆ" (คือการบล็อกโดยปกติ) ปฎิบัติการนั้นจะถูกบันทึกในปูมการบล็อกผู้ใช้
  5. หน้าที่ถูกลบ และถูกผู้ควบคุมประวัติซ่อนการแก้ไขโดยทำเครื่องหมาย "สกัดกั้นประวัติการแก้ไขทั้งหมด" ปฎิบัติการนั้นจะถูกบันทึกในปูมการสกัดกั้นเนื้อหา และจะไม่บันทึกลงในปูมการลบ
  6. หน้าที่ถูกลบ โดยผู้ควบคุมประวัติไม่ทำเครื่องหมาย "สกัดกั้นประวัติการแก้ไขทั้งหมด" (คือการลบโดยปกติ) ปฎิบัติการนั้นจะถูกบันทึกในปูมการลบ

โดยแต่ละรายการในปูมจะประกอบด้วยบัญชีที่เปลี่ยนทัศนวิสัย เวลาที่บันทึกปฎิบัติการดังกล่าว หน้าที่ถูกปฎิบัติการ การแก้ไข หรือปูมที่ถูกบันทึกจากปฎิบัติการของผู้ใช้ต่างๆ รวมทั้งคำอธิบายอย่างย่อที่ผู้ใช้ระบุเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาต่างๆ ปูมการบันทึกปฎิบัติการต่างๆ จะเน้นถึงทัศนวิสัยของรุ่นการแก้ไข รวมทั้งความแตกต่างระหว่างรุ่นการแก้ไข

การแต่งตั้งและถอดถอน แก้

ผู้ใช้ทั่วไปที่ประสงค์จะขอสิทธิในการใช้เครื่องมือควบคุมประวัติ จะต้องได้รับการคัดเลือกจากชุมชนเช่นเดียวกับการเสนอชื่อผู้ดูแลระบบ โดยต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นต่อประชาคมตามสมควร และได้เสียงสนับสนุนจากประชาคมตามจำนวนที่กำหนด (ทั้งนี้ โดยให้ใช้คุณสมบัติและกระบวนการคัดเลือกเช่นเดียวกับการเสนอชื่อผู้ดูแลระบบโดยอนุโลม) โดยถือว่าเป็นการได้รับเลือกจากประชาคมเพื่อประโยชน์ในการขอสิทธิตามนโยบายการควบคุมประวัติของเมทาวิกิ ทั้งนี้เมื่อผ่านการคัดเลือกจากประชาคม และดำเนินการขอสิทธิผู้ควบคุมประวัติที่เมตาแล้ว ผู้ใช้จะต้องยืนยันตัวบุคคล และลงนามในข้อตกลงการรักษาความลับสำหรับสารสนเทศส่วนบุคคลตามช่องทางที่มูลนิธิวิกิมีเดียกำหนดด้วย

ผู้ควบคุมประวัติสามารถถูกถอดถอนได้ หากประชาคมเห็นว่าผู้ควบคุมประวัติได้ใช้เครื่องมือควบคุมประวัติในทางที่ผิด เช่น สกัดกั้นเนื้อหาในทางที่ผิด หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่จำเป็น ประชาคมอาจเสนอชื่อให้ถอดถอนผู้ตรวจสอบนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมล คำขอส่วนบุคคล หรือการขอถอนสถานะตามกระบวนการทั่วไปในเมทาวิกิ ทั้งนี้หากมีกรณีเร่งด่วน ผู้จัดการโครงการอาจถอดถอนสถานะผู้ควบคุมประวัติเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการตัดสินจากประชาคมได้ ทั้งนี้ต้องเป็นการชั่วคราวและมีเหตุผลรองรับเท่านั้น

การร้องเรียนซึ่งการละเมิดการใช้เครื่องมือ แก้

นโยบายของมูลนิธิวิกิมีเดียเกี่ยวกับการถอดถอนสถานะผู้ควบคุมประวัติ มีดังนี้

  • ผู้ใช้ที่ได้รับสถานะผู้ควบคุมประวัติ ที่ขาดความเคลื่อนไหวเป็นเวลานานกว่า 1 ปี จะถูกถอนสถานะโดยปริยาย
  • หากมีการใช้เครื่องมือควบคุมประวัติในทางที่ผิด เช่น มีการสกัดกั้นเนื้อหาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเวลาบ่อยครั้ง ผู้ควบคุมประวัติที่ดำเนินการเช่นนั้นจะถูกถอนสถานะทันที
  • หากมีข้อสงสัยว่ามีการเครื่องมือในทางที่ผิด ให้อภิปรายกรณีดังกล่าวในวิกิพีเดียภาษาไทย โดยประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทยจะเป็นผู้ตัดสินให้ถอนสถานะ และดำเนินเรื่องให้ผู้จัดการโครงการถอนสถานะต่อไป ผู้จัดการโครงการจะไม่เป็นผู้ถอนสถานะด้วยตนเอง แต่สามารถให้ข้อมูลเพื่อแสดงว่ามีการใช้เครื่องมือในทางที่ผิด และหากกรณีการถอดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล สามารถขอให้มูลนิธิวิกิมีเดียเป็นผู้ประกาศถอดถอนสถานะได้
  • สามารถส่งข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในทางที่ผิด หรือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลไปที่คณะกรรมการผู้ตรวจการวิกิมีเดีย (Ombudsman committee) ได้เช่นกัน หากเป็นกรณีอื่น ๆ สามารถส่งให้ประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทยเป็นผู้พิจารณาได้

ติดต่อผู้ควบคุมประวัติ แก้

โดยทั่วไป ผู้ควบคุมประวัติเป็นผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ในการรับมือกับกรณีที่ละเอียดอ่อน กรณีเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคล และกรณีอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหา หรือปูมบันทึกการดำเนินการต่างๆ ภายในวิกิพีเดียภาษาไทย หากต้องการให้มีการสกัดกั้นเนื้อหา กรุณาแจ้งเรื่องไว้ที่ หน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ เพื่อให้ผู้ควบคุมประวัติดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ดี กรณีที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ๆ อาจสามารถติดต่อกับผู้ควบคุมประวัติได้โดยใช้ช่องทางดังต่อไปนี้

  • ติดต่อผู้ควบคุมประวัติเป็นรายคน ผู้ควบคุมประวัติอาจให้คำแนะนำ ช่วยจัดการกรณีดังกล่าว หรือส่งเรื่องไปพิจารณากับผู้ควบคุมประวัติรายอื่น
  • ติดต่อกับคณะผู้ควบคุมประวัติทั้งหมด วิธีนี้มักเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะได้รับคำตอบจากผู้ควบคุมประวัติ เป็นการให้ผู้ควบคุมประวัติรู้โดยทั่วกัน หรืออาจใช้ในกรณีที่ไม่รู้จักผู้ควบคุมประวัติเป็นการส่วนตัวและไม่อาจพิจารณาได้ว่าจะติดต่อผู้ใด หากกรณีดังกล่าวเป็นกรณีละเอียดอ่อนที่สุด อาจใช้วิธีติดต่อกับประชาคมชาวิกิพีเดียภาษาไทย หรือคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือรายบุคคลก็ได้
  • สำหรับกรณีที่อาจเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น เช่น ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือกรณีที่อยู่นอกเหนืออำนาจของผู้ควบคุมประวัติในวิกิพีเดียภาษาไทย สามารถส่งอีเมลไปยังกลุ่มรวมของผู้ควบคุมประวัติผู้ใช้ทุกโครงการของวิกิมีเดียได้ แต่เนื่องจากอีเมลดังกล่าวไม่สามารถส่งจากผู้ใช้ทั่วไปไปยังกลุ่มรวมได้โดยตรง ผู้ที่ต้องการติดต่อกับผู้ควบคุมประวัติผู้ใช้รวมนั้นจึงต้องติดต่อกับคณะผู้ควบคุมประวัติรายคน แล้วขอให้ส่งอีเมลไปยังกลุ่มรวมของผู้ควบคุมประวัติ

การเสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ควบคุมประวัติ แก้

ขั้นตอนการเสนอชื่อ แก้

ทุกคนสามารถเป็นผู้ควบคุมประวัติได้ โดยเสนอชื่อของตนเองหรือผู้อื่นตามขั้นตอนด้านล่าง และเช่นกันทุกคนสามารถลงความเห็นสนับสนุนหรือคัดค้านได้ โดยขั้นตอนการเสนอชื่อมีดังต่อไปนี้

  1. แจ้งให้ผู้ถูกเสนอชื่อรับรู้ และรอการตอบรับหรือตอบปฏิเสธจากผู้ถูกเสนอชื่อ เว้นเสียแต่ว่าคุณเสนอชื่อตัวเอง
  2. ถ้าผู้ถูกเสนอตอบรับให้เสนอชื่อตนได้ ผู้เสนอนำชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างในส่วนการเสนอชื่อ พร้อมเขียนเหตุผลที่เสนอบุคคลนั้น และควรไปประกาศเพิ่มในส่วน แม่แบบ:ประกาศ เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ว่าช่วงนี้มีการเสนอชื่อ
  3. ผู้ใช้คนอื่น (นอกจากผู้เสนอชื่อและตัวผู้ถูกเสนอเอง และไอพี) สามารถลงชื่อให้การสนับสนุน เป็นกลาง หรือคัดค้านได้ พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ หรือสามารถถามคำถามต่อผู้ถูกเสนอชื่อก่อนตัดสินใจได้ อนึ่งผู้ลงชื่อให้การสนับสนุน เป็นกลาง หรือ คัดค้าน จะต้องไม่เป็นหุ่นเชิดของผู้ใด หากพบ/สันนิษฐานว่าเป็นหุ่นเชิด จะไม่ถูกนำไปประกอบพิจารณาการตัดสินใจ
  4. หลังการเสนอชื่อแล้ว 2 สัปดาห์ ชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยจะทำการตัดสินว่าคนนั้นควรเป็นผู้ควบคุมประวัติหรือไม่ โดยจะต้องได้รับคะแนนสนับสนุน 25 คะแนนขึ้นไป และคะแนนสนับสนุนต้องไม่ต่ำกว่า 75% ของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด รวมทั้งดูจากความเห็นและเหตุผลประกอบต่าง ๆ ที่ถูกเสนอเข้ามา หากผ่านเกณฑ์ดังกล่าว จะส่งชื่อผู้ถูกเสนอชื่อไปดำเนินการขอสิทธิผู้ควบคุมประวัติที่เมทาวิกิ เมื่อผู้ดูแลโครงการรับทราบการขอสิทธิดังกล่าว ผู้ดูแลโครงการจะให้ผู้ถูกเสนอชื่อยืนยันตัวบุคคล และลงนามในข้อตกลงการรักษาความลับสำหรับสารสนเทศส่วนบุคคลตามช่องทางที่มูลนิธิวิกิมีเดียกำหนด
  5. เมื่อการตัดสินเสร็จสิ้นลง ผู้ที่ถูกเสนอชื่ออาจแสดงความเห็นไว้ในส่วนล่าง และหลังจากนั้นรายชื่อและความเห็นจะถูกเก็บเข้าไป ในส่วนการเสนอชื่อที่ปิดไปแล้ว

ระเบียบการเสนอชื่อ แก้

  1. ในการเสนอชื่อตนเองหรือผู้อื่นเป็นผู้ควบคุมประวัติ ผู้ที่ถูกเสนอจะต้องผ่านหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    (ก) ต้องมีจำนวนการแก้ไขขั้นต่ำ 1,000 ครั้ง ณ วันที่เสนอชื่อ (ซึ่งอาจพิจารณาจากเนมสเปซที่เขียน และอื่น ๆ ประกอบด้วย)
    (ข) เป็นสมาชิกวิกิพีเดีย (คือ มีบัญชีผู้ใช้) ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ณ วันที่เสนอชื่อ
    (ค) มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่เสนอชื่อ
  2. ผู้ที่ถูกเสนอชื่อนั้นนำเสนอผลงานที่โดดเด่นของตนเอง ซึ่งอาจเป็นด้านบทความ การอภิปราย หรือบทบาทอย่างอื่น
  3. หากการเสนอชื่อนั้นไม่ผ่าน ผู้นั้นจะถูกเสนอชื่อเป็นผู้ควบคุมประวัติ ได้อีกหลังปิดการเสนอชื่อไปแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน

หน้าเสนอชื่อเป็นผู้ควบคุมประวัติ แก้

1
เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ควบคุมประวัติ

พิมพ์ชื่อผู้ใช้ที่ต้องการเสนอแทนที่คำว่า ชื่อผู้ใช้ แล้วคลิก เสนอชื่อ


2
ขึ้นบัญชีการเสนอ

แก้ไขหน้านี้ และเพิ่มโค้ดดังนี้ไว้ล่างสุด โดยเปลี่ยน ชื่อผู้ใช้ เป็นชื่อผู้ใช้ที่คุณเสนอ:
{{รายชื่อเสนอผู้ควบคุมประวัติ|ชื่อผู้ใช้}}

การเสนอชื่อขณะนี้ แก้

  • ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอชื่อ

บันทึกการเสนอชื่อที่ปิดไปแล้ว แก้

ดูที่ บันทึกการเสนอชื่อที่ปิดไปแล้ว

ดูเพิ่ม แก้

นโยบาย
การเข้าถึงเครื่องมือ
  • m:Requests for permission สำหรับยื่นขอสถานะ/ถอดถอนสถานะผู้ควบคุมประวัติ
  • m:User rights log สำหรับการตรวจสอบการให้และถอนสถานะ โดยพิมพ์ User:ชื่อผู้ใช้@thwiki ลงในกล่อง
หน้าที่เกี่ยวข้อง
เทคนิค
  • mw:RevisionDelete ให้รายละเอียดการทำงาน และการติดตั้งลงในวิกิของตนเอง
เครื่องมือสำหรับผู้ควบคุมประวัติ