วิกฤตเงินตราและหนี้ตุรกี พ.ศ. 2561

วิกฤตเงินตราและหนี้ตุรกี พ.ศ. 2561 เป็นวิกฤตการเงินที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศตุรกีโดยมีผลสะท้อนระหว่างประเทศเนื่องจากการระบาดทางการเงิน เงินตราลีราตุรกีเสื่อมมูลค่า มีอัตราเงินเฟ้อสูง ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น และมีการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นตาม วิกฤตดังกล่าวเกิดจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและหนี้เงินตราต่างประเทศมากเกินของเศรษฐกิจตุรกี กอปรกับความเป็นเผด็จการที่เพิ่มขึ้นของประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน และความคิดแหวกประเพณีของเขาเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ย[5][6][7]

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมามีการกระตุ้นอุตสาหกรรมก่อสร้างทางการคลังและการเงิน[1][2] ทำให้เหลือบ้านใหม่ขายไม่ออกตกค้าง[3] และโครงการใหญ่ที่ไม่มีกำไรอย่างสะพานยาวูซสุลต่านเซลิม (ในภาพ)[4]

แม้วิกฤตดังกล่าวขึ้นชื่อเรื่องการลดค่าเงินครั้งสำคัญเป็นระลอก แต่ระยะหลังยังมีการผิดนัดชำระหนี้และการหดตัวทางเศรษฐกิจในที่สุด อัตราเงินเฟ้อแตะสองหลักทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน (stagflation) ตามมา

อ้างอิง แก้

  1. Mark Bentley (19 April 2018). "Turkish real estate ills reflect Erdoğan's snap poll decision". Ahval. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-08-12.
  2. Marc Champion; Cagan Koc (22 June 2018). "A Crazy $200 Billion Says Erdogan Wins His Election Bet". Bloomberg.
  3. "Turkish property firms to slash prices in one-month drive to revive market". Reuters. 15 May 2018.
  4. "İşte köprü gerçekleri". Hurriyet (ภาษาตุรกี). 2 July 2017.
  5. Borzou Daragahi (25 May 2018). "Erdogan Is Failing Economics 101". Foreign Policy.
  6. "Inflation rise poses challenge to Erdogan as election looms". Financial Times. 5 June 2018.
  7. Matt O'Brien (13 July 2018). "Turkey's economy looks like it's headed for a big crash". Washington Post.