วิกตอเรียพีก (อังกฤษ: Victoria Peak, จีน: 太平山 หรือเดิม 扯旗山) หรือ ภูเขาออสติน (Mount Austin) หรือชื่อท้องถิ่นคือ เดอะพีก (The Peak) เป็นภูเขาที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะฮ่องกง เป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนเกาะ มีความสูง 552 เมตร (1,811 ฟุต) และอยู่ในอันดับที่ 31 ของภูเขาที่สูงสุดในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (จุดที่สูงที่สุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงคือ ไทโมชาน สูง 957 เมตร (3,140 ฟุต))

วิกตอเรียพีก
太平山 | 扯旗山
View showing Victoria Peak with High west to the left and The Mount Austin to the right
วิกตอเรียพีกมองจากเหววิกตอเรีย
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
552 เมตร (1,811 ฟุต)
พิกัด22°16′31.69″N 114°8′37.78″E / 22.2754694°N 114.1438278°E / 22.2754694; 114.1438278
ชื่อ
ชื่อท้องถิ่น太平山  (จีน)
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
วิกตอเรียพีกตั้งอยู่ในฮ่องกง
วิกตอเรียพีก
วิกตอเรียพีก
ที่ตั้งของวิกตอเรียพีกในฮ่องกง
ที่ตั้งธงของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ฮ่องกง
วิกตอเรียพีก
ภาษาจีน太平山
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
ภาษาจีน扯旗山
วิกตอเรียพีก มองจากถนนฟินด์เลย์

ชาวยุโรปรู้จัก "เดอะพีก" มาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เนื่องจากเป็นจุดที่มองเห็นเกาะได้ดีที่สุดและมีอากาศที่อบอุ่น ต่างจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะฮ่องกงที่มีอากาศกึ่งเขตร้อน ข้าหลวงคนที่หกแห่งฮ่องกงคือ เซอร์ริชาร์ด แมกดอนเนลล์ สร้างบ้านพักตากอากาศที่นี่ราวปี ค.ศ. 1868[1] แต่เดิมผู้ที่จะเดินทางขึ้นมาที่ยอดเขาจะต้องใช้เกี้ยวที่มีคนหาม แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1888 มีการเปิดให้บริการกระเช้าไฟฟ้า[1][2] ทำให้การขึ้นสู่ยอดเขาสะดวกสบายมากขึ้น ระหว่างปี ค.ศ. 1904–1930 มีการประกาศให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่อาศัยเฉพาะของชาวต่างชาติ[3]

ในปัจจุบัน วิกตอเรียพีกรองรับนักท่องเที่ยวกว่า 7 ล้านคนต่อปี เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของฮ่องกง[4] นักท่องเที่ยวมักจะมาถ่ายมุมกว้างของเกาะ และเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ เช่น พีกทาวเวอร์, พีกแกลเลอเรีย, สวนวิกตอเรียพีก, วิกตอเรียแกป และถนนลูการ์ด การเดินทางสามารถมาได้ทั้งทางกระเช้าไฟฟ้า บริการขนส่งสาธารณะ รถแท็กซี่ และรถยนต์ส่วนตัว

นอกจากจะเป็นพื้นที่พักอาศัยและแหล่งท่องเที่ยวแล้ว วิกตอเรียพีกยังเป็นที่พำนักของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งบริหารของฮ่องกง เช่น เลขานุการกระทรวงยุติธรรมฮ่องกง หัวหน้าเลขานุการฝ่ายบริหารฮ่องกง หัวหน้าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์สูงสุดฮ่องกง เป็นต้น รวมถึงนักธุรกิจที่มีชื่ออย่างเหลก๊าเส่ง[5]

ภูมิอากาศ แก้

ข้อมูลภูมิอากาศของเดอะพีก (ค.ศ. 2004–ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 25.0
(77)
28.0
(82.4)
26.9
(80.4)
29.0
(84.2)
32.6
(90.7)
32.7
(90.9)
32.3
(90.1)
32.9
(91.2)
32.1
(89.8)
30.6
(87.1)
28.7
(83.7)
25.5
(77.9)
32.9
(91.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.4
(61.5)
17.5
(63.5)
19.5
(67.1)
22.7
(72.9)
25.8
(78.4)
27.3
(81.1)
28.4
(83.1)
28.5
(83.3)
27.9
(82.2)
25.5
(77.9)
22.0
(71.6)
18.0
(64.4)
23.3
(73.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 13.3
(55.9)
14.5
(58.1)
16.6
(61.9)
20.1
(68.2)
23.3
(73.9)
25.1
(77.2)
25.8
(78.4)
25.7
(78.3)
25.0
(77)
22.5
(72.5)
19.2
(66.6)
15.0
(59)
20.5
(68.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 11.1
(52)
12.3
(54.1)
14.5
(58.1)
18.2
(64.8)
21.5
(70.7)
23.4
(74.1)
24.0
(75.2)
23.8
(74.8)
23.2
(73.8)
20.7
(69.3)
17.3
(63.1)
12.8
(55)
18.6
(65.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -1.0
(30.2)
4.1
(39.4)
4.9
(40.8)
9.4
(48.9)
13.4
(56.1)
17.9
(64.2)
19.8
(67.6)
20.8
(69.4)
18.1
(64.6)
12.4
(54.3)
6.3
(43.3)
3.5
(38.3)
−1.0
(30.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 34.7
(1.366)
30.4
(1.197)
71.5
(2.815)
138.6
(5.457)
310.8
(12.236)
496.4
(19.543)
392.4
(15.449)
384.8
(15.15)
245.8
(9.677)
92.4
(3.638)
44.7
(1.76)
30.5
(1.201)
2,273.0
(89.488)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 6.1 9.0 9.8 11.0 14.0 18.4 17.3 15.7 13.6 7.1 6.0 5.1 133.1
แหล่งที่มา: หอดูดาวฮ่องกง[6][7][8]


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "The Peak History". The Peak. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-07. สืบค้นเมื่อ 14 March 2007.
  2. "Peak Tram History". The Peak Hong Kong. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-20. สืบค้นเมื่อ 13 March 2007.
  3. Peak District Reservation Ordinance, 1904
  4. DeWolf, Christopher "9 Hong Kong tourist traps – for better or worse" CNN Go. 27 October 2010. Retrieved 3 March 2012
  5. "Hutchison Sells Second Hong Kong House Over HK$500Mln". Bloomberg.com. 25 November 2013.
  6. "Monthly Means of Meteorological Elements for The Peak, 2004-2017". หอดูดาวฮ่องกง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 29 May 2018. 山頂氣象要素月平均值 (2004-2017)
  7. "Monthly Means of Meteorological Statistics for The Peak, 2004-2017". หอดูดาวฮ่องกง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 29 May 2018. 山顶气象统计月平均值 (2004-2017)
  8. "Extreme Values and Dates of Occurrence of Extremes of Meteorological Elements between 1884-1939 and 1947-2017 for Hong Kong". หอดูดาวฮ่องกง. สืบค้นเมื่อ 29 May 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

22°16′32″N 114°08′38″E / 22.275469°N 114.143828°E / 22.275469; 114.143828