วันแห่งคนตาย

(เปลี่ยนทางจาก วันแห่งความตาย)

วันแห่งคนตาย (สเปน: Día de Muertos) เป็นวันหยุดที่ฉลองกันทั่วประเทศเม็กซิโก (โดยเฉพาะในภาคกลางและใต้) รวมทั้งในหมู่ชาวเม็กซิโกที่อยู่ในประเทศอื่น เป็นวันหยุดที่ครอบครัวและเพื่อนมารวมตัวกันสวดภาวนาและรำลึกถึงเพื่อนและสมาชิกครอบครัวที่เสียชีวิต และช่วยเหลือนำทางพวกเขาในการเดินทางทางจิตวิญญาณ ในวัฒนธรรมเม็กซิโก ความตายเป็นส่วนหนึ่งของวงจรชีวิตมนุษย์ ชาวเม็กซิโกไม่ได้มองว่าวันนี้เป็นวันแห่งความเศร้าโศก แต่มองว่าเป็นวันแห่งการฉลอง เพราะในวันนี้คนที่พวกเขารักจะเดินทางกลับจากโลกคนตายเพื่อมาเยี่ยมเยียนและเลี้ยงฉลองกับพวกเขา[1] ใน ค.ศ. 2008 ยูเนสโกยกให้วัฒนธรรมนี้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ[2]

วันแห่งคนตาย
แท่นบูชาผู้ล่วงลับในวันแห่งคนตายที่เม็กซิโกซิตี
จัดขึ้นโดยประเทศเม็กซิโกและภูมิภาคที่มีชาวเม็กซิโกจำนวนมาก
ประเภทวัฒนธรรม
การผสานความเชื่อศาสนาคริสต์
ความสำคัญขอพรและรำลึกเพื่อนกับสมาชิกครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้ว
การเฉลิมฉลองสร้างแท่นเพื่อรำลึกถึงคนตายและทำอาหารท้องถิ่น
เริ่ม1 พฤศจิกายน
สิ้นสุด2 พฤศจิกายน
วันที่2 พฤศจิกายน
ความถี่ทุกปี
ส่วนเกี่ยวข้องวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย
งานฉลองพื้นเมืองที่อุทิศแด่คนตาย *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
การประดับสุสานด้วยดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่รัฐมิโชอากัน
ประเทศ เม็กซิโก
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
อ้างอิง00054
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2008 (คณะกรรมการสมัยที่ 3)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

บางครั้งในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษมีการเรียกวันหยุดนี้ว่า Día de los Muertos[3][4] ซึ่งเป็นการแปลย้อนกลับ (back-translation) ของวลีในภาษาสเปนว่า Día de Muertos[5][6][7] ในประเทศเม็กซิโกถือว่าวันแห่งคนตายเป็นวันหยุดราชการ ก่อนหน้าการล่าอาณานิคมของสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 งานฉลองนี้เคยจัดในช่วงเริ่มต้นฤดูร้อน แล้วค่อย ๆ เลื่อนไปฉลองในวันที่ 31 ตุลาคม, 1 พฤศจิกายน และ 2 พฤศจิกายน เพื่อให้ตรงกันกับตรีวารปัสกาของออลแฮลโลว์ไทด์ (Allhallowtide) ในศาสนาคริสต์แบบตะวันตก คือ วันสมโภชนักบุญทั้งหลายตอนต้น, วันสมโภชนักบุญทั้งหลายตอนปลาย และวันฉลองพระวิญญาณ[8][9] ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันในวันแห่งคนตาย ได้แก่ การตั้งแท่นบูชาประจำบ้านที่เรียกว่า โอเฟรนดา (ofrenda) การเซ่นไหว้ผู้เสียชีวิตด้วยหัวกะโหลกตกแต่งหรือกาลาเบรา (calavera) ดอกดาวเรือง และอาหารกับเครื่องดื่มโปรดของผู้เสียชีวิต และการทำความสะอาดสุสานรวมทั้งนำของเซ่นไหว้ไปตั้งไว้ที่นั่น[10]

นักวิชาการเม็กซิโกยังคงถกเถียงกันว่าวันแห่งคนตายมีรากฐานมาจากชนพื้นเมืองมีโซอเมริกาสมัยก่อนโคลัมบัสอย่างแท้จริง หรือว่าเป็นประเพณีสเปนที่ได้รับการเปลี่ยนโฉมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างสมัยประธานาธิบดีลาซาโร การ์เดนัส เพื่อส่งเสริมลัทธิชาตินิยมเม็กซิโกผ่านอัตลักษณ์ "แอซเทก"[11][12][13] อย่างไรก็ตาม วันหยุดนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่งของเม็กซิโกในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาและรวมอยู่ในหลักสูตรการศึกษาของประเทศโดยเน้นย้ำถึงต้นกำเนิดพื้นเมือง[14]

แต่เดิมไม่มีการฉลองวันแห่งคนตายในภาคเหนือของเม็กซิโก ที่นั่นไม่มีใครรู้จักวันหยุดนี้จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เนื่องจากชนพื้นเมืองมีประเพณีที่แตกต่างกันไป ผู้คนและคริสตจักรยังไม่ยอมรับวันแห่งคนตายเพราะถือว่าเทศกาลนี้เป็นการผสานความเชื่อนอกรีตเข้ากับศาสนาคริสต์คาทอลิก พวกเขาฉลองวันสมโภชนักบุญทั้งหลายตามประเพณีในลักษณะเดียวกับชาวคริสต์ในที่อื่น ๆ ของโลก ภูมิภาคนี้ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมมีโซอเมริกาอย่างจำกัดและมีชนพื้นเมืองจากภาคใต้ของเม็กซิโก (ซึ่งมีการฉลองวันหยุดนี้) ย้ายถิ่นเข้าไปค่อนข้างน้อย เมื่อถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 จึงเริ่มมีการฉลองวันแห่งคนตายในภาคเหนือของเม็กซิโกเนื่องจากรัฐบาลเม็กซิโกได้กำหนดให้เป็นวันหยุดทั่วประเทศ โดยนำเสนอวันหยุดนี้ในฐานะประเพณีที่หลอมรวมคนในชาติให้เป็นหนึ่งเดียว[15][16][17]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Society, National Geographic (2012-10-17). "Dia de los Muertos". National Geographic Society (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-08. สืบค้นเมื่อ 2019-04-08.
  2. "Indigenous festivity dedicated to the dead". UNESCO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 11, 2014. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 31, 2014.
  3. "Dia de los Muertos". El Museo del Barrio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 27, 2015. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 31, 2015.
  4. "Austin Days of the Dead". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 1, 2015. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 31, 2015.
  5. "Honoring Traditions on Día de Muertos". Dollars & Sense. Baruch College. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019. According to Aguirre, Día de los Muertos ... is a direct translation from the English translation of Día de Muertos. Día de los Muertos is simply an American translation, while folks in Mexico refer to the celebration without the “los”.
  6. Morales, Areli (29 October 2019). "Read This Before Celebrating Día de Muertos This Year. Signed, a Zapotecan-American". L.A. TACO. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019. Dia de Los Muertos is the direct translation of Day of the Dead, the los is not needed.
  7. "Giant Skeletons Emerge from the Streets of Mexico for Día de los Muertos". My Modern Met (ภาษาอังกฤษ). 31 October 2019. สืบค้นเมื่อ 14 November 2019. ...when Mexico begins celebrations for Día de los Muertos (better known in Mexico as Día de Muertos).
  8. Day, Frances Ann (2003). Latina and Latino Voices in Literature. Greenwood Publishing Group. p. 72. ISBN 978-0313323942.
  9. Lumaban, Weely A. (October–November 2008). "All Soul's Day". The Bread Basket. Vol. V no. 3. Rex Bookstore, Inc. p. 23.
  10. "Dia de los Muertos". National Geographic Society. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 2, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2, 2016.
  11. "Día de muertos, ¿tradición prehispánica o invención del siglo XX?". Relatos e Historias en México. November 2, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2020. สืบค้นเมื่อ November 5, 2020.
  12. "Dos historiadoras encuentran diverso origen del Día de Muertos en México". www.opinion.com.bo. November 2, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2020. สืบค้นเมื่อ October 24, 2020.
  13. ""Día de Muertos, un invento cardenista", decía Elsa Malvido". El Universal. November 3, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2020. สืบค้นเมื่อ October 24, 2020.
  14. "El Día de Muertos mexicano nació como arma política o tradición prehispánica – Arte y Cultura". www.intramed.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2020. สืบค้นเมื่อ October 23, 2020.
  15. Lee, Stacy (2002). Mexico and the United States. Marshall Cavendish. ISBN 978-0761474029.
  16. Cazares, Eduardo (พฤศจิกายน 2, 2015). "Día de Muertos en Nuevo León". Diario Cultura. Diario Cultura.mx. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 1, 2014. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 1, 2014.
  17. Mendoza, Gustavo. "Hasta en el velorio, las penas con pan son menos". Milenio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 25, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 1, 2014.

บรรณานุกรม แก้

  • Andrade, Mary J. Day of the Dead A Passion for Life – Día de los Muertos Pasión por la Vida. La Oferta Publishing, 2007. ISBN 978-0-9791624-04
  • Anguiano, Mariana, et al. Las tradiciones de Día de Muertos en México. Mexico City 1987.
  • Brandes, Stanley (1997). "Sugar, Colonialism, and Death: On the Origins of Mexico's Day of the Dead". Comparative Studies in Society and History. 39 (2): 270–99. doi:10.1017/S0010417500020624.
  • Brandes, Stanley (1998). "The Day of the Dead, Halloween, and the Quest for Mexican National Identity". Journal of American Folklore. 111 (442): 359–80. doi:10.2307/541045. JSTOR 541045.
  • Brandes, Stanley (1998). "Iconography in Mexico's Day of the Dead". Ethnohistory. Duke University Press. 45 (2): 181–218. doi:10.2307/483058. JSTOR 483058.
  • Brandes, Stanley (December 15, 2006). Skulls to the Living, Bread to the Dead. Blackwell Publishing. p. 232. ISBN 978-1-4051-5247-1.
  • Cadafalch, Antoni. The Day of the Dead. Korero Books, 2011. ISBN 978-1-907621-01-7
  • Carmichael, Elizabeth; Sayer, Chloe. The Skeleton at the Feast: The Day of the Dead in Mexico. Great Britain: The Bath Press, 1991. ISBN 0-7141-2503-2
  • Conklin, Paul (2001). "Death Takes a Holiday". U.S. Catholic. 66: 38–41.
  • Garcia-Rivera, Alex (1997). "Death Takes a Holiday". U.S. Catholic. 62: 50.
  • Haley, Shawn D.; Fukuda, Curt. Day of the Dead: When Two Worlds Meet in Oaxaca. Berhahn Books, 2004. ISBN 1-84545-083-3
  • Lane, Sarah and Marilyn Turkovich, Días de los Muertos/Days of the Dead. Chicago 1987.
  • Lomnitz, Claudio. Death and the Idea of Mexico. Zone Books, 2005. ISBN 1-890951-53-6
  • Matos Moctezuma, Eduardo, et al. "Miccahuitl: El culto a la muerte," Special issue of Artes de México 145 (1971)
  • Nutini, Hugo G. Todos Santos in Rural Tlaxcala: A Syncretic, Expressive, and Symbolic Analysis of the Cult of the Dead. Princeton 1988.
  • Oliver Vega, Beatriz, et al. The Days of the Dead, a Mexican Tradition. Mexico City 1988.
  • Roy, Ann (1995). "A Crack Between the Worlds". Commonwealth. 122: 13–16.