วันอาทิตย์ทมิฬ (1972)

วันอาทิตย์ทมิฬ (ไอริช: Domhnach na Fola)[1] หรือบางครั้งอาจเรียกว่า การสังหารหมู่บ็อกไซต์[2] เป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1972 ในเขตบ็อกไซต์ของเมืองเดอร์รี ไอร์แลนด์เหนือ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องสิทธิพลเมือง 26 คน ถูกยิงโดยกรมพลร่มแห่งกองทัพบกอังกฤษ ระหว่างการเดินชุมนุมของสมาพันธ์สิทธิพลเมืองไอร์แลนด์เหนือ[3] จนมีผู้เสียชีวิตทันที 13 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นวัยรุ่น 7 คน และยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนในอีก 4 เดือนครึ่งให้หลัง ผู้ชุมนุม 2 คนได้รับบาดเจ็บ เมื่อพวกเขาถูกไล่ตามโดยพาหนะของกองทัพ[4] มีพยานหลายคน รวมทั้งผู้เห็นเหตุการณ์และนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งระบุได้ชัดเจนว่ากลุ่มผู้ชุมนุมที่ถูกยิงนั้นมิได้มีอาวุธ ซึ่งมีผู้ชุมนุม 5 คน ได้รับบาดเจ็บจากการโดนยิงเข้าทางด้านหลัง[5]

วันอาทิตย์ทมิฬ
เป็นส่วนหนึ่งของเดอะทรับเบิลส์
สถานที่เดอร์รี, ไอร์แลนด์เหนือ
พิกัด54°59′49″N 7°19′32″W / 54.9969674°N 7.3255581°W / 54.9969674; -7.3255581
วันที่30 มกราคม ค.ศ.1972
16:10 (UTC+00:00)
ประเภทเหตุกราดยิง
อาวุธL1A1 SLR rifles
ตาย14 (เสียชีวิตทันที 13 คน อีก 1 คนเสียชีวิตหลายเดือนต่อมา)
เจ็บมากกว่า 15 (12 คนถูกยิง อีกสองถูกรถชน ส่วนคนอื่นถูกกระสุนยางและสะเก็ด)
ผู้ก่อเหตุกองทัพบกสหราชอาณาจักร
(กรมพลร่ม)

รัฐบาลอังกฤษได้จัดตั้งผู้สืบสวน 2 คน โดยบารอน จอห์น วิดเจอรี ซึ่งถูกแต่งตั้งขึ้นหลังจากเหตุการณ์ในทันที ได้กล่าวโทษทหารและทางการอังกฤษอย่างกว้างขวาง จอห์นได้อธิบายถึงการยิงดังกล่าวว่าเป็น "เป็นรอยต่อของความบ้าระห่ำ"[6][7][8] รวมทั้งเสนาธิการของนายโทนี่ แบลร์ โจนาธาน โพเวลล์[9] การสืบสวนซาวิลล์ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1998 เพื่อสืบสวนเหตุการณ์อีกครั้ง หลังสืบสวนเป็นเวลา 12 ปี มีการเปิดเผยรายงานต่อสาธารณะในปี ค.ศ. 2010 สรุปว่าการสังหารหมู่นี้ "ไม่ชอบธรรม" และ "ไม่มีเหตุอันควร" การสืบสวนพบว่าผู้ถูกยิงปราศจากอาวุธ ไม่มีท่าทีคุกคาม ไม่มีการขว้างปาระเบิด และทหาร "ตั้งใจอ้างคำบอกเล่าเท็จ" เพื่อสนับสนุนการก่อเหตุ[10][11] ทหารที่ก่อเหตุปฏิเสธว่ามิได้ยิงบุคคลตามที่ปรากฏชื่อและปฏิเสธว่ามิได้ยิงใครด้วยความผิดพลาด[12] ขณะที่เดวิด แคเมอรอน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรแสดงความเสียใจอย่างเป็นทางการเมื่อมีการเปิดเผยรายงาน[13]

การรณรงค์ของกองทัพสาธารณรัฐนิยมชั่วคราวไอริชเพื่อต่อต้านการแบ่งแยกไอร์แลนด์ได้เริ่มขึ้น 2 ปีก่อนหน้าเหตุการณ์วันอาทิตย์ทมิฬ แต่เหตุการณ์วันดังกล่าวได้เพิ่มสถานะขององค์กรและมีประชาชนเข้าเป็นสมาชิกจำนวนมาก[14] เหตุการณ์ดังกล่าวยังนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในความขัดแย้งทางการเมืองในไอร์แลนด์เหนือ เนื่องจากผู้ลงมือเป็นทหาร มิใช่กำลังกึ่งทหาร และกระทำในที่เปิดเผย[2]

อ้างอิง แก้

  1. CAIN: Posters - Examples of Bloody Sunday Posters
  2. 2.0 2.1 Eamonn McCann (2006). The Bloody Sunday Inquiry - The Families Speak Out. London: Pluto Press. ISBN 0-7453-2510-6. P. 4-6
  3. "Widgery Report". CAIN. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.
  4. 'Bloody Sunday', Derry 30 January 1972 - Names of the Dead and Injured CAIN Web Service, 23 March 2006. Retrieved 27 August 2006.
  5. Extracts from 'The Road to Bloody Sunday' by Dr. Raymond McClean Retrieved 2007-02-16.
  6. David Granville (28 July 2005). "More 'butcher' than 'grocer'". The Morning Star. สืบค้นเมื่อ 18 May 2007.
  7. Nick Cohen (1 February 2004). "Schooled in scandal". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.
  8. "1972: 'Bloody Sunday' report excuses Army". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.
  9. Nicholas Watt (19 March 2008), McGuinness: there was no need for Bloody Sunday inquiry, The Guardian, สืบค้นเมื่อ 31 December 2012
  10. "Bloody Sunday inquiry: key findings". The Guardian. 15 June 2010. สืบค้นเมื่อ 10 November 2015.
  11. McDonald, Henry; Norton-Taylor, Richard (10 June 2010). "Bloody Sunday killings to be ruled unlawful". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 12 June 2010.
  12. Principal Conclusions and Overall Assessment of the Bloody Sunday Inquiry. The Stationery Office. pp. 36–37
  13. "Bloody Sunday report published". BBC. 15 June 2010. สืบค้นเมื่อ 8 April 2011.
  14. Peter Pringle & Philip Jacobson (2000). Those Are Real Bullets, Aren't They?. London: Fourth Estate. ISBN 1-84115-316-8. P. 293: "Youngsters who had seen their friends die that day flocked to join the IRA..."