วันนกกระจอกโลก เป็นวันที่กำหนดเพื่อสร้างความตระหนักถึงนกกระจอกใหญ่ และนกที่พบบ่อยอื่น ๆ ที่พบในสภาพแวดล้อมในเมือง ตลอดจนภัยคุกคามต่อประชากรของพวกมัน ที่กำหนดขึ้น ณ วันที่ 20 มีนาคม[1][2] อันเป็นความคิดริเริ่มระหว่างประเทศโดยเนเจอร์ฟอเรเวอร์โซไซตีของประเทศอินเดียร่วมกับมูลนิธิอีโคซิสแอ็คชัน (ประเทศฝรั่งเศส) รวมถึงองค์กรระดับประเทศและระดับนานาชาติจำนวนมากทั่วโลก[3]

นกกระจอกบ้านตัวเมียกำลังให้อาหารลูกนก
นกกระจอกใหญ่ตัวเมียกำลังให้อาหารลูกนก
นกกระจอกใหญ่ร้องเพลง ซึ่งบันทึกเสียงร้องที่คาวลีย์ กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ

เนเจอร์ฟอเรเวอร์โซไซตีได้รับการเริ่มต้นโดยโมฮัมเหม็ด ดีลาวาร์ ซึ่งเป็นนักอนุรักษ์ชาวอินเดียผู้ซึ่งเริ่มทำงานของเขาเพื่อช่วยนกกระจอกใหญ่ในนาชิค และเป็นผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน "วีรบุรุษแห่งสิ่งแวดล้อม" ในปี ค.ศ. 2008 โดยนิตยสารไทม์สำหรับความพยายามของเขา[4][5][6] ความคิดในการริเริ่มวันนกกระจอกโลกเกิดขึ้นในระหว่างการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการที่สำนักงานของเนเจอร์ฟอเรเวอร์โซไซตี แนวความคิดคือการกำหนดวันสำหรับนกกระจอกใหญ่เพื่อถ่ายทอดข่าวสารของการอนุรักษ์กระจอกใหญ่และนกอื่น ๆ ทั่วไป รวมถึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองที่จะชื่นชมความงดงามของความหลากหลายทางชีวภาพทั่วไป ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก วันนกกระจอกโลกครั้งแรกได้รับการเฉลิมฉลองเมื่อปี ค.ศ. 2010 ในส่วนต่าง ๆ ของโลก วันนี้มีการเฉลิมฉลองด้วยการจัดกิจกรรมหลากหลายประเภทเช่นการประกวดศิลปะ, การรณรงค์สร้างความตระหนัก และกระบวนแห่นกกระจอกเช่นเดียวกับการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ[3][7]

วันกระจอกโลกยังมีวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้นในการจัดหาเวทีที่ซึ่งคนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์นกกระจอกใหญ่และนกชนิดอื่น ๆ สามารถใช้เครือข่าย, ความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการอนุรักษ์ ซึ่งจะนำไปสู่วิชาและผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นสถานที่ประชุมสำหรับผู้คนจากทั่วโลกที่จะมาพบกันและสร้างแรงที่สามารถมีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนและการกระจายความรู้เกี่ยวกับความต้องการของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพหรือสายพันธุ์ทั่วไป ของสถานะการอนุรักษ์ที่ลดลงมา[3][7]

รางวัลนกกระจอก แก้

เพื่อสนับสนุนให้เกิดความพยายามในเรื่องนี้และเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเสียสละ เนเจอร์ฟอเรเวอร์โซไซตีได้ก่อตั้งรางวัลนกกระจอกครั้งแรกในอัห์มดาบาด รัฐคุชราต เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2011 ส่วนในปี ค.ศ. 2013 หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักที่เข้าร่วมกองกำลังกับเนเจอร์ฟอเรเวอร์โซไซตี และสนับสนุนรางวัลนกกระจอก คือนิตยสารซัสเตนูอันซ์ หัวหน้าบรรณาธิการ ชัชวัฒน์ ดี.ซี. ผู้จัดงานและมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเผยว่า "ผู้ได้รับรางวัลเหล่านี้เป็นวีรบุรุษที่ไม่ได้รับการยกย่องจากทุกสาขาอาชีพ และสิ่งที่น่าทึ่งก็คือพวกเขามักจะทำงานได้โดยปราศจากการระดมทุนของรัฐบาลและไม่แสวงหาการยอมรับใด ๆ"

ผู้ชนะรางวัลนกกระจอก ค.ศ. 2014

  • ยัก โมฮัน การ์ก
  • เอ็น. เชห์ซัด และเอ็ม. ซะอูด
  • จอล เกรแฮน คาเมตี, พีแพลนทรี

ผู้ชนะรางวัลนกกระจอก ค.ศ. 2013

  • สลีม ฮามีดี, ช่างภาพสัตว์ป่า, ผู้วาดภาพประกอบ
  • อาบิด ซูร์ตี, นักวรรณคดีและหัวหน้าองค์กรพัฒนาเอกชน, ดรอปเดด
  • จายานต์ โกวินด์ ดูคันเด, ตำรวจมุมไบ

ผู้ชนะรางวัลนกกระจอก ค.ศ. 2012

  • ดิลเชอร์ ข่าน
  • รมิตา คอนเดปูดี
  • เอกชน (วิกรม เยนเด, คาปิล จาดาฟ, มเหนทระ ขาวณิการ์ และวิชาล เรวันการ์)
  • มหาตมา คานธี อัชแรมชาลา

ผู้ชนะรางวัลนกกระจอก ค.ศ. 2011

  • ภาวิน ชาห์
  • นเรนทระ สิงห์ เชาธรี
  • แอล ชยามัล
  • เดอะสแปร์โรว์คัมพานี[8]

อ้างอิง แก้

  1. "'Save sparrows for nature's balance'". Times of India. Bennett, Coleman & Co. 21 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-10. สืบค้นเมื่อ 2018-09-02.
  2. Sathyendran, Nita (21 March 2012). "Spare a thought for the sparrow". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
  3. 3.0 3.1 3.2 "'Chirp for the Sparrow, Tweet for the Sparrow' on World Sparrow Day". Bombay Natural History Society. 7 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-19. สืบค้นเมื่อ 8 May 2012.
  4. Singh, Madhur (24 September 2008). "Heroes of the Environment 2008: Mohammed Dilawar". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ 8 May 2012.
  5. Prakash, Bhavani (11 March 2011). "Mohammed Dilawar: World Sparrow Day March 20th". Eco Walk the Talk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-02. สืบค้นเมื่อ 8 May 2012.
  6. Todd, Kim (2012). Sparrow. Animal. Reaktion Books. p. 150. ISBN 978-1-86189-875-3.
  7. 7.0 7.1 "Background". World Sparrow Day. Nature Forever Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2018-09-02.
  8. "Winners - sparrow awards - Nature Forever Society". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-06. สืบค้นเมื่อ 2018-09-02.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้