วัดอินทรวิหาร

พระอารามหลวงในเขตพระนคร

วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง หรือที่เรียกทั่วไปว่า วัดหลวงพ่อโต กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมเรียกว่า วัดบางขุนพรหมนอก ต่อมา ชาวลาวที่อาศัยบริเวณใกล้เคียงกับวัด นามว่า เจ้าอินทร์ ผู้เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวค่อม พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทำการบูรณะวัดแห่งนี้ครั้งใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดอินทร์ เพื่อให้เกียรติแด่ผู้บูรณะวัดนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดอินทรวิหาร ด้วยอาจเกิดสับสนกับ วัดอินทาราม ที่บางยี่เรือ[1]

วัดอินทรวิหาร
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง
ที่ตั้งเลขที่ 144 ถนนวิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานหลวงพ่ออินทร์
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อโต
เจ้าอาวาสพระโสภณธรรมวงศ์ (วศก ปญฺญาอกฺโข)
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดอินทรวิหาร
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005570
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง เป็นที่รู้จักสำหรับ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขนาดใหญ่ สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)[2]

หลวงพ่อโต แก้

 
หลวงพ่อโต ในปี พ.ศ. 2519

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร (พระพุทธศรีอริยเมตไตรย) เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรขนาดใหญ่ มีความสูง สูง 32 เมตร สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เมื่อ พ.ศ. 2410 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ท่านก็ได้มรณภาพลงขณะที่สร้างไปได้ถึงบริเวณพระนาภี (สะดือ) การก่อสร้างจึงหยุดชะงักลง และได้มีการก่อสร้างต่อจนสำเร็จในปี พ.ศ. 2467 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเป็นเวลาสามวัน คือวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ต่อมาได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบนยอดเกศ (เส้นผม) ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุ ที่รัฐบาลของประเทศศรีลังกามอบให้ ในปี พ.ศ. 2523[3]

 
จุดกราบขอพรและนมัสการบริเวณพระบาท (เท้า)

หลวงพ่อโตฯ เป็นอดีตรูปปั้นและพระพุทธรูปที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร (สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศไทย) ทางวัดได้จัดงานประจำปี ระหว่างวันที่ 1 - 10 มีนาคม เป็นประจำทุกปี กระทั่งวัดปากน้ำภาษีเจริญได้ก่อสร้างพระพุทธธรรมกายเทพมงคลซึ่งมีความสูง 69 เมตร เสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2564 ทำให้หลวงพ่อโตฯ เป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานครอันดับที่ 2

อ้างอิง แก้

  1. https://www.phenkhao.com/contents/374296
  2. https://www.phenkhao.com/contents/374296
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-26. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.

ดูเพิ่ม แก้

13°45′59″N 100°30′11″E / 13.766469°N 100.503028°E / 13.766469; 100.503028