วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร

วัดในกรุงเทพมหานคร

วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ในแขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร
วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดอัปสรสวรรค์
ที่ตั้งเลขที่ 174 ซอยรัชมงคลประสาธน์ 10 แยก 2 ถนนรัชมงคลประสาธน์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อสมอ
เจ้าอาวาสพระครูพิศาลพัฒนคุณ (ไพศาล)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

วัดสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดหมู เล่ากันว่า จีนอู๋เป็นผู้สร้างบนที่ดินที่เคยใช้เลี้ยงหมูมาก่อน สร้างเสร็จ มีหมูมาเดินเพ่นพ่านอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดหมู ต่อมา

เจ้าจอมน้อย (สุหรานากง) เห็นว่าวัดหมูทรุดโทรมมาก จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้และพระราชทานนามว่า วัดอัปสรสวรรค์ เพื่อเป็นที่ระลึกแด่เจ้าจอมน้อย ซึ่งมีความสามารถในการแสดงละครเรื่อง อิเหนา[1] และได้พระราชทานพระพุทธรูปปางฉันสมอ หรือ หลวงพ่อสมอ ให้เป็นพระประธานและประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานอยู่ภายในพระมณฑปสีขาว พระพุทธรูปเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวนครหลวงพระบาง และเวียงจันทร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาจากเมืองเวียงจันทร์ เดิมที่ประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระนาก ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[2]

อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ แก้

 
หอไตร

พระอุโบสถและพระวิหารยังคงเดิมตามศิลปะจีนหลังได้รับการปฏิสังขรณ์ โดยเลียนแบบวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยขนาดเท่ากันจำนวน 28 องค์ ประดิษฐานอยู่บนชุกชีด้วยกัน พระพุทธรูปเหล่านี้มีพระนามจารึกไว้ที่หน้าฐานทั้ง 28 องค์ ได้แก่ พระพุทธตัณหังกร พระพุทธเมธังกร พระพุทธสรณังกร พระพุทธทีปังกร พระพุทธโกณฑัญญะ พระพุทธสุมังคละ พระพุทธสุมนะ พระพุทธเรวตะ พระพุทธโสภิตะ พระพุทธอโนมทัสสี พระพุทธปทุมะ พระพุทธนารทะ พระพุทธปทุมุตตระ พระพุทธสุเมธะ พระพุทธสุชาตะ พระพุทธปิยทัสสี พระพุทธอัตถทัสสี พระพุทธธรรมทัสสี พระพุทธสิทธัตถะ พระพุทธติสสะ พระพุทธปุสสะ พระพุทธวิปัสสี พระพุทธสิขี พระพุทธเวสสภู พระพุทธกกุสันธะ พระพุทธโกนาคมนะ พระพุทธกัสสปะ และพระพุทธโคตมะ ส่วนหอพระไตรปิฎกเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่กลางน้ำ หอไตรแห่งนี้ยังเป็นต้นแบบของหอเขียน ที่จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ภายในวัดมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม[3]

รายนามเจ้าอาวาส แก้

  • พระวชิรกวี (รอด)
  • พระครูพุทธพยากรณ์ (อ่อนหรือก่ำ)
  • พระครูพุทธพยากรณ์ (มั่น)
  • พระครูพุทธพยากรณ์ (กวย)
  • พระพุทธพยำกรณ์ (เจริญ อุปติสฺโส)
  • พระธีรสารมุนี (สุไชย ธีรสาโร, ไตรสุขผล)
  • พระวิสุทธิมงคล (ทองเติม อุตฺตมญาโณ, ปรีดาสามารถ)
  • พระครูพิศาลพัฒนคุณ (ไพศาล)

อ้างอิง แก้

  1. "กราบพระประธาน 28 องค์ ขอพรพระพุทธรูปปางฉันสมอ ที่ "วัดอัปสรสวรรค์"". ผู้จัดการออนไลน์. 20 พฤษภาคม 2559.
  2. "วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
  3. "1 ประวัติและความเป็นมาของวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-21. สืบค้นเมื่อ 2020-07-21.