วัดศรีสวาย ตั้งอยู่ห่างออกไปทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุประมาณ 350 เมตร โบราณสถานสำคัญที่ตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง นน วัดศรีสวาย เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ลักษณะเป็นปรางค์สามยอดแบบขอม มีคูน้ำล้อมรอบปรางค์สามองค์ โบราณสถานดังกล่าวนี้มีที่มาจากทรงปราสาทแบบขอม แต่ได้รับการดัดแปลงแตกต่างจากต้นแบบ เช่นส่วนประดับของปราสาทขอมที่เรียกว่า บันแถลง กลายเป็นรูปกลีบขนุน และปูนปั้นประดับกลีบขนุนเป็นรูปครุฑยุดนาคและเทวดา ปรางค์วัดศรีสวายจึงแตกต่างจากปรางค์สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีต้นแบบจาก ปรางค์ในศิลปะขอมและคล้ายคลึงแบบขอมมากกว่าปรางค์ในแบบของช่างสุโขทัย

วัดศรีสวาย
ปรางค์ประธานสามยอดแบบขอมแสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานในภายหลัง
วัดศรีสวายตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย
วัดศรีสวาย
ที่ตั้งของวัดศรีสวายในจังหวัดสุโขทัย
วัดศรีสวายตั้งอยู่ในประเทศไทย
วัดศรีสวาย
วัดศรีสวาย (ประเทศไทย)
ที่ตั้งตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ประเภทวัด
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ความเป็นมา
สร้างไม่ปรากฏ
ละทิ้งไม่ปรากฏ
สมัยสุโขทัย
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ขุดค้นกรมศิลปากร
สภาพซากปรักหักพัง
ผู้บริหารจัดการกรมศิลปากร
การเปิดให้เข้าชมอา.-ศ. 06.30-19.30 น.
ส. 06.30-21.00 น.
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมสุโขทัย
ข้อมูลสถาปัตยกรรมเดิมเป็นเทวสถานขอม
เกณฑ์วัฒนธรรม: (i), (iii)
ขึ้นเมื่อ1991
เป็นส่วนหนึ่งของเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
เลขอ้างอิง574
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนเนินปราสาท
ขึ้นเมื่อ8 มีนาคม พ.ศ. 2478
เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เลขอ้างอิง0004040

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ทรงพบรูปพระอิศวรและและโบราณวัตถุหินจำหลักเป็นทับหลังรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กร และชิ้นส่วนของเทวรูปและศิวลึงค์ทำด้วยสำริด จึงทรงสันนิษฐานว่า วัดศรีสวายนี้คงเป็นสถานที่พวกพราหมณ์ใช้ทำพิธีโล้ชิงช้า (ตรียัมปวาย) แต่ต่อมาเมื่อคนไทยเข้ามาครอบครองกรุงสุโขทัย วัดนี้จึงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดทางพระพุทธศาสนา

อ้างอิง แก้