วัดปากคาน

วัดในประเทศลาว

วัดปากคาน (ลาว: ວັດປາກຄານ) เป็นวัดตั้งอยู่บริเวณที่แม่น้ำคานมาบรรจบกับแม่น้ำโขง ในแขวงหลวงพระบาง หลวงพระบาง ประเทศลาว อยู่ใกล้กับวัดเชียงทอง สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2280 ในสมัยเจ้าอินทโฉม ต่อมาถูกทิ้งร้างไป จนชาวไทลื้อเข้ามาบูรณะ

วัดปากคาน
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งหลวงพระบาง
ประเทศประเทศลาว
วัดปากคานตั้งอยู่ในประเทศลาว
วัดปากคาน
ตำแหน่งที่ตั้งในประเทศลาว
พิกัดภูมิศาสตร์19°53′50″N 102°8′41″E / 19.89722°N 102.14472°E / 19.89722; 102.14472
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งพระยาจันทร์เทพ
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 2280

สิม แก้

จุดเด่นของวัด คือ สิมที่ถือเป็นตัวอย่างของสิมแบบไทลื้อที่ดีที่สุดในเมืองหลวงพระบาง คือ มีลักษณะอาคารที่มีคอสองกว้าง และมีความสูงของหลังคาทางด้านหน้าและด้านยาวเท่ากัน โดยมากแล้วสิมแบบไทลื้อจะพบมากในแคว้นสิบสองปันนา การปรากฏสิมแบบไทลื้อที่พลวงพระบาง แสดงให้เห็นการอพยพเคลื่อนย้ายของคนไทลื้อจากสิบสองปันนาลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง[1] สิมของวัดปากคานมีผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ห้อง ยาว 6 ห้อง หลังคามี 2 ชั้น ชั้นบนเป็นทรงจั่ว ชั้นล่างแยกเป็นหลังคาปีกนก คลุมรอบสิมทั้งสี่ด้าน สันหลังคาปีกนกมีพญานาคทอดตัวลงมาทั้งสี่มุม ตัวอาคารมีทางเข้าทุกทิศทาง ทางขึ้นด้านหน้าเป็นบันไดกว้าง มีประตูหน้า 3 ประตู ตกแต่งด้วยซุ้มโขงแบบเรียบง่าย ภายในซุ้มประดับปูนปั้นรูปหงส์ ด้านทิศใต้มีทางเข้า 1 ประตู มีเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมตั้งชิดกับฐานของสิม หลักสีมามีรูปทรงเตี้ยมาก ทำเป็นรูปดอกบัว[2]

ภายในมีฐานชุกชีแบบลอยตัวไม่ติดผนังด้านหลัง ซึ่งสามารถเดินประทักษิณรอบพระประธานได้ ส่วนผนังมีการติดลายพอกคำเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระธาตุเจดีย์ และรูปพระพุทธเจ้าปางประทับนั่งสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว วัดไม่มีฮูปฝาผนัง[3]

อ้างอิง แก้

  1. "สิมวัดปากคาน". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-01. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  2. "ไทยทัศนา : (47) สิมทรงไทลื้อ หลวงพระบาง (ตอนที่หนึ่ง-วัดปากคาน)". วอยซ์.
  3. คำภูเพชร วานิวงศ์. "การศึกษาศิลปะ "ฮูป" ฝาผนังในเขตพื้นที่แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึก" (PDF). คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-12-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.