วัฏจักรทางชีวธรณีเคมี

วัฏจักรชีวธรณีเคมี (อังกฤษ: Biogeochemical cycle) โดยนิยามเชิงนิเวศวิทยาคือวงจรหรือแนวกระบวนการที่เกี่ยวกับการที่ธาตุหลักทางเคมีหรือโมเลกุลเคลื่อนที่ผ่านสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศทั้งที่มีชีวิต (ชีวภาพ) และไม่มีชีวิต (ธรณีภาพ) โดยหลักการแล้ว วัฏจักรทุกวัฏจักรย่อมซ้ำกระบวนการเสมอ แม้ว่าในบางวัฏจักร จะใช้เวลาซ้ำกระบวนการนานมาก โดยการเปลี่ยนรูปนี้จะเกิดผ่านทั้งบรรยากาศ น้ำ และบนบก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีส่วนร่วมในวัฏจักร แต่ที่มีบทบาทมากที่สุดคือจุลินทรีย์ เพราะมีกระบวนการทางเมตาบอลิซึมที่หลากหลาย

วัฏจักรของไนโตรเจน วัฏจักรที่สำคัญอย่างหนึ่งของวัฏจักรทางชีวธรณีเคมี

แหล่งพลังงานสำคัญของการหมุนเวียนของแร่ธาตุต่างๆคือพลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานจากสารที่อยู่ในสภาพรีดิวซ์ พลังงานเหล่านี้จะถ่ายทอดไปในระบบนิเวศและทำให้ระบบนิเวศทำงานได้ ธาตุที่มีการหมุนเวียนในวัฏจักรนี้ มีทั้งธาตุอาหารหลัก เช่น คาร์บอน ไนโตรเจน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แมกนีเซียม โปตัสเซียม โซเดียม และธาตุฮาโลเจน ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ โบรอน โคบอลต์ โครเมียม ทองแดง โมลิบดินัม นิกเกิล ซีลีเนียม และสังกะสี ธาตุที่ไม่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต สามารถเข้ามาหมุนเวียนในวัฏจักรได้เช่นกัน เช่น โลหะหนักต่างๆ

วัฏจักรต่างๆ แก้

อ้างอิง แก้

  • Atlas, A.M. and R.Bartha. 1998. Microbial Ecology: Fundamental and Application 4 ed. Mehlo park. Benjamin/Cummings. Science Publishing.