วรรณะทางสังคม, ระบบวรรณะ หรือ วรรณะ[3] (อังกฤษ: caste) เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมโบราณที่วิวัฒนการผ่านเวลาหลายศตวรรษและยังพบเห็นได้ในหลายส่วนของโลก[4] วรรณะใช้อธิบายกลุ่มคนซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ แต่งงานแต่ในพวกเดียวกัน สืบทอดอาชีพกันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน และรักษาสถานะของพวกตนในลำดับชั้นทางสังคม[1][5][6][7] ซึ่งมีตัวอย่างสำคัญคือระบบวรรณะในอินเดียซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู[8] ตามนิยามของ Haviland วรรณะเป็นการจัดช่วงชั้นในสังคม ที่แต่ละกลุ่มวรรณะถูกกำหนดแต่กำเนิดและเปลี่ยนแปลงมิได้ตลอดชีวิต แต่ละวรรณะต้องแต่งงานกันเองและลูกหลานที่เกิดขึ้นก็เป็นสมาชิกของวรรณะโดยอัตโนมัติ[9]

วรรณะเป็นระบบจัดลำดับชั้นทางสังคมที่อัตลักษณ์ของบุคคลถูกกำหนดโดยคุณค่าภายในของชาติกำเนิดและบรรพบุรุษ ซึ่งมิเท่าเทียมกัน[1] ระบบวรรณะบริสุทธิ์เป็นระบบปิด ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในสังคมได้เพียงเล็กน้อย เพราะชาติกำเนิดเท่านั้นที่กำหนดอนาคตทั้งหมดของบุคคล จึงมีความเคลื่อนไหวในสังคมแต่เพียงน้อยที่เกิดจากความพยายามของปัจเจกชน[2] ระบบวรรณะพบได้ในหลายส่วนของโลก ภาพนี้แสดงถึงระบบวรรณะในลาตินอเมริกาช่วงจักรวรรดิสเปน

อย่างไรก็ดี ระบบวรรณะมิได้จำเพาะแก่ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการแบ่งชั้นวรรณะปรากฏอยู่ในสังคมมุสลิม คริสเตียน ฮินดู และพุทธ[1][10][11][12][13] และปรากฏอยู่ในทั้งสังคมอินเดียและสังคมอื่น[1][13][14][15][16][17][18]

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เห็นว่าทั่วโลกมีคนราว 250 ล้านคนถูกเลือกปฏิบัติเพราะตกอยู่ในระบบวรรณะ[19]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Gerald D. Berreman (1972). "Race, Caste, and Other Invidious Distinctions in Social Stratification" (PDF). University of California, Berkeley. doi:10.1177/030639687201300401. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-17. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "berreman" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. Macionis, Gerber, John, Linda (2010). Sociology 7th Canadian Ed. Toronto, Ontario: Pearson Canada Inc.. pp. 225.
  3. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน สาขารัฐศาสตร์ ปรับปรุง ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔ สาขาประชากรศาสตร์ ปรับปรุง ๔ ก.พ. ๒๕๔๕ สาขาปรัชญา ปรับปรุง ๒ มี.ค. ๒๕๔๕
  4. Thomas Leonard (Editor) (2006). Encyclopedia of Developing World. Vol. 1. ISBN 1-57958-388-1. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. Robert Merton (1979). The Sociology of Science: Theoretical and Empirical Investigations. University Of Chicago Press. ISBN 978-0-226-52092-6.
  6. Auguste Comte (1858). The Positive Philosophy of Auguste Comte (translated by Martineau). Calvin Blanchard. pp. 584–615.
  7. David Heer (2005). Kingsley Davis: A biography and selections from his writings. Transactions Publishers. ISBN 0-7658-0267-8.
  8. Gerald Berreman (September 1960). American Journal of Sociology. 66 (2): 120-127. JSTOR 2773155. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  9. William A. Haviland (2010). Anthropology: The Human Challenge, 13th edition (see Chapter 22). Thomson Wadsworth. ISBN 978-0-495-81084-1).. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  10. Tom Knox (10 June 2010). "The untouchables of FRANCE: How swarthy Pyrenean race persecuted for centuries are still being abused today". London: Daily Mail.
  11. David Cahill (1994). "Colour by Numbers: Racial and Ethnic Categories in the Viceroyalty of Peru" (PDF). Journal of Latin American Studies. 26: 325–346. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.
  12. Barth, Fredrik (1962). "The System Of Social Stratification In Swat, North Pakistan". ใน E. R. Leach (บ.ก.). Aspects of Caste in South India, Ceylon, and North-West Pakistan. Cambridge University Press. p. 113. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-19. สืบค้นเมื่อ 12 June 2007.
  13. 13.0 13.1 Elijah Obinna (2012). "Contesting identity: the Osu caste system among Igbo of Nigeria". African Identities. 10 (1): 111–121. doi:10.1080/14725843.2011.614412.
  14. Ulric Neisser (1986). The School Achievement of Minority Children: New Perspectives. pp. 4–14. ISBN 978-0-89859-685-4.
  15. Mitnick, Joshua (5 January 2012). "From Back of the Bus, Israeli Women Fight Segregation". The Wall Street Journal.
  16. Shana Levin, Jim Sidanius (March, 1999). "Social Dominance and Social Identity in the United States and Israel: Ingroup Favoritism or Outgroup Derogation?". Political Psychology. 20 (1): 99–126. doi:10.1111/0162-895X.00138. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. Ryan M. Quist & Miriam G. Resendez (2002). "Social Dominance Threat: Examining Social Dominance Theory's Explanation of Prejudice as Legitimizing Myths". Basic and Applied Social Psychology. 24 (4): 287–293. doi:10.1207/S15324834BASP2404_4.
  18. Alfred Rosenberg, The Myth of the Twentieth Century, 1930; and Hans F.K. Günther, The racial elements of European History, 1927
  19. Discrimination เก็บถาวร 2013-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,