วรรณยุกต์ หรือ วรรณยุต (อังกฤษ: tone) หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่ง ๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง

ภาษาที่มีวรรณยุกต์ แก้

  • ภาษาจีน-ทิเบต ในบทสวดของทิเบตและจีนจะมีวรรณยุกต์อยู่
  • ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic) ภาษาเวียดนาม และภาษาอื่นที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นภาษามีวรรณยุกต์ชัดเจน แต่ภาษาอื่น ๆ เช่น มอญ เขมร มุนดา เป็นภาษาไม่มีวรรณยุกต์
  • ตระกูลภาษาขร้า-ไท ที่พูดในจีน เวียดนาม ไทย และลาว เช่น ภาษาไทย ภาษาลาว
  • ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ทั้งหมด
  • ตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก จำนวนมาก
  • ตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก
  • ตระกูลภาษาไนล์-สะฮารา แทบทั้งหมด
  • ภาษา Khoisan ทั้งหมดในแอฟริกาตอนใต้
  • ภาษาอินเดีย-ยุโรปแทบทั้งหมด ไม่มีวรรณยุกต์ เว้นแต่บางภาษา เช่น ภาษาปัญจาบ
  • ภาษาฮังการี

ระบบวรรณยุกต์ แก้

ในภาษาที่มีวรรณยุกต์ หรือ "ภาษาวรรณยุกต์" ทุกพยางค์จะมีระดับเสียงที่กำหนดไว้แล้ว ดังนั้น พยางค์สองพยางค์สามารถมีพยัญชนะที่เหมือนกัน และ สระที่เหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมีวรรณยุกต์ที่ไม่เหมือนกันได้

กลุ่มภาษาไท แก้

ภาษาไทยมาตรฐาน แก้

ภาษาไทยมาตรฐานมีวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ

  1. คา [kʰaː˧]
  2. ข่า [kʰaː˨˩]
  3. ข้า/ค่า [kʰaː˥˩]
  4. ค้า [kʰaː˦˥]
  5. ขา [kʰaː˨˦]

ทุกคำที่กล่าวข้างบน ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [kʰ] (มิใช่รูปพยัญชนะ คือ ข ค) และเสียงสระเดียวกัน คือ [aː] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน (มิใช่รูปพยัญชนะ เช่น ไม้เอก ไม้โท)

ภาษาลาวถิ่นเวียงจันทน์ แก้

ภาษาลาวถิ่นเวียงจันทน์ส่วนใหญ่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง คือ

  1. กา (ກາ) [kaː˨˩]
  2. ขา (ຂາ) [kʰaː˨˦]
  3. ข่า/ค่า (ຂ່າ/ຄ່າ) [kʰaː˧]
  4. ข้า (ຂ້າ) [kʰaː˧˩]
  5. คา (ຄາ) [kʰaː˧˥]
  6. ค้า (ຄ້າ) [kʰaː˥˩]

ดั่งภาษาไทย ทุกคำที่กล่าวข้างบน ยกเว้น กา ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [kʰ] (มิใช่รูปพยัญชนะ คือ ข ค) และเสียงสระเดียวกัน คือ [aː] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน (มิใช่รูปพยัญชนะ เช่น ไม้เอก ไม้โท)

ภาษาไทยถิ่นเหนือ แก้

คำเมืองถิ่นเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง คือ

  1. กา (ᨣᩤ) [kaː˦˦]
  2. ก่า (ᨠ᩵ᩣ) [kaː˨˨]
  3. ก้า (ᨣ᩵ᩤ) [kaː˦˩]
  4. ก้า (โทพิเศษ) (ᨠ᩶ᩣ) [kaː˥˧]
  5. ก๊า (ᨣ᩶ᩤ) [kaː˦˥˦]
  6. ก๋า (ᨠᩣ) [kaː˩˦]

ทุกคำที่กล่าวข้างบน ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [k] และเสียงสระเดียวกัน คือ [aː] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน และไม่มีในภาษาไทย

ภาษาจีนกลาง แก้

ภาษาจีนกลางมีวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ

  1. mā (媽/妈) "แม่"
  2. má (麻/麻) "กัญชา"
  3. mǎ (馬/马) "ม้า"
  4. mà (罵/骂) "ด่า"
  5. ma (嗎/吗) (คำลงท้ายใช้ถามคำถาม)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม
  • Bao, Zhiming. (1999). The structure of tone. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-511880-4.
  • Chen, Matthew Y. 2000. Tone Sandhi: patterns across Chinese dialects. Cambridge, England: CUP ISBN 0-521-65272-3
  • Clements, George N.; Goldsmith, John (eds.) (1984) Autosegmental Studies in Bantu Tone. Berlin: Mouton de Gruyer.
  • Fromkin, Victoria A. (ed.). (1978). Tone: A linguistic survey. New York: Academic Press.
  • Halle, Morris; & Stevens, Kenneth. (1971). A note on laryngeal features. Quarterly progress report 101. MIT.
  • Haudricourt, André-Georges. (1954). "De l'origine des tons en vietnamien". Journal Asiatique, 242: 69–82.
  • Haudricourt, André-Georges. (1961). "Bipartition et tripartition des systèmes de tons dans quelques langues d'Extrême-Orient". Bulletin de la Société de Linguistique de Paris, 56: 163–180.
  • Hombert, Jean-Marie; Ohala, John J.; Ewan, William G. (1979). "Phonetic explanations for the development of tones". Language. 55 (1): 37–58. doi:10.2307/412518. JSTOR 412518.
  • Hyman, Larry. 2007. There is no pitch-accent prototype. Paper presented at the 2007 LSA Meeting. Anaheim, CA.
  • Hyman, Larry. 2007. How (not) to do phonological typology: the case of pitch-accent. Berkeley, UC Berkeley. UC Berkeley Phonology Lab Annual Report: 654–685. Available online.
  • Kingston, John. (2005). The phonetics of Athabaskan tonogenesis. In S. Hargus & K. Rice (Eds.), Athabaskan prosody (pp. 137–184). Amsterdam: John Benjamins Publishing.
  • Maddieson, Ian. (1978). Universals of tone. In J. H. Greenberg (Ed.), Universals of human language: Phonology (Vol. 2). Stanford: Stanford University Press.
  • Michaud, Alexis. (2008). Tones and intonation: some current challenges. Proc. of 8th Int. Seminar on Speech Production (ISSP'08), Strasbourg, pp. 13–18. (Keynote lecture.) Available online.
  • Odden, David. (1995). Tone: African languages. In J. Goldsmith (Ed.), Handbook of phonological theory. Oxford: Basil Blackwell.
  • Pike, Kenneth L. (1948). Tone languages: A technique for determining the number and type of pitch contrasts in a language, with studies in tonemic substitution and fusion. Ann Arbor: The University of Michigan Press. (Reprinted 1972, ISBN 0-472-08734-7).
  • Wee, Lian-Hee (2008). "Phonological Patterns in the Englishes of Singapore and Hong Kong". World Englishes. 27 (3/4): 480–501. doi:10.1111/j.1467-971X.2008.00580.x.
  • Yip, Moira. (2002). Tone. Cambridge textbooks in linguistics. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-77314-8 (hbk), ISBN 0-521-77445-4 (pbk).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้