วงแหวนของดาวเนปจูน

วงแหวนของดาวเนปจูน (อังกฤษ: Rings of Neptune) มีลักษณะมีความสว่างไม่มากนัก เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาด 1 ไมโครเมตร [1] จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร เช่นเดียวกับวงแหวนของดาวพฤหัสบดีและดาวยูเรนัส [2] ซึ่งนักดาราศาสตร์สำรวจพบระบบวงแหวนของดาวเนปจูนเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 60 และในปี ค.ศ. 1989 ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้บินผ่านเข้าไปใกล้ดาวเนปจูนและบันทึกภาพส่งกลับมายังโลก ทำให้นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเนปจูนมีวงแหวนล้อมรอบด้วยกันถึง 5 วง

วงแหวนแต่ละวงแหวนของดาวเนปจูน

วงแหวนของดาวเนปจูน ได้แก่ วงแหวนแอดัมส์, วงแหวนอราโก, วงแหวนแลสเซลล์, วงแหวนเลอ แวรีเย และวงแหวนกัลเลอ นอกจากนั้นยังมีวงแหวนที่จางมาก ๆ และยังไม่มีชื่ออีก 1 วง ที่อยู่ในวงโคจรเดียวกันกับดวงจันทร์แกลาเทีย และยังมีดวงจันทร์บริวารของดาวเนปจูนอีก 3 ดวง คือ เนแอด, ทาแลสซา และดิสพีนา ที่มีวงโคจรอยู่ภายในระบบวงแหวนเช่นเดียวกัน [3]

ประวัติการค้นพบ แก้

 
ภาพวงแหวนของดาวเนปจูนที่บันทึกโดยยายวอยเอเจอร์ 2 ซึ่งมองเห็นวงแหวน 2 วงหลักได้อย่างชัดเจน (NASA)

วงแหวนของดาวเนปจูนไม่สามารถมองเห็นได้ผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ขนานเล็ก โดยการค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1980 นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตการ์ณดาวเนปจูนกล้องโทรทรรศน์ขยายใหญ่ ซึ่งเห็นวงแหวนบางส่วน[4] และดาวเนปจูน "กะพริบตา" เพียงเล็กน้อย[5] จนถึงในปี ค.ศ. 1989 ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้บินผ่านเข้าไปใกล้ดาวเนปจูนและบันทึกภาพส่งกลับมายังโลก ปรากฏว่าวงแหวนของดาวเนปจูนประกอบด้วย วัตถุเล็ก ๆ สีมืดคล้ำ กระจายเป็นวงรอบดาวเนปจูน วงแหวนบางส่วนเล็กและบาง จนไม่สามารถสังเกตเห็นจากโลก สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฝุ่น ที่เกิดจากเศษดาวเคราะห์พุ่งชนดาวบริวาร ของดาวเนปจูนจนฟุ้งกระจาย และถูกดาวเนปจูนดึงดูดไว้ กลายเป็นส่วนประกอบในวงแหวน ในภายหลัง[6]

นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเนปจูนมีวงแหวนล้อมรอบด้วยกันถึง 5 วง วงแหวนชั้นนอกสุดของดาวเนปจูนมีชื่อว่า วงแหวนแอดัมส์ ส่วนชั้นที่อยู่ถัดเข้าไปด้านในอีก 4 วง ได้แก่ วงแหวนอราโก, วงแหวนแลสเซลล์, วงแหวนเลอ แวรีเย และวงแหวนกัลเลอ นอกจากนั้นยังมีวงแหวนที่จางมาก ๆ และยังไม่มีชื่ออีก 1 วง[3]

ขนาดวงแหวน แก้

วงแหวนของดาวเนปจูนประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาด 1 ไมโครเมตร จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร โดยวงแหวนแต่วงมีขนาด ดังนี้

ชื่อวงแหวน รัศมี (กม.) ความกว้าง (กม.) ความลึก (กม.) ความห่างจากใจกลางของดาวเนปจูน (กม.) หมายเหตุ
กัลเลอ 40,900 - 42,900 2,000 0.15[7] 42,000 [8] -
เลอ แวรีเย 53,200 ± 20 113[9] 0.7 ± 0.2[9] 53,000[8] -
แลสเซลล์ 53,200 - 57,200 4,000 0.4[7] ? -
อราโก 57,200 <100[7] ? 57,000[8] -
แอดัมส์ 62,932 15 - 50[9] 0.4[7] 61,000[8] -

ข้อมูลจำเพาะ แก้

วงแหวนกัลเลอ แก้

วงแหวนกัลเลอ (อังกฤษ: Galle) เป็นวงแหวนชั้นในสุดของดาวเนปจูน โดยชื่อ "Galle" มาจาก โยฮันน์ กอทท์ฟรีด กัลเลอ เพื่อเป็นการให้เกียรติ วงแหวนกัลเลอมีรัศมี 40,900 - 42,900 กม. ความกว้าง 2,000 กม. และมีปริมาณเศษฝุ่น 40 - 70%

วงแหวนเลอ แวรีเย แก้

วงแหวนเลอ แวรีเย (อังกฤษ: Le Verrier) เป็นวงแหวนชั้นที่สองของดาวเนปจูน ลักษณะเป็นวงแหวนที่แคบ มีรัศมี 53,200 กม. ความกว้าง 113 กม.[9] และมีปริมาณเศษฝุ่น 40 - 70%

วงแหวนแลสเซลล์ แก้

วงแหวนแลสเซลล์ (อังกฤษ: Lassell) เป็นวงแหวนชั้นที่สามของดาวเนปจูน มีรัศมี 53,200 - 57,200 กม. ความกว้าง 4,000 กม. และมีปริมาณเศษฝุ่น 20 - 40%

วงแหวนอราโก แก้

วงแหวนอราโก (อังกฤษ: Arago) เป็นวงแหวนชั้นที่สี่ของดาวเนปจูน มีรัศมี 57,200 กม. และมีความกว้างมากกว่า 100 กม.[7]

วงแหวนแอดัมส์ แก้

 
ส่วนอาร์คของวงแหวนแอดัมส์

วงแหวนแอดัมส์ (อังกฤษ: Adams) เป็นวงแหวนชั้นนอกสุดของดาวเนปจูนที่ถูกค้นพบโดย ยานวอยเอเจอร์ 2 ในปี ค.ศ. 1989 โดยซึ่งได้ส่งภาพวงแหวนนี้ตรงส่วนอาร์ค มีลักษณะบิดโค้ง และประกอบด้วยอาร์ค 5 อาร์ค ชื่อ ลิเบอร์ตี้, อีควอลิตี้ 1, อีควอลิตี้ 2, เคอริจ และฟราเทอนีตี้[10] วงแหวนแอดัมส์มีรัศมี 62,932 กม. ความกว้าง 15 - 50[9] มีปริมาณเศษฝุ่น 20 - 40% และมีปริมาณเศษฝุ่นในอาร์ค 40 - 70% โดยชื่อ "Adams" มาจาก จอห์น คูช แอดัมส์ เพื่อเป็นการให้เกียรติ

อาร์ค แก้

ชื่ออาร์ค รัศมี (กม.) ความกว้าง (กม.) ความลึก (กม.) หมายเหตุ
ลิเบอร์ตี้ 62,933[11] 15[11] 1.25–2.15[9] -
อีควอลิตี้ 1 62,933[11] 15[11] 1.25–2.15[9] -
อีควอลิตี้ 2 62,933[11] 15[11] 1.25–2.15[9] -
เคอริจ 62,933[11] 15[11] 1.25–2.15[9] -
ฟราเทอนีตี้ 62,933[11] 15[11] 1.25–2.15[9] -

การจางหายไปของอาร์ค แก้

ในปี ค.ศ. 1989 ยานวอยเอเจอร์ 2ได้ส่งภาพอาร์คของวงแหวน สามารถมองเห็นอย่างชัดเจน แต่ในปี ค.ศ. 2002 และ ค.ศ. 2003 Imke de Pater จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และเพื่อนร่วมงานอีก 10 คน เดินทางมาที่รัฐฮาวาย และใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องไปที่วงแหวนแอดัมส์พร้อมกับวิเคราะห์ ปรากฏว่าอาร์คของวงแหวนแอดัมส์กลับได้จางหายไป โดยพวกเขาได้เรียกอาร์คของวงแหวนแอดัมส์นั้นว่า ลิเบอร์ตี้[12]

อ้างอิง แก้

  1. "โครงการเครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-17. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
  2. "ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-01. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
  3. 3.0 3.1 "Science&Technology, รู้หรือไม่? ดาวเนปจูนก็มีวงแหวน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-18. สืบค้นเมื่อ 2012-05-27.
  4. เอกภพ, นานมี บุ๊คส์, 2004. ISBN 9749656466, 9789749656464
  5. NASA, วงแหวนดาวของเนปจูน
  6. วงแหวนของดาวเนปจูน, ดาวเนปจูน (Neptune), เรื่องที่ ๘ ระบบสุริยะ, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 31[ลิงก์เสีย]
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 doi:10.1126/science.246.4936.1422
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "วงแหวนของดาวเนปจูน, Daviddarling". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-22. สืบค้นเมื่อ 2012-11-03.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 Horn, Linda J. (1990). "Observations of Neptunian rings by Voyager photopolarimeter experiment". Geophysics Research Letters. 17 (10): 1745–1748. Bibcode:1990GeoRL..17.1745H. doi:10.1029/GL017i010p01745. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  10. "กลุ่มควันน้ำแข็ง, ดาวเนปจูน, student.nu.ac.th". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-09. สืบค้นเมื่อ 2012-11-03.
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 Neptunian Rings Fact Sheet, NASA
  12. Neptune's rings are fading away, SPACE & SCIENCE NEWS: March 2005, Daviddarling. 23 มีนาคม 2005[ลิงก์เสีย]