ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์

ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ (อังกฤษ: Lunar: The Silver Star; ญี่ปุ่น: ルナ ザ・シルバースター; โรมาจิ: Runa Za Shirubā Sutā) เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่พัฒนาโดยเกมอาตส์และสตูดิโออเล็กซ์สำหรับเซกา/เมกะ-ซีดี ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกโดยเกมอาตส์ และวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1992 หลังจากการเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จ เกมได้รับการแปลและจำกัดวงโดยเวิร์กกิงดีไซส์เพื่อวางจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือในปีต่อมา

ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์
ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์
ภาพปกเวอร์ชันอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนาเกมอาตส์
สตูดิโออเล็กซ์
ผู้จัดจำหน่าย
ศิลปินโทชิยูกิ คูโบกะ
เขียนบทเค ชิเงมะ
แต่งเพลงโนริยูกิ อิวาดาเระ
ฮิโรชิ ฟูจิโอกะ
อิซาโอะ มิโซงูชิ
ชุดลูนาร์
เครื่องเล่นเซกา ซีดี
วางจำหน่าย
แนววิดีโอเกมเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

ด้วยการออกแบบในฐานะ "วิดีโอเกมเล่นตามบทบาทชนิดแตกต่าง"[1] ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ได้ใช้ประโยชน์จากรูปแบบซีดี-รอม ซึ่งจะมีชื่อเสียงในอนาคต โดยนำเสนอเสียงคุณภาพสูง, วิดีโอเคลื่อนไหวเต็มรูปแบบ และการพากย์ด้วยเสียงเพื่อเล่าเรื่องราวแฟนตาซีที่มีฉากอยู่ในโลกแห่งเวทมนตร์ เกมดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การกระทำที่กล้าหาญของอเล็กซ์ ซึ่งเป็นเด็กหนุ่มจากเมืองเล็ก ๆ ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะได้เป็นฮีโรที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับไอดอลของเขาที่เป็นดรากอนมาสเตอร์ ผู้มีนามว่าดายน์ เมื่อการผจญภัยแบบเด็ก ๆ เปลี่ยนมาเป็นการค้นพบมังกรโบราณในเวลาต่อมา อเล็กซ์และเพื่อนของเขาต้องเดินทางข้ามโลกเพื่อรวบรวมพลังที่จำเป็นเพื่อเป็นดรากอนมาสเตอร์คนต่อไป และช่วยโลกในปฏิบัติการนี้

ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ประสบความสำเร็จจากทั้งการวิจารณ์และในเชิงพาณิชย์ โดยกลายเป็นเกมที่มียอดขายเมกา-ซีดี อันดับหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น และมียอดขายเมกา-ซีดี สูงสุดเป็นอันดับสองตลอดกาล ในฐานะเกมแรกในซีรีส์ลูนาร์ มันได้สร้างมาตรฐานสำหรับเกมอื่น ๆ ที่ตามมา รวมถึงภาคต่อโดยตรงอย่างลูนาร์: อีเทอร์นอลบลู ใน ค.ศ. 1994 นับตั้งแต่เปิดตัวเกมรุ่นดั้งเดิม ก็ได้มีการรีเมกปรับปรุงสามแบบสำหรับระบบต่าง ๆ ได้แก่ ลูนาร์: ซิลเวอร์สตาร์สตอรีคอมพลีต ใน ค.ศ. 1996, ลูนาร์เลเจนด์ ใน ค.ศ. 2002 และลูนาร์: ซิลเวอร์สตาร์ฮาร์โมนี ใน ค.ศ. 2009

รูปแบบการเล่น แก้

ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทมุมมองจากบนลงล่างที่มีตัวละครและสภาพแวดล้อมแบบสองมิติแบบดั้งเดิม ผู้เล่นจะต้องสำรวจเมืองต่าง ๆ, ทุ่งกว้าง และสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามเนื้อเรื่องที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า รวมทั้งโต้ตอบกับตัวละครที่ไม่ใช่ผู้เล่นเพื่อขยายสคริปต์และรับรางวัลต่าง ๆ[2] ด้วยการใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านฮาร์ดแวร์ดิสก์ของเซกา ซีดี จึงมีวิดีโอสั้น ๆ และเสียงแทรกมาพร้อมกับการบรรยายของเกม รวมถึงภาพเคลื่อนไหวแบบหนึ่งในสี่หรือแบบเต็มหน้าจอ และไฟล์เสียงซีดี-ดีเอ ผู้เล่นสามารถบันทึกความคืบหน้าโดยการเซฟลงในแรมภายในของเซกา ซีดี หรือตลับแรมที่ซื้อแยกต่างหาก ซึ่งพอดีกับเมกาไดรฟ์/เจเนซิสที่เสริมเข้ามา[3]

ขณะเดินทางในโลกของเกม ผู้เล่นจะสุ่มพบมอนสเตอร์ศัตรูที่ต้องกำจัดหรือหลีกเลี่ยงเพื่อรุดหน้า ลำดับการต่อสู้ใช้วิธีผลัดกันเล่น โดยผู้เล่นและศัตรูกระทำตามระดับ "ความเร็ว" ของพวกเขา ผู้เล่นจะออกคำสั่งกับตัวละครที่ควบคุมแต่ละตัวในหมู่คณะ ซึ่งจะดำเนินการตามลำดับจนกว่าการต่อสู้จะสิ้นสุด ขณะอยู่ในสนามรบ ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะเคลื่อนตัวละครเพื่อโจมตีศัตรู, ถอยเข้ามุม, ยืนบนพื้นของพวกเขา หรือหนีจากการต่อสู้ทั้งหมด โดยตัวละครสามารถโจมตีศัตรูได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาเข้าใกล้เป้าหมายมากพอ หรือใช้การโจมตีระยะไกล ส่วนนอล ซึ่งเป็นตัวละครสนับสนุนที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงในการต่อสู้ นั้นมีอยู่ตลอดทั้งเกมเพื่อวิเคราะห์ศัตรูก่อนที่การต่อสู้จะเริ่ม โดยจะประเมินความแข็งแกร่งที่สัมพันธ์กับกลุ่มของผู้เล่น[4] ผู้เล่นอาจพบอาวุธ, อุปกรณ์ และไอเท็มต่าง ๆ ในระหว่างการเล่นเกมซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพของตัวละครในการต่อสู้ เช่น สร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายตรงข้ามและเพิ่มความแข็งแกร่ง จากการชนะการต่อสู้จะได้รับค่าประสบการณ์ที่นำไปสู่การทำให้ตัวละครแข็งแกร่งขึ้นและสามารถต่อสู้กับศัตรูที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ[5] เมื่อพ่ายแพ้ ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะโหลดไฟล์ที่เซฟก่อนหน้านี้ หรือเริ่มเกมใหม่ที่เช็กพอยต์ที่ได้เซฟไว้โดยอัตโนมัติ

โครงเรื่อง แก้

พื้นฉาก แก้

เกมดังกล่าวเกิดขึ้นในดินแดนแฟนตาซีของลูนาร์ ซึ่งเป็นโลกเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ได้ โคจรรอบดาวเคราะห์สีน้ำเงินที่แห้งแล้งขนาดใหญ่ (รู้จักกันในชื่อบลูสตาร์) ที่ทำให้เกิดโลกคู่ขนานอย่างหลวม ๆ ระหว่างโลกของเกมและโลกกับดวงจันทร์ โดยหลายศตวรรษก่อนเริ่มเกม บลูสตาร์ถูกทำให้ไม่สามารถอยู่ได้จากสงครามหลายปี อัลเธนาเทพธิดาที่ทรงอำนาจและมีเมตตาได้ย้ายมนุษยชาติไปที่ซิลเวอร์สตาร์ โลกแห่งลูนาร์ และมอบหมายให้มังกรสี่ตัวปกป้องสภาพแวดล้อมของโลกใหม่ จากจุดนี้ ผู้ที่จะใช้พลังของมังกรเพื่อรับใช้เทพธิดาและปกป้องโลกได้เป็นที่รู้จักในนาม "ดรากอนมาสเตอร์" และไม่มีดรากอนมาสเตอร์คนไหนได้รับความเคารพมากไปกว่าดายน์ ซึ่งเป็นวีรบุรุษในตำนานที่ปกป้องเทพธิดาและตกอยู่ในชะตากรรมที่ไม่แน่นอน เรื่องราวการกระทำที่กล้าหาญของดายน์ได้เป็นแบบอย่างต่อชีวิตของเด็กหนุ่มที่ชื่ออเล็กซ์ ซึ่งเป็นตัวเอกและตัวละครหลักของเกม ผู้ปรารถนาที่จะเป็นดรากอนมาสเตอร์ด้วยตัวเอง[6] สถานที่หลายแห่งของลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ให้ความรู้สึกแบบ "ภาคเหนือ" โดยเจตนาในการนำเสนอสภาพแวดล้อมที่เย็นกว่าพื้นฉากของเกมเล่นตามบทบาทส่วนใหญ่ เพียงเพื่อให้ตัวละครสวมเสื้อผ้าได้มากขึ้น[7] เมืองและสถานที่หลายแห่งอิงจากอาณาบริเวณของรัสเซียและยุโรปยุคกลาง[8]

ตัวละคร แก้

ตัวละครของลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ได้รับการออกแบบโดยศิลปินอนิเมะและมังงะที่ชื่อโทชิยูกิ คูโบโอกะ[8] ตัวละครหลัก ได้แก่ อเล็กซ์และสหายของเขา ซึ่งแต่ละคนมีเหตุผลของตัวเองในการเข้าร่วมภารกิจของเขา:[9]

  • อเล็กซ์ - เด็กชายอายุ 15 ปีจากเมืองเล็ก ๆ ที่มีความฝันอยากเป็นนักผจญภัย อเล็กซ์เป็นตัวเอกที่เงียบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปสำหรับวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทเวอร์ชันญี่ปุ่นที่เขามักจะไม่ออกปากในเกม ยกเว้นฉากตัดเดียวที่เขาเผชิญหน้ากับกาเลียน และในฉากสุดท้ายของเกมที่เขาตะโกนเรียกชื่อของลูนา
  • นอล - สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีปีกคล้ายแมวสีขาว ซึ่งอยู่กับเขามาตั้งแต่เกิด
  • ลูนา - เพื่อนสมัยเด็กของอเล็กซ์และคนรัก ซึ่งมีความสามารถพิเศษในการรักษาด้วยดนตรี
  • เรมัส - ลูกชายของนายกเทศมนตรีเมืองที่ฝันว่าวันหนึ่งจะเปิดร้านของตัวเอง และเริ่มอาชีพการผจญภัยของอเล็กซ์โดยให้เขาไปหาเพชรล้ำค่าจากถ้ำมังกร
  • แนช - รองอัครมหาเสนาบดีแห่งนครลอยฟ้าที่ชื่อเวน เขามักจะตัดสินใจแบบบุ่มบ่าม และบางครั้งก็สิ้นหวัง
  • มีอา - รองอัครมหาเสนาบดีอีกคนแห่งเวน เธอมีความขรึมกว่าแนชเป็นอย่างมาก
  • ไคล์ - โจรที่มุทะลุและเป็นเสือผู้หญิง
  • เจสซิกา - ทอมบอยลูกสาวของวีรบุรุษชื่อดังซึ่งกำลังฝึกเป็นนักบวชสาว

ตัวละครสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ สมาชิกที่รอดชีวิตสามคนของสี่วีรบุรุษ, เหล่านักผจญภัยในตำนานที่ช่วยเหลือดรากอนมาสเตอร์ที่ชื่อดายน์ในการปกป้องเทพธิดาอัลเธนาเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งมีตำแหน่ง ได้แก่:

  • "จอมมฤตยู" เมล ดี'อัลเคิร์ก - พ่อของเจสซิกา และเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเมอริเบียที่คึกคัก ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นต้นฉบับกล่าวว่าเขาปกครองเมอริเบีย แม้ว่าการแปลของเวิร์กกิงดีไซส์จะเสริมว่าเขาได้ก่อตั้งเมือง[10]
  • เลเมีย ออซา - แม่ของมีอา และประมุขแห่งเวน
  • กาเลียน - พ่อมดผู้ทรงพลังและอาจารย์ของแนช ผู้ซึ่งกลายเป็นปฏิปักษ์ศัตรูตัวฉกาจหลังจากที่เขามีอัตตาที่เปลี่ยนแปลง สู่การเป็นจักรพรรดิจอมเวทย์

คณะได้รับความช่วยเหลือจาก:

  • ไลเกอ - นักดาบที่ทรงพลังและนักผจญภัยผู้เชี่ยวชาญซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของอเล็กซ์ และต่อมาได้รับการเปิดเผยว่าเป็นดรากอนมาสเตอร์ที่ชื่อดายน์ หลังจากสูญเสียพลังของเขา
  • เทมเพสต์ และเฟรสกา - นักสู้ที่อาศัยอยู่ในที่ราบซึ่งมีเหตุผลของตัวเองในการช่วยเหลืออเล็กซ์และกลุ่มของเขา[11]

ชื่อเวอร์ชันญี่ปุ่นฉบับดั้งเดิมของตัวละครหลายตัวได้รับการเปลี่ยนแปลงสำหรับเกมในอเมริกาเหนือ เช่น คิลลี เป็นไคล์, เฟย์ดี เป็นควาร์ก, เทมซิน เป็นเทมเพสต์ และพิลยา เป็นเฟรสกา; ส่วนเมล "นรก" ซึ่งเป็นฉายาดั้งเดิมของเมล ได้ถูกเปลี่ยนเป็น "มฤตยู" ด้วยเหตุผลด้านการเซ็นเซอร์[12] และแม่มดชื่อซีโนเบีย ทำหน้าที่เป็นคู่อริและคนรับใช้มือขวาของกาเลียน

เรื่องราว แก้

เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ เขียนโดยนักประพันธ์ชื่อเค ชิเงมะ และเกี่ยวข้องกับโลกแฟนตาซีระดับสูง และเน้นเรื่องคติชนรวมถึงตำนาน[7] เกมดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นที่เมืองเล็ก ๆ บนภูเขาบูร์ก ซึ่งอเล็กซ์ในวัยหนุ่มมักจะไปเยี่ยมชมอนุสาวรีย์ของดายน์ วีรบุรุษที่ตายในสนามรบ ซึ่งเป็นไอดอลของเขา ตามคำขอร้องของเรมัส ลูกชายผู้กระตือรือร้นของนายกเทศมนตรีเมือง เรมัสและอเล็กซ์ได้เริ่มต้นการผจญภัยที่แท้จริงครั้งแรก พร้อมด้วยลูนาน้องสาวบุญธรรมของอเล็กซ์ และนอลสัตว์เลี้ยงที่บินและพูดได้ของพวกเขา ไปยังถ้ำมังกรอันลึกลับเพื่อค้นหาเพชรล้ำค่า พวกเขาได้พบกับควาร์กมังกรสูงวัย ซึ่งมันสัมผัสได้ถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ในตัวอเล็กซ์ และเรียกร้องให้เขาผ่านการพิสูจน์จากมังกรตัวอื่นให้สำเร็จเพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นดรากอนมาสเตอร์, แชมป์แห่งเทพธิดาอัลเธนา และผู้พิทักษ์โลกคนต่อไป ควาร์กแสดงความสนใจในตัวลูนาเช่นกันโดยตั้งข้อสังเกตว่าเธอมีรัศมีที่คุ้นเคยรอบตัวเธอ เมื่อได้รับเพชรจากควาร์กแล้ว เรมัสพบว่าเขาขายมันไม่ได้ในเมืองบูร์ก และต้องเดินทางไปยังเมืองการค้าที่สำคัญของเมอริเบียเพื่ออ้างสิทธิโชคลาภของเขา จากนั้น กลุ่มนี้จะเดินทางไปยังเซธ ซึ่งเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ ทางทิศใต้ โดยลูนาได้ออกจากกลุ่มไปอยู่กับครอบครัวของอเล็กซ์

 
ฉากตัดแบบเคลื่อนไหวกับมังกรขาวที่ชื่อควาร์ก

เมื่อข้ามมหาสมุทร อเล็กซ์, นอล และเรมัส ได้เข้าสู่เมอริเบีย ซึ่งพวกเขาได้พบกับหนึ่งในสี่วีรบุรุษในตำนานที่ชื่อเมล เรมัสพยายามขายเพชรของเขา ทว่าถูกพ่อค้าอัญมณีหลอกลวงซึ่งหนีเข้าไปในท่อระบายน้ำ หลังจากยึดคืนมาได้ เรมัสก็ต่อรองราคาอย่างเจ้าเล่ห์สำหรับชีวิตของเจ้าของต่อร้านทั้งหมดของเขา และออกจากกลุ่มเพื่อไล่ตามความฝันที่จะร่ำรวย อเล็กซ์และแนชออกเดินทางไปยังเมืองเวน ซึ่งพวกเขาได้พบกับมีอา ลูกสาวของผู้ปกครองเมืองและคนที่แนชชอบ ผู้แจ้งให้พวกเขาทราบถึงกาเลียน หัวหน้าสหภาพและอดีตวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่ต่อสู้ร่วมกับดายน์เมื่อหลายปีก่อน ดูเหมือนว่าเขาจะรู้สึกทึ่งกับภารกิจของอเล็กซ์ กาเลียนจึงส่งอเล็กซ์ไปปฏิบัติภารกิจเพื่อสืบหาการปรากฏตัวของดรากอนมาสเตอร์จอมปลอมในเมืองที่ห่างไกลออกไป เมื่อมาถึง อเล็กซ์ได้พบกับเจสซิกา ลูกสาวของเมลและนักบวชสาวที่ทะเยอทะยาน ซึ่งช่วยเขาค้นหาผู้แอบอ้างก่อนจะกลับไปที่เวน ด้วยความยินดีกับความสำเร็จของเขา กาเลียนจึงพาอเล็กซ์กลับไปที่บ้านเกิดเพื่อพบกับควาร์กและพูดคุยเกี่ยวกับอนาคตของอเล็กซ์ แล้วจู่ ๆ เขาก็โจมตี โดยเปิดเผยตัวเองว่าเป็นจักรพรรดิจอมเวทย์และดูเหมือนจะสังหารควาร์กด้วยความโกรธ โดยอ้างถึงการสูญเสียดายน์ เพื่อนของเขาที่เสียชีวิตเพื่อปกป้องเทพธิดา กาเลียนสาบานว่าจะแก้แค้นทั้งเธอรวมถึงมังกรของเธอ และจากไปหลังจากการลักพาตัวลูนา อเล็กซ์และนอลที่ว้าวุ่นใจกลับไปที่เมอริเบีย ซึ่งพบว่าเมืองถูกโจมตีโดยกลุ่มสัตว์ประหลาดภายใต้คำสั่งของกาเลียน จากการรวมกลุ่มกับเจสซิกา กลุ่มนี้ได้ต่อสู้กับคลื่นผู้รุกรานก่อนที่จะพบว่าเมลกลายเป็นหินจากเวทมนตร์แห่งความมืดของซีโนเบีย แม่ทัพสูงสุดของกาเลียน ด้วยความต้องการที่จะแก้แค้น เจสซิกาพร้อมกับอเล็กต์มุ่งสู่เวนซึ่งถูกล้อม รวมถึงช่วยเหลือแนชและมีอาจากการรุกรานที่คล้ายกันก่อนที่พวกเขาจะเข้าร่วมกลุ่มด้วย

เมื่อตระหนักว่าพวกเขาต้องทำให้อเล็กซ์เป็นดรากอนมาสเตอร์เพื่อเผชิญหน้ากับกาเลียนและช่วยลูนา ทีมของเขาจึงมุ่งหน้าไปยังเมืองชายแดนแห่งนันซาเพื่อดึงไคล์ ซึ่งเป็นแฟนของเจสซิกาเข้าเป็นพวกและให้พาพวกเขาข้ามไปยังต่างแดน หลังจากเดินทางไปยังเมืองแห่งนักประดิษฐ์ กลุ่มดังกล่าวก็ได้รับอุปกรณ์ลอยน้ำที่จะพาพวกเขาไปยังถ้ำของมังกรแดง ซึ่งดูเหมือนว่ามันจะถูกสังหารโดยกาเลียนก่อนที่พวกเขาจะมาถึง วิญญาณของมังกรมอบพลังให้แก่อเล็กซ์ก่อนที่จะหายตัวไป และกลุ่มก็ออกเดินทางไปยังถ้ำของมังกรน้ำเงินที่อยู่ด้านหลังเมืองแห่งดนตรี มังกรถูกกำจัดอีกครั้งก่อนที่พวกเขาจะมาถึง และทีมดังกล่าวต้องเดินทางไปยังชายแดนที่ห่างไกลและแห้งแล้งเพื่อแสวงหาการพิสุจน์ครั้งสุดท้าย พวกเขาได้พบมังกรดำ ซึ่งโจมตีทีมของเขาด้วยความโกรธเกรี้ยวที่ชักนำโดยกาเลียนแต่มันก็พ่ายแพ้ ด้วยพรสุดท้ายของมังกร อเล็กซ์และพรรคพวกของเขาจึงเข้าใกล้พื้นที่ก่อสร้างปราสาทจักรกลเคลื่อนที่ของกาเลียน นั่นคือกรินเดรี แต่ไม่สามารถหยุดยั้งการรุกคืบของมันได้ก่อนที่มันจะทำลายเวนโดยใช้พลังของลูนา ซึ่งถูกเปิดเผยว่าเป็นร่างมนุษย์ของเทพธิดาอัลเธนา และผู้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจักรพรรดิจอมเวทย์ หลังจากได้รับดาบของอัลเธนาและเรียนรู้ความจริงเกี่ยวกับลูนาแล้ว พวกเขาก็โจมตีกรินเดรี และกำจัดทั้งซีโนเบียรวมถึงจักรพรรดิจอมเวทย์ เมื่อรู้ว่าเขาต้องทำอะไรเพื่อพาลูนากลับมา อเล็กซ์จึงไต่เส้นทางไปหาลูนา ซึ่งขณะนี้อยู่ในฐานะอัลเธนาได้ระเบิดเขาอย่างต่อเนื่องด้วยสายฟ้า เขาเล่นพิณของเขาในขณะที่เขาขึ้นหน้า และการได้ยินเพลงของพวกเขาทำให้ความมีตัวตนของลูนากลับคืนมา เธอตื่นขึ้นในอ้อมแขนของอเล็กซ์ ท่ามกลางเพื่อน ๆ ของพวกเขา

การพัฒนา แก้

ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ได้รับการพัฒนาโดยเกมอาตส์ในความพยายามที่จะสร้างเกมเล่นตามบทบาทที่เน้นไปที่แอนิเมชันและการเล่าเรื่องเป็นหลัก[8] ทีมงานหันไปหานักเขียนบทและนักประพันธ์เค ชิเงมะ เพื่อสร้างเรื่องราวที่จะแยกตัวออกจากเกม "'แบบ' ซ้ำซาก" ที่ "มีเรื่องราว แต่ไม่มีการเล่าเรื่อง"[7] โดยการใช้ความสามารถในการเล่นวิดีโอของเซกา ซีดี แอะนิเมเตอร์และศิลปิน โทชิยูกิ คูโบกะ ได้ดูแลการวางแผนลำดับวิดีโอหลายชุดที่ควบคู่ไปกับเสียงพากย์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของโลกลูนาร์ได้ดีขึ้น จากการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางแฟนตาซีโดยรวมซึ่งตรงข้ามกับทางเลือกเล่นตามบทบาทยอดนิยมของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ ทีมงานต้องสำรวจตำนานและประวัติศาสตร์ของโลกสมมติที่จะค่อย ๆ เปิดเผยตัวเองต่อผู้เล่นเมื่อเวลาผ่านไป[8] ในขณะที่มีวิดีโอเกมแบบเลื่อนด้านข้างและวิดีโอเกมยิงแบบเลื่อนฉากที่พัฒนาขึ้นเป็นส่วนใหญ่สำหรับเมกาไดรฟ์และพีซี เอนจิน เกมอาตส์ได้ก่อตั้งบริษัทในเครือชื่อสตูดิโออเล็กซ์ ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามตัวละครหลักของเกมนี้ เพื่อดูแลการพัฒนาเกมส่วนใหญ่ และเนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา เกือบหนึ่งในสามของโครงการลูนาร์จึงถูกทิ้งใกล้ ๆ การเปิดตัวเกม[13]

เวอร์ชันภาษาอังกฤษของลูนาร์'ได้รับการจัดการโดยเวิร์กกิงดีไซส์ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายขนาดเล็กในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่เคยแปลเกมขนาดเล็กสำหรับเทอร์โบกราฟซ์-16 และเทอร์โบดูโอมาก่อน ทีมนี้นำโดยวิกเตอร์ ไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นรองประธานบริษัทและหัวหน้านักเขียน โดยมักจะร่วมมือกับทีมงานดั้งเดิมของญี่ปุ่นด้วยตัวพวกเขาเอง นับเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขา[14] องค์ประกอบการเล่นเกมใหม่มักจะถูกเพิ่มตามคำขอของไอร์แลนด์ รวมถึงลำดับใหม่ ๆ เช่นการเล่นพิณของอเล็กซ์เพื่อปลุกลูนาในตอนท้ายของเกม[15] เวิร์กกิงดีไซส์ยังใช้ความพยายามเป็นพิเศษในบรรจุภัณฑ์ของเกม โดยให้คู่มือเล่มเล็กที่มีตัวอักษรนูน และมีตราประทับแยกกันเจ็ดดวง ซึ่งแต่ละชิ้นมีอาร์ตเวิร์กที่แตกต่างกัน โดยผลิตขึ้นสำหรับด้านหน้าของแผ่นเกมเพื่อเพิ่มมูลค่าการสะสม[16]

สคริปต์ภาษาอังกฤษมีขนาดเกือบสี่เมกะไบต์ แต่เวิร์กกิงดีไซส์แปลเสร็จในเวลาเพียงแปดสัปดาห์หลังจากช่วงการเขียนโปรแกรมมาราธอน[17] ในระหว่างการแปล ผู้พัฒนาได้หาเวลาใส่อารมณ์ขันของตัวเองลงในข้อความของเกม โดยวางเป็นประโยคต่าง ๆ เช่น คุณเคยลองว่ายน้ำในเลมอนเจลโลหรือเปล่า? และการอ้างอิงวัฒนธรรมประชานิยมที่น่าสนใจมากมายที่ไม่มีในเวอร์ชันดั้งเดิม รวมถึงการพาดพิงถึงโฆษณาอเมริกัน, ผู้มีชื่อเสียง, ภาษาปาก, ผลิตภัณฑ์ และความคิดเก่าที่คร่ำครึของเกมเล่นตามบทบาท[18]

เสียง แก้

เพลงสำหรับลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ แต่งโดยโนริยูกิ อิวาดาเระ, ฮิโรชิ ฟูจิโอกะ, อิซาโอะ มิโซงูชิ และโยชิอากิ คูโบเดระ ซึ่งใช้ความสามารถด้านเสียงของเซกาซีดี เพื่อสร้างซีดี-ดีเอ คุณภาพซีดี[19] เกมดังกล่าวมีรูปแบบธีมฉากเปิด "ลูนาร์" ซึ่งดำเนินการโดยมายูมิ ซูโด ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นต้นฉบับ[20] ส่วนเวอร์ชันภาษาอังกฤษที่ไม่มีชื่อเป็นท่อนที่จัดเรียงเล็กน้อยโดยนักร้องชื่อชิยา อัลเมดา ซึ่งมีเนื้อเพลงใหม่โดยวิกเตอร์ ไอร์แลนด์ ผู้ซึ่งตั้งใจให้เพลงฟังดู "น่ารัก" น้อยลงโดยมี "ความรู้สึกเร่งด่วน" มากขึ้น[21]

ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ออริจินัลซาวด์แทร็ก ได้เปิดตัวเฉพาะในญี่ปุ่นโดยโตชิบา-อีเอ็มไอ เรเคิดส์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1992 สองเดือนก่อนการเปิดตัวจริงของเกม[22] อัลบัมนี้มีธีมการเปิดและการจบเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นเต็มรูปแบบ รวมถึงการจัดเตรียมคาราโอเกะ ธีมฉากหลังของเกมส่วนใหญ่นำเสนอเป็นเพลงหลายเพลงแทนที่จะเป็นแทร็กแยกต่างหาก แม้ว่าจะไม่เคยมีการเปิดตัวเวอร์ชันอเมริกาเหนืออย่างเป็นทางการ แต่เพลงหลายเพลงที่นำเสนอในอัลบัมนี้ได้รับการจัดให้เป็นพิเศษในซาวด์แทร็กโบนัสที่พบในฉบับสะสมของลูนาร์: ซิลเวอร์สตาร์สตอรีคอมพลีต รวมถึงธีมเปิดภาษาอังกฤษ[23]

รายการเพลงลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ออริจินัลซาวด์แทร็ก
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."ลูนาร์" (ร้องโดยมายูมิ ซูโด)3:16
2."ซากาออพเดอะซิลเวอร์สตาร์"8:09
3."ฟังคิแดนซ์" (ร้องโดยมายูมิ ซูโด)3:49
4."เซนซิทีฟดรีม" (ร้องโดยคิกูโกะ อิโนอูเอะ)4:38
5."อินโทรดักชัน ~ ลูนาร์"2:00
6."บีกินนิงออฟอะเจอร์นี I" (เบิร์จวิลเลจ / ลูนาส์ดรีม)2:07
7."บีกินนิงออฟอะเจอร์นี II" (ฟีลด์ 1 / แบตเทิล / ดรากอนส์เคฟ / มีตติงเดอะไวต์ดรากอน)4:56
8."แอดเวนเจอร์ I" (วิลเลจ / ชิปวอยเอจ / บอลลูนวอยเอจ / แอร์ชิปวอยเอจ)3:11
9."แอดเวนเจอร์ II" (เมอริเบีย / เคฟ / ทาวน์ / เวน / คริสตัลทาวเวอร์)6:40
10."อินเดอะมิสต์ออฟเดอะเจอร์นี I" (ลูนาส์ธีม (ฮาร์พ) / ออมินัสพรีโมนิชัน / ธีมออฟแซดเนส / ธีมออฟแองไซเอที)2:46
11."อินเดอะมิสต์ออฟเดอะเจอร์นี II" (มีตติงอะเฟรนด์ / ชาโดว์ออฟดิเอเนมี / ซองสเตรสซอง / ซองสเตรสซอง (แฟลต) / ไอเทม / เอเนมีเอนเคาน์เตอร์)1:28
12."เซอร์เมาน์ติงเดอะไทรอัล" (ฟีลด์ 2 / ทาวเวอร์ / มิด-บอส แบตเทิล / กอดเดสทาวเวอร์ / แมชชีนคาสเซิลแอตแทก / อินไซด์แมชชีนคาสเซิล)6:32
13."เดอะไฟนอลแบตเทิล" (เกรตบอสแบตเทิล / อเวคเคนนิง / ดิสแทนต์ลูนาร์)4:06
14."ลูนาร์" (คาราโอเกะ)3:16
15."เซนซิทีฟดรีม" (คาราโอเกะ)4:21
ความยาวทั้งหมด:61:15

เสียงพูด แก้

ทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษที่ดัดแปลงจากลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ มีบทสนทนาที่พูดได้ประมาณสิบห้านาทีจากนักพากย์ที่มีชื่อเสียงหลายคน แม้ว่าเกมจะมีตัวละครหลักและตัวสนับสนุนจำนวนมาก แต่จริง ๆ แล้วมีเพียงห้าตัวเท่านั้นที่เปล่งเสียงออกมาในระหว่างลำดับเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง โดยเวอร์ชันญี่ปุ่นมีคิกูโกะ อิโนอูเอะ พากย์เป็นทั้งอเล็กซ์และลูนา, เร ซากูมะ พากย์เป็นนอล, โคอิจิ คิตามูระ พากย์เป็นมังกรขาวที่ชื่อควาร์ก และโรกูโร นายะ พากย์เป็นกาเลียน[24] ส่วนเวอร์ชันภาษาอังกฤษประกอบด้วยผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ใหม่ ๆ เป็นส่วนใหญ่ และพนักงานของเวิร์กกิงดีไซส์ เช่น แอชลีย์ พาร์กเกอร์ เอนเจล พากย์เป็นอเล็กซ์, รอนดา กิบสัน พากย์เป็นลูนา, แจ็กกี พาวเวอส์ พากย์เป็นนอล, ฮัล เดลาฮูส พากย์เป็นควาร์ก และจอห์น ทรูต พากย์เป็นกาเลียน[24] ในขณะที่นักพากย์ภาษาญี่ปุ่นทั้งหมดถูกแทนที่สำหรับเกมรีเมกในระบบเพลย์สเตชัน แต่นักพากย์ต้นฉบับภาษาอังกฤษทุกคนจะกลับมาบรรเลงบทเดิมอีกครั้ง[25]

การตอบรับ แก้

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์88 เปอร์เซ็นต์[26]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี7.75/10[27]
เกมแฟน97 เปอร์เซ็นต์[28]
เกมอินฟอร์เมอร์8.5/10[29]
เกมโปร     [30]
อิเล็กทรอนิกเกมส์86 เปอร์เซ็นต์[31]
เกมเพลเยอส์79 เปอร์เซ็นต์[32]
เซกา-169/10[26]
วีจีแอนด์ซีอี9/10[33]
มีนแมชชีนส์86 เปอร์เซ็นต์[34]
รางวัล
สิ่งพิมพ์เผยแพร่รางวัล
เกมแฟนวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทยอดเยี่ยม[13]

ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ได้รับการตอบรับอย่างดีในญี่ปุ่นโดยขายได้ประมาณ 100,000 ชุด โดยขายหมดทั้งการผลิตในญี่ปุ่นในปีแรกหลังจากวางจำหน่าย ซึ่งเกือบมากเท่ากับเมกะ ซีดี เอง[35] นับเป็นเกมยอดนิยมเกมแรกของเมกาซีดี ซึ่งเซกาให้เครดิตเพียงเพื่อผลักดันยอดขายของระบบในภูมิภาคนั้น ๆ[13] เกมดังกล่าวยังคงเป็นเกมเมกาซีดีที่ขายดีที่สุดตลอดกาลในประเทศญี่ปุ่น และมียอดขายสูงสุดเป็นอันดับสองทั่วโลกรองจากโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก ซีดี นอกจากนี้ ผู้อ่านนิตยสารเมกาไดรฟ์บีปของญี่ปุ่นได้โหวตให้เกมนี้เป็นเกมเมกาไดรฟ์เล่นตามบทบาทอันดับหนึ่งเป็นเวลา 17 เดือนติดต่อกันก่อนที่จะถูกเอาชนะโดยไชนิงฟอร์ซ II[35]

เวอร์ชันภาษาอังกฤษที่วางจำหน่ายในปีถัดไปได้รับการตอบรับที่คล้ายคลึงกัน โดยสคิดของนิตยสารเกมแฟนกล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็น "วิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่ดีที่สุดที่ผมเคยเล่นเป็นภาษาอังกฤษ" โดยยกย่องในกราฟิก, เสียง และเรื่องราวของเกมที่ "คิดและดำเนินการได้ดี"[28] บรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าวยังยกย่องให้เป็นเกมเล่นตามบทบาทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน ค.ศ. 1993[13] ส่วนนิตยสารเกมโปรได้วิจารณ์ในทำนองเดียวกันว่า "ไม่ใช่แค่วิดีโอเกมเล่นตามบทบาทในระบบเซกา ซีดี ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่เป็นหนึ่งในเกมที่ดีที่สุดในระบบเซกา" ซึ่งให้คุณค่ากับการแปลเกมเป็นพิเศษ[30] ขณะที่นิตยสารเกมเพลเยอส์ได้อธิบายว่ามันเป็น "วิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่สมบูรณ์และคุ้มค่ากับเวลาของคุณ" แต่พบข้อผิดพลาดในกราฟิกตัวละครขนาดเล็กของเกมที่ "ดูเหมือนวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทอื่น ๆ" และคุณค่าในการกลับมาเล่นอีกครั้งที่แทบไม่มีอยู่จริง[32] และนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีมีผู้วิจารณ์ห้าคน ได้แก่ เอ็ด, ดาโน, อัล, ซูชิ-เอกซ์ และไมค์ ได้ให้คะแนนเกมที่ 9, 8, 7, 7 และ 7 ตามลำดับ ตั้งแต่ระดับ "คุ้มค่า" ไปจนถึง "แทบไม่มีที่ติ" นิตยสารดังกล่าวยกย่องเพลงประกอบของเกม แต่อธิบายลำดับการต่อสู้ว่า "ค่อนข้างน่าเบื่อ"[36] ส่วนคู่มือผู้ซื้อวิดีโอเกม ค.ศ. 1999 ของนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีได้ระบุคะแนน 4 รายการ ได้แก่ 9, 8, 7 และ 7 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7.75 จาก 10 คะแนนโดยรวม และอธิบายว่าเกมนี้เป็น "หนึ่งในวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา"[27]

นิตยสารเมกะได้จัดอันดับเกมดังกล่าวไว้ที่ #8 ของเกมเมกะ ซีดี ยอดเยี่ยมตลอดกาล[37] ครั้นใน ค.ศ. 2006 ลูนาร์ได้ติดอันดับ 113 ในรายการ "วิดีโอเกมในยุคของพวกเขา" ของนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลี และเว็บไซต์วันอัป.คอม ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองเกมที่ถือว่าดีที่สุดในช่วงแรกของการเปิดตัว[38] ส่วนนิตยสารรีโทรเกมเมอร์ได้รวมภาคเดอะซิลเวอร์สตาร์ไว้ในสิบอันดับสูงสุดของเกมเมกะ ซีดี โดยสังเกตว่ามี "ซาวด์แทร็กที่น่าทึ่ง" และ การปรับปรุงให้เข้ากับตะวันตกที่ "ยอดเยี่ยม"[39]

สิ่งสืบทอด แก้

ในฐานะเกมแรกของซีรีส์ลูนาร์ ภาคเดอะซิลเวอร์สตาร์ได้สร้างธีมและตัวละครจำนวนมากที่จะได้เห็นในภาคต่อ ๆ ไป เกมดังกล่าวตามมาด้วยภาคลูนาร์: อีเทอร์นอลบลู ใน ค.ศ. 1994 ซึ่งเป็นภาคต่อโดยตรงที่เนื้อเรื่องแต่งให้เกิดขึ้นหนึ่งเมื่อพันปีในอนาคตของภาคเดอะซิลเวอร์สตาร์' และมีการอ้างอิงถึงภาคต้นฉบับเป็นจำนวนมาก ส่วนภาคอื่น ๆ ที่ตามมา รวมถึงลูนาร์: วอล์กกิงสกูล ใน ค.ศ. 1996 และลูนาร์: ดรากอนซอง ใน ค.ศ. 2005 จะทำหน้าที่เป็นพรีเควลของเกม ซึ่งเกิดขึ้นหลายร้อยปีก่อนเรื่องราวของเกมภาคนี้

ภาครีเมค แก้

ลูนาร์: เดอะซิลเวอร์สตาร์ ได้รับการสร้างขึ้นใหม่หลายครั้งโดยนักพัฒนาและผู้เผยแพร่หลายรายสำหรับคอนโซลหลายรุ่นระหว่าง ค.ศ. 1996 ถึง 2009 ซึ่งเกมเหล่านี้มีการปรับปรุงกราฟิกและเสียง รวมถึงสคริปต์แบบขยาย[40][41]

อ้างอิง แก้

  1. The Making of Lunar: Silver Star Story Complete. Working Designs. 1999. SLUS-00628/008995.
  2. Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 1617. ISBN 1-884364-00-4.
  3. Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 5. T-127015.
  4. Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 15. T-127015.
  5. Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 1618. T-127015.
  6. Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 4. T-127015.
  7. 7.0 7.1 7.2 Lunar I & II Official Design Materials Collection - Hajime Satou x Katsutoshi Akashi Long Interview. Softbank. 1997. p. 88. ISBN 4-89052-662-5.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Lunar I & II Official Design Materials Collection - Kei Shigema x Toshiyuki Kubooka Long Interview. Softbank. 1997. p. 96. ISBN 4-89052-662-5.
  9. Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 0410. ISBN 1-884364-00-4.
  10. http://lparchive.org/Lunar-The-Silver-Star/Update%2036/
  11. Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 1114. ISBN 1-884364-00-4.
  12. Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 122126. ISBN 1-884364-00-4.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Pettus, Sam (July 15, 2004). "Sega CD: A Console too Soon". Sega-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2010. สืบค้นเมื่อ 2009-12-17.
  14. Rudo (May 1999). "Interviews - Victor Ireland (Interview 2)". LunarNET. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  15. Rudo and Webber (May 1998). "Interviews - Victor Ireland (Interview 1)". LunarNET. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  16. "Lunar: The Silver Star - Details (archived)". Working Designs. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-12-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  17. Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 33. ISBN 1-884364-00-4.
  18. "*GALLERY* Lunar: The Silver Star". Games, Books, Films. Dec 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
  19. Rzeminski, Lucy (2004). "Chudah's Corner - Lunar the Silver Star". Chudah's Corner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  20. Rzeminski, Lucy (2004). "Chudah's Corner - Lyrics - Lunar". Chudah's Corner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  21. Lunar: The Silver Star Instruction Manual. Working Designs. 1993. p. 22. T-127015.
  22. Farand, Eric (2004-05-17). "RPGFan Soundtracks - Lunar: The Silver Star OST". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  23. Musashi (2004-05-17). "RPGFan Soundtracks - Lunar: Silver Star Story Complete Soundtrack". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-09. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  24. 24.0 24.1 Shannon, Mickey (2002). "Lunar: The Silver Star - Game Credits". LunarNET. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  25. Shannon, Mickey (2002). "Lunar: Silver Star Story Complete - Game Credits". LunarNET. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  26. 26.0 26.1 "Lunar: The Silver Star for Sega CD". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 29 January 2012.
  27. 27.0 27.1 "1999 Video Game Buyer's Guide". Electronic Gaming Monthly: 141. 1999.
  28. 28.0 28.1 Skid (December 1993). GameFan. Vol. 2. DieHard Gamers Club).
  29. Paul Anderson; Rick Petzoldt & Ross VanDerSchaegen (March–April 1994). Game Informer. Vol. 4. GameStop Corporation.
  30. 30.0 30.1 Lawrence of Arcadia (January 1994). GamePro. Vol. 6. IDG Entertainment.
  31. Camron, Marc (January 1994). "Lunar: The Silver Star". Electronic Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2004. สืบค้นเมื่อ 10 February 2012.{{cite journal}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  32. 32.0 32.1 Lundigren, Jeff (February 1994). Game Players. Vol. 6. Imagine Media.
  33. Chris; Gore; Mike; Nikos (December 1993). VideoGames & Computer Entertainment. Vol. 6. Larry Flynt Publications.
  34. Scan of Mega Machine 17 page 52
  35. 35.0 35.1 Arnold, J. Douglas & Meston, Zach (1993). Lunar: The Silver Star - The Official Strategy Guide. Sandwich Island Publishing. p. 12. ISBN 1-884364-00-4.
  36. Danyon Carpenter; Al Manuel; Ed Semrad; David "Sushi-X" Siller; Mike Weigand (December 1993). Electronic Gaming Monthly. Vol. 5. Ziff Davis Media.
  37. Mega magazine issue 26, page 74, Maverick Magazines, November 1994.
  38. Semrad, Steven (February 2006). "The Greatest 200 Videogames of Their Time from 1UP.com". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  39. http://www.retrogamer.net/top_10/top-ten-mega-cd-games/
  40. Bartholow, David (1999). "Lunar: Silver Star Story Complete for PlayStation Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15.
  41. Kasavin, Greg (2002). "Lunar Legend for Game Boy Advance Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15., and the newly announced third remake for the PlayStation Portable, Lunar: Harmony of the Silver Star.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้