ลูกปืนใหญ่ (พืช)

สปีชีส์ของพืช
ลูกปืนใหญ่
ดอกลูกปืนใหญ่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Lecythidaceae
สกุล: Couroupita
สปีชีส์: C.  guianensis
ชื่อทวินาม
Couroupita guianensis
Aubl.
ผลลูกปืนใหญ่

ลูกปืนใหญ่[1] หรือ สาละลังกา[2] (อังกฤษ: Cannonball tree) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ลูกปืนใหญ่เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา ดอกสีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ปลายช่อโน้มลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกแข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็นมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่[3]

ประวัติ แก้

ลูกปืนใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรู, โคลัมเบีย, บราซิล และประเทศใกล้เคียง[4] ในปี พ.ศ. 2424 สวนพฤกษศาสตร์ศรีลังกาได้นำเข้าลูกปืนใหญ่จากตรินิแดดและโตเบโก ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วศรีลังกา[4] แต่ชาวศรีลังกากลับเรียกต้นลูกปืนใหญ่นี้ว่า ซาล (Sal) โดยไม่ปรากฏเหตุผลและไม่ทราบความเป็นมาของลูกปืนใหญ่[4] ส่วนมากอ้างว่านำมาจากอินเดีย และที่เรียกเพราะซาลเพราะเชื่อว่าก้านชูอับเรณูที่เชื่อมกันเป็นรูปผืนผ้าตัวงอเป็นตัว U นอน ปุ่มตรงกลางเปรียบเสมือนพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน มีเกสรสีเหลืองรายล้อมเปรียบเสมือนพระสงฆ์สาวกห้อมล้อมอยู่ ส่วนด้านบนเป็นที่บังแดดและน้ำค้างประดับด้วยดอกไม้ เนื่องจากมีดอกตลอดปีประกอบกับกลิ่นหอมที่ทนนาน ชาวศรีลังกาจึงนิยมใช้บูชาพระเช่นดอกไม้อื่นๆ[4]

ลูกปืนใหญ่มิใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกาและอินเดีย และต่างจากสาละอย่างสิ้นเชิงทั้งถิ่นกำเนิดและพฤกษศาสตร์ จึงได้มีการจำแนกชื่อที่พ้องกันเพื่อเรียกให้ถูกต้องว่าสาละ (Sal Tree) หรือสาละอินเดีย (Sal of India) และลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree) [4]

อนึ่ง ลูกปืนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด เนื่องจากลูกปืนใหญ่มีดอกและผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของของลูกปืนใหญ่มีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อม ๆ ซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพักหรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้[4]

ต้นไม้ประจำสถาบัน แก้

อ้างอิง แก้

  1. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  2. หน้า 22 เกษตร-บทความ, สาละลังกา. "เรื่องน่ารู้". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,206: วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 ปีมะแม
  3. สาละลังกา เก็บถาวร 2010-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 บุญรอด อินทวารี. ต้นสาละ:ไม้สำคัญในพระพุทธศาสนา. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 146-149

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Couroupita guianensis ที่วิกิสปีชีส์