ลิ้มโต๊ะเคี่ยม (จีน: 林道乾; พินอิน: Lín Dàoqián; เวด-ไจลส์: Lin Tao-ch'ien; เป่อ่วยยี: Lîm tō-khiân, มลายู: Tok Kayan) เป็นโจรสลัดชาวจีนแต๋จิ๋วที่โจมตีชายฝั่งกวางตุ้งกับฝูเจี้ยน แต่ถูกผู้บังคับบัญชากองเรือแห่งราชวงศ์หมิง หยู่ ต้าโหย่ว ขับไล่ไปที่ไต้หวัน ต่อมาเขาย้ายไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งถิ่นฐาน และเสียชีวิตที่ปาตานี[1]

ลิ้มโต๊ะเคี่ยม
林道乾
เกิดคริสต์ศตวรรษที่ 16
ภูมิภาคแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง จีนสมัยราชวงศ์หมิง
เสียชีวิตคริสต์ทศวรรษ 1580?
ปาตานี
อาชีพโจรสลัด

ชีวิต แก้

ลิ้มมีต้นกำเนิดเป็นชาวแต้จิ๋ว และเขาอาจมาจากเฉิงไห่หรือฮุ่ยหลายในมณฑลกวางตุ้ง[2][3] ต่อมาเขาย้ายไปที่เฉวียนโจว มณฑลฝูเจี้ยน[4] ลิ้มเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโจรสลัดโวโก้วที่ปล้นสะดมริมชายฝั่งจีนในรัชสมัยจักรพรรดิเจียจิ้ง (1522–1566) เขาโจมตีเจ้าอาน โดยเขาเผาบ้านมากกว่าร้อยหลังและฆ่าคนมากกว่าพันคน[1] ด้วยเหตุนี้ กองเรือราชวงศ์หมิงที่นำโดยหยู่ ต้าโหย่ว ขับไล่ลิ้มไปที่หมู่เกาะเผิงหู และต่อมาที่เป่ย์กั่ง ประเทศไต้หวัน หลังขับไล่ลิ้มออกไป หยู่ก็ครอบครองเผิงหู แต่ไม่ไล่ตามลิ้มต่อที่ไต้หวัน[5]

ลิ้มเป็นที่รู้จักจากปฏิบัติการที่จามปาและเกาะลูซอนในประเทศฟิลิปปินส์[6] ใน ค.ศ. 1567 เขาไปปล้นสะดมที่ชายฝั่งจีนอีกครั้ง และใน ค.ศ. 1568 เจ้าหน้าที่ราชวงศ์หมิงตั้งหมายจับลิ้มเพื่อจับกุมเขา[7] ในช่วงหนึ่ง เขาถูกโจมตีโดยลิ้ม เฟิ่ง หัวหน้าโจรสลัดอีกคนที่ยึดเรือของเขา 55 ลำ[8] บันทึกราชวงศ์หมิงกล่าวถึงลิ้มว่า"เจ้าเล่ห์และเล่นกลมากที่สุด"[9] และอาจจะก่อกบฎและสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อเจ้าหน้าที่ราชวงศ์หมิง[10] มีรายงานใน ค.ศ. 1573 ว่าเขาได้ก่อกบฎและหนีไปหลบภัยที่ต่างประเทศ[11]

 
มัสยิดกรือเซะที่จังหวัดปัตตานี ถูกอ้างว่าเป็นมัสยิดที่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมสร้างขึ้น

ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ทศวรรษ 1570 ลิ้มได้ทำปฏิบัติการในพื้นที่ปาตานีแล้ว และกองทัพหมิงได้เข้าร่วมกับกองทัพเรือสยามและเรือโปรตุเกสเพื่อโจมตีพวกโจรสลัด[12] ใน ค.ศ. 1578 เขาตั้งฐานที่ปาตานีกับผู้ติดตาม 2,000 คน[13] ข้อมูลสมัยราชวงศ์หมิงบันทึกว่า ใน ค.ศ. 1578 เขาโจมตีเรือสยามแต่ถูกต้านทานไว้ และใน ค.ศ. 1580 เขาโจมตีอีกครั้ง และออกจากสยามในปีต่อมา[14] เจ้าหน้าที่ราชวงศ์หมิงพยายามจับกุมเขาในตอนที่กำลังโจมตีเรือจีนใน ค.ศ. 1580–81 หลัง ค.ศ. 1581 ก็ไม่มีรายงานกิจกรรมโจรสลัดของเขาแล้ว ซึ่งมีข้อเสนอว่าเขาได้เกษียณและตั้งถิ่นฐานที่ปาตานี[12]

ที่ปาตานี ลิ้มได้ครอบครองที่ดินศักดินาและก่อตั้งเมืองท่าขนาดเล็กใกล้ปาตานี กล่าวกันว่าเขาเป็นหัวหน้าศุลกากร ในขณะที่สมาชิกของเขาได้รับชื่อเสียงจากการบริการผู้ปกครองปาตานี[15][16] รายงานจากความเชื่อพื้นบ้านปาตานี เขาแต่งงานกับพระราชธิดาสุลต่าน เข้ารับอิสลาม และสร้างมัสยิด กล่าวกันว่าเขาเสียชีวิตขณะทดสอบปืนใหญ่ที่ทำมาถวายแก่พระราชินีปาตานี[17] บางส่วนกล่าวแนะว่า เขาเสียชีวิตในคริสต์ทศวรรษ 1580 ในขณะที่บางส่วนกล่าวแนะว่า เขายังคงมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยรายาบีรูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อว่าเขาถูกฝังที่กูโบร์บูกิตจีนอ (Kubo Bukit Cina; ป่าช้าจีน) สุสานชาวจีนที่เก่าแก่ที่สุดในปาตานี[18]

เรื่องราวและตำนาน แก้

ในไต้หวัน แก้

มีตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับลิ้มหลายแบบที่ไต้หวัน ถึงแม้ว่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน และไม่กระจ่างว่าเขาอยู่ที่นั่นจริงหรือไม่ ตามรายงานจากตำนาน ลิ้มสังหารชาวไต้หวันจำนวนมาก เพื่อนำเลือดของพวกเขาไปอุดรูบนเรือ[19][20] กล่าวกันว่า เมื่อเขาลงจอดที่เกาสฺยง ประเทศไต้หวันใน ค.ศ. 1563 ลิ้มซ่อนสมบัติลงในตะกร้าไม้ไผ่จำนวนสิบแปดและอีกครึ่งอันในบริเวณเนินเขารอบ ๆ ทำให้เนินเขาเกาสฺยงมีอีกชื่อหนึ่งว่าเนินเขาฝังทอง (埋金山) อีกเรื่องหนึ่งบันทึกว่า ปรมาจารย์ลัทธิเต๋าพูดกับลิ้มว่า เขาสามารถครอบครองจีนทั้งหมดได้ ถ้าหลังจากฝึกภารกิจบางอย่างครบร้อยวัน เขาจะยิงธนูสามอันไปที่ปักกิ่งในตอนเช้าของวันสุดท้าย ปรมาจารย์ให้ธนูวิเศษสามดอกและ"ไก่โต้งวิเศษ" ลิ้มยกไก่ให้จินเหลียน (金蓮) พี่/น้องสาวของเขาดูแล ในช่วงเที่ยงคืนของวันสุดท้าย จินเหลียนทำให้ไก่โต้งตื่นโดยไม่ตั้งใจ ทำให้มันส่งเสียงร้อง ลิ้มตื่นขึ้นมาและเข้าใจผิดว่าเป็นช่วงเช้าแล้ว จึงยิงธนูวิเศษสามดอกกับชื่อของเขาไปที่เมืองหลวงจักรวรรดิ ธนูทั้งสามบินไปถึงพระราชวังต้องห้าม จิ้มบัลลังก์มังกร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นช่วงเที่ยงคืน บัลลังก์จึงว่าง พระจักรพรรดิพบธนูสามดอกที่มีชื่อลิ้มบนนั้น ทำให้รู้ว่าเขาพยายามปลงพระชนม์พระองค์ ทำให้พระองค์สั่งกองทัพไปฆ่าลิ้มเสีย[21]

ในปาตานี แก้

 
ศาลเจ้าที่อุทิศแด่ลิ้มกอเหนี่ยว ผู้เป็นน้องสาวของลิ้มโต๊ะเคี่ยม

ชาวแต้จิ๋วในประเทศไทยเล่าเรื่องราวของลิ้มไว้มากมาย หนึ่งในนั้นคือ เขาเคยช่วยสยามสู้รบต่อการโจมตีของอันนัม และพระองค์ประทานพระราชธิดาเพื่ออภิเษกสมรส อย่างไรก็ตาม เขาทำให้พระองค์ทรงกริ้วหลังเล่นมุขการปลงพระชนม์กษัตริย์ ทำให้ต้องหนีไป[17] ส่วนอีกเรื่องกล่าวถึงตำนานลิ้มกอเหนี่ยว โดยเธอพยายามให้พี่ชายกลับจีนหลังพบว่าพี่ชายแต่งงานกับเจ้าหญิงในปาตานี เข้ารับอิสลาม และสร้างมัสยิดที่กรือเซะ ปาตานี แต่พี่ชายไม่ยอมกลับบ้าน ทำให้เธอฆ่าตัวตายใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์[15][18] กล่าวกันว่า พี่ชายสร้างสุสานของเธอที่อยู่ถัดจากมัสยิดกรือเซะ แต่อันที่จริงมันถูกสร้างในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ศาลเจ้าที่มีชื่อเธออยู่ในปัตตานี และมีชาวจีนทั้งในภาคใต้และต่างประเทศมาสักการะกัน[4][22][23]

รายงานจาก พงศาวดารเมืองปัตตานี เขาพยายามหล่อปืนใหญ่ทองแดงสามอันที่ใช้ในสงครามปาตานี และประสบความล้มเหลวกับปืนใหญ่อันที่สามที่ใหญ่ที่สุด เขายอมสละชีพตนเองถ้าทำปืนใหญ่นี้เสร็จ แล้วปืนใหญ่ระเบิดหลังนำไปทดสอบ[17] รายงานชาวจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อ้างว่า ผู้นำปาตานีเป็นลูกหลานของเขา[24]

มรดกตกทอด แก้

 
ปืนใหญ่พญาตานีที่บางส่วนเชื่อว่าสร้างโดยลิ้ม ปัจจุบันตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม ประเทศไทย

กล่าวกันว่า ผลงานที่ลิ้มทำในบริเวณนี้อาจมีอิทธิพลให้ชาวแต้จิ๋วอพยพมาที่ประเทศไทยในปีถัดมา[2] ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีชาวจีนตั้งถิ่นฐานในปาตานีมานานแล้ว Olivier van Noort พ่อค้าชาวดัตช์ กล่าวถึงกลุ่มพ่อค้าจากปาตานีในประเทศบรูไนใน ค.ศ. 1601 และสังคมในปาตานีมีความเป็นจีนมากพอที่จะมีกษัตริย์เป็นของตนเอง และใช้กฎหมายเดียวกันกับจีน[25] Jacob van Neck ชาวดัตช์อีกคน รายงานใน ค.ศ. 1603 โดยประมาณว่ามีชาวจีนในปาตานีเท่ากับชาวมลายูท้องถิ่น[26] ชาวมลายูหลายคนที่กรือเซะอ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากลิ้ม ถึงแม้ว่าหลายคนอาจเป็นลูกหลานของผู้ติดตามของเขาที่แต่งงานกับหญิงสาวท้องถิ่น[17]

ปืนใหญ่พญาตานีที่บางส่วนเชื่อว่าสร้างโดยลิ้ม ถูกนำไปที่กรุงเทพหลังสยามยึดเมืองปาตานีใน ค.ศ. 1785 และปัจจุบันตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหมที่กรุงเทพ[27] ปืนใหญ่นี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดปัตตานี โดยใน ค.ศ. 2013 มีการสร้างแบบจำลองหน้ามัสยิดกรือเซะ แต่ถูกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทำลาย โดยเห็นว่าเป็น'ของปลอม' และต้องการปืนใหญ่จริง ๆ กลับมา[28][29]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Graham Gerard Ong-Webb, บ.ก. (30 June 2007). Piracy, Maritime Terrorism and Securing the Malacca Straits. ISEAS Publishing. p. 236. ISBN 978-9812304179.
  2. 2.0 2.1 Yen Ching-hwang (2013-09-13). Ethnic Chinese Business In Asia: History, Culture And Business Enterprise. World Scientific Publishing Company. p. 57. ISBN 9789814578448.
  3. Yow Cheun Hoe (2013). Guangdong and Chinese Diaspora: The Changing Landscape of Qiaoxiang. Routledge. ISBN 9781136171192.
  4. 4.0 4.1 Tamaki, Mitsuko (December 2007). "The prevalence of the worship of Goddess Lin Guniang by the ethnic Chinese in southern Thailand" (PDF). G-SEC Working Paper. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-01.
  5. Wong Young-tsu (2017). "Unrest on the China Coast". China's Conquest of Taiwan in the Seventeenth Century. Springer, Singapore. p. 25. doi:10.1007/978-981-10-2248-7_2. ISBN 978-981-10-2248-7.
  6. Igawa Kenji (1 June 2010). Robert J. Antony (บ.ก.). Elusive Pirates, Pervasive Smugglers: Violence and Clandestine Trade in the Greater China Seas. Hong Kong University Press. p. 80. ISBN 978-9888028115.
  7. "Long-qing: Year 2, Month 9, Day 29". Southeast Asia in the Ming Shi-lu: an open access resource. แปลโดย Geoff Wade. Asia Research Institute and the Singapore E-Press, National University of Singapore.
  8. Mendoza's Historie of the Kingdome of China, Volume 2. 1854. p. 7.
  9. "LLong-qing: Year 3, Month 7, Day 23". Southeast Asia in the Ming Shi-lu: an open access resource. แปลโดย Geoff Wade. Asia Research Institute and the Singapore E-Press, National University of Singapore.
  10. "Long-qing: Year 3, Month 6, Day 1". Southeast Asia in the Ming Shi-lu: an open access resource. แปลโดย Geoff Wade. Asia Research Institute and the Singapore E-Press, National University of Singapore.
  11. "Wan-li: Year 1, Month 5, Day 14". Southeast Asia in the Ming Shi-lu: an open access resource. แปลโดย Geoff Wade. Asia Research Institute and the Singapore E-Press, National University of Singapore.
  12. 12.0 12.1 Geoff Wade (30 August 2013). Patrick Jory (บ.ก.). Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani. NUS Press. pp. 67–69. ISBN 978-9971696351.
  13. Anthony Reid (30 August 2013). Patrick Jory (บ.ก.). Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani. NUS Press. p. 7. ISBN 978-9971696351.
  14. Geoff Wade (September 2000). "The "Ming shi-lu" as a Source for Thai History: Fourteenth to Seventeenth Centuries". Journal of Southeast Asian Studies. 31 (2): 249–294. doi:10.1017/s0022463400017562. hdl:10722/42537. JSTOR 20072252.
  15. 15.0 15.1 Francis R. Bradley (2008). "Piracy, Smuggling, and Trade in the Rise of Patani, 1490–1600" (PDF). Journal of the Siam Society. 96: 27–50.
  16. Bougas, Wayne A. (1994). The Kingdom of Patani: Between Thai and Malay Mandalas. Institut Alam dan Tamadun Melayu, Universiti Kebangsaan Malaysia. p. 45.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Geoff Wade (2004). "From Chaiya to Pahang: The Eastern Seaboard of the Peninsula in Classical Chinese Texts". ใน Daniel Perret (บ.ก.). Études sur l'histoire du sultanat de Patani. École française d'Extrême-Orient. pp. 75–78. ISBN 9782855396507.
  18. 18.0 18.1 Bougas, Wayne (1990). "Patani in the Beginning of the XVII Century". Archipel. 39: 133. doi:10.3406/arch.1990.2624.
  19. Camille Imbault-Huart (1893). L'île Formose : histoire et description. p. 5.
  20. 呂自揚. "林道乾傳說". Kaohsiung Stories. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-01.
  21. 雪珥 (2013). 大國海盜. pp. 87–88. ISBN 9789573272069.
  22. Anthony Reid (30 August 2013). Patrick Jory (บ.ก.). Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani. NUS Press. pp. 12–13. ISBN 978-9971696351.
  23. "ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว". Pattani Heritage City.
  24. Geoff Wade (30 August 2013). Patrick Jory (บ.ก.). Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani. NUS Press. pp. 75–76. ISBN 978-9971696351.
  25. Anthony Reid (30 August 2013). Patrick Jory (บ.ก.). Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani. NUS Press. p. 20. ISBN 978-9971696351.
  26. Anthony Reid (30 August 2013). Patrick Jory (บ.ก.). Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani. NUS Press. pp. 22–23. ISBN 978-9971696351.
  27. Le Roux, Pierre (1998). "Bedé kaba' ou les derniers canons de Patani". Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient. 85: 125–162. doi:10.3406/befeo.1998.2546.
  28. Veera Prateepchaikul (14 June 2013). "Time to return the Phaya Tani cannon". Bangkok Post.
  29. "Phaya Tani replica cannon bombed". Bangkok Post. 11 June 2013.