ลำเส้นใยประสาท[1] (อังกฤษ: nerve tract) เป็นมัดใยประสาท (มัดแอกซอน) ที่เชื่อมนิวเคลียสประสาทต่าง ๆ ของระบบประสาทกลาง[2][3] เพราะในระบบประสาทรอบนอก มัดใยประสาทเช่นเดียวกันจะเรียกว่า nerve fascicle (มัดใยประสาท) ลำเส้นใยประสาทในระบบประสาทกลางแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ ใยประสาทประสานงาน (association fiber) ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง (commissural fiber) และใยประสาทโปรเจ็กชัน (projection fiber) ลำเส้นใยประสาทยังอาจเรียกได้ด้วยว่า commissure (ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง), fasciculus (มัดใยประสาท), หรือ decussation (ส่วนไขว้ทแยง) ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง เป็นตัวเชื่อมซีกสมองทั้งสองข้างในระดับเดียวกัน ตัวอย่างก็คือ posterior commissure และ คอร์ปัส คาโลซัม ส่วนไขว้ทแยงก็คือใยประสาทที่ข้ามไขว้ทแยงไปยังอีกซีกหนึ่งของสมองที่ไม่ใช่จุดกำเนิด (obliquely) เช่น ดังที่พบใน sensory decussation ที่ใยประสาทจากนิวเคลียส gracile nucleus และ cuneate nucleus ข้ามไขว้ทแยงไปยังซีกตรงข้ามของสมอง ส่วนตัวอย่างของ fasciculus รวมทั้ง subthalamic fasciculus และ lenticular fasciculus

ลำเส้นใยของเนื้อขาวภายในสมองมนุษย์ ภาพทำด้วย MRI tractography

ประเภท แก้

ใยประสาทในระบบประสาทส่วนกลางสามารถจัดเป็น 3 กลุ่มโดยวิถีทางและการเชื่อมต่อ[4]

ใยประสาทประสานงาน (Association fibers) แก้

ลำเส้นใยประสาททีเชื่อมเขตต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์ภายในซีกสมองเดียวกันจะเรียกว่า ลำเส้นใยประสาทประสานงาน (association tract)[4] ใยประสาทประสานงานที่ยาว จะเชื่อมกลีบสมองต่าง ๆ ภายในซีกสมองเดียวกัน เทียบกับใยประสาทประสานงานที่สั้น ซึ่งจะเชื่อมรอยนูน (gyri) ต่าง ๆ ภายในสมองกลีบเดียวกัน ในบรรดาหน้าทีต่าง ๆ หนึ่งก็คือการเชื่อมศูนย์การรับรู้และความจำในสมอง[5]

ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง (commissural fiber) แก้

ลำเส้นใยประสาทเชื่อมซีกสมอง จะเชื่อมเขตคอร์เทกซ์ที่เหมือนกันในซีกสมองทั้งสองข้าง[4] โดยวิ่งข้ามซีกสมองหนึ่งไปยังอีกซีกหนึ่งผ่านสะพานที่เรียกว่า แนวเชื่อม (commissure) ลำเส้นใยประสาทเชื่อมซีกสมองโดยมากจะวิ่งผ่านคอร์ปัส คาโลซัม โดยมีบ้างที่วิ่งผ่าน anterior commissure และ posterior commissure ซึ่งเล็กกว่า ลำเส้นใยประสาทชนิดนี้ช่วยให้สมองใหญ่ซ้ายขวาสื่อสารกับกันและกันได้

ใยประสาทโปรเจ็กชัน แก้

ลำเส้นใยประสาทโปรเจ็กชันเชื่อมเปลือกสมองกับ corpus striatum, diencephalon, ก้านสมอง, และไขสันหลัง[4] ยกตัวอย่างเช่น corticospinal tract จะส่งข้อมูลจากสมองใหญ่ไปยังไขสันหลัง ส่วนลำเส้นใยประสาทโปรเจ็กชันอื่น ๆ จะส่งข้อมูลขึ้นไปยังเปลือกสมอง เหนือต่อจากก้านสมอง ลำเส้นใยเช่นนี้จะกลายเป็นแผ่นประสาทที่กว้างและหนาแน่นซึ่งเรียกว่า internal capsule โดยอยู่ระหว่างทาลามัสและปมประสาทฐาน (basal ganglia) ซึ่งหลังจากนั้นก็จะแผ่เป็นรูปพัดไปยังส่วนต่าง ๆ ของเปลือกสมอง

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "tract; tractus", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) ลำเส้นใยประสาท
  2. Moore, Keith; Dalley, Arthur (2005). Clinically Oriented Anatomy (5th ed.). LWW. p. 47. ISBN 0-7817-3639-0. A bundle of nerve fibers (axons) connecting neighboring or distant nuclei of the CNS is a tract.
  3. Blumenfeld, Hal (2010). Neuroanatomy through clinical cases (2nd ed.). Sunderland, Mass.: Sinauer Associates. p. 22. ISBN 9780878936137.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Standring, Susan (2005). Gray's Anatomy: The Anatomical Basis of Clinical Practice (39th ed.). Churchill Livingstone. p. 411. ISBN 9780443071683. The nerve fibres which make up the white matter of the cerebral hemispheres are categorized on the basis of their course and connections. They are association fibres, which link different cortical areas in the same hemisphere; commissural fibres, which link corresponding cortical areas in the two hemispheres; or projection fibres, which connect the cerebral cortex with the corpus striatum, diencephalon, brain stem and the spinal cord
  5. Saladin, Kenneth (2012). Anatomy & Physiology: The Unity of Form and Function. New York: McGraw Hill. p. 531. ISBN 978-0-07-337825-1.