ลายโปร่ง (อังกฤษ: tracery) เป็นศัพท์ทางสถาปัตยกรรมที่ส่วนใหญ่ใช้ในการบรรยายลวดลายของงานหินที่สร้างเพื่อเป็นกรอบรับกระจกในหน้าต่างแบบกอทิก หรือลายงานหินที่มีลักษณะเป็นซี่เป็นลวดลายตกแต่งบนผนังหรือกำแพง คำว่า "tracery" อาจจะมาจากคำว่า "tracing floors" ซึ่งหมายถึงลวดลายอันซับซ้อนของหน้าต่างสมัยกอทิกตอนปลายที่ต้องวางไว้ให้ลอกบนพื้น[1]

ลายโปร่งของหน้าต่างที่ทางเดินกลางของมหาวิหารซัววงในฝรั่งเศส ราว ค.ศ. 1200
ลายโปร่งของหน้าต่างกุหลาบของมหาวิหารสทราซบูร์
ลายโปร่งบนหอศีลจุ่มปิซาในอิตาลี

ลายงานหินสมัยแรกเป็นลวดลายง่าย ๆ เป็นหน้าต่างเดี่ยว แต่เมื่อมาถึงสมัยกอทิกตอนต้นวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมก็ทำให้สามารถสร้าหน้าต่างได้กว้างและสูงขึ้น จากหน้าต่างเดี่ยวก็กลายมาเป็นหน้าต่างคู่หรือสามที่ตอนบนเป็นโค้งแหลมเช่นที่มหาวิหารซัวซง ที่ต่อมาวิวัฒนการเป็นลวดลายอันซับซ้อนขึ้นเช่นที่เห็นบนหน้าต่างกุหลาบของมหาวิหารสทราซบูร์

อ้างอิง แก้

  1. Oxford English Dictionary - etymological details for 'Tracery'
  • French Gothic Architecture of the 12th and 13th Centuries, Jean Bony, University of California Press, 1983
  • The Gothic Cathedral, Christopher Wilson, London, 1990, especially p.120ff
  • Gothic Architecture, Paul Frankl (revised by Paul Crossley), Yale, 2000

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ลายงานหิน