ลัฟเรนตีย์ เบรียา

นักการเมืองโซเวียต

ลัฟเรนตีย์ ปัฟโลวิช เบรียา (รัสเซีย: Лавре́нтий Па́влович Бе́рия; จอร์เจีย: ლავრენტი პავლეს ძე ბერია; 29 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2496) เป็นนักการเมืองโซเวียตเชื้อชาติจอร์เจีย จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต และกรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน (NKVD) ภายใต้โจเซฟ สตาลินในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ลัฟเรนตีย์ เบรียา
Лавре́нтий Бе́рия
เบรียา ป.ทศวรรษ 1939
รองประธานคณะรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม – 26 มิถุนายน 1953
หัวหน้ารัฐบาลเกออร์กี มาเลนคอฟ
ก่อนหน้าวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
ถัดไปลาซาร์ คากาโนวิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายใน
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม 1953 – 26 มิถุนายน 1953
ก่อนหน้าSergei Kruglov
ถัดไปSergei Kruglov
กรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน
ดำรงตำแหน่ง
ธันวาคม 1938 – ธันวาคม 1945
หัวหน้ารัฐบาลวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
โจเซฟ สตาลิน
ก่อนหน้านีโคไล เยจอฟ
ถัดไปSergei Kruglov
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 มีนาคม พ.ศ. 2442
เมร์เคอูลี, จังหวัดคูไตซี, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต23 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (54 ปี)
มอสโก, สาธารณรัฐรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
เชื้อชาติโซเวียต
พรรคการเมืองคอมมิวนิสต์
รางวัล


ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สหภาพโซเวียต
สังกัดกรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน (NKVD)
ยศจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต
บังคับบัญชากองพลตำรวจลับ
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 2

ชีวิตในวัยเด็กและการขึ้นสู่อำนาจ แก้

เบรียาเกิดในเมร์เคอูลีในปี พ.ศ. 2442 เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่นับถือนิกายจอร์เจียนออร์ทอดอกซ์[1][2][3] มีแม่ มาร์ จาเคลี (Marta Jaqeli) (2411-2498) เป็นคนเคร่งศาสนา พ่อปาเวล เบรียา (Pavel Beria; 2415-2465) ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในอับคาเซีย[1] นอกจากนี้เขายังมีน้องชาย (ไม่ทราบชื่อ) และน้องสาวชื่อแอนนาที่เกิดมาเป็นใบ้และหูหนวก

เบรียาเข้าโรงเรียนอุตสาหกรรมปิโตรเลียมประสบความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะเข้าร่วมพรรคบอลเชวิคในมีนาคม พ.ศ. 2460 แต่อยู่ได้ไม่นานเขาก็เข้าไปอยู่กับกลุ่มต่อต้านพรรคบอลเชวิคในช่วงสงครามกลางเมือง หลังจากที่หัวเมืองถูกเข้ายึดครองโดยกองทัพแดง (28 เมษายน พ.ศ. 2463) เซอร์เกย์ คีรอฟก็ได้ช่วยเบรียารอดจากโทษประหารชีวิต[4] จากนั้น Nina Gegechkori หลานสาวของเพื่อนร่วมห้องขังของเขาก็พวกเขาหนีไป.[5]

ในปี พ.ศ. 2463-64 เบรียาเข้าร่วม เชการ์ (กองตำรวจลับบอลเชวิคดั้งเดิม) ซึ่งตอนนั้นจอร์เจียกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตไปแล้ว.เบรียาได้เป็นรองหัวหน้าเชการ์ในเขตจอร์เจีย ในปี พ.ศ. 2466 เขานำการปราบปรามการก่อจลาจลของชาวจอร์เจีย 10,000 คนถูกประหารชีวิต

ในปี พ.ศ. 2468 เบรียาได้รู้จักเพื่อนจอร์เจียโจเซฟ สตาลิน เขาได้เป็นหนึ่งในการช่วยสตาลินขึ้นสู่อำนาจ เบรียามีประสิทธิภาพในทำลายเครือข่ายข่าวกรองที่ตุรกีและอิหร่านที่แฝงตัวในคอเคซัสและประสบความสำเร็จในการเจาะข้อมูลรัฐบาลตุรกีและอิหร่าน นอกจากนี้เขายังไปรักษาความปลอดภัยให้สตาลินตอนช่วงพักร้อน

เบรียาได้รับการแต่งตั้งเลขานุการของพรรคคอมมิวนิสต์ในจอร์เจียในปี พ.ศ. 2474 และกลายเป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2476

กรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน แก้

ในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2481 สตาลินให้เบรียาขึ้นมาเป็นรองกรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน (NKVD) หน่วยงานเทียบเท่ากระทรวงที่คุมรัฐการรักษาความปลอดภัยและกองตำรวจลับภายใต้ นิโคไล เยซอฟ กรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายในดำเนินการล้าง: "ศัตรูของประชาชน" จำคุกหรือประหารผู้คนนับล้านที่ถูกกล่าวหาทั่วสหภาพโซเวียต ตอนแรกสตาลินมีความคิดที่จะแต่งตั้ง ลาซาร์ คากาโนวิช เป็นกรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน แต่เลือกเบรียาเพราะเขาเป็นตำรวจลับมืออาชีพ กรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายในได้รับการปรับปรุงใหม่โดยครึ่งหนึ่งของบุคลากรทั้งหมดถูกแทนโดยบุคลากรจากเขตคอเคซัสที่เบรียาจัดหามาให้

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 เบรียากลายเป็นสมาชิกโปลิตบูโร แม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นสมาชิกเต็มรูปแบบจนถึงปี พ.ศ. 2489 เขาเป็นหนึ่งในผู้นำอาวุโสของรัฐโซเวียต ในปี พ.ศ. 2484 เบรียาเป็นผู้บังคับการตำรวจรักษาความปลอดภัยรัฐ ในช่วงเวลานั้นเปรียบได้อย่าง จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต

 
การสังหารหมู่ที่กาตึน

ในช่วงการเข้ายึดครองโปแลนด์เป็นผู้คุมในการสังหารหมู่กาตึญ ในเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2484 เบรียาได้เป็นรองประธานกรรมการของสภาตำรวจ,ในเดือนมิถุนายนหลังปฏิบัติการบาร์บารอสซาของเขาก็กลายเป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลาโหมของรัฐ (GKO)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเขารับผิดชอบร่วมกับเกออร์กี มาเลนคอฟ ในการระดมผู้คนนับล้านที่ถูกคุมขังในค่ายกูลัก มาช่วยการผลิตในช่วงสงคราม เขาควบคุมของการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และอากาศยานเครื่องยนต์ นี่คือจุดเริ่มต้นของการเป็นพันธมิตรกันระหว่างเบรียาและมาเลนคอฟ

ในปี พ.ศ. 2487 ขณะที่เยอรมันถูกขับออกจากดินแดนโซเวียต เบรียาได้จัดการกับชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ต่างๆที่ถูกกล่าวหาว่าต่อต้านโซเวียต และให้ความร่วมมือกับเยอรมัน ทั้งเชชเนีย ไครเมียตาตาร์ติก กรีก[6] และโวลกาเยอรมัน กลุ่มเหล่านี้ถูกเนรเทศไปยังเอเชียกลาง

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2487 เบรียาได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการพัฒนาระเบิดปรมาณูของโซเวียตซึ่งสร้างและทดสอบระเบิดในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งเบรียาได้นำหน่วยสืบราชการลับทำการขโมยข้อมูลจำเป็นในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาได้อย่างประสบความสำเร็จ.จากนั้นระดมถูกคุมขังในค่ายกูลักในเหมืองแร่ยูเรเนียมและสำหรับการก่อสร้างและการดำเนินงานของโรงงานแปรรูปยูเรเนียม

่ในเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2488 สตาลินแต่งตั้งเบรียาเป็นจอมพลสหภาพโซเวียต ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยสั่งการทางทหาร เบรียาก็ทำผลงานอย่างมีนัยสำคัญสู่ชัยชนะของสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง

การเมืองหลังสงคราม แก้

 
เบรียา และ สตาลิน (อยู่ด้านหลัง)

เมื่อสตาลินอายุใกล้ 70 ปีมีการต่อสู้ในการสืบทอดตำแหน่งในหมู่ผู้สนับสนุนของสตาลิน โดยความเป็นไปได้มากที่สุดดูเหมือนจะเป็นอันเดรย์ จดานอฟ เลขาธิการที่หนึ่งแห่งคณะกรรมการภูมิภาคเลนินกราดแห่งพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต หลังจากที่ พ.ศ. 2489 เบรียากับมาเลนคอฟ ได้เป็นพันธมิตรกันเพื่อตอบโต้อำนาจของจดานอฟ ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2489 เบรียาลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าของ NKVD ไปเป็นรองประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต

หลังการเสียชีวิตของ จดานอฟ ในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2491 เบรียากับมาเลนคอฟได้เข้าทำการกวาดล้างอำนาจของคณะกรรมการภูมิภาคเลนินกราดโดยมี หัวหน้าเศรษฐกิจ นีโคไล วอซนีเซนสกี; เลขาธิการที่หนึ่งแห่งคณะกรรมการภูมิภาคเลนินกราด ปอตร์ ปอปคอฟ; และนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐรัสเซียมีฮาอิล โรดีโอนอฟ[7]ถูกประหารชีวิต หลังการเสียชีวิตของ จดานอฟ นีกีตา ครุชชอฟหนึ่งในคนสนิทของสตาลินก็มีความเป็นไปได้พอๆกับ เบรียาและมาเลนคอฟ ในการสืบทอดอำนาจต่อจากสตาลิน

ในสงครามกลางเมืองจีน เบรียาเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการต่อสู้โดยการคืนดินแดนแมนจูเรียที่ได้ยึดครองในช่วงปฏิบัติการพายุสิงหาคมให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีนพร้อมการสนับสนุนอาวุธและเงินทุน

การตายของสตาลินและจุดจบ แก้

หลังการตายของสตาลินมีนาคม พ.ศ. 2496 เบรียาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานสภารัฐมนตรีและรัฐมนตรีกิจการภายในแห่งสหภาพโซเวียต เขาเป็นส่วนหนึ่งของ"ทรอยกา" กับ เกออร์กี มาเลนคอฟ และ วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจในสมัยนั้นเกออร์กี มาเลนคอฟ ได้กลายเป็นประธานสภารัฐมนตรีหุ่นเชิด และเบรียาครองอำนาจทุกอย่าง

เบรียามีนโยบายที่จะออกจากเยอรมนีตะวันออกและหันไปญาติดีกับสหรัฐ ทำให้คณะกรรมการพรรคหลายคนไม่พอใจ และไม่ไว้ใจในตัวเบรียา โดยเฉพาะครุชชอฟ เป็นคนที่ต่อต้านเบรียาอย่างเปิดเผย แต่ว่าไม่สามารถทำอะไรเบรียาได้

จนกระทั่งเมื่อเกิดการลุกฮือของประชาชนในเยอรมันตะวันออกในเดือนมิถุนายน สมาชิกพรรคหลายคนกังวลว่านั้นเป็นนโยบายที่ผิดพลาดและจะทำลายโซเวียต ต่อมา นิกิตา ครุสชอฟ เกออร์กี มาเลนคอฟ และจอมพลเกออร์กี จูคอฟ ทำการรัฐประหาร เบรียาถูกจับในข้อหากบฏในระหว่างการประชุมโปลิตบูโร หลังจากสอบปากคำเบรียาถูกนำตัวไปห้องใต้ดินและถูกยิงเสียชีวิตโดยนายพลปาเวล บาตีซกี[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Knight, Amy (1995). Beria. Princeton University Press. pp. 14–16. ISBN 0-691-01093-5.
  2. Взлёт и падение Берии
  3. Последние Годы Правления Сталина
  4. Alliluyeva, Svetlana, Twenty Letters to a Friend, p. 138.
  5. Simon Sebag Montefiore, Young Stalin, page 67
  6. Books, Google, p. 122.
  7. Knight 1995, p. 151, preview by Google Books
  8. Лаврентия Берию в 1953 году расстрелял лично советский маршал