ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 เป็นเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในอดีตของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ประกอบด้วย พายุโซนร้อนจำนวน 23 ลูก ในจำนวนนั้นพัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นจำนวน 10 ลูก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2563 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่เงียบสงบอย่างผิดปกติ ซึ่งจนถึงวันที่ 13 สิงหาคม มีระบบพายุก่อตัวขึ้นเพียง 9 ระบบเท่านั้น นอกจากนี้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมยังบันทึกว่าไม่มีพายุพัฒนาขึ้นในเดือนกรกฎาคมเลย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติที่น่าเชื่อถือได้มา พายุลูกแรกของฤดูกาลก่อตัวขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม จึงถือว่าฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่เริ่มช้าที่สุดเป็นอันดับที่หกของแอ่งแปซิฟิกตะวันตก และนับเป็นครั้งแรกที่ฤดูกาลเริ่มช้าในลักษณะนี้ตั้งแต่ฤดูกาล 2559 เป็นต้นมา ฤดูพายไต้ฝุ่นแปซิฟิกฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุน้อยกว่าฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2563 เสียอีก ซึ่งลักษณะเช่นนี้เคยปรากฏมาแล้วในฤดูกาล 2553 และ 2548

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ระบบสุดท้ายสลายตัว29 ธันวาคม พ.ศ. 2563
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อโคนี
 • ลมแรงสูงสุด220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด905 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด32 ลูก
ไม่เป็นทางการ 1 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด23 ลูก
พายุไต้ฝุ่น10 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น2 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด457 คน
ความเสียหายทั้งหมด4.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2020)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2561, 2562, 2563, 2564, 2565

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐอเมริกายังได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล แก้

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2562) 26 ลูก 16 ลูก 9 ลูก 294 หน่วย [1]
21 พฤษภาคม 2563 26 ลูก 15 ลูก 8 ลูก 258 หน่วย [1]
9 กรกฎาคม 2563 26 ลูก 14 ลูก 7 ลูก 216 หน่วย [2]
6 สิงหาคม 2563 21 ลูก 13 ลูก 5 ลูก 157 หน่วย [3]
วันที่พยากรณ์ ศูนย์พยากรณ์ ช่วงเวลา ระบบพายุ อ้างอิง
22 มกราคม 2563 PAGASA มกราคม–มีนาคม 0–4 ลูก [4]
22 มกราคม 2563 PAGASA เมษายน—มิถุนายน 2–5 ลูก [4]
24 มิถุนายน 2563 PAGASA กรกฎาคม–กันยายน 6–10 ลูก [5]
24 มิถุนายน 2563 PAGASA ตุลาคม–ธันวาคม 4–7 ลูก [5]
ฤดูกาล 2563 ศูนย์พยากรณ์ พายุหมุน
เขตร้อน
พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 27 ลูก 20 ลูก 9 ลูก
เกิดขึ้นจริง: JTWC 22 ลูก 20 ลูก 11 ลูก
เกิดขึ้นจริง: PAGASA 18 ลูก 11 ลูก 6 ลูก

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การพยากรณ์แรกถูกเผยแพร่โดย PAGASA ในวันที่ 22 มกราคม ซึ่งเป็นการพยากรณ์ครึ่งแรกของปี[4] โดยหน่วยงานพยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน ที่จะเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมเพียง 0 ถึง 4 ลูกเท่านั้น ขณะที่เดือนเมษายนถึงมิถุนายนคาดว่าจะมี 2 ถึง 5 ลูก ทั้งนี้เนื่องมาจากสภาพเป็นกลางของความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้–เอลนีโญทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอาจสามารถปรากฏเช่นนี้ไปได้ถึงช่วงกลางปี[4] วันที่ 21 พฤษภาคม TSR ออกการคาดการณ์สำหรับปี 2563 โดยพยากรณ์ว่ากิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนจะต่ำกว่าค่าปกติ โดยมีพายุโซนร้อน 26 ลูก พายุไต้ฝุ่น 15 ลูก และพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง 8 ลูก[1] ตัวเลขเหล่านี้สนับสนุนค่าปัจจุบันของปรากฏการณ์ขั้วคู่มหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Dipole) โดยค่าพลังงานพายุหมุนสะสมและอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในเขต 3.75 นีโญ (Niño 3.75 region) นำไปสู่การแรงขึ้นกว่าปกติของลมค้าทั่วทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[1]

วันที่ 24 มิถุนายน PAGASA ได้ออกการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ โดยพยากรณ์จำนวนพายุหมุนเขตร้อนในครึ่งปีหลังไว้ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้น 6–10 ลูกก่อตัวขึ้นในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ขณะที่ในเดือนตุลาคมถึงธันวาคมคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้น 4–7 ลูก[5] วันที่ 9 กรกฎาคม TSR ออกการพยากรณ์ฤดูกาลอีกครั้ง โดยพยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาล โดยมีพายุโซนร้อน 26 ลูก พายุไต้ฝุ่น 14 ลูก และพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง 7 ลูก[2] วันที่ 6 สิงหาคม TSR ออกการพยากรณ์ฤดูกาลครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายของฤดูกาล โดยลดจำนวนพายุโซนร้อนลงเหลือ 21 ลูก พายุไต้ฝุ่น 13 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 5 ลูก[3] และยังระบุด้วยว่า ฤดูกาล 2563 นี้ คาดว่าจะเป็น "ฤดูพายุไต้ฝุ่นที่มีกิจกรรมน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์" โดยดัชนี ACE ที่คาดไว้นั้นแทบจะไม่ถึงครึ่งหนึ่งของค่าปกติ และมีความเป็นไปได้ถึงร้อยละ 96 ที่ฤดูกาลนี้จะมีพายุต่ำกว่าค่าเฉลี่ย[3]

กรมอุตุนิยมวิทยาไทย แก้

วันที่ 27 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน (ประกอบด้วยพายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และ พายุไต้ฝุ่น) เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 1 ถึง 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน[6]

ภาพรวมฤดูกาล แก้

Tropical Storm Krovanh (2020)Typhoon VamcoTyphoon GoniTyphoon MolaveTyphoon SaudelTropical Storm Nangka (2020)Tropical Storm LinfaTropical Storm Noul (2020)Typhoon Haishen (2020)Typhoon Maysak (2020)Typhoon Bavi (2020)Tropical Storm Higos (2020)Tropical Storm Mekkhala (2020)Tropical Storm Sinlaku (2020)Typhoon Hagupit (2020)Typhoon Vongfong (2020)
มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)


ช่วงต้นถึงกลางปี พ.ศ. 2563 เป็นช่วงที่กิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนสงบเป็นอย่างมาก ไม่มีการก่อตัวขึ้นของพายุหมุนเขตร้อนใดเลยในเดือนมกราคมถึงเมษายน เป็นครั้งแรกนับแต่ฤดูกาลปี 2559 วันที่ 10 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาลได้ก่อตัวขึ้น ทำให้ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่เริ่มช้าที่สุดเป็นอันดับที่หก นับตั้งแต่ฤดูกาล 2559 สองวันต่อมาระบบดังกล่าวทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนลูกแรกของฤดูกาล ได้รับชื่อว่า หว่องฟ้ง จากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นพายุไต้ฝุ่น และได้พัดเข้าถล่มในภาคกลางของประเทศฟิลิปปินส์ในวันที่ 14 พฤษภาคม และนับเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่พัดขึ้นฝั่งในเมืองซานโปลิการ์โป ซามารตะวันออก และได้เคลื่อนตัวข้ามและขึ้นฝั่งมากกว่า 4 เกาะจากนั้นจึงพัดเข้าเกาะลูซอน

หลังจากหว่องฟ้งผ่านไปแล้ว นับเป็นเวลาอีกเกือบเดือนที่ไม่มีกิจกรรมพายุหมุนเขตร้อน จนในวันที่ 10 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกใหม่ก่อตัวขึ้นบริเวณชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ โดยพายุดีเปรสชันดังกล่าวได้พัดเข้าประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเข้าสู่ทะเลฟิลิปปินตะวันตก พายุดังกล่าวได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ชื่อว่า นูรี โดยพายุโซนร้อนนูรีไปสลายตัวบริเวณเหนือแผ่นดินประเทศจีน หลังจากนั้น แอ่งก็กลับมาสงบเงียบอีกครั้ง และนับเป็นครั้งแรกเลยที่ไม่มีพายุก่อตัวขึ้นในเดือนกรกฎาคม นับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติที่เชื่อถือได้มาก ต่อมากิจกรรมของแอ่งแปซิฟิกตะวันตกเพิ่มขึ้นมาบ้างจากการก่อตัวของพายุโซนร้อนซินลากู และการก่อตัวของพายุฮากูปิตเป็นพายุไต้ฝุ่น ซึ่งทำให้ช่วงเดือนที่ไม่มีพายุไต้ฝุ่นมาเป็นเวลากว่า 2 เดือนสิ้นสุดลง โดยพายุฮากูปิตส่งผลกระทบต่อประเทศจีน สร้างความเสียหายไว้ทั้งสิ้น 441 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากนั้นพายุฮากูปิตได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนและส่งผลกระทบต่อประเทศเกาหลีเหนือและรัสเซีย ไม่กี่วันต่อมา พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกใหม่ก่อตัวขึ้น จากนั้นทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนชังมี ซึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของชังมีนั้นยังมีหย่อมความกดอากาศกำลังแรงอีกลูก ที่ภายหลังได้ก่อตัวเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมขลา ซึ่งพัดเข้าสู่ประเทศจีนต่อมา ไม่กี่วันต่อมา มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ จากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงฮีโกส นับเป็นพายุโซนร้อนลำดับที่ 7 ของฤดูกาล ไม่นานก่อนที่ฮีโกสจะสลายตัวไป มีพายุใหม่อีกลูกก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนบาหวี่ทางชายฝั่งประเทศไต้หวัน ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พายุไต้ฝุ่นไมสักก่อตัวขึ้นพร้อม ๆ กับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เฉิน ซึ่งส่งผลกระทบกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นตามลำดับ

พายุ แก้

พายุไต้ฝุ่นหว่องฟ้ง แก้

2001 (JMA)・01W (JTWC)・อัมโบ (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 10 – 17 พฤษภาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

ตัวระบบบริเวณความกดอากาศต่ำถูกบันทึกไว้ครั้งแรกโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมในวันที่ 9 พฤษภาคม ขณะที่ระบบอยู่ใกล้กับไมโครนีเชีย วันต่อมาระบบพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนทางตะวันออกของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ และมีการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ขณะที่การพาความร้อนเริ่มเข้าบังศูนย์กลาง วันต่อมา PAGASA ได้จัดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนตามมาตราของหน่วยงาน และให้ชื่อท้องถิ่นกับระบบว่า อัมโบ (Ambo) นับว่าเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาลที่เข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงาน[7] โดย PAGASA ตั้งข้อสังเกตว่าอาจไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มสัญญาณเตือน เนื่องจากตัวระบบที่มีกำลังอ่อน[8] วันต่อมา ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้รหัสว่า 01W[9] ตัวพายุยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และให้ชื่อว่า หว่องฟ้ง (Vongfong) ซึ่งเสนอชื่อโดย เขตบริหารพิเศษมาเก๊า หมายถึง ตัวต่อ[10] หลังจากนั้นไม่นาน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน[11] จากสภาพแวดล้อมที่ดีคือมีลมเฉือนต่ำ อุณหภูมิน้ำทะเล 29 ถึง 30 องศาเซลเซียส และมีกระแสพัดออกที่ดี ทำให้พายุหว่องฟ้งมีการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต้นของวันที่ 13 พฤษภาคม[12] จากนั้นไม่นาน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้หว่องฟ้งเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ปรับให้พายุเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ที่ความเร็วลม 130 กม./ชม. ด้วย และยังระบุว่าตัวโครงสร้างพายุมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้หว่องฟ้งเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันเดียวกันนี้[12] ไม่นานนัก JTWC ได้ปรับให้พายุหว่องฟ้งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เมื่อตาพายุเริ่มปรากฏชัดขึ้น และอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา พายุหว่องฟ่งได้บรรลุถึงความรุนแรงระดับพายุไต้ฝุ่นระดับ 3[13] หว่องฟ้งเกิดวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาและอ่อนกำลังลงกลับไปเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 แต่หว่องฟ้งสิ้นสุดวัฏจักรดังกล่าวอย่างรวดเร็ว และได้ทวีกำลังกลับขึ้นมาเป็นระดับที่ 3 อีกครั้งหนึ่ง วันที่ 14 พฤษภาคม เวลา 12:15 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศฟิลิปปินส์ พายุหว่องฟ้งพัดขึ้นฝั่งในเมืองซันโปลิการ์โป จังหวัดซีลางังซามาร์[14] และอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องขณะมีการเคลื่อนตัวผ่านช่องแคบติเกา และเข้าใกล้กับจังหวัดซอร์โซโกนมากขึ้น[15] วันต่อมา PAGASA พบว่าพายุพัดขึ้นฝั่งเพื่มอีกห้าแห่ง ได้แก่ เกาะดาลูปิริ เกาะกาปูล เกาะติเกา เกาะบูรีอัส และเมืองซันอันเดรส จังหวัดเคโซน ในคาบสมุทรบนด็อกของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์[16] พายุหว่องฟ้งอ่อนกำลังลงจากการพัดขึ้นฝั่งหลายที่ วันที่ 15 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้พายุไต้ฝุ่นหว่องฟ้งเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[17] ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน พายุโซนร้อนกำลังแรงหว่องฟ้งทำให้เกิดฝนตกหนักและลมแรงในพื้นที่เมโทรมะนิลา ซึ่งเป็นเขตเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงบริเวณอื่นของเกาะลูซอนด้วย ต่อมาพายุหว่องฟ้งพัดขึ้นฝั่งครั้งที่ 7 ที่เมืองรียัล จังหวัดเคโซน และมุ่งหน้าเข้าไปบนแผ่นดินของเกาะลูซอน ทำให้เกิดฝนตกหนักอย่างมากไปทั่วเขตกิตนางลูโซน[18][19] ต่อมาพายุหว่องฟ้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนขณะกำลังอยู่บนแผ่นดินของเกาะลูซอน ต่อมาวันที่ 16 พฤษภาคม พายุหว่องฟ้งเคลื่อนตัวออกจากเกาะลูซอนลงสู่ทะเลฟิลิปปินตะวันตก ทางด้านตะวันตกของจังหวัดตีโมกอีโลโคส หลังจากที่พายุหว่องฟ้งโจมตีหลายพื้นที่ของประเทศฟิลิปปินส์ไปแล้ว ตัวพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และออกคำเตือนฉบับสุดท้ายพร้อมกันนั้นเลย แม้ว่ากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงจัดให้ตัวพายุเป็นพายุโซนร้อนอยู่ ในที่สุดทางกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และออกคำเตือนฉบับสุดท้ายให้กับพายุ

ในการเตรียมรับมือพายุของประเทศฟิลิปปินส์ มีการประกาศการเตือนภัยระดับ 3 ทั่วจังหวัดซีลางังซามาร์และบางส่วนของจังหวัดฮีลากังซามาร์[20] มีการสั่งอพยพประชาชนกว่าหมื่นครอบครัวในบริเวณซามาร์ออกไปยังศูนย์อพยพ และเนื่องจากการระบาดทั่วของโรค COVID-19 ทำให้ศูนย์อพยพรับผู้อพยพได้เพียงครึ่งหนึ่งของความจุเท่านั้น และยังมีการร้องขอให้มีการสวมหน้ากากเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสด้วย[21] ในวันที่ 27 พฤษภาคม โดยพายุไต้ฝุ่นหว่องฟ้งทำให้เกิดความเสียหายทางการเกษตร 1.57 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 5 คน[22][23]

พายุโซนร้อนนูรี แก้

2002 (JMA)・02W (JTWC)・บุตโชย (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 10 – 14 มิถุนายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

วันที่ 10 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อน ที่ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ หลายวันต่อมา PAGASA ได้เริ่มติดตามระบบเช่นกัน และให้ชื่อท้องถิ่นกับระบบว่า บุตโชย (Butchoy)[24][25] โดย PAGASA ระบุว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนบุตโชยพัดขึ้นฝั่งครั้งแรกบนเกาะโปลิลโลในเวลา 17:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น และพัดขึ้นฝั่งครั้งที่สองในเมืองอินฟันตาในอีกไม่นานนัก ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนให้กับระบบ

พายุทำให้เกิดอุทกภัยเป็นบริเวณกว้างทั่วประเทศฟิลิปปินส์ ขณะที่เคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอนและเสริมกำลังให้กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หลังจากนั้นไม่นาน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้รหัสว่า 02W โดย 02W ได้เริ่มทวีกำลังแรงขึ้นในทะเลฟิลิปปินตะวันตก และกลายเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อ นูรี (Nuri)จากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563 นูรี (Nuri) ซึ่งเสนอชื่อโดยประเทศมาเลเซีย หมายถึง นกแก้วหัวสีน้ำเงินในภาษามาลายู

นูรีทวีกำลังแรงขึ้นอยู่ภายในทะเลจีนใต้ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้วิเคราะห์ว่าระบบมีความเร็วลม 75 กม./ชม. วันที่ 13 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้นูรีเป็นพายุโซนร้อน อย่างไรก็ตาม ในวันถัดไป ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมต่างปรับลดความรุนแรงของนูรีเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน จากนั้นระบบได้เคลื่อนขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหยางเจียง โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำเตือนฉบับสุดท้ายในเวลาต่อมา[26] ในฮ่องกง พายุนูรีทำให้เกิดฝนตกหนัก โดยทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่ง[27]

พายุโซนร้อนซินลากู แก้

2003 (JMA)・04W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 31 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

วันที่ 29 กรกฎาคม พื้นที่ความแปรปรวนในเขตร้อนอยู่ห่างจากมะนิลา ฟิลิปปินส์ปทางตะวันออกหลายร้อยกิโลเมตร ตัวระบบเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลจีนใต้ บริเวณทะเลจีนใต้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา เนื่องจากหน้าปะทะอากาศเหมยหยูที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีนั้นอ่อนกำลังลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ในช่วงต้นของวันที่ 31 กรกฎาคม ตัวพายุดีเปรสชันเขตร้อนพยายามรวบรวมการจัดระบบ เนื่องจากอยู่ใกล้กับแผ่นดินและการไหลเวียนระดับต่ำที่ศูนย์กลสงนั้นถูกเผยออกในวันที่ 31 กรกฎาคม จากนั้นช่วงต้นของวันที่ 1 สิงหาคม พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า ซินลากู (Sinlaku) ซึ่งเสนอชื่อโดย ประเทศไมโครซีเนีย หมายถึงเทพธิดาในนิยายของเกาะคอสไร จากนั้นไม่นาน ซินลากูเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ เหนือทะเลจีนใต้โดยไม่มีการทวีกำลังแรงขึ้น และในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อจากนั้นจึงพัดขึ้นฝั่งใกล้อ่าวฮาลองในภาคเหนือของเวียดนาม จากนั้นจึงได้อ่อนกำลังลงขณะพัดผ่านพื้นที่ภูเขาสูงของเวียดนาม[28]

ซินลากูทำให้เกิดฝนตกอย่างหนักทั่วทั้งภาคกลางและภาคเหนือของประเทศเวียดนาม ทำให้เกิดอุทกภัยขึ้น โดยมีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 คน จากเหตุการณ์ทำนบถล่มและน้ำป่าไหลหลาก และยังทำให้บ้านเรือนนับหลายพันหลังคาเรือนประสบอุทกภัย พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายอย่างกว้างขวาง[29] ขณะที่เศษเหลือของซินลากูได้พัดลงสู่มหาสมุทรอินเดียและทวีกำลังแรงขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศกำลังแรงในช่วงวันที่ 5–8 สิงหาคม โดยก่อนหน้านั้นได้พัดผ่านประเทศไทยและสร้างความเสียหายขึ้นจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทยจากอิทธิพลของซินลากูทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน[30] และส่วนที่เหลือของพายุยังทำให้เกิดฝนตกหนักในบางพื้นที่ของประเทศอินเดียด้วย[31][32]

พายุไต้ฝุ่นฮากูปิต แก้

2004 (JMA)・03W (JTWC)・ดินโด (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 31 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

วันที่ 1 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มเฝ้าติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อนที่ก่อตัวขึ้นในตอนบนของทะเลฟิลิปปินส์ โดย PAGASA ได้จัดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้ชื่อว่า ดินโด (Dindo)[33] จากนั้นศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้รหัสเรียกว่า 03W โดยตัวพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 1 สิงหาคม ตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และได้รับชื่อว่า ฮากูปิต (Hagupit) ซึ่งเสนอชื่อโดย ประเทศฟิลิปปินส์หมายถึง การเฆี่ยนตี หลังจากนั้นฮากูปิตได้เริ่มทวีกำลังแรงขึ้นในทะเลฟิลิปปิน โดยมีกำลังลมถึง 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในช่วงท้ายของวันที่ 1 สิงหาคม ในวันที่ 2 สิงหาคม ฮากูปิตยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องทางใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งฮากูปิตทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในช่วงระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม และมีกำลังลมสูงสุดใกล้กับพายุระดับ 1 ในช่วงต้นของวันที่ 3 สิงหาคม ต่อมาฮากูปิตได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นบริเวณทางตอนเหนือของไต้หวัน โดยเริ่มมีการก่อตัวของตาพายุขนาดใหญ่ขึ้นที่ศูนย์กลางพายุขณะกำลังประชิดประเทศจีน ต่อมาในเวลา 17:00 UTC ฮากูปิตพัดขึ้นฝั่งที่เวินโจว ประเทศจีน ด้วยความเร็วลมพัด 85 ไมล์ต่อชั่วโมง และความกดอากาศ 975 มิลลิบาร์ หลังจากพัดขึ้นฝั่งแล้ว ฮากูปิตยังคงกำลังในระดับพายุไต้ฝุ่นอยู่เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ก่อนจะเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว ต่อมาในช่วงระหว่างวันที่ 4 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้รับให้ฮากูปิตเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามระบบในฐานะพายุโซนร้อน

ในการเตรียมรับพายุฮากูปิต ทางการจีนได้สั่งอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย[34] โดยฮากูปิตทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนสูงสุดที่ 13.11 นิ้ว (333 มิลลิเมตร) ในเขตจิงชานของเวินโจว[35] และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 12 คน

พายุโซนร้อนชังมี แก้

2005 (JMA)・05W (JTWC)・เอนเดง (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 7 – 11 สิงหาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

วันที่ 7 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อนในทะเลฟิลิปปิน ไม่นานนักจากนั้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ ในวันเดียวกันนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และให้ชื่อว่า ชังมี (Jangmi) ซึ่งเสนอชื่อโดย ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งหมายถึง กุหลาบ [36] พายุชังมีเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วมุ่งหน้าไปทางเหนือ และส่งผลกระทบกับประเทศเกาหลีใต้

พายุชังมีทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมขณะเคลื่อนผ่านหมู่เกาะรีวกีว ประเทศญี่ปุ่นสูงสุดที่ 55.8 มิลลิเมตรบนเกาะคุเมจิมะ ส่วนในประเทศเกาหลีใต้จังมีทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมที่ 66.04 มิลลิเมตรในพื้นที่เกิดอุทกภัยมาก่อนหน้าพายุชังมีแล้ว[37][38]

พายุโซนร้อนกำลังแรงเมขลา แก้

2006 (JMA)・07W (JTWC)・เฟร์ดี (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 9 – 11 สิงหาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

ในเวลาใกล้เคียงกับการก่อตัวขึ้นของพายุโซนร้อนชังมี บริเวณการพาความร้อนอย่างต่อเนื่องอีกแห่งหนึ่งได้ก่อตัวขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกัน เนื่องจากพายุชังมีเป็นระบบที่มีอิทธิพลอยู่ในพื้นที่ในเวลาดังกล่าว ทำให้หย่อมความกดอากาศลูกนี้จึงยังคงไม่มีการจัดระเบียบขึ้น อย่างไรก็ตาม ในวันรุ่งขึ้น พายุชังมีเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ดังกล่าวไป ทำให้ระบบได้จัดระเบียบใน และในวันที่ 9 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[39] หลังจากนั้นไม่นาน PAGASA ก็ได้รับให้ตัวระบบเป็นพายุและให้ชื่อว่า เฟร์ดี (Ferdie)[40] วันถัดมา ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และไม่นานหลังจากนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และให้ชื่อว่า เมขลา (Mekkhala) ซึ่งเสนอชื่อโดย ประเทศไทย หมายถึง ชื่อเทพธิดาประจำสมุทรในเทพนิยายไทย วันที่ 11 สิงหาคม เวลา 07:30 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศจีน (CST) พายุเมขลาพัดขึ้นฝั่งหลังจากที่บรรลุกำลังสูงสุดได้ไม่นานนักที่อำเภอจางผู่ในมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน[41]

ในประเทศฟิลิปปินส์ มีการประกาศเตือนภัยระดับ 1 (Signal No. 1) ในพื้นที่เขตอีโลโคส โดยพายุเมขลาทำให้เกิดภาวะมรสุมในพื้นที่ของเกาะลูซอนในขณะที่พาายุกำลังก่อตัวขึ้น[42] แม้ว่าตัวพายุมีทิศทางเคลื่อนไปประชิดไต้หวัน แต่ก็ยังก่อให้เกิดฝนตกหนักบนเกาะของฟิลิปปินส์ด้วย[43]

ในประเทศจีน ทางการได้ระงับการให้บริการเรือเฟอรีและสั่งให้เรือกลับเข้าเทียบท่า เพื่อเตรียมการรับมือพายุเมขลา[44] สำนักอุตุนิยมวิทยาจีนออกการเตือนภัยฉุกเฉินระดับ 3 ขณะที่เร่งบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่พายุเมขลาพัดเข้าโจมดี[45] พายุเมขลาทิ้งปริมาณน้ำฝนสะสมในประเทศจีนมากถึง 200 มิลลิเมตร (7.874 นิ้ว) จากรายงานในบางพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการระงับบริการรถไฟและยกเลิกเที่ยวบินในท่าอากศยานท้องถิ่น ขณะที่พายุเมขลาเคลื่อนตัวอยู่ในแผ่นดินด้วย[46]

พายุโซนร้อนกำลังแรงฮีโกส แก้

2007 (JMA)・08W (JTWC)・เฮเลน (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 16 – 20 สิงหาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

วันที่ 16 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นจากร่องมรสุม โดย PAGASA ให้ชื่อกับระบบว่า เฮเลน (Helen) โดยมีการออกคำเตือนลมฟ้าอากาศรุนแรง แต่ต่อมาได้ยกเลิกไปเนื่องจากตัวพายุเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ไป[47][48] วันถัดมา พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า ฮีโกส (Higos) ซึ่งเสนอชื่อโดย ประเทศสหรัฐอเมริกา หมายถึง ผลมะเดื่อ และในช่วงเย็นวันเดียวกันนั้นก็มีการปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ซึ่งหอสังเกตการณ์ฮ่องกงและสำนักธรณีฟิสิกส์และอุตุนิยมวิทยามาเก๊า ได้ปรับให้พายุฮีโกสเป็นพายุเกือบไต้ฝุ่น (marginal typhoon) ก่อนที่ระบบจะพัดขึ้นฝั่ง โดยมีความเร็วลมระดับพายุไต้ฝุ่นในเกาะมาเก๊านั้นเป็นตัวชี้ถึงความรุนแรงดังกล่าว พายุฮีโกสพัดขึ้นฝั่งที่นครจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง ด้วยกำลังสูงสุดในวันที่ 19 สิงหาคม เวลาประมาณ 06:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศจีน (CST)[49]

ในการเตรียมรับมือพายุฮีโกส หอสังเกตการณ์ฮ่องกงใช้สัญญาณเตือนพายุหมุนเขตร้อนหมายเลข 9 ในเขตฮ่องกง เพื่อเตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะมีแรงลมระดับพายุไต้ฝุ่น โดยลมทั่วไปนั้นมีตั้งแต่ระดับพายุเกล (gale) จนถึงระดับพายุ (storm) ในบริเวณทางใต้ของฮ่องกงจากอิทธิพลของการหมุนเวียนลมขนาดเล็กของพายุฮีโกส[50] ขณะที่สำนักธรณีฟิสิกส์และอุตุนิยมวิทยามาเก๊าใช้สัญญาณเตือนหมายเลข 10 ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนภัยระดับสูงที่สุดในเวลา 05:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยรายชั่วโมงอยู่ที่ 128 กม./ชม. ทางตอนใต้สุดของสะพานอามิซาด ส่วนความเร็วลมกระโชกแรงที่สุดวัดได้ที่สะพานมาเก๊า-ไทปา วัดได้ 216 กม./ชม.[51] มีการอพยพประชากรกว่า 65,000 คน และมีการปิดสถานศึกษาทั่วทั้งบริเวณ แม้ว่าพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นของประเทศจีนจะถูกโจมตีโดยตรงจากพายุฮีโกส แต่ความเสียหายส่วนใหญ่นั้นมีเพียงระดับต้นไม้โค่นและไฟฟ้าดับเท่านั้น[52] และยังมีนักออกแคมป์สองรายที่ไม่รู้ว่าพายุกำลังพัดเข้าใกล้ จนต้องรับความเชื่อเหลือออกจากเกาะถาบหมู่น หลังจากเดินทางไปในวันที่ 14 สิงหาคม[53]

พายุไต้ฝุ่นบาหวี่ แก้

2008 (JMA)・09W (JTWC)・อินเม (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 21 – 27 สิงหาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

วันที่ 19 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมเริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของฟิลิปปินส์ วันต่อมาระบบมีการจัดระบบขึ้นอย่างรวดเร็ว และศูนย์เตือนไค้ฝุ่นร่วมจึงได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนขึ้นต่อมาตามลำดับ วันที่ 21 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และได้รับรหัส 09W จากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม[54] เวลา 15:00 UTC PAGASA ได้เริ่มติดตามระบบและให้ชื่อท้องถิ่นว่า อินเม (Igme)[55] วันถัดมา พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ บาหวี่ (Bavi) จากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น บาหวี่ (BAVI) ซึ่งเสนอชื่อมาจากประเทศเวียดนาม หมายถึง ทิวเขาในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม[56] เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจึงอำนวยให้บาหวี่ทวีกำลังแรงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว วันที่ 22 สิงหาคม 12:00 UTC ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง วันที่ 23 สิงหาคม การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเริ่มช้าลงทำให้บาหวี่มีการทวีกำลังแรงขึ้นช้าลง วันที่ 24 สิงหาคม บาหวี่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น วันที่ 25 สิงหาคม โดยขณะที่พายุบาหวี่กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้คาบสมุทรเกาหลี ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายบนเกาะเชจู[57] วันที่ 27 สิงหาคม เวลา 00:30 UTC พายุบาหวี่พัดขึ้นฝั่งที่จังหวัดพย็องอันเหนือ ประเทศเกาหลีเหนือ[58] หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นบาหวี่ได้เปลี่ยนผ่านเป็นพายุนอกเขตร้อนบริเวณแมนจูเรีย ประเทศจีน

พายุไต้ฝุ่นไมสัก แก้

2009 (JMA)・10W (JTWC)・ฮูเลียน (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 27 สิงหาคม – 3 กันยายน
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)

วันที่ 27 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินน์ได้รวมตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนให้กับระบบตามลำดับ[59][60] วันที่ 28 สิงหาคม PAGASA ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้ชื่อท้องถิ่นว่า ฮูเลียน (Julian)[61] จากนั้นไม่นาน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้พายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อนและให้ชื่อว่า ไมสัก (Maysak) ซึ่งเสนอชื่อโดยประเทศ กัมพูชา หมายถึง ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง(ไม้สัก)[62] ซึ่งศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อนตามลำดับมาเช่นกัน[63] จากนั้นกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้รับให้พายุไมสักเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง แม้ว่าศูนย์กลางการพาความร้อนระดับต่ำ (LLCC) ของพายุจะมีการยืดออกก็ตาม[64][65] วันที่ 29 สิงหาคม เวลา 19:00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้พายุไมสักเป็นพายุไต้ฝุ่น ซึ่งในอีกสองชั่วโมงถัดมา PAGASA ก็ปรับให้ระบบพายุฮูเลียนเป็นไต้ฝุ่นเช่นกัน[66] จากวันนั้น พายุไมสักได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (เทียบเคียงกับมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน) และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ระดับ 3 ในวันรุ่งขึ้น และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ในที่สุด ก่อนที่ต่อมาจะเริ่มอ่อนกำลังลงขณะเคลื่อนผ่านทะเลจีนตะวันออก โดยอ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3[67]

พายุไต้ฝุ่นไมสักพัดขึ้นฝั่งใกล้มหานครปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในเวลา 02:20 น. ตามเวลาท้องถิ่น ของวันที่ 3 กันยายน ด้วยความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาทีที่ 155 กม./ชม. และความกดอากาศที่ศูนย์กลาง 950 hPa[68] เทียบตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันได้เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 จากนั้นพายุได้พัดผ่านทะเลญี่ปุ่น และเข้าโจมตีตั้งแต่ประเทศเกาหลีเหนือจนถึงมณฑลจี๋หลิน แมนจูเรีย ประเทศจีน จากนั้นพายุไมสักได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน[69]

วันที่ 2 กันยายน เรือกัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1 เรือขนส่งสัตว์จดทะเบียนสัญชาติปานามา ได้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉินและมีการนำเรือชูชีพออกมาเตรียมใช้ ซึ่งภายหลังได้พบเรือชูชีพเปล่าอย่างน้อยหนึ่งลำ ขณะนั้นเรืออยู่บริเวณทางตะวันตกของเกาะอะมามิ โอชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ต่อมารักษาความปลอดภัยชายฝั่งญี่ปุ่นระบุว่า เรือขนส่งดังกล่าวบรรทุกลูกเรือชาวฟิลิปปินส์จำนวน 39 คน ชาวออสเตรเลีย 2 คน และ ชาวนิวซีแลนด์ 2 คน เรือลำนี้บรรทุกปศุสัตว์มาทั้งสิ้น 5,867 ตัว โดยบรรทุกมาจากเมืองเนเพียร์ ประเทศนิวซีแลนด์ มีปลายทางอยู่ที่ท่าเรือจิงถังในเมืองถังชาน ประเทศจีน[70] ผู้รอดชีวิตรายแรกที่ได้รับการกู้ภัยระบุว่าเครื่องยนต์หลักของเรือล้มเหลวในระหว่างที่คลื่นทะเลรุนแรงจากเหตุพายุไต้ฝุ่นไมสัก จากนั้นเรือได้ถูกคลื่นซัดจนอับปางลง[71] นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตอีกสองรายในประเทศเกาหลีใต้ และพายุยังทำให้ครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้อีก 120,000 หลังคาเรือน[72] ในประเทศเกาหลีเหนือ พายุไมสักได้ทิ้งปริมาณน้ำฝนไว้ถึง 385 มม. (15.157 นิ้ว) ในเมืองว็อนซัน[73]

พายุไต้ฝุ่นไห่เฉิน แก้

2010 (JMA)・11W (JTWC)・กริสตีน (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 31 สิงหาคม – 7 กันยายน
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)

วันที่ 29 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่ไม่เป็นระเบียบอย่างมาก ห่างจากกวมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะหลายร้อยไมล์ โดยเป็นที่สังเกตว่าแบบจำลองพยากรณ์อากาศหลัก ๆ ไม่มีการพยากรณ์ถึงการพัฒนาของระบบนี้เลย เว้นแต่แบบจำลอง ECMWF ของศูนย์ยุโรปเพื่อการพยากรณ์อากาศระยะปานกลาง วันต่อมา หย่อมความกดอากาศต่ำได้จัดระเบียบขึ้นอย่างรวดเร็ว และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน (TCFA) กับตัวหย่อมความกดอากาศต่ำ[74] วันต่อมา ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและได้รับรหัสจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมว่า 11W[75]

การเคลื่อนตัวของระบบในขณะนั้นเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงใต้โดยทั่วไป โดยตัวพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนอย่างรวดเร็ว[76] ไม่นานนัก กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และให้ชื่อว่า ไห่เฉิน (Haishen) ซึ่งเสนอชื่อมาจากประเทศจีน แปลว่าชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล ต่อมา พายุไห่เฉินได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และมีทิศทางมุ่งหน้าทางตะวันตกเฉียงใต้เข้าสู่ทะเลฟิลิปปิน

การทวีกำลังแรงขึ้นในวันที่ 3 กันยายนนั้นมีนัยสำคัญ กล่าวคือ พายุไต้ฝุ่นไห่เฉินที่มีตาพายุขนาดเล็กในช่วงเช้าของวันนั้น กลับเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา เป็นผลให้กำแพงตานั้นเกิดความไม่เสถียร ซึ่งจะช่วยให้กำแพงตามีความแข็งแรงและมั่นคงมากขึ้น และช่วยให้พายุไห่เฉินทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วไปต่อเนื่องตลอดทั้งวันด้วย

โดยพายุไห่เฉินได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ทำให้ PAGASA ใช้ชื่อ กริสตีน (Kristine) ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นกับพายุไห่เฉิน[77][78] ช่วงเช้าของวันที่ 4 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมประเมินว่าพายุไห่เฉินมีกำลังเทียบเท่ากับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยใน 1 นาทีที่ 135 นอต (250 กม./ชม.)[79] พร้อมด้วยตาพายุที่มีความชัดเจนและสมมาตรซึ่งเห็นได้ผ่านทางภาพถ่ายดาวเทียม[80]

วันที่ 5 กันยายน ละติจูดของพายุไห่เฉินเพิ่มขึ้น ความจุตวามร้อนของมหาสมุทรในพื้นที่นั้นลดลง[81] ซึ่งทำให้แกนของระบบพายุถูกรบกวน และทำให้ภาพถ่ายดาวเทียมของตาพายุนั้นดูยุ่งเหยิง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวพายุนั้นกำลังอ่อนกำลังลง และมีความรุนแรงต่ำกว่าระดับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น[82]

ระบบพายุตอนนี้มีการเคลื่อนตัวไปทางเหนือเข้าหาหมู่เกาะญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 และหลังจากผ่านใกล้หมู่เกาะรีวกีวไปได้ไม่นานนัก พายุก็อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 โดยทางการญี่ปุ่นโต้ตอบโดยการสั่งอพยพประชาชนกว่าล้านคนทางภาคตะวันตกของประเทศ[83] พายุไห่เฉินพัดขึ้นฝั่งที่นครอุลซัน ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 7 กันยายน เวลาประมาณ 09:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นเกาหลี[84] ด้วยความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาทีที่ 140 กม./ชม. และความกดอากาศที่ศูนย์กลาง 955 hPa

พายุไห่เฉินทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนสองคนในประเทศญี่ปุ่น และมีผู้สูญหายอีกสี่คนจากเหตุโคลนถล่มในจังหวัดมิยาซากิ[85] และในประเทศเกาหลีใต้ยังมีผู้เสียชีวิตอีกสองคน และเกิดอุทกภัยเป็นวงกว้างในประเทศเกาหลีเหนือ[86]

พายุโซนร้อนโนอึล แก้

2011 (JMA)・13W (JTWC)・เลโอน (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 14 – 19 กันยายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

วันที่ 15 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบที่พัดอยู่ในทะเลฟิลิปปิน[87] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็เฝ้าติดตามระบบเรื่อยมาจนออกคำเตือนฉบับแรกในเวลา 15:00 UTC[88] ขณะที่ PAGASA ได้ให้ชื่อท้องถิ่นของตัวเองกับพายุว่า เลโอน (Leon) เนื่องจากพายุได้ก่อตัวขึ้นมาอยู่ในพื้นที่ของสำนักงาน[89] ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัสเรียกกับพายุนี้ว่า 13W ไม่กี่ชั่วโมงถัดมา พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อสากลจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า โนอึล (Noul) ซึ่งเสนอโดยประเทศเกาหลีเหนือ แปลว่า ท้องฟ้าสีแดง/เรืองแสง พายุโนอึลพัดขึ้นฝั่งในวันที่ 18 กันยายน เวลา 03:00 UTC (เวลา 07:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศเวียนนาม) ระหว่างจังหวัดกว๋างจิกับจังหวัดเถื่อเทียนเว้ ต่อมาในเวลา 09:00 UTC ศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่นจึงได้ออกคำเตือนให้กับระบบเป็นฉบับสุดท้าย[90]

โดยหลังจากอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว โนอึลได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตก และเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียต่อไป

ก่อนที่พายุจะพัดเข้าประเทศเวียดนาม รัฐบาลเวียดนามได้สั่งปิดท่าอากาศยานจำนวนสามแห่ง และสั่งอพยพประขาชนมากกว่าหนึ่งล้านคนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ[91][92][93] ในเมืองเว้ พายุโนอึลทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย ต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น[94] โดยวัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ที่ 310 มม. ในเมืองดานัง[95] และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 6 คน และสร้างความเสียหายในประเทศเวียดนามกว่า 7.05 หมื่นล้านด่ง[96][97][98]

พายุโซนร้อนกำลังแรงดอลฟิน แก้

2012 (JMA)・14W (JTWC)・มาร์เซ (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 19 – 24 กันยายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 06.00 UTC เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำต่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืองภายในเขตรับผิดชอบของฟิลิปปินส์ PAGASAได้ปรับให้เป็นพายุดีเปรสชัน และตั้งชื่อท้องถิ่นว่า มาร์เซ [99]JTWC ได้ประกาศแจ้งเตือนการต่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ระดับปานกลางเท่านั้น [100] JTWC ได้ปรับให้เป็นพายุโซนร้อน เวลา 12:00 UTC.[101] วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 03.00 UTC.ได้ออกเขตรับผิดชอบของฟิลิปปินส์[102] ในเวลาต่อว่า JMA ได้ปรับให้เป็น พายุโซนร้อน และตั้งชื่อสากลว่า ดอลฟิน ซึ่งชื่อตั้งโดยเขตบริหารพิเศษฮ่องกงฮ่องกง ซึ่งแปลว่า โลมาขาว [103] หลังจากนั้นพายุได้เปลี่ยนเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และJTWC ได้ออกคำเตือนครั้งสุดท้ายในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 03:00 UTC.[104]

พายุโซนร้อนกำลังแรงคูจิระ แก้

2013 (JMA)・15W (JTWC)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 26 – 30 กันยายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นจันหอม แก้

2014 (JMA)・16W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 4 – 12 ตุลาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนหลิ่นฟา แก้

2015 (JMA)・17W (JTWC)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 9 – 11 ตุลาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนนังกา แก้

2016 (JMA)・18W (JTWC)・นีกา (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 11 – 16 ตุลาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโซเดล แก้

2017 (JMA)・19W (JTWC)・เปปีโต (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 18 – 26 ตุลาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโมลาเบ แก้

2018 (JMA)・19W (JTWC)・กินตา (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 23 – 29 ตุลาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นโคนี แก้

2019 (JMA)・22W (JTWC)・รอลลี (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 26 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)

โคนี (เกาหลี: 고니; แปลว่า หงส์) หรือที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า รอลลี (ฟิลิปปินส์: Rolly) เป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นเทียบเท่าระดับ 5 ที่ทรงพลังอย่างยิ่งซึ่งเพิ่งขึ้นฝั่งที่เกาะคาตันดัวเนสในฟิลิปปินส์ โคนีเป็นพายุลูกที่ 19 พายุไต้ฝุ่นลูกที่ 9 และซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกที่ 2 ที่ได้รับการตั้งชื่อในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 โคนีเริ่มก่อตัวขึ้นจากพายุดีเปรสชันทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะกวมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม จากนั้นได้เพิ่มกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้รับการตั้งชื่อในวันที่ 27 ตุลาคม โคนีได้ทวีความรุนแรงอย่างมากในทะเลฟิลิปปิน จนถึงขณะนี้ถือเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกใน พ.ศ. 2563[105]

พายุโซนร้อนกำลังแรงอัสนี แก้

2020 (JMA)・23W (JTWC)・โชนี (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 29 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเอตาว แก้

2021 (JMA)・24W (JTWC)・โตนโย (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 7 – 11 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นหว่ามก๋อ แก้

2022 (JMA)・25W (JTWC)・ยูลิสซีส (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 7 – 15 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกรอวาญ แก้

2023 (JMA)・26W (JTWC)・บิกกี (PAGASA)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 17 – 24 ธันวาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน แก้

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน แก้

การีนา (PAGASA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 11 – 15 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

หลังจากหนึ่งเดือนที่ไม่มีกิจกรรมพายุ กลุ่มเมฆได้เริ่มก่อตัวขึ้นในทะเลฟิลิปปิน ซึ่งหย่อมความกดอากาศต่ำได้เริ่มจัดระบบขึ้น โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้คำนิยามกับระบบว่าเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (invest) ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประกาศให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่ PAGASA ได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้ชื่อท้องถิ่นว่า การีนา (Carina)[106]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน แก้

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 27 – 29 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1010 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.83 นิ้วปรอท)

วันที่ 27 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อน ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้จัดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนอย่างไม่เป็นทางการ โดยระบบเป็นระบบที่มีโอกาสในการเป็นพายุหมุนเขตร้อนต่ำ อย่างไรก็ตาม ระบบได้สลายตัวไปในช่วงต้นของวันที่ 30 กรกฎาคม โดยไม่มีผลกระทบกับบริเวณใด

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 06W แก้

06W (JTWC)・เฮร์เนอร์ (PAGASA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 9 – 13 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1012 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.88 นิ้วปรอท)

ระบบผสมก่อตัวขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม ทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น ตัวระบบเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกอย่างช้า ๆ และในวันที่ 9 สืงหาคม ระบบได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนเขตร้อน เนื่องจากการรบกวนของระบบผสมที่มีกำลังลมในระดับพายุโซนร้อนอยู่แล้ว ทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อนในทันที โดยให้รหัสว่า 06W จากนั้น 06W มีกำลังสูงสุดด้วยความเร็วลม 55 กม./ชม. และความกดอากาศสูงผิดปกติที่ 1012 มิลลิบาร์ แต่กำลังสูงสุดนั้นคงอยู่เพียงสั้น ๆ โดย 06W อ่อนกำลังลงไปตามลำดับ จนวันที่ 10 สิงหาคม เวลา 15:00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงได้ปรับลดความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 06W นั้นสิ้นสุดการติดตามโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นในวันที่ 12 สิงหาคม เนื่องจากการยุบตัวไปของกิจกรรมการพาความร้อน การมีอากาศแห้งไหลเข้าที่ระดับบน และปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นผลให้มีการยุติการติดตามอย่างเป็นทางการ ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมยังคงออกการอัปเดตข้อมูลของ 06W อยู่ แม้ว่าระบบจะมีสัญญาณของกิจกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากที่พายุเคลื่อนไปทางตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ระบบได้เริ่มเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงใต้เข้าสู่พื้นที่ของฟิลิปปินส์ ทำให้ PAGASA ให้ชื่อกับระบบว่า เฮร์เนอร์ (Gener)[107][108] วันที่ 13 สิงหาคม เวลา 03:00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมออกคำเตือนกับ 06W เป็นฉบับสุดท้าย และยุติการติดตามระบบไปในที่สุด

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 12W แก้

12W (JTWC)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 10 – 12 กันยายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

วันที่ 10 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือเยื้องไปทางเหนือของเกาะอิโอจิมะ ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาในเวลา 15:00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ[109] วันที่ 12 กันยายน เวลา 03:00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ประกาศให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 12W[110] อย่างไรก็ตาม ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ออกคำเตือนเป็นฉบับสุดท้ายในวันเดียวกันนั้น[111]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน แก้

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
   
ระยะเวลา 27 – 30 กันยายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน แก้

โอเฟล (PAGASA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
   
ระยะเวลา 13 – 16 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 20W แก้

20W (JTWC)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
   
ระยะเวลา 19 – 23 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน แก้

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
 
ระยะเวลา 5 – 6 ธันวาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1010 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.83 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ แก้

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[112] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 km/h (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[113] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[112] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[113] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล แก้

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[114] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[115] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุถ้ามันถูกใช้ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2563 คือ หว่องฟ้ง จากชุดที่ 3 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้าย คือ กรอวาญ จากชุดที่ 4 รวมมีชื่อถูกใช้ทั้งหมด 23 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2563
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 3 2001 หว่องฟ้ง
(Vongfong)
ชุดที่ 3 2006 เมขลา
(Mekkhala)
ชุดที่ 3 2011 โนอึล
(Noul)
ชุดที่ 3 2016 นังกา
(Nangka)
ชุดที่ 3 2021 เอตาว
(Etau)
2002 นูรี
(Nuri)
2007 ฮีโกส
(Higos)
2012 ดอลฟิน
(Dolphin)
2017 โซเดล
(Saudel)
2022 หว่ามก๋อ
(Vamco)
2003 ซินลากู
(Sinlaku)
2008 บาหวี่
(Bavi)
2013 คูจิระ
(Kujira)
2018 โมลาเบ
(Molave)
ชุดที่ 4 2023 กรอวาญ
(Krovanh)
2004 ฮากูปิต
(Hagupit)
2009 ไมสัก
(Maysak)
2014 จันหอม
(Chan-hom)
2019 โคนี
(Goni)
2005 ชังมี
(Jangmi)
2010 ไห่เฉิน
(Haishen)
2015 หลิ่นฟา
(Linfa)
2020 อัสนี
(Atsani)

ฟิลิปปินส์ แก้

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[116] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) ด้วย[116] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น กริสตีน (Kristine), เลโอน (Leon) และนีกา (Nika) ที่ถูกนำมาแทน กาเรน (Karen) ลาวิน (Lawin) และนีนา (Nina) ที่ถูกถอนไป[116] โดยชื่อที่ไม่ถูกใช้จะปรากฏเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2563
อัมโบ (Ambo) เฟร์ดี (Ferdie) กริสตีน (Kristine) เปปีโต (Pepito) ยูลิสซีส (Ulysses)
บุตโชย (Butchoy) เฮร์เนอร์ (Gener) เลโอน (Leon) กินตา (Quinta) บิกกี (Vicky)
การีนา (Carina) เฮเลน (Helen) มาร์เซ (Marce) รอลลี (Rolly) วอร์เรน (Warren) (ไม่ถูกใช้)
ดินโด (Dindo) อินเม (Igme) นีกา (Nika) โชนี (Siony) โยโยง (โยโยง) (ไม่ถูกใช้)
เอนเตง (Enteng) ฮูเลียน (Julian) โอเฟล (Ofel) โตนโย (Tonyo) โซซีโม (Zosimo) (ไม่ถูกใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
อาลักดัน (Alakdan) (ไม่ถูกใช้) กลารา (Clara) (ไม่ถูกใช้) เอสโตง (Estong) (ไม่ถูกใช้) โกเมอร์ (Gomer) (ไม่ถูกใช้) อิสมาเอล (Ismael) (ไม่ถูกใช้)
บัลโด (Baldo) (ไม่ถูกใช้) เดนซีโย (Dencio) (ไม่ถูกใช้) เฟลีเป (Felipe) (ไม่ถูกใช้) เฮลิง (Heling) (ไม่ถูกใช้) ฮูลีโย (Julio) (ไม่ถูกใช้)

ผลกระทบ แก้

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2563 ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหายหรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุ

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
หว่องฟ้ง 10 – 17 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ปาเลา, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน &000000005000000000000050 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 5 [22][23][117]
นูรี 10 – 14 มิถุนายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ตอนใต้ของจีน &0000000000000000000000 ไม่ทราบ 1 [27]
TD 11 – 15 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน &0000000000000000000000 เล็กน้อย &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 27 – 29 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ระบุ 1010 hPa (29.83 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ซินลากู 31 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ตอนใต้ของจีน, เวียดนาม, ลาว, ไทย, เมียนมา &000000001294000000000012.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4 [118][29][30][117]
ฮากูปิต 31 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) หมู่เกาะรีวกีว, ไต้หวัน, ตะวันออกของจีน, คาบสมุทรเกาหลี &0000000411000000000000411 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 17 [119][120][121]
ชังมี 7 – 10 สิงหาคม พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะรีวกีว, คาบสมุทรเกาหลี &00000000010000000000001 ล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [117]
06W 9 – 13 สิงหาค พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1012 hPa (29.88 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโบนิน, หมู่เกาะรีวกีว &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เมขลา 9 – 11 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ตะวันออกของจีน &0000000159000000000000159 ล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [122][117]
ฮีโกส 16 – 20 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ภาคใต้ของจีน &0000000142503089000000143 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 7 [117][123][124]
บาหวี่ 21 – 27 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะรีวกีว, ไต้หวัน, คาบสมุทรเกาหลี,
ตอนเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน
&00000000010000000000001 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 [117][125]
ไมสัก 27 สิงหาคม – 3 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน &0000000100000000000000100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 32 [117]
ไห่เฉิน 31 สิงหาคม – 9 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี &0000000100000000000000100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4 [126][117]
12W 10 – 12 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
โนอึล 14 – 19 กันยายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 994 hPa (29.59 นิ้วปรอท) เวียดนาม, ลาว, ไทย, พม่า, ฟิลิปปินส์ &0000000175200000000000175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 18 [127][117][128]
ดอลฟิน 19 – 24 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 985 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
คูจิระ 26 – 30 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 27 – 29 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ระบุ 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
จันหอม 4 – 16 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 965 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
หลิ่นฟา 9 – 12 ตุลาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, ไทย, พม่า &0000000950000000000000950 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 137 [129][130][131]
นังกา 11 – 14 ตุลาคม พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม, ลาว, พม่า &000000001694000000000016.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4 [132][133][134]
โอเฟล 13 – 16 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 45 กม./ชม. 1002 hPa (29.58 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เวียดนาม &0000000000187000000000187 พันดอลลาร์สหรัฐ 10 [135][136]
โซเดล 18 – 26 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 965 hPa (28.49 inHg) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม &000000001518000000000015.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [137][134]
20W 19 – 23 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
โมลาเบ 23 – 29 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะสแปรตลี, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา, ไทย, มาเลเซีย &0000000660000000000000660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 71 [129][138][139][124]
โคนี 26 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 220 กม./ชม. 905 hPa ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว &00000010235000000000001.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 32 [140][141][131]
อัสนี 29 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 994 hPa หมู่เกาะมาเรียนา, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน &0000000000101000000000101 พันดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี
เอตาว 7 – 11 พฤศจิกายน พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 992 hPa ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, กัมพูชา &000000003484678800000034.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 [142][124]
หว่ามก๋อ 8 – 15 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 950 hPa ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ลาว, ไทย &00000010590000000000001.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 102 [143]
TD 5 – 6 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1010 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
กรอวาญ 17 – 24 ธันวาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1000 hPa ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ไทย &00000000044800000000004.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 9 [144]
TD 29 ธันวาคม Tropical depression ไม่ได้ระบุ 1004 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
สรุปฤดูกาล
32 ลูก 10 พฤษภาคม–
29 ธันวาคม พ.ศ. 2563
  220 กม./ชม. 905 hPa (26.72 นิ้วปรอท)   4,057.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 457


ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Saunders, Mark; Lea, Adam (May 21, 2020). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2020 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ May 21, 2020.
  2. 2.0 2.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (July 9, 2020). July Forecast Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2020 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ July 9, 2020.[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 Saunders, Mark; Lea, Adam (August 6, 2020). August Forecast Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2020 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 121st Climate Forum March-August 2020 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric Geophysical and Astronomical Services Administration. January 22, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 16, 2019. สืบค้นเมื่อ March 13, 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 125th Climate Forum July-December 2020 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric Geophysical and Astronomical Services Administration. June 24, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2019. สืบค้นเมื่อ June 25, 2020.
  6. "การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2563". กรมอุตุนิยมวิทยา. April 27, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  7. "DOST-PAGASA upgrading of LPA to Tropical Depression "AMBO"". Facebook. May 10, 2020. สืบค้นเมื่อ May 10, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "Severe Weather Bulletin #2 - Tropical Depression "AMBO"" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-17. สืบค้นเมื่อ April 10, 2020.
  9. "Tropical Depression 01W Warning Nr 1". Joint Typhoon Warning Center. April 12, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2020.
  10. Shu-fen, Wang; Hsin-Yin, Lee (May 12, 2020). "Tropical Storm Vongfong likely to approach Taiwan over weekend: CWB". Focus Taiwan.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "Tropical Storm 01W (Vongfong) Warning Nr 004". Joint Typhoon Warning Center. May 12, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2020.
  12. 12.0 12.1 "Severe Weather Bulletin #10 - Typhoon "AMBO" (VONGFONG)" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-05-14.
  13. "Typhoon 01W (Vongfong) Warning Nr 009". Joint Typhoon Warning Center. May 13, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2020.
  14. "Severe Weather Bulletin #14 for Typhoon "Ambo" (Vongfong)" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. May 14, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-28.
  15. "Severe Weather Bulletin #17 - Typhoon "AMBO" (VONGFONG)" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-15. สืบค้นเมื่อ May 14, 2020.
  16. "Severe Weather Bulletin #20 for Typhoon "Ambo" (Vongfong)" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. May 15, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-28. สืบค้นเมื่อ May 15, 2020.
  17. "Severe Weather Bulletin #22 for Severe Tropical Storm "Ambo" (Vongfong)" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. May 15, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-28. สืบค้นเมื่อ May 15, 2020.
  18. "Severe Weather Bulletin #25 - Severe Tropical Storm "AMBO" (VONGFONG)" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-28. สืบค้นเมื่อ May 15, 2020.
  19. "Severe Tropical Storm Vongfong Takes Aim at Philippine Heartland". No. May 15, 2020. The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 15, 2020.
  20. "Severe Weather Bulletin #11 - Typhoon "AMBO" (VONGFONG)" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. สืบค้นเมื่อ May 14, 2020.[ลิงก์เสีย]
  21. Garrett, Monica (May 14, 2020). "Tens of thousands under lockdown evacuate as Typhoon Vongfong strikes Philippines". CNN International. CNN.
  22. 22.0 22.1 "Sitrep No.15 re Preparedness Measures and Effects for Typhoon "AMBO" (I.N. "VONGFONG")" (PDF). NDRRMC. May 27, 2020.[ลิงก์เสีย]
  23. 23.0 23.1 "5 dead, P80 million lost in Typhoon 'Ambo' wake". Manila Standard. May 18, 2020.
  24. "PAGASA-DOST on Twitter". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-17. สืบค้นเมื่อ 2020-08-01.
  26. Update, JTWC (13 June 2020). "JTWC upgraded Nuri to a Tropical storm". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2020. สืบค้นเมื่อ 13 June 2020.
  27. 27.0 27.1 Maisy Mok (June 15, 2020). "One drowning as first storm goes by". The Standard.
  28. https://blogs.nasa.gov/hurricanes/tag/sinlaku-2020/
  29. 29.0 29.1 Nguyen Quy and Minh Cuong (August 3, 2020). "Two killed as heavy rains ravage northern Vietnam". Vietnam Express. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
  30. 30.0 30.1 "Vietnam, Laos, Thailand - Tropical Cyclone SINLAKU update (GDACS, NOAA, Copernicus EMS, Reliefweb, Floodlist, media) (ECHO Daily Flash of 04 August 2020)". ReliefWeb. European Commission's Directorate-General for European Civil Protection and Humanitarian Aid Operations. August 4, 2020. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
  31. https://thethaiger.com/hot-news/weather/over-1000-homes-damaged-as-remnants-of-tropical-storm-sinlaku-wreaks-havoc-in-ranong
  32. https://weather.com/en-IN/india/news/news/2020-08-03-rainy-week-ahead-for-central-and-peninsular-india-coastal-maharashtra
  33. "PAGASA-DOST on Twitter: "At 8:00 PM today, the Low Pressure Area east of Cagayan develop into Tropical Depression #DindoPH. Severe Weather Bulletin will be issued starting at 11:00 PM tonight." / Twitter". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-31.
  34. "Vulnerable eastern China areas evacuated ahead of Typhoon HagupitI" (ภาษาอังกฤษ). foxnews. August 3, 2020. สืบค้นเมื่อ September 12, 2020.
  35. "Tropical storm heading away from the city" (ภาษาอังกฤษ). shine. August 5, 2020. สืบค้นเมื่อ September 12, 2020.
  36. "Japan Meteorological Agency|Tropical Cyclone Information". www.jma.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
  37. "Tropical Storm Jangmi continues flood threat for South Korea, Japan" (ภาษาอังกฤษ). accuweather. August 12, 2020. สืบค้นเมื่อ September 12, 2020.
  38. "South Korea floods, landslides kill dozens, displace thousands" (ภาษาอังกฤษ). aljazeera. August 9, 2020. สืบค้นเมื่อ September 12, 2020.
  39. "Tropical Depression 07W warning NR 001". Joint Typhoon Warning Center. August 9, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ August 9, 2020.
  40. ABS-CBN News (2020-08-09). "Low pressure area intensifies into tropical depression Ferdie". ABS-CBN News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
  41. Xu Yinglong (10 August 2020). "中央气象台8月11日07时30分发布台风登陆消息" (ภาษาจีน). National Meteorological Center of CMA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  42. Lalu, Gabriel Pabico (2020-08-10). "Signal No. 1 up over Ilocos as 'Ferdie,' monsoon bring rains, winds over Luzon". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-21.
  43. Wang Shu-fen; Chiang Yi-ching (August 11, 2020). "Taiwan lifts land, sea warnings for Tropical Storm Mekkhala". สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
  44. "East China province braces for tropical storm Mekkhala". Xinhua Net. August 10, 2020. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
  45. "Tropical Storm Mekkhala brings rain to Taiwan, strikes China".
  46. "Typhoon Mekkhala makes landfall in China's Fujian". Xinhua Net. August 11, 2020. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
  47. Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration (2020-08-17). "Severe Weather Bulletin #1 for Tropical Depression "Helen"" (PDF). PAGASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-17. สืบค้นเมื่อ 2020-08-17.
  48. Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration (2020-08-17). "Severe Weather Bulletin #2-FINAL for Tropical Depression "Helen"" (PDF). PAGASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-17. สืบค้นเมื่อ 2020-08-17.
  49. Xiang Xin (19 August 2020). "台风"海高斯"登陆广东珠海 广东等地遭强风雨冲击" (ภาษาจีน). Beijing, China: National Meteorological Center of CMA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-19. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  50. https://www.hko.gov.hk/en/wxinfo/climat/warndb/warndb1.shtml?opt=1&sgnl=91&start_ym=202008&end_ym=202008&submit=搜尋
  51. "Typhoon signal No.10 hoisted". Macau Business. August 19, 2020. สืบค้นเมื่อ August 19, 2020.
  52. The Associated Press (August 19, 2020). "Typhoon adds to southern China's rain and flooding woes". ABC News. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
  53. Clifford Lo; Ng Kang-chung (August 19, 2020). "Camper and 70-year-old mum rescued after being trapped on remote island while Typhoon Higos lashes Hong Kong". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
  54. Joint Typhoon Warning Center (2020-08-21). "Tropical Cyclone Formation Alert WTPN21". Joint Typhoon Warning Center (JTWC). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-21. สืบค้นเมื่อ 2020-08-21.
  55. Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration (2020-08-22). "Severe Weather Bulletin #1". PAGASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-22. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  56. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-22. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  57. "태풍 바비 잇단 피해..물놀이 10대 사망-하늘·바닷길 끊겨[태풍 바비 경로]". www.sisa-news.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
  58. Wang Qian (27 August 2020). "中央气象台8月27日8时30分发布台风登陆信息" (ภาษาจีน). Beijing, China: National Meteorological Center of CMA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-27. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
  59. "WWJP27 RJTD 270600" (27 August 2020). Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-27. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
  60. "Tropical Cyclone Formation Alert (Invest 94W)". Joint Typhoon Warning Center. 27 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-27. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
  61. "Severe Weather Bulletin #1 for Tropical Depression "JULIAN"" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. August 28, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-28.
  62. "WTPQ50 RJTD 280600". Japan Meteorological Agency. 28 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-28. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
  63. "Tropical Storm 10W (Maysak) Warning Nr 003". Joint Typhoon Warning Center. 28 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-29. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
  64. "WTPQ50 RJTD 281800". Japan Meteorological Agency. 28 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-29. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
  65. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 10W (Maysak) Warning Nr 04". Joint Typhoon Warning Center. 28 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-29. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
  66. "Severe Weather Bulletin #7 for Typhoon Julian" (PDF). Philippine Atmospheric, Geophysical, and Astronomical Services Administration. 2020-08-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-30. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
  67. "Typhoon Maysak Batters South Korea". EOS Project Science Office. 2020-09-05.
  68. "[기상청 속보] 2020년 9월 3일 2시 30분" (ภาษาเกาหลี). Korea Meteorological Administration. 2 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-02. สืบค้นเมื่อ 3 September 2020.
  69. Typhoon Maysak hit South Korea - September 2nd, 2020
  70. Japanese coast guard looking for live export ship with 43 crew, thousands of cattle, missing during Typhoon Maysak, Jake Sturmer and Yumi Asada, ABC News Online, 2020-09-03
  71. "Cargo ship with 43 crew and nearly 6,000 cattle sank off Japan, survivor says". The Guardian. 3 September 2020.
  72. Josh Smith (September 3, 2020). "At least two people killed as Typhoon Maysak hits waterlogged Koreas". reuters. สืบค้นเมื่อ September 12, 2020.
  73. "Typhoon Maysak drenches North and South Korea". businesstimes. September 3, 2020. สืบค้นเมื่อ September 12, 2020.
  74. "TROPICAL CYCLONE FORMATION ALERT (INVEST 95W)". Joint Typhoon Warning Center. Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-04. สืบค้นเมื่อ 2020-09-04.
  75. "Super Typhoon 11W (Haishen) Warning #17". Joint Typhoon Warning Center. Joint Typhoon Warning Center. 2020-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-04. สืบค้นเมื่อ 2020-09-04.
  76. DAVE ORNAUER (August 16, 2020). "Tropical Storm 11W (Haishen), # 46 FINAL". Stars and Stripes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2020. สืบค้นเมื่อ September 12, 2020.
  77. "Tropical Cyclone Information - TY 2010 (Haishen)". Japan Meteorological Agency. Japan Meteorological Agency. 3 September 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-03. สืบค้นเมื่อ 2020-09-03.
  78. "Severe Weather Bulletin #2 - Typhoon "Kristine"". PAGASA. Philippine Atmospheric, Geophysical, and Astronomical Services Administration. 2020-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-04. สืบค้นเมื่อ 2020-09-04.
  79. "SUPER TYPHOON 11W (HAISHEN) WARNING NR 016". Joint Typhoon Warning Center. Joint Typhoon Warning Center. 2020-09-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-04. สืบค้นเมื่อ 2020-09-04.
  80. "Tropical Cyclone Position and Intensity - TYPHOON 11W (HAISHEN)". Joint Typhoon Warning Center. Joint Typhoon Warning Center. 2020-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-04. สืบค้นเมื่อ 2020-09-04.
  81. "Ocean Heat Content (Geo-PolarBlended SST)". NOAA Office of Satellite and Product Operations. National Oceanic and Atmospheric Administration. 2020-09-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2020. สืบค้นเมื่อ September 12, 2020.
  82. "TYPHOON 11W (HAISHEN) WARNING NR 019". Joint Typhoon Warning Center. Joint Typhoon Warning Center. 2020-09-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-05. สืบค้นเมื่อ 2020-09-05.
  83. "Typhoon Haishen batters South Korea". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC News. 2020-09-07. สืบค้นเมื่อ 2020-09-08.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  84. "Typhoon Haishen making landfall in Ulsan, disrupting flights, train services, plants". Yonhap News Agency. 7 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-07. สืบค้นเมื่อ 7 September 2020.
  85. "Typhoon Haishen threatens Korea after battering Japan". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-12.
  86. "North Korea dispatches troops to rebuild after Typhoon Haishen". Nikkei Asian Review (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-09-12.
  87. "Tropical Cyclone Formation Alert (90W)". Joint Typhoon Warning Center. 2020-09-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-15.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  88. "Tropical Depression 13W (Thirteen) Warning No. 1". Joint Typhoon Warning Center. 2020-09-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-15.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  89. "Severe Weather Bulletin #1 for Tropical Depression "Leon"" (PDF). PAGASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-15.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  90. "Tropical Storm 13W (Noul) Warning No. 12". Joint Typhoon Warning Center. 2020-09-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2020-09-18.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  91. "Bão số 5 tăng tốc, hơn 1 triệu dân phải sơ tán". Báo Công an nhân dân điện tử.
  92. "Storm Noul shuts down central Vietnam airports" (ภาษาอังกฤษ). VnExpress. 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  93. "Vietnam plans to evacuate 1.1 million in storm's path: Media" (ภาษาอังกฤษ). The Straits Times. 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  94. "Tropical Storm Noul pounds Vietnam;one dead, dozens injured". Al Jazeera. September 18, 2020. สืบค้นเมื่อ September 18, 2020.
  95. Maura Kelly (September 18, 2020). "Noul turns deadly while making landfall in Vietnam". Accuweather. สืบค้นเมื่อ September 18, 2020.
  96. "6 người chết do bão Noul" (ภาษาเวียดนาม). VnExpress. 20 September 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
  97. "Cơn lũ đi qua, vùng cao Quảng Nam bị thiệt hại gần 200 tỉ đồng" (ภาษาเวียดนาม). Lao Động. 20 September 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.[ลิงก์เสีย]
  98. https://dantri.com.vn/xa-hoi/vi-sao-hang-tram-cot-dien-tai-thua-thien-hue-gay-do-trong-bao-so-5-20200921155807631.htm
  99. "Severe Weather Bulletin #1 on Tropical Depression Marce" (PDF). PAGASA. September 20, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 20, 2020. สืบค้นเมื่อ September 20, 2020.
  100. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans". Joint Typhoon Warning Center. September 20, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2020. สืบค้นเมื่อ September 20, 2020.
  101. "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans". Joint Typhoon Warning Center. September 20, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2020. สืบค้นเมื่อ September 20, 2020.
  102. "Severe Weather Bulletin #3-FINAL for Tropical Storm "Marce"" (PDF). PAGASA. September 21, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 21, 2020. สืบค้นเมื่อ September 21, 2020.
  103. "Tropical Cyclone Information". Japan Meteorological Agency. September 21, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2020. สืบค้นเมื่อ September 21, 2020.
  104. "Tropical Storm 14W (Dolphin) Warning No. 15". Joint Typhoon Warning Center. September 24, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2020. สืบค้นเมื่อ September 24, 2020.
  105. Samenow, Jason. "Super Typhoon Goni explodes into 2020's strongest storm on Earth, moves toward Philippines". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.
  106. "Severe Weather Bulletin #1 Tropical Depression "Carina"" (PDF). July 13, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-17. สืบค้นเมื่อ July 15, 2020.
  107. Arceo, Acor (August 13, 2020). "Tropical Depression Gener enters PAR, but not a threat". Rappler.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  108. "DOST-PAGASA Severe Weather Bulletin #1 for Tropical Depression "Gener"" (PDF). PAGASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-17.
  109. "Tropical Cyclone Formation Alert Text (Invest 97W)". Joint Typhoon Warning Center. 2020-09-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
  110. "Tropical Depression 12W (Twelve) Warning Nr. 001". Joint Typhoon Warning Center. 2020-09-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-12. สืบค้นเมื่อ 2020-09-12.
  111. "Tropical Depression 12W (Twelve) Warning No. 002". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2020. สืบค้นเมื่อ September 12, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  112. 112.0 112.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  113. 113.0 113.1 The Typhoon Committee (February 21, 2013). "Typhoon Committee Operational Manual 2013" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  114. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  115. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ December 21, 2014.
  116. 116.0 116.1 116.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ April 18, 2015.
  117. 117.0 117.1 117.2 117.3 117.4 117.5 117.6 117.7 117.8 "Global Catastrophe Recap September 2020" (PDF). Aon. October 8, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-08. สืบค้นเมื่อ October 17, 2020.
  118. "Bão số 2 làm 3 người chết, thiệt hại ít nhất 300 tỉ đồng". caobang.gov.vn. August 6, 2020. สืบค้นเมื่อ October 20, 2020.[ลิงก์เสีย]
  119. "Taiwan: Typhoon Hagupit causes casualties and damage as it intensifies on August 3". GardaWorld. August 3, 2020. สืบค้นเมื่อ October 17, 2020.
  120. Keoni Everington (August 5, 2020). "Typhoon exposes 'tofu-dreg project' in E. China". Taiwan News.
  121. Ji-hye, Jun (August 5, 2020). "Gov't to declare heavy rain-hit regions special disaster zones". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ October 17, 2020.
  122. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Mekkhaladamage
  123. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ VietHi
  124. 124.0 124.1 124.2 Vietnam November 2020 Report
  125. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SKB25
  126. "Typhoon Haishen causes widespread damage | NHK WORLD-JAPAN News". www3.nhk.or.jp.
  127. "Tropical storm Noul leaves 11 dead in Cambodia – it's havoc in South East Asia". The Star. ASEANPLUS NEWS. September 22, 2020. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
  128. "Typhoon kills 3 in central Vietnam – Xinhua | English.news.cn". www.xinhuanet.com.
  129. 129.0 129.1 "Vietnam October 2020 Recap".
  130. "Death toll from flooding in Cambodia rises to 44". Xinhua (ภาษาอังกฤษ). October 28, 2020.
  131. 131.0 131.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AON November 2020
  132. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ auto
  133. "Nam Định: Bão số 7 gây thiệt hại gần 68 tỉ đồng". nongnghiep.vn. October 23, 2020.
  134. 134.0 134.1 "Global Catastrophe Recap October 2020" (PDF). Aon. November 11, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ November 11, 2020.
  135. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ofel1
  136. "OCD reports landslides in Marinduque due to 'Ofel,' evacuated residents begin to return as weather improves". Manila Bulletin. October 15, 2020.
  137. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Pepito1
  138. Wong, Marcus (November 1, 2020). "Vietnam Estimates Typhoon Molave Caused $430 Million of Damage". Bloomerg. สืบค้นเมื่อ November 3, 2020.
  139. "Bão lũ tại miền Trung làm 242 người chết và mất tích, thiệt hại gần 29.000 tỷ đồng". ANTD (ภาษาเวียดนาม). 6 November 2020.
  140. Reuter And Ben Westcott (November 1, 2020). "Super typhoon Goni makes two landfalls in the Philippines after mass evacuations". CNN.
  141. "Death toll from Typhoon Rolly rises to 20" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-04. สืบค้นเมื่อ November 2, 2020.
  142. "Ba người chết do mưa lũ sau bão Etau". vnexpress.net.
  143. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  144. Agencies (2020-12-21). "At least 9 killed in floods, landslides in Philippines". Daily Sabah (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้