ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2564–2565

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2564–65 เป็นช่วงฤดูที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ถึงทางตะวันออกของเส้น 160°ตะวันออก ฤดูกาลอย่างเป็นทางการเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ไปจนถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2565 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 และจะถูกนับรวมไปเป็นส่วนหนึ่งของฤดูกาลด้วย ในตลอดฤดูกาลนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะถูกตรวจสอบโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ในนันจี และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในบริสเบน, ออสเตรเลีย และ เวลลิงตัน, นิวซีแลนด์ นอกจากนั้นยังมี ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ซึ่งจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการเพื่อความสนใจของชาวอเมริกัน

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2564–2565
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว13 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ระบบสุดท้ายสลายตัว9 เมษายน พ.ศ. 2565
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อโดวี
 • ลมแรงสูงสุด175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด940 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความแปรปรวนทั้งหมด11 ระบบ
พายุดีเปรสชันทั้งหมด7 ลูก
พายุไซโคลนเขตร้อน6 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง2 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั้งหมด 1 คน
ความเสียหายทั้งหมด105 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2022)
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้
2562–63, 2563–64, 2564–65, 2565–66, 2566–67

RSMC นันจี จะออกการเตือนภัยโดยแนบหมายเลขและตัวอักษร F ต่อท้ายให้กับพื้นที่ความแปรปรวนของอากาศที่ก่อตัวขึ้นภายในหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่ง ในขณที่ JTWC จะให้รหัสเรียกขานกับพายุหมุนเขตร้อน และใช้ตัวอักษร P ต่อท้าย โดยกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี สำนักอุตุนิยมวิทยา และ เมทเซอร์วิส จะใช้มาตราพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลียเป็นหลักและวัดความเร็วลมในช่วงสิบนาที ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะวัดความเร็วลมใน 1 นาที และใข้มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS) มาเทียบเคียง

ภาพรวมฤดูกาล แก้

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้
  การแปรปรวนของลมในเขตร้อน   พายุไซโคลนระดับ 3 (143–159 กม./ชม.)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน   พายุไซโคลนระดับ 4 (160–204 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 1 (63–88 กม./ชม.)   พายุไซโคลนระดับ 5 (≥205 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 2 (89–142 กม./ชม.)

พายุ แก้

พายุไซโคลนรูบี แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 13 (เข้ามาในแอ่ง) – 17 ธันวาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

วันที่ 13 ธันวาคม พายุไซโคลนรูบีเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่งจากภูมิภาคออสเตรเลีย มีความรุนแรงเป็นพายุไซโคลนระดับ 2 ตามมาตราออสเตรเลีย[1][2] โดยพายุรูบีสลายตัวลงสี่วันให้หลังในวันที่ 17 ธันวาคม

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 02F แก้

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
 
ระยะเวลา 17 – 20 ธันวาคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

วันที่ 17 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีรายงานว่าระบบการแปรปรวนของลมในเขตร้อน 02F ได้ก่อตัวขึ้นบริเวณพื้นที่ลมเฉือนแนวตั้งระดับต่ำ ประมาณ 625 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของพอร์ตวิลา ประเทศวานูวาตู โดยกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีกำหนดรหัสเรียกให้กับการแปรปรวนของลมในเขตร้อนระบบนี้ว่า 02F การพาความร้อนที่เกี่ยวข้องกับระบบยังคงตั้งอยู่ในแนวลมพัดสอบ ซึ่งห่างจากศูนย์กลางการหมุนเวียนลมระดับต่ำของตัวระบบ[3] โดยในวันที่ 20 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีได้ออกประกาศเกี่ยวกับระบบเป็นฉบับสุดท้าย[4]

พายุไซโคลนกำลังแรงโคดี แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 5 – 13 มกราคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
971 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.67 นิ้วปรอท)

วันที่ 5 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีได้รายงานว่าการแปรปรวนของลมในเขตร้อนก่อตัวขึ้น[5] และให้รหัสกับระบบว่า 03F โดยระบบ 03F ได้ทำให้เกิดฝนตกหนักในประเทศฟีจีในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อน ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมและความเสียหายในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประชาชนราว 4,000 คนต้องอพยพออกจากที่พักอาศัย[6] วันที่ 10 มกราคม เกิดเหตุชายผู้หนึ่งจมน้ำในประเทศฟีจี ขณะกำลังพายามว่ายน้ำฝ่าไปในแม่น้ำที่เกิดน้ำท่วม[7] วันเดียวกันนั้น ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนระดับ 1 โดยกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีได้มอบชี่อให้กับพายุว่า โคดี ขณะที่ศุนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้กำหนดให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 04F แก้

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
   
ระยะเวลา 15 – 18 มกราคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
999 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.5 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 04F ก่อตัวขึ้นในวันที่ 15 มกราคม โดยตำแหน่งสุดท้ายของระบบที่มีการติดตามคือวันที่ 18 มกราคมในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อน

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 05F แก้

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
   
ระยะเวลา 19 – 22 มกราคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
999 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.5 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 05F ก่อตัวขึ้นในวันที่ 19 มกราคม และสลายตัวไปในวันที่ 22 มกราคม


การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 06F แก้

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
   
ระยะเวลา 28 – 30 มกราคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1001 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.56 นิ้วปรอท)

วันที่ 28 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีได้เริ่มติดตามระบบของการแปรปรวนของลมในเขตร้อน ซึ่งก่อตัวขึ้นห่างจากพอร์ตวิลา ประเทศวานูอาตูไปทางทิศตะวันตกประมาณ 185 กิโลเมตร โดยได้รับรหัสว่า 06F


การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 07F แก้

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
   
ระยะเวลา 3 (เข้ามาในแอ่ง) – 7 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงโดวี แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 6 (เข้ามาในแอ่ง) – 12 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนเอวา แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 26 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนฟีลี แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 3 เมษายน – 9 เมษายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
977 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.85 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนจีนา แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 16 – 21 พฤษภาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ แก้

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ พายุดีเปรสชันเขตร้อนจะถูกตัดสินว่ามีกำลังเป็นพายุไซโคลนเมื่อมันมีความเร็วลมที่ 65 กม./ชม. และจะต้องมีการปรากฏชัดของพายุเกลขึ้นที่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของศูนย์กลางพายุ โดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนภายในขอบเขตระหว่างเส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 25 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก ถึง 20 องศาตะวันตก จะได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (FMS) ขณะที่พายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนทางใต้ของเส้นขนานที่ 25 องศาใต้ในขอบเขตเส้นเมริเดียนเดียวกันกับข้างต้น จะได้รับชื่อจากเมทเซอร์วิซแห่งนิวซีแลนด์ (MetService) ซึ่งทำงานร่วมกันกับกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ส่วนพายุไซโคลนใดที่เคลื่อนตัวมาจากแอ่งภูมิภาคออสเตรเลีย ซึ่งพายุเหล่านั้นจะได้รับชื่อจากสำนักอุตุนิยมวิทยามาก่อนแล้ว จะคงชื่อเดิมของพายุนั้นไว้[8]

  • โคดี
  • โดวี
  • เอวา
  • ฟีลี
  • จีนา

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Tropical Cyclone Forecast Map Number 1 for Tropical Cyclone Ruby". met.gov.fj. Fiji Meteorological Service. December 13, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ December 13, 2021.
  2. "Hurricane Warning 009 for Tropical Cyclone Ruby". met.gov.fj. Fiji Meteorological Service. December 12, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2021. สืบค้นเมื่อ December 13, 2021.
  3. "Tropical Disturbance Summary For area Equator to 25S, 160E to 120W ISSUED FROM RSMC NADI Dec 170155 UTC". met.gov.fj. Fiji Meteorological Service. December 17, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-17. สืบค้นเมื่อ December 20, 2021.
  4. "Tropical Disturbance Summary For area Equator to 25S, 160E to 120W ISSUED FROM RSMC NADI Dec 202316 UTC". met.gov.fj. Fiji Meteorological Service. December 20, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2022. สืบค้นเมื่อ December 20, 2021.
  5. "Tropical Disturbance Summary For area Equator to 25S, 160E to 120W ISSUED FROM RSMC NADI Jan 050954 UTC". met.gov.fj. Fiji Meteorological Service. January 5, 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2020. สืบค้นเมื่อ January 5, 2022.
  6. "Fiji begins massive clean up after Cyclone Cody". Stuff (ภาษาอังกฤษ). January 14, 2022. สืบค้นเมื่อ January 15, 2022.
  7. Lice Monovo (January 9, 2022). "Fiji cyclone: Man drowns attempting to cross flooded river". newshub.co.nz. Fiji: RNZ Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-11. สืบค้นเมื่อ January 9, 2022.
  8. RA V Tropical Cyclone Committee (October 11, 2018). Tropical Cyclone Operational Plan for the South-East Indian Ocean and the Southern Pacific Ocean 2018 (PDF) (Report). World Meteorological Organization. pp. I–4 – II–9 (9–21). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-12. สืบค้นเมื่อ October 12, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้