ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2563

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2563 คือรอบของพายุหมุนเขตร้อน ที่เคยมีการก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียเหนือในอดีต ซึ่งไม่มีการกำหนดฤดูอย่างเป็นทางการ แต่พายุไซโคลนมีแนวโน้มก่อตัวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยมีอัตราสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2563
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ระบบสุดท้ายสลายตัว5 ธันวาคม พ.ศ. 2563
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่ออำพัน
 • ลมแรงสูงสุด240 กม./ชม. (150 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 3 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด925 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชัน9 ลูก
พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว6 ลูก
พายุไซโคลน5 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง3 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรงมาก1 ลูก
พายุซูเปอร์ไซโคลน1 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด269 คน
ความเสียหายทั้งหมด> 1.578 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2020)
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ
2561, 2562, 2563, 2564, 2565

ขอบเขตของบทความนี้จะถูกจำกัดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียที่อยู่ในซีกโลกเหนือ ทางทิศตะวันออกของจะงอยแอฟริกาและทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรมลายู โดยมีสองทะเลหลักอยู่ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ คือ ทะเลอาหรับ ไปทางตะวันตกของอนุทวีปอินเดีย ถูกเรียกอย่างย่อว่า ARB โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD); และอ่าวเบงกอล ไปทางตะวันออก เรียกอย่างย่อว่า BOB โดย IMD

ผู้ที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในแอ่งนี้ตามศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค คือ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ขณะที่ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการในภูมิภาคนี้ โดยเฉลี่ยแล้วแอ่งนี้จะมีพายุก่อตัว 4-6 ลูกในทุกฤดูกาล[1][2]

ภาพรวมฤดูกาล แก้

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ (IMD)
  พายุดีเปรสชัน (≤51 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (118–165 กม./ชม.)
  พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว (52–61 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (166–221 กม./ชม.)
  พายุไซโคลน (62–87 กม./ชม.)   พายุซูเปอร์ไซโคลน (>222 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนกำลังแรง (88–117 กม./ชม.)

พายุ แก้

พายุซูเปอร์ไซโคลนอำพัน แก้

พายุซูเปอร์ไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 5 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 16 – 21 พฤษภาคม
ความรุนแรง 240 กม./ชม. (150 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

วันที่ 16 พฤษภาคม 00:00 UTC พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล โดยถูกให้รหัสเรียกว่า BOB 01 หกชั่วโมงต่อมา กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ต่อมาในเวลาประมาณ 15:00 UTC ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน ได้รับชื่อว่า อำพัน (Amphan)[3] เช้าวันนั้น มีการเตือนแผ่นดินถล่มและน้ำท่วมในบางส่วนของอินเดียและศรีลังกา โดยคาดว่าจะมีฝนตกในอีกไม่กี่วันที่จะถึง[4] วันที่ 17 พฤษภาคม เวลา 09:00 UTC พายุอำพันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมาก ภายใน 12 ชั่วโมงตัวพายุทวีกำลังแรงขึ้น มีการพัฒนาขึ้นของตาพายุ และเริ่มทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมระบุว่าพายุอำพันนี้เป็นการก่อพายุหมุนระเบิด (explosive cyclogenesis) จากพายุไซโคลนเทียบเท่าระดับ 1 เป็นพายุไซโคลนเทียบเท่าระดับ 4 ภายใน 6 ชั่วโมง ต่อมาในช่วงเช้า กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย เวลา 10:30 UTC พายุอำพันได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไซโคลน โดยมีความเร็วลมต่อเนื่องในสามนาทีที่ 240 กม./ชม. และมีความกดอากาศต่ำที่สุด 925 hPa โดยนับเป็นปีที่สองติดต่อกันแล้วที่มีพายุในระดับพายุซูเปอร์ไซโคลน โดยพายุซูเปอร์ไซโคลนในฤดูก่อน คือ พายุซูเปอร์ไซโคลนจ้าในทะเลอาหรับ

พายุดีเปรสชัน ARB 01 แก้

ดีเปรสชัน (IMD)
   
ระยะเวลา 29 – 31 พฤษภาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงนิสรรคะ แก้

พายุไซโคลนกำลังแรง (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 1 – 4 มิถุนายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันหมุนเร็ว BOB 02 แก้

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 11 – 14 ตุลาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
999 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.5 นิ้วปรอท)

หลังจากสี่เดือนที่ไม่มีกิจกรรมของพายุหมุน ในวันที่ 11 ตุลาคม พายุดีเปรสชันได้ก่อตัวขึ้นเหนือด้านตะวันตกของอ่าวเบงกอลตอนกลาง ต่อมาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็วในวันที่ 12 ตุลาคม โดยมีตำแหน่งค่อนข้างคงที่อยู่ในบริเวณเดิม[5][6] ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะทำให้เกิดฝนตกในรัฐอานธรประเทศใกล้นครกากินาดา[7] ทั้งนี้มีการออกคำเตือนพายุไซโคลน และชาวประมงได้รับคำแนะนำว่าไม่ควรออกไปในทะเลลึก[8]

พายุดีเปรสชัน ARB 03 แก้

ดีเปรสชัน (IMD)
   
ระยะเวลา 17 – 19 ตุลาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชัน BOB 03 แก้

ดีเปรสชัน (IMD)
   
ระยะเวลา 22 – 24 ตุลาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงมากคติ แก้

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 21 – 24 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
978 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.88 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงมากนีวอร์ แก้

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 23 – 27 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนบูเรวี แก้

พายุไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 30 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (3 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ แก้

ภายในแอ่งนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะมีชื่อเมื่อมีความรุนแรงในระดับพายุไซโคลน มีความเร็วลม 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) เป็นชื่อที่คัดเลือกโดยสมาชิกขององค์คณะพายุหมุนเขตร้อนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในนิวเดลี ได้มีการเริ่มต้นกำหนดชื่อในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2547 ชื่อในแอ่งนี้ไม่มีการถอดถอนชื่อพายุหมุนเขตร้อน เนื่องจากรายการชื่อเป็นเพียงการกำหนดไว้ใช้เพียงครั้งเดียว ก่อนที่จะร่างรายชื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน ถ้าหากมีพายุจากแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเคลื่อนเข้ามา ก็จะใช้ชื่อเดิมที่มากับตัวพายุ โดยชื่อ อำพัน เป็นชื่อสุดท้ายจากชุดรายชื่อแรกที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2547 ส่วนชื่อ นิสรรคะ เป็นชื่อแรกจากชุดรายชื่อใหม่ที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2563

โดยในฤดูการนี้มีชื่อถูกใช้ทั้งสิ้น 5 ชื่อ ได้แก่ อำพัน และตั้งแต่นิสรรคะ ถึง บูเรวี ดังนี้

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียเหนือในฤดูกาล 2563
รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ
BOB 01 อำพัน
(Amphan)
ARB 02 นิสรรคะ
(Nisarga)
ARB 04 คติ
(Gati)
BOB 04 นีวอร์
(Nivar)
BOB 05 บูเรวี
(Burevi)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Annual Frequency of Cyclonic Disturbances (Maximum Wind Speed of 17 Knots or More), Cyclones (34 Knots or More) and Severe Cyclones (48 Knots or More) Over the Bay of Bengal (BOB), Arabian Sea (AS) and Land Surface of India" (PDF). India Meteorological Department. สืบค้นเมื่อ 30 October 2015.
  2. RSMC — Tropical Cyclones New Delhi (2010). Report on Cyclonic Disturbances over North Indian Ocean during 2009 (PDF) (Report). India Meteorological Department. pp. 2–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-04-06. สืบค้นเมื่อ May 24, 2011.
  3. "RSMC TROPICAL CYCLONE ADVISORY BULLETIN" (PDF). Regional Specialised Metrological Center. สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
  4. "Cyclone Amphan warning issued in India and Sri Lanka One person has died and a woman has gone missing as rains lash Sri Lanka". สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
  5. "BULLETIN NO.:3 (BOB/02/2020)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  6. "Significant Tropical Cyclone Advisory on 91 B".
  7. "Observed and Forecast track along with cone of uncertainty of deep depression over Bay of Bengal based on 06:00 UTC of 12th Oct, 2020".
  8. "Cyclone warning issued,The Hindu".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้