ร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคา

ร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคา (รัสเซีย: Курило-Камчатский жёлоб, Kurilo-Kamchatskii Zhyolob) เป็นร่องลึกก้นสมุทรที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ทอดตัวยาวขนานกับหมู่เกาะคูริล ทางเหนือบรรจบกับร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียนบริเวณหมู่เกาะคอมมานเดอร์ ส่วนทางใต้บรรจบกับร่องลึกบาดาลญี่ปุ่นตรงบริเวณทางตะวันออกของเกาะฮกไกโด[1]

ลักษณะภูมิประเทศของร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคา

ร่องลึกนี้เกิดจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายยุคยุคครีเทเชียส การมุดตัวของแผ่นแปซิฟิกเข้าไปใต้แผ่นโอค็อตสค์ทำให้เกิดหมู่เกาะรูปโค้งคูริล ร่องลึกและกิจกรรมทางภูเขาไฟที่เข้มข้น

โครงสร้าง แก้

ที่ร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคา แผ่นแปซิฟิกทำการมุดตัวลงไปใต้แผ่นโอค็อตสค์อันเป็นแผ่นธรณีสัณฐานขนาดเล็กที่แต่เดิมถูกพิจารณาว่าส่วนหนึ่งของแผ่นอเมริกาเหนือ ทางเหนือของร่องลึกมีอัตราการมุดตัวอยู่ที่ ≈75 มม. ต่อปี ส่วนทางใต้ของรอยเลือนมีอัตราการมุดอยู่ที่ ≈83 มม. ต่อปี

แผ่นดินไหวที่เกี่ยวข้อง แก้

บันทึกแผ่นดินไหวที่เกี่ยวข้องกับร่องลึก:[1][2]

วัน สถานที่ แมกนิจูด
3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 คัมชัตคา รัสเซีย
8.4
2 มีนาคม ค.ศ. 1933 ซันริกุ-โอกิ ญี่ปุ่น
8.6
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1952 คัมชัตคา รัสเซีย
9.0
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958 หมู่เกาะคูริล รัสเซีย
8.4
13 ตุลาคม ค.ศ. 1963 หมู่เกาะคูริล รัสเซีย
8.5
4 ตุลาคม ค.ศ. 1994 หมู่เกาะคูริล รัสเซีย
8.3
25 กันยายน ค.ศ. 2003 ฮกไกโด ญี่ปุ่น
8.3
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 หมู่เกาะคูริล รัสเซีย
8.3
24 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 ทะเลโอค็อตสค์
8.3
18 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 คัมชัตคา รัสเซีย
7.8

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Rhea, S., et al., 2010, Seismicity of the Earth 1900–2007, Kuril-Kamchatka arc and vicinity, U.S. Geological Survey Open-File Report 2010-1083-C, 1 map sheet, scale 1:5,000,000 http://pubs.usgs.gov/of/2010/1083/c/
  2. "M8.3 – Sea of Okhotsk". USGS. 2013-05-25. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

47°30′N 155°21′E / 47.500°N 155.350°E / 47.500; 155.350