รูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก

โจน รูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก (Joan Ruth Bader Ginsburg; /ˈbdər ˈɡɪnzbɜːrɡ/; 15 มีนาคม 1933 – 18 กันยายน 2020)[1] เป็นนักนิติศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการสมทบในศาลสูงสุดสหรัฐตั้งแต่ปี 1993 จนกระทั่งเธอเสียชีวิตในปี 2020 ประธานาธิบดีบิล คลินตัน เสนอชื่อเธอเข้าเป็นตุลาการสบทบ และโดยทั่วไปมองว่า เธอเป็นผู้พิพากษาสายกลางซึ่งประสานให้เกิดฉันทามติในช่วงเวลาที่เธอได้รับการเสนอชื่อ ภายหลัง เธอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายเสรีนิยมในศาลสูงสุดสหรัฐ ในขณะที่ศาลเองเปลี่ยนมุมมองไปทางฝ่ายขวา (อนุรักษนิยม) มากขึ้น กินส์เบิร์กเป็นสตรีคนที่สองที่ได้มีตำแหน่งในศาลสูงสุดสหรัฐ ต่อจากแซนดรา เดย์ โอคอนเนอร์ ระหว่างอยู่ในตำแหน่งนั้น กินส์เบิร์กเป็นผู้เขียนความเห็นเสียงข้างมากที่สำคัญหลายครั้ง เช่น ใน คดีระหว่างสหรัฐกับเวอร์จิเนีย (1996), คดีระหว่างโอล์มสเตดกับแอลซี (1999) และ คดีระหว่างเฟรนดส์ออฟดิเอิร์ธกับเลดลอว์เอนไวรอนเมนทัลเซอร์วิสเซสอิงก์ (2000)

รูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก
Ruth Bader Ginsburg
Ginsburg seated in her robe
ภาพทางการของรูธเมื่อ ปี 2016
ตุลาการสมทบในศาลสูงสุดสหรัฐ
ดำรงตำแหน่ง
10 สิงหาคม 1993 – 18 กันยายน 2020
เสนอชื่อโดยบิล คลินตัน
ก่อนหน้าบีเริน ไวต์
ถัดไปยังไม่ประกาศ
ผู้พิพากษาศาลแขวงคอลัมเบียดิสตริกต์
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน 1980 – 9 สิงหาคม 1993
เสนอชื่อโดยจิมมี คาร์เทอร์
ก่อนหน้าเฮรอลด์ เลเวนธอล
ถัดไปเดวิด เอส. เทเทล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
โจน รูธ เบเดอร์ (Joan Ruth Bader)

15 มีนาคม ค.ศ. 1933(1933-03-15)
บรูกลิน, นิวยอร์กซิตี, สหรัฐ
เสียชีวิต18 กันยายน ค.ศ. 2020(2020-09-18) (87 ปี)
วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
สาเหตุการเสียชีวิตอาการสืบเนื่องจากมะเร็งตับอ่อน
ที่ไว้ศพสุสานแห่งชาติอาร์ลิงทัน (ตามที่วางแผนไว้)
คู่สมรสมาร์ทิน กินส์เบิร์ก (สมรส 1954; เสียชีวิต 2010)
บุตร
การศึกษามหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (BA)
มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
มหาวิทยาลัยคอลัมเบีย (LLB)
ลายมือชื่อ

ในช่วงเวลาตั้งแต่โอคอนเนอร์เกษียณอายุในปี 2006 จนถึงซอนยา ซอทอแมร์ ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนที่ในปี 2009 กินส์เบิร์กเป็นตุลาการสตรีคนเดียวในศาลสูงสุดสหรัฐ และในช่วงดังกล่าว กินส์เบิร์กแสดงความขึงขังต่อฝ่ายเห็นแย้งยิ่งกว่าที่ผ่านมา ที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือ คดีระหว่างเล็ดเบตเทอร์กับบริษัทกูดเยียร์ไทเออร์แอนด์รับเบอร์ (2007)

กินส์เบิร์กทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ในวิชาชีพทางกฎหมายของเธอไปกับการเป็นปากเสียงให้แก่ความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิสตรี และมีชัยชนะในข้อโต้แย้งหลายประการที่นำเสนอต่อศาลสูงสุดสหรัฐ เธอยังเคยเป็นทนายความอาสาให้แก่สหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน และเคยเป็นกรรมการบริหารรวมถึงหัวหน้าที่ปรึกษาของสหภาพดังกล่าวในช่วงทศวรรษ 1970 ต่อมาในปี 1980 ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เทอร์ แต่งตั้งเธอเป็นผู้พิพากษาศาลแขวงดีซี เธอดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเข้าสู่ศาลสูงสุดสหรัฐ

กินส์เบิร์กได้รับความสนใจในวัฒนธรรมสมัยนิยมของอเมริกันเพราะแสดงความเห็นแย้งด้วยอารมณ์ลึกซึ้งในหลาย ๆ คดี ซึ่งมองกันอย่างกว้างขวางว่า สะท้อนมุมมองด้านเสรีนิยมของกฎหมายชนิดที่ใช้เป็นแบบอย่างได้ นักศึกษากฎหมายผู้หนึ่งเรียกขานเธอในเชิงหยอกล้อว่า "เดอะนอทอเรียส อาร์.บี.จี." (The Notorious R.B.G.; "อาร์.บี.จี. ผู้ดังกระฉ่อน") ตามอย่างเดอะนอทอเรียส บี.ไอ.จี. แรปเปอร์ชาวบรุกลินผู้ล่วงลับ และภายหลังเธอก็รับชื่อนั้นมาใช้เอง[2] เธอได้รับการยกย่องมากในฐานะนักสตรีนิยม (เฟมินิสต์)

กินส์เบิร์กเสียชีวิตที่บ้านในวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2020 ขณะอายุ 87 ปี จากอาการแทรกซ้อนของมะเร็งตับอ่อนระยะแพร่กระจาย[3][4]

ศาลอุทธรณ์สหรัฐ แก้

ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ได้เสนอชื่อเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2523 ให้กินส์เบิร์กเข้าดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์สหรัฐ ภาคแขวงโคลัมเบีย ซึ่งว่างลงเนื่องจากการเสียชีวิตของผู้พิพากษาแฮโรวด์ เลเวนธาล[5] วุฒิสภาสหรัฐยืนยันให้กินส์เบิร์กเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2523 และได้รับการตอบรับให้เข้าดำรงตำแหน่งในวันเดียวกันนั้น[5] กินส์เบิร์กยุติบทบาทในศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2536 เนื่องจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในศาลสูงสหรัฐ[5][6][7]

ในระหว่างที่กินส์เบิร์กเป็นผู้พิพากษาประจำแขวงโคลัมเบีย กินส์เบิร์กมักมีความเห็นพ้องกับผู้พิพากษาด้วยกัน เช่น ผู้พิพากษาโรเบิร์ด เอช. บอร์ก และผู้พิพากษาแอนโทนิน สกาเลีย ซึ่งเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม [8][9] ในระหว่างวาระการดำรงตำแหน่ง กินส์เบิร์กได้ชื่อว่าเป็น "นักกฎหมายที่มีความระมัดระวัง" และมีความคิดไปในโทนกลาง [10] ผู้พิพากษาเดวิด เอส. ทาเทล ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนกินส์เบิร์กหลังจากกินส์เบิร์กได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลสูงสุดสหรัฐ[11]

ศาลสูงสุด แก้

การเสนอชื่อและการออกเสียงยืนยัน แก้

 
กินส์เบิร์กรับการเสนอชื่ออย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีบิล คลินตัน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2536

ประธานาธิบดีบิล คลินตันเสนอชื่อกินส์เบิร์กเป็นตุลาการสมทบในศาลสูงสุดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2536 เพื่อแทนที่ตำแหน่งที่ว่างลงของผู้พิพากษาไบรอน ไวท์ที่เกษียณอายุไป โดยแจเน็ต เรโน อัยการสูงสุดสหรัฐในขณะนั้นเป็นผู้แนะนำกินส์เบิร์กให้กับประธานาธิบดีคลินตัน[12] โดยคำแนะนำของวุฒิสมาชิกพรรครีพรับริกันรัฐยูทาร์ ออร์ริน แฺฮช[13] ในขณะที่มีการเสนอชื่อดังกล่าว กินส์เบิร์กถือว่าเป็นผู้มีลักษณะธรรมดา แต่ประธานาธิบดีคลินตันมุ่งเน้นที่จะทำให้ศาลสูงสุดมีองค์คณะที่มีความหลากหลาย ซึ่งกินส์เบิร์กทำให้เกิดความหลากหลายโดยเป็นผู้พิพากษายิวคนแรกตั้งแต่ปี 2512 หลังจากการลาออกของผู้พิพากษาอาเบ ฟอร์ทาส ผู้พิพากษายิวที่เป็นสตรีรายแรก และผู้พิพากษาที่เป็นสตรีรายที่สองของศาลสูงสุด[10][14][15] กินส์เบิร์กกลายเป็นผู้พิพากษายิวที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดที่เคยมีมา[16] และคณะทำงานด้านนิติกระบวนของรัฐบาลกลางประจำเนติบัณฑิตสหรัฐยังได้ให้ความเห็นว่ากินส์เบิร์ก "มีคุณสมบัติอย่างยิ่ง" ซึ่งเป็นระดับคุณสมบัติสูงสุดที่ให้ได้กับผู้ที่จะกลายเป็นผู้พิพากษาในอนาคตต่อไป[17]

ในระหว่างการไต่สวนต่อหน้าคณะกรรมาธิการวุฒิสมาชิกด้านนิติศาสตร์เพื่อประกอบการออกเสียงยืนยันของวุฒิสภา กินส์เบิรก์ปฏิเสธที่จะตอบคำถามบางประการเกี่ยวกับประเด็นความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เช่น โทษประหารในสหรัฐ โดยเห็นว่าประเด็นดังกล่าวอาจเป็นประเด็นที่ตนต้องออกเสียงหากมีประเด็นดังกล่าวขึ้นมายังศาลสูงสุด[18]

 
ประธานศาลสูงสุด วิลเลียม เรห์นควิสต์ สาบานกินส์เบิร์กเข้ารับตำแหน่งตุลาการสมทบในศาลสูงสุด โดยมีมาร์ติน กินส์เบิร์กผู้เป็นสามี และประธานาธิบดีคลินตันมองอยู่

ในขณะเดียวกัน กินส์เบิร์กได้ตอบคำถามเกี่ยวกับประเด็นที่น่าจะเป็นข้อถกเถียงบางประการ เป็นต้นว่า กินส์เบิร์กยืนยันความเชื่อของตนเรื่องสิทธิส่วนบุคคลภายใต้รัฐธรรมนูญ และยังได้อภิปรายหลักการนิติปรัชญาส่วนตัวและความเห็นเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันทางเพศอีกด้วย[19]: 15–16  กินส์เบิร์กยังพร้อมที่จะหารือประเด็นต่าง ๆ ที่ตนได้เคยเขียนไว้แล้วอย่างเปิดเผยด้วย[18] วุฒิสภาสหรัฐออกเสียงยืนยันกินส์เบิร์กด้วยเสียง 96 ต่อ 3 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2536 [a][5] กินส์เบิร์กได้รับการตอบรับเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2536[5] และสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2536[21]

ชื่อกินส์เบิร์กได้รับการกล่าวถึงอีกครั้งในการออกเสียงยืนยันผู้พิพากษาจอห์น รอเบิตส์ แม้ว่ากินส์เบิร์กเองจะไม่ใช่ผู้ได้รับการเสนอชื่อรายแรกที่ไม่ตอบคำถามบางข้อในการไต่สวนต่อหน้าสภาคองเกรสก็ตาม[b] ในปี 2524 ในขณะที่รอเบิตส์ยังเป็นทนายความที่มีประสบการณ์ไม่มาก รอเบิตส์ได้แนะนำว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นตุลาการไม่ควรตอบคำถามใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการเฉพาะทั้งสิ้น [22] อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์หัวอนุรักษ์นิยมและวุฒิสมาชิกก็ได้ใช้ถ้อยคำว่า "วิธีแบบกินส์เบิร์ก" เพื่อแก้ต่างข้อโต้แย้งดังกล่าว[17][22] ในสุนทรพจน์ที่กินส์เบิร์กกล่าวที่มหาวิทยาลัยเวคฟอเรสต์เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2548 กินส์เบิร์กกล่าวว่าการที่รอเบิตส์ปฏิเสธไม่ตอบคำถามบางคำถามในการไต่สวนต่อหน้าวุฒิสภานั้นเป็นเรื่องที่ "ถูกต้องโดยไม่มีข้อกังขาใด ๆ"[23]

หลักกฎหมายในศาลสูงสุด แก้

กินส์เบิร์กวิเคราะห์การปฏิบัติหน้าที่ของตนดังกล่าวว่าเป็นการใช้ความระมัดระวังในการวินิจฉัยคดี[24] และได้กล่าวในถ้อยแถลงก่อนได้รับการเสนอชื่อเป็นตุลาการศาลสูงสุดว่า "คำขอต่าง ๆ ที่ได้พิจารณาแล้วโดยหลักการถือว่ามีความถูกต้องทั้งในเชิงรัฐธรรมนูญและการวินิจฉัยตามกฎหมายคอมมอนลอว์ การยืดหยุ่นของหลักการที่กระทำขึ้นโดยเร็วเกินไปนั้น ประสบการณ์ก็ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าย่อมอาจเกิดความไม่แน่นอน" "[25] คาส ซันสเตน นักกฎหมาย ได้ชี้ว่ากินส์เบิร์กเป็นบุคคลจำพวก "มีแนวคิดไม่ซับซ้อนที่มีเหตุผล" และเป็นนักกฎหมายที่สร้างหลักการบนรากฐานเดิมอย่างระมัดระวังโดยไม่ตีความรัฐธรรมนูญไปตามความเห็นของตน [26]: 10–11 

 
ซ้ายไปขวา: ซานดรา เดย์ โอ'คอนนอร์, โซเนีย โซโตเมเยอร์, กินส์เบิร์ก และเอเลนา เคแกน (1 ตุลาคม 2553)

จากการเกษียณอายุของผู้พิพากษาซานดรา เดย์ โอ'คอนนอร์ ในปี 2549 ทำให้กินส์เบิร์กกลายเป็นสตรีเพียงคนเดียวในศาลสูงสุด [27][c] ลินดา กรีนเฮาส์แห่งหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ กล่าวว่าวาระการดำรงตำแหน่งปี 2549-2550 ของศาลเป็น "ระยะเวลาที่ผู้พิพากษารูธ แบเดอร์ กินส์เบิร์ก ได้มีปากเสียงมากที่สุดและได้ใช้ปากเสียงดังกล่าวนั้น[29] ในวาระดังกล่าวยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการปฏิบัติหน้าที่ในศาลของกินส์เบิร์กที่กินส์เบิร์กเป็นผู้อ่านคำวินิจฉัยแย้งหน้าบัลลังค์หลายคราว อันเป็นวิธีการที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับผู้พิพากษาเสียงข้างมาก[29]

จากการเกษียณอายุของผู้พิพากษาจอห์น พอล สตีเวนส์ กินส์เบิร์กกลายเป็นสมาชิกที่มีอายุมากที่สุดของฝั่งที่มักเรียกว่าฝั่ง "เสรีนิยม" ของศาล[30][31][32] และเมื่อศาลมีความเห็น 5-4 ตามแนวความคิดของตนและแนวความคิดเสรีนิยมเป็นแนวความคิดเสียงข้างน้อย กินส์เบิร์กมักได้รับอำนาจในการกำหนดให้ผู้พิพากษารายใดรายหนึ่งทำความเห็นแย้งได้เนื่องจากกินส์เบิร์กเป็นผู้พิพากษาที่อายุมากที่สุด[31][d] กินส์เบิร์กเป็นผู้สร้างหลักการของผู้พิพากษาเสรีนิยมเสียงข้างน้อยที่มีคำวินิจฉัย "รวมกันเสียงเดียว" และในกรณีที่จะเป็น สามารถทำคำวินิจฉัยแบบรวมข้อพิจารณาทั้งหมดที่ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยทั้งหมดเห็นพ้องร่วมกันได้ด้วย[30][31]

การทำแท้ง แก้

กินส์เบิร์กให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นการทำแท้งและความเท่าเทียมกันทางเพศในหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ เมื่อปี 2552 โดยกล่าวถึงการทำแท้งว่า "หลักการพื้นฐานคือรัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวใด ๆ กับการตัดสินใจของสตรี"[34] แม้ว่ากินส์เบิร์กจะได้สนับสนุนสิทธิในการทำแท้งอย่างต่อเนื่อง และมีความเห็นพ้องในคำพิพากษาศาลสูงสุดในคดี Stenberg v. Carhart 530 U.S. 914 (2000) ที่วินิจฉัยว่ากฎหมายรัฐเนแบรสกาเกี่ยวกับการทำแท้งเมื่อลูกอ่อนเสียชีวิตก่อนออกจากครรภ์มารดานั้นไม่ชอบก็ตาม แต่เมื่อครบรอบ 40 ปีคำพิพากษาศาลสูงสุดในคดี Roe v. Wade 410 U.S. 113 (1973) กินส์เบิร์กวิจารณ์ว่าคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเป็นการยุติการเคลื่อนไหวเชิงประชาธิปไตยที่เพิ่มเริ่มต้นในการยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งซึ่งอาจก่อให้เกิดความเห็นพ้องที่หนักแน่นยิ่งขึ้นในการสนับสนุนให้มีสิทธิในการทำแท้งต่อไป[35] ในคดี Gonzales v. Carhart, 550 U.S. 124 (2007) กินส์เบิร์กเป็นผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยในคำวินิจฉัย 5-4 ที่ยืนหลักข้อจำกัดในการทำแท้งเมื่อลูกอ่อนเสียชีวิตก่อนออกจากครรภ์มารดา ในความเห็นแย้งดังกล่าว กินส์เบิร์กปฏิเสธคำวินิจฉัยเสียงข้างมากที่กลับไปใช้ข้อวินิจฉัยทางนิติบัญญัติว่ากระบวนการดังกล่าวไม่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิง โดยกินส์เบิร์กมุ่งวิจารณ์กระบวนการที่ทำให้สภาคองเกรสได้ข้อสรุป และความถูกต้องของข้อสรุปดังกล่าว[36] กินส์เบิร์กยังมีความเห็นพ้องกับคำพิพากษาในคดี Whole Woman's Health v. Hellerstedt, 579 U.S. 15-274 (2016) ซี่งยกเลิกกฎหมายของรัฐเท็กซัสในปี 2556 บางส่วนเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องผู้ให้บริการทำแท้ง โดยกินส์เบิร์กมีความเห็นส่วนตนสั้น ๆ วิจารณ์กฎหมายที่กำลังเป็นประเด็นดังกล่าวยิ่งขึ้นไปอีก [37] กินส์เบิร์กอ้างว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสุขภาพของผู้หญิงอย่างที่รัฐเท็กซัสอ้าง แต่กลับเป็นการจำกัดไม่ให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงการทำแท้งได้[36][37]

การเลือกปฏิบัติทางเพศ แก้

ในคดี United States v. Virginia, 518 U.S. 515 (1996) กินส์เบิร์กเป็นผู้ทำความเห็นของศาลที่วินิจฉัยว่านโยบายของสถาบันทหารเวอร์จิเนียซึ่งรับแต่เฉพาะเพศชาย เป็นการกระทำอันขัดข้อถ้อยคำว่าด้วยการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันของรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 14 สถาบันทหารดังกล่าวเป็นสถาบันที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการทหาร ดำเนินงานโดยรัฐบาล และเป็นสถาบันอันทรงเกียรติซึ่งมีนโยบายไม่รับผู้เข้าศึกษาเพศหญิง กินส์เบิร์กเห็นว่าตัวการระดับรัฐเช่นสถาบันทหารดังกล่าวจะใช้เพศมาเป็นเครื่องกีดกันไม่ให้เพศหญิงเข้าศึกษาในสถาบันทหารซึ่งมีกระบวนการศึกษาที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ได้[38] กินส์เบิร์กเน้นย้ำว่ารัฐบาลต้องแสดงให้เห็นถึง "เหตุผลที่ฟังขึ้นได้เป็นอย่างยิ่ง" ในการใช้เพศเป็นเครื่องมือทำนองดังกล่าว [39]

 
ภาพวาดของกินส์เบิร์กในปี 2543 ในระหว่างดำรงตำแหน่งตุลาการศาลสูงสุด

กินส์เบิร์กมีความเห็นแย้งคำพิพากษาศาลสูงสุดในคดี Ledbetter v. Goodyear, 550 U.S. 618 (2007) ซึ่งเป็นคดีที่ลิลลี่ เลดเบตเตอร์ ผู้เป็นโจทก์ ฟ้องคดีต่อนายจ้างโดยอ้างว่ามีการจ่ายค่าจ้างไม่เท่าเทียมกันด้วยเหตุทางเพศ โดยอาศัยกฎหมายในลักษณะ 7 ของรัฐบัญญัติว่าด้วยสิทธิพลเมืองปี 2507 โดยในคำวินิจฉัยด้วยเสียง 5-4 องค์คณะเสียงข้างมากตีความว่าอายุความเริ่มนับตั้งแต่ระยะเวลาที่ได้มีการจ่ายค่าจ้างทุกคราวไป แม้ว่าผู้หญิงจะไม่ทราบว่าตนได้รับการจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าผู้ร่วมงานที่เป็นผู้ชายจนกระทั่งเวลาผ่านไปบ้างแล้วก็ตาม กินส์เบิร์กเห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่สมเหตุผล โดยอ้างว่าปกติผู้หญิงมักไม่ทราบว่าตนได้รับค่าจ้างต่ำกว่า และย่อมไม่เป็นการยุติธรรมที่จะให้ผู้หญิงโต้แย้งใด ๆ เมื่อได้มีการจ่ายค่าจ้าง กินส์เบิร์กยังชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงอาจไม่กล้าดำเนินการใด ๆ เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมโดยฟ้องคดีเรียกเงินจำนวนเล็กน้อยท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เพศชายเป็นใหญ่ แต่กลับรอให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ [40] ในความเห็นแย้งดังกล่าว กินส์เบิร์กเรียกร้องให้สภาคองเกรสแก้ไขถ้อยคำในลักษณะ 7 เพื่อให้กฎหมายมีผลเป็นการลบล้างคำพิพากษาศาลต่อไป[41] เมื่อประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในปี 2551 ได้มีการออกรัฐบัญญัติค่าจ้างเท่าเทียม ลิลลี่ เลดเบตเตอร์เป็นกฎหมาย ทำให้ลูกจ้างสามารถชนะคดีการจ่ายค่าจ้างไม่เท่าเทียมกันได้ง่ายขึ้น[42][43] กินส์เบิร์กได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้จุดประกายให้มีกฎหมายดังกล่าวขึ้น[41][43]

การตรวจค้นและการยึดทรัพย์ แก้

แม้ว่ากินส์เบิร์กจะไม่ได้เป็นผู้ทำคำวินิจฉัยเสียงข้างมากในคดี Safford Unified School District v. Redding, 557 U.S. 364 (2009) แต่กินส์เบิร์กก็ได้ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอิทธิพลต่อผู้พิพากษารายอื่น ๆ ในคดีดังกล่าว [44] โดยศาลวินิจฉัยในคดีดังกล่าวว่า การที่โรงเรียนสั่งให้นักเรียนหญิงอายุ 13 ปีถอดบราและการเกงในเพื่อให้เจ้าหน้าที่หญิงตรวจค้นยาเสพติดเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ[44] ในคำให้สัมภาษณ์ที่เผยแพร่ก่อนศาลมีคำพิพากษา กินส์เบิร์กให้ความเห็นว่าองค์คณะตุลาการบางรายไม่ได้ตระหนักถึงการเปลื้องเครื่องแต่งกายเพื่อตรวจค้นเด็กหญิงอายุ 13 ปีอย่างเต็มที่ โดยกินส์เบิร์กกล่าวว่า "องค์คณะดังกล่าวไม่เคยอยู่ในฐานะของเด็กหญิงอายุ 13 ปีเลย"[45] ในคำพิพากษาเสียง 8-1 ในคดีดังกล่าว ศาลวินิจฉัยว่าการค้นตัวของโรงเรียนเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ ขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 4 และอนุญาตให้นักเรียนดำเนินการฟ้องคดีต่อโรงเรียนได้ โดยผู้พิพากษากินส์เบิร์กและผู้พิพากษาสตีเวนส์ยังได้อนุญาตให้นักเรียนฟ้องร้องเจ้าหน้าที่โรงเรียนเป็นรายบุคคลได้อีกด้วย[44]

ในคดี Herring v. United States, 555 U.S. 135 (2009) กินส์เบิร์กแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลในการปฏิเสธที่จะไม่ยอมรับหลักฐานในการพิจารณาคดี เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่อัปเดตระบบคอมพิวเตอร์ ในขณะที่ผู้พิพากษารอเบิตส์เน้นย้ำว่าการไม่ยอมรับหลักฐานเป็นไปเพื่อป้องปรามการกระทำโดยมิชอบของตำรวจ กินส์เบิร์กกลับมีความเห็นอย่างรุนแรงในการไม่ยอมรับหลักฐานดังกล่าวเพื่อเยียวยาการละเมิดสิทธิจำเลยตามรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 4 กินส์เบิร์กเห็นว่าการไม่ยอมรับหลักฐานเป็นกระบวนการที่ห้ามไม่ให้รัฐบาลหาประโยชน์จากความผิดพลาด และมีลักษณะเป็นการเยียวยาเพื่อปกป้องบูรณภาพในทางตุลาการและการเคารพต่อสิทธิพลเมือง[46]: 308  กินส์เบิร์กยังไม่ยอมรับข้ออ้างของผู้พิพากษารอเบิตส์ว่าการไม่ยอมรับหลักฐานย่อมไม่สามารถป้องปรามการกระทำผิดพลาดได้ โดยกล่าวว่าการให้ตำรวจต้องรับผิดชอบอย่างสูงต่อความผิดพลาดของตนย่อมจะทำให้ตำรวจใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น[46]: 309 

กฎหมายระหว่างประเทศ แก้

ในความเห็นทางกฎหมายต่าง ๆ กินส์เบิร์กยังได้เรียกร้องให้มีการใช้กฎหมายและหลักการระหว่างประเทศเพื่อทำให้กฎหมายสหรัฐสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นมุมมองที่ตุลาการร่วมคณะหัวอนุรักษ์บางรายไม่เห็นพ้องด้วย กินส์เบิร์กสนับสนุนการอาศัยการตีความกฎหมายของต่างประเทศเพื่อให้เกิดเหตุผลจูงใจและปัญญามากขึ้น แต่ไม่ใช่ในฐานะเป็นหลักการเดิมที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตาม[47] กินส์เบิร์กเห็นว่าการอาศัยกฎหมายระหว่างประเทศเป็นธรรมเนียมที่ฝังรากมาอย่างยาวนานในกฎหมายสหรัฐ และยกให้จอห์น เฮนรี วิกมอร์และประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ เป็นบุคคลจำพวกต่างประเทศนิยม[48] การอาศัยหลักกฎหมายระหว่างประเทศของกินส์เบิร์กมีมาตั้งแต่สมัยที่กินส์เบิร์กเป็นทนายความ โดยในคดี Reed v. Reed, 404 U.S. 71 (1971) ซึ่งกินส์เบิร์กได้ว่าความในศาบเป็นครั้งแรก กินส์เบิร์กอ้างถึงคดีในกฎหมายเยอรมันสองคดี[49] และในความเห็นส่วนตนในคำวินิจฉัยคดี Grutter v. Bollinger, 539 U.S. 306 (2003) ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่วินิจฉัยยืนหลักการให้สิทธิกับบุคคลที่ถูกเลือกปฏิบัติมาก่อนในการรับเข้าศึกษาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน กินส์เบิร์กเห็นว่ามีความเห็นที่ชี้ให้เห็นว่านโยบายรับเข้าที่อาศัยการให้สิทธิกับผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติมาก่อนย่อมจะต้องมีจุดสิ้นสุด และเห็นพ้องกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีขึ้นเพื่อกำจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและทางเพศ[48]

แผนการในอนาคต แก้

เมื่อผู้พิพากษาจอห์น พอล สตีเวนส์เกษียณอายุเมื่อปี 2553 กินส์เบิร์กด้วยวัย 77 ปี ได้กลายเป็นตุลาการศาลสูงสุดที่อายุมากที่สุด[50] และแม้ว่าจะมีข่าวลือว่ากินส์เบิร์กจะเกษียณอายุเนื้อด้วยวัยที่มากขึ้น สุขภาพที่ทรุดโทรม และการเสียชีวิตของสามีของกินส์เบิร์ก[51][52] กินส์เบิร์กก็ได้ปฏิเสธว่าจะเกษียณจากตำแหน่ง ในการสัมภาษณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 กินส์เบิร์กกล่าวว่าการปฏิบัติหน้าที่ในศาลสูงสุดทำให้เธอสามารถรับมือกับการเสียชีวิตของสามีได้ กินส์เบิร์กยังกล่าวด้วยว่าจะได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการคืนรูปวาดที่ประดับห้องทำงานของเธอมาแล้วในปี 2555[50] นอกจากนี้ กินส์เบิร์กยังแสดงความประสงค์ที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลานานเท่ากับผู้พิพากษาหลุยส์ แบรนดีส ซึ่งปฏิบัติหน้าที่มาเป็นเวลาเกือบ 23 ปี ซึ่งกินส์เบิร์กสามารถปฏิบัติหน้าที่จนครบระยะเวลาดังกล่าวได้ในเดือนเมษายน 2559[50][53] กินส์เบิร์กยังกล่าวอีกว่าตนมี "เป้าหมาย" ใหม่ที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้ยาวนานเท่ากับอดีตผู้พิพากษาจอห์น พอล สตีเวนส์ ซึ่งเคยร่วมงานกันมาก่อนและเกษียณอายุเมื่ออายุ 90 ปี หลังจากได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วเป็นเวลาเกือบ 35 ปี[53]

ในระหว่างวาระดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัค โอบามา นักกฎหมายและนักกิจกรรมหัวเก้าหน้าบางรายเรียกร้องให้กินส์เบิร์กเกษียณอายุ เพื่อให้ประธานาธิบดีโอบามาสามารถแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้ [54][55][56] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพรรคเดโมแครตยังมีเสียงข้างมากอยู่ในวุฒิสภาสหรัฐอยู่[57] นักกิจกรรมดังกล่าวอ้างว่าอายุและปัญหาสุขภาพในอดีตของกินส์เบิร์กเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการพยายามดำรงตำแหน่งหน้าที่เป็นเวลานาน [55] แต่กินส์เบิร์กได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว [31] และยังยืนยันว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาต่อไปตราบเท่าที่จิตใจยังสมบูรณ์พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่อยู่ [31] นอกจากนี้ กินส์เบิร์กยังให้ความเห็นว่าบรรยากาศการเมืองอาจทำให้ประธานาธิบดีโอบามาไม่สามารถแต่งตั้งนักกฎหมายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับกินส์เบิร์กได้อีก[58]

อ้างอิง แก้

  1. Ginsburg, Ruth Bader; Harnett, Mary; Williams, Wendy W. (2016). My Own Words. New York, NY: Simon & Schuster. ISBN 978-1501145247.
  2. Kelley, Lauren (October 27, 2015). "How Ruth Bader Ginsburg Became the 'Notorious RBG'". Rolling Stone (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2019. สืบค้นเมื่อ January 24, 2019.
  3. Greenhouse, Linda (September 18, 2020). "Ruth Bader Ginsburg, Supreme Court's Feminist Icon, Is Dead at 87". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2020. สืบค้นเมื่อ September 19, 2020.
  4. Totenberg, Nina (September 18, 2020). "Justice Ruth Bader Ginsburg, Champion Of Gender Equality, Dies At 87". National Public Radio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2020. สืบค้นเมื่อ September 19, 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Federal Judicial Center
  6. "Judges of the D. C. Circuit Courts". Historical Society of the District of Columbia Circuit. สืบค้นเมื่อ February 19, 2016.
  7. Fulwood III, Sam (August 4, 1993). "Ginsburg Confirmed as 2nd Woman on Supreme Court". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0458-3035. สืบค้นเมื่อ September 16, 2016.
  8. Drehle, David Von (July 18, 1993). "Conventional Roles Hid a Revolutionary Intellect". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ September 16, 2016.
  9. Marcus, Ruth; Schmidt, Susan (June 22, 1986). "Scalia Tenacious After Staking Out a Position". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ September 16, 2016.
  10. 10.0 10.1 Richter, Paul (June 15, 1993). "Clinton Picks Moderate Judge Ruth Ginsburg for High Court: Judiciary: President calls the former women's rights activist a healer and consensus builder. Her nomination is expected to win easy Senate approval". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 19, 2016.
  11. Beaupre Gillespie, Becky (July 27, 2016). "My Chicago Law Moment: 50 Years Later, Federal Appellate Judge David Tatel, '66, Still Thinks About the Concepts He Learned as a 1L". www.law.uchicago.edu (ภาษาอังกฤษ). University of Chicago Law School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2016. สืบค้นเมื่อ June 9, 2017.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Toobin
  13. Orrin Hatch (2003), Square Peg: Confessions of a Citizen Senator, Basic Books, p. 180, ISBN 0465028675
  14. Rudin, Ken (May 8, 2009). "The 'Jewish Seat' On The Supreme Court". NPR. สืบค้นเมื่อ February 19, 2016.
  15. Michael J. Pomante II; Scot Schraufnagel (April 6, 2018). Historical Dictionary of the Barack Obama Administration. Rowman & Littlefield Publishers. pp. 166–. ISBN 978-1-5381-1152-9.
  16. "Ruth Bader Ginsburg On Dissent, The Holocaust And Fame – The Forward". Forward.com. February 11, 2018. สืบค้นเมื่อ July 30, 2018.
  17. 17.0 17.1 Comiskey, Michael (June 1994). "The Usefulness of Senate Confirmation Hearings for Judicial Nominees: The Case of Ruth Bader Ginsburg". PS: Political Science & Politics. American Political Science Association. 27 (2): 224–27. JSTOR 420276.
  18. 18.0 18.1 Lewis, Neil A. (July 22, 1993). "The Supreme Court; Ginsburg Deflects Pressure to Talk on Death Penalty". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 15, 2016.
  19. Bennard, Kristina Silja (August 2005), The Confirmation Hearings of Justice Ruth Bader Ginsburg: Answering Questions While Maintaining Judicial Impartiality (PDF), Washington, D.C.: American Constitution Society, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 15, 2018, สืบค้นเมื่อ June 10, 2017
  20. "Project Vote Smart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ December 19, 2010.
  21. "Members of the Supreme Court of the United States". Supreme Court of the United States. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-29. สืบค้นเมื่อ April 26, 2010.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Stolberg, Sheryl Gay (September 5, 2005). "Roberts Rx: Speak Up, but Shut Up". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 10, 2016.
  23. "Bench Memos: Ginsburg on Roberts Hearings". National Review. September 29, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2007. สืบค้นเมื่อ September 18, 2009.
  24. Lewis, Neil A. (July 21, 1993). "The Supreme Court: Ginsburg Promises Judicial Restraint If She Joins Court". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ June 11, 2017.
  25. "The Supreme Court: In Her Own Words: Ruth Bader Ginsburg". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). June 15, 1993. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ June 11, 2017.
  26. Sunstein, Cass R. (2009). "A Constitution of Many Minds: Why the Founding Document Doesn't Mean What It Meant Before". www.questia.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 2, 2017.
  27. Biskupic, Joan (May 7, 2010). "Ginsburg: Court Needs Another Woman". USA Today. ABCNews.go.com. สืบค้นเมื่อ April 2, 2017.
  28. Harris, Paul (August 8, 2009). "Sonia Sotomayor sworn in as first Hispanic supreme court judge". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ April 2, 2017.
  29. 29.0 29.1 Greenhouse, Linda (May 31, 2007). "In dissent, Ginsburg finds her voice at Supreme Court". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 1, 2017.
  30. 30.0 30.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Toobin, Jeffrey; Heavyweight
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 Bravin, Jess (May 2, 2014). "For Now, Justice Ginsburg's 'Pathmarking' Doesn't Include Retirement". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ June 26, 2016.
  32. Bisupic, Joan (July 4, 2013). "Exclusive: Supreme Court's Ginsburg vows to resist pressure to retire". Reuters. สืบค้นเมื่อ July 4, 2016.
  33. Stern, Mark Joseph (April 18, 2018). "A Milestone for Ruth Bader Ginsburg". Slate. สืบค้นเมื่อ September 4, 2018.
  34. Bazelon, Emily (July 7, 2009). "The Place of Women on the Court". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 1, 2010.
  35. Pusey, Allen. "Ginsburg: Court should have avoided broad-based decision in Roe v. Wade", ABA Journal, May 13, 2013 เก็บถาวร มีนาคม 6, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved July 5, 2013.
  36. 36.0 36.1 Hirshman, Linda (June 27, 2016). "How Ruth Bader Ginsburg just won the next abortion fight". Washington Post. สืบค้นเมื่อ March 31, 2017.
  37. 37.0 37.1 Green, Emma (June 27, 2016). "Why Ruth Bader Ginsburg Came Out Hard Against TRAP Laws When No Other Justice Would". The Atlantic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ March 31, 2017.
  38. Jones Merritt, Deborah; Lieberman, David M. (January 1, 2014). "Ruth Bader Ginsburg 's Jurisprudence of Opportunity and Equality". Colum. L. Rev. 104. สืบค้นเมื่อ April 3, 2016.
  39. Biskupic, Joan (June 27, 1996). "Supreme Court Invalidates Exclusion of Women by VMI". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ July 12, 2016.
  40. Barnes, Robert (May 30, 2007). "Over Ginsburg's Dissent, Court Limits Bias Suits". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ April 1, 2017.
  41. 41.0 41.1 Toobin, Jeffrey (June 24, 2013). "Will Ginsburg's Ledbetter Play Work Twice?". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ April 1, 2017.
  42. de Vogue, Ariane; Simon, Jeff (February 12, 2015). "Ruth Bader Ginsburg: Down with 'Notorious R.B.G.'". CNN. สืบค้นเมื่อ April 1, 2017.
  43. 43.0 43.1 Wolf, Richard (July 31, 2013). "Ginsburg's dedication undimmed after 20 years on court". USA Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 1, 2017.
  44. 44.0 44.1 44.2 Liptak, Adam (June 26, 2009). "Supreme Court Says Child's Rights Violated by Strip Search". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ December 8, 2016.
  45. Biskupic, Joan (October 5, 2009). "Ginsburg: Court needs another woman". usatoday30.usatoday.com. สืบค้นเมื่อ December 8, 2009.
  46. 46.0 46.1 Tribe, Laurence; Matz, Joshua (June 3, 2014). Uncertain Justice: The Roberts Court and the Constitution (ภาษาอังกฤษ). Macmillan. ISBN 978-0805099096.
  47. Liptak, Adam (April 11, 2009). "Ginsburg Shares Views on Influence of Foreign Law on Her Court, and Vice Versa". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 7, 2012.
  48. 48.0 48.1 Anker, Deborah E. (2013). "Grutter v. Bollinger: Justice Ruth Bader Ginsburg's Legitimization of the Role of Comparative and International Law in U.S. Jurisprudence" (PDF). Harvard Law Review. 127: 425. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-05. สืบค้นเมื่อ April 10, 2016.
  49. Judith, Resnik (2013). "Opening the Door: Ruth Bader Ginsburg, Law's Boundaries, and the Gender of Opportunities". Faculty Scholarship Series: 83.
  50. 50.0 50.1 50.2 Sherman, Mark (August 3, 2010). "Ginsburg says no plans to leave Supreme Court". Boston Globe. Associated Press. สืบค้นเมื่อ February 13, 2011.
  51. de Vogue, Ariana (February 4, 2010). "White House Prepares for Possibility of 2 Supreme Court Vacancies". ABC. สืบค้นเมื่อ August 6, 2010.
  52. "At Supreme Court, no one rushes into retirement". USA Today. July 13, 2008. สืบค้นเมื่อ August 6, 2010.
  53. 53.0 53.1 Biskupic, Joan. Exclusive: Supreme Court's Ginsburg vows to resist pressure to retire เก็บถาวร ตุลาคม 17, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters, July 4, 2013.
  54. Bernstein, Jonathan (November 29, 2013). "Yes, Stephen Breyer and Ruth Bader Ginsburg should still retire". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ June 26, 2016.
  55. 55.0 55.1 Cohen, Michael (February 14, 2014). "Ruth Bader Ginsburg should do all liberals a favor and retire now". The Guardian. สืบค้นเมื่อ June 26, 2016.
  56. Chemerinsky, Erwin (March 15, 2014). "Much depends on Ginsburg". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ June 26, 2016.
  57. Associated Press (July 2, 2011). "Justice Ginsburg not leaving court 'anytime soon'". USA Today. สืบค้นเมื่อ June 12, 2016.
  58. Davidson, Amy (September 24, 2014). "Ruth Bader Ginsburg's Retirement Dissent". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ June 26, 2016.

แหล่งข้อมูล แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า รูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก ถัดไป
ตำแหน่งทางนิติศาสตร์
สมัยก่อนหน้า
แฮรอลด์ เลเวนธอล
ผู้พิพากษาประจำศาลอุทรณ์ดีซี
1980–1993
สมัยต่อมา
เดวิด เอส. เทเทิล
สมัยก่อนหน้า
บีเริน ไวท์
ตุลาการสมทบในศาลสูงสุดสหรัฐ
1993–2020
สมัยต่อมา
ยังไม่ประกาศ


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน