ราเมศวรัม [รา-เมด-สะ-วะ-รัม][ต้องการอ้างอิง] (ฮินดี: रामेश्वरम) หรือ ราเมจุวรัม (ทมิฬ: இராமேசுவரம்) เป็นเทศบาลในอำเภอรามนาตปุรัม รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ราเมศวรัมตั้งอยู่บนเกาะปามปันในอ่าวมันนาร์ ปลายสุดของคาบสมุทรอินเดีย[1] เกาะนี้แยกจากอินเดียแผ่นดินใหญ่ด้วยช่องแคบปามปัน และอยู่ห่างจากเกาะมันนาร์ของประเทศศรีลังกาประมาณ 40 กิโลเมตร เกาะปามปันหรืออีกชื่อคือเกาะราเมศวรัมเชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ด้วยสะพานปามปัน ราเมศวรัมเป็นสถานีปลายทางของรถไฟจากเมืองเจนไนและมตุไร เช่นเดียวกับพาราณสี ราเมศวรัมเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในอินเดียของชาวฮินดู และเป็นหนึ่งในหมู่สถานที่แสวงบุญสี่แห่งของศาสนาฮินดูที่เรียกว่า จารธาม

ราเมศวรัม
เมือง
Montage image showing temple, bridge, and fishing boats top to bottom.
จากบน: รามนาตจุวามิโกยิล, สะพานปามปัน และกลุ่มเรือประมง
สมญา: 
Rameswaram, Ramesvaram, Rameshwaram, ராமேஸ்வரம்
ราเมศวรัมตั้งอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู
ราเมศวรัม
ราเมศวรัม
ราเมศวรัมตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ราเมศวรัม
ราเมศวรัม
พิกัด: 9°17′17″N 79°18′47″E / 9.288°N 79.313°E / 9.288; 79.313
ประเทศธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
รัฐทมิฬนาฑู
อำเภอรามนาตปุรัม
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลชั้นที่สอง
 • องค์กรเทศบาลราเมศวรัม
พื้นที่
 • ทั้งหมด55 ตร.กม. (21 ตร.ไมล์)
ความสูง10 เมตร (30 ฟุต)
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด44,856 คน
 • ความหนาแน่น820 คน/ตร.กม. (2,100 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมRameswaram mar
ภาษา
 • ภาษาราชการภาษาทมิฬ
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN CODE623526
ทะเบียนพาหนะTN 65

ตามคัมภีร์โบราณของฮินดู พระรามสร้างรามเสตุที่นี่เพื่อข้ามทะเลไปยังลังกา เพื่อช่วยเหลือนางสีดาที่ถูกลักพาโดยราวณะ ที่ใจกลางเมืองราเมศวรัมมีรามนาตจุวามิโกยิล โบสถ์พราหมณ์ที่สร้างเพื่อบูชาพระศิวะ โบสถ์พราหมณ์แห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้นับถือลัทธิไศวะและลัทธิไวษณพ[2][3]

ราเมศวรัมเป็นจุดที่ใกล้ที่สุดของอินเดียในการข้ามไปยังศรีลังกา หลักฐานทางธรณีวิทยาเสนอว่าในอดีตรามเสตุเคยเป็นแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างดินแดนอินเดียกับศรีลังกา[4] ราเมศวรัมปกครองแบบเทศบาลในค.ศ. 1994 เมืองมีเนื้อที่ 55 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 44,856 คน (ค.ศ. 2011) การท่องเที่ยวและการประมงเป็นธุรกิจหลักของเมืองนี้

อ้างอิง แก้

  1. "Temple Towns of India". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
  2. Gibson 2002, p. 42.
  3. Ayyar 1991, pp. 492–495.
  4. "Is Ram Setu, The Land Bridge Connecting India And Sri Lanka, Manmade? Science Channel Says Yes".