รายได้มูลฐาน (อังกฤษ: basic income)[เชิงอรรถ 1] เป็นการจ่ายเงินสดเป็นระยะแก่ทุกคนในระดับปัจเจกบุคคล โดยไม่มีการตรวจสอบสิทธิ (means test) หรือข้อกำหนดการทำงาน[1] รายได้ดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ไม่มีเงื่อนไข: รายได้มูลฐานจะแปรผันตามอายุ แต่ไม่ขึ้นกับเงื่อนไขอื่น ฉะนั้นทุกคนรุ่นราวคราวเดียวกันจะได้รับรายได้มูลฐานเท่ากัน ไม่ว่าเป็นเพศ มีสถานภาพการจ้างงาน โครงสร้างครอบครัว การมีส่วนร่วมต่อสังคม ราคาเคหะเป็นอย่างไร เป็นต้น
  • อัตโนมัติ: จะมีการจ่ายรายได้มูลฐานของบุคคลรายสัปดาห์หรือรายเดือนโดยอัตโนมัติเข้าบัญชีธนาคารหรือช่องทางคล้ายกัน
  • ไม่สามารถเพิกถอนได้: ไม่มีการตรวจสอบสิทธิผู้ได้รับรายได้มูลฐาน คือ รายได้มูลฐานจะไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่ารายรับของบุคคลเพิ่มขึ้น ลดลงหรือคงเดิม
  • เป็นปัจเจก: จะจ่ายรายได้มูลฐานโดยคิดตามรายบุคคล ไม่ใช่คิดตามคู่สมรสหรือครัวเรือน
  • เป็นสิทธิ: ผู้อยู่อาศัยตามกฎหมายทุกคนจะได้รับรายได้มูลฐาน โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาการอยู่อาศัยตามกฎหมายขั้นต่ำ และการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนใหญ่ของปี[2]

รายได้มูลฐานสามารถนำไปปฏิบัติทั้งในระดับชาติ ภูมิภาคหรือท้องถิ่นก็ได้ รายได้ไม่มีเงื่อนไขซึ่งเพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานของบุคคล (ณ หรือเหนือเส้นความยากจน) บางทีเรียกรายได้มูลฐานสมบูรณ์ (Full Basic Income) แต่ถ้ามีน้อยกว่าปริมาณดังกล่าว บางทีเรียก รายได้มูลฐานบางส่วน (Partial Basic Income) ระบบสวัสดิการซึ่งมีลักษณะคล้ายกับรายได้มูลฐาน คือ ภาษีเงินได้เป็นลบ (negative income tax) ซึ่งการจัดสรรเงินของรัฐบาลจะค่อย ๆ ลดลงตามรายได้จากแรงงานที่เพิ่มขึ้น

ระบบสวัสดิการบางระบบที่สัมพันธ์กับรายได้มูลฐานแต่มีเงื่อนไขบางประการ สำหรับระบบที่เพิ่มรายได้ครัวเรือนให้ถึงค่าขั้นต่ำที่เจาะจง เรียก ระบบรายได้ขั้นต่ำที่ได้รับประกัน (guaranteed minimum income) เช่น บอลซาฟามิเลีย (Bolsa Família) ในประเทศบราซิลถูกจำกัดให้ครอบครัวยากจนและกำหนดให้เด็กเข้าโรงเรียน[3]

การอภิปรายทางการเมืองหลายอย่างเกี่ยวข้องกับการอภิปรายรายได้มูลฐาน ตัวอย่างเช่น การอภิปรายเกี่ยวกับการใช้หุ่นยนต์แทนแรงงาน ปัญญาประดิษฐ์และอนาคตของงาน ประเด็นสำคัญหนึ่งในการอภิปรายเหล่านี้มีว่า การใช้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะลดจำนวนงานที่ว่างอยู่อย่างสำคัญ มักปรากฏข้อเสนอรายได้มูลฐานในการอภิปรายเหล่านี้

ทัศนคติในการอภิปรายรายได้มูลฐาน แก้

อัตโนมัติกรรม แก้

การอภิปรายเกี่ยวกับรายได้มูลฐานและอัตโนมัติกรรมมีความเชื่อมโยงใกล้ชิด ตัวอย่างเช่น มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กให้เหตุผลว่าการทำให้อัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความต้องการรายได้มูลฐานมากขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับอัตโนมัติกรรมทำให้หลายคนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงให้เหตุผลสำหรับรายได้มูลฐานเป็นการส่อความของแบบจำลองธุรกิจของพวกตน

นักเทคโนโลยีจำนวนมากเชื่อว่าอัตโนมัติกรมกำลังสร้างการว่างงานทางเทคโนโลยี บางการศึกษาเกี่ยวกับอัตโนมัติกรรมและอาชีพทำให้ความกังวลเหล่านี้สมเหตุสมผล ในรายงานของทำเนียบขาวสหรัฐต่อรัฐสภาสหรัฐประเมินว่าคนงานที่มีรายได้น้อยกว่า 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมงในปี 2553 สุดท้ายจะเสียงานแก่เครื่องจักรโดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 83 กระทั่งคนงานที่มีรายได้ถึง 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมงยังมีโอกาสเสียงานร้อยละ 31[4] หากอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ชุมชนยากจนจะยิ่งแร้นแค้นมากขึ้น ผู้สนับสนุนรายได้มูลฐานถ้วนหน้าให้เหตุผลว่ารายได้ดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาระดับโลกได้หลายอย่าง เช่น ความเครียดจากงานสูง และสร้างโอกาสมากขึ้น และงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาบางอย่างสนับสนุนคำกล่าวอ้างนี้ ในการศึกษาหนึ่งในดอฟิน รัฐแมนิโทบา มีแรงงานลดลงจากจำนวนคาดหมายที่สูงกว่ามากเพียงร้อยละ 13[5] ในการศึกษาในหมู่บ้านหลายแห่งในประเทศอินเดีย รายได้มูลฐานในภูมิภาคนั้นเพิ่มอัตราการศึกษาของเยาวชนร้อยละ 25[6]

นอกจากการว่างงานทางเทคโนโลยีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมเทคโนโลยีบางคนยังกังวลว่าอัตโนมัติกรรมจะบ่อนทำลายเสถียรภาพของตลาดแรงงานหรือเพิ่มความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ คริส ฮิวจ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กและโครงการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ อัตโนมัติกรรมทำให้คนงานที่ใช้เวลาทั้งชีวิตเรียนรู้ทักษะซึ่งกลายมาล้าสมัยและบีบให้พวกเขาเป็นแรงงานไร้ฝีมือ Paul Vallée ผู้ประกอบการเทคโนโลยีชาวแคนาดาและซีอีโอของ Pythian ให้เหตุผลว่าอัตโนมัติกรรมอย่างน้อยมีโอกาสเพิ่มความยากจนและลดการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมมากกว่าการสร้างอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ่นเรื่อย ๆ ในสมัชชาการประกันรายได้มูลฐานทวีปอเมริกาเหนือปี 2559 ในวินนีเพก Vallée ใช้ทาสเป็นตัวอย่างในอดีตซึ่งทุน (ทาสแฟริกา) สามารถทำงานอย่างเดียวกับผู้ใช้แรงงานมนุษย์ทำได้ (คนขาวยากจน) เขาพบว่าทาสไม่ได้ก่อให้เกิดการว่างงานขนานใหญ่ในหมู่คนขาวยากจน แต่มีควาไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมลดลง[7]

พฤติกรรมไม่ดี แก้

บ้างกังวลว่าบางคนจะใช้รายได้มูลฐานกับแอลกอฮอลและยาเสพติดอย่างอื่น[8][9] ทว่า การศึกษาผลกระทบของโครงการโอนเงินโดยตรงกลับมีหลักฐานตรงกันข้าม บทปฏิทรรศน์การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ 30 การศึกษาของธนาคารโลกในปี 2557 สรุปว่า ไม่พบความกังวลเกี่ยวกับการใช้การโอนเงินไปกับการบริโภคแอลกอฮอลและยาสูบ[10]

การเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจหลังทุนนิยม แก้

แฮร์รี ชัต (Harry Shutt) นักเศรษฐศาสตร์ เสนอรายได้มูลฐานและมาตรการอื่นเพื่อทำให้วิสาหกิจทั้งหมดหรือส่วนใหญ่เป็นของส่วนร่วมแทนเอกชน มาตรการเหล่านี้จะสร้างระบบเศรษฐกิจหลังทุนนิยม[11]

Erik Olin Wright แสดงลักษณะของรายได้มูลฐานเป็นโครงการสำหรับปฏิรูปทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งเสริมกำลังแรงงานเมื่อเทียบกับทุน ทำให้แรงงานมีอำนาจต่อรองกับนายจ้างมากขึ้นในตลาดแรงงาน ซึ่งสามารถค่อย ๆ ลดการทำให้แรงงานเป็นโภคภัณฑ์โดยการแยกงานจากรายได้ เช่นนี้จะทำให้มีการขยายในขอบเขตของ "เศรษฐกิจสังคม" โดยให้พลเมืองมีหนทางมากขึ้นในการดำเนินกิจกรรม (เช่น การเอาดีทางด้านศิลปะ) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดค่าตอบแทนเป็นเงินปริมาณมาก[12]

James Meade สนับสนุนแผนเงินปันผลสังคมที่จัดหาทุนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดผลของรัฐ[13] Russell ให้เหตุผลสนับสนุนรายได้มูลฐานร่วมกับความเป็นเจ้าของสาธารณะว่าเป็นหนทางลดวันทำงานโดยเฉลี่ยและการบรรลุการจ้างงานเต็มอัตรา[14] นักเศรษศาสตร์และนักสังคมวิทยาสนับสนุนรายได้มูลฐานรูปแบบหนึ่งว่าเป็นหนทางกระจายกำไรทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจของรัฐเพื่อให้ประชากรทั้งหมดได้ประโยชน์ โดยที่การจ่ายรายได้มูลฐานเป็นตัวแทนของการคืนทุนที่สังคมเป็นเจ้าของแก่พลเมืองทุกคน ระบบเหล่านี้จะได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่รัฐเป็นเจ้าของและปรากฏเป็นองค์ประกอบสำคัญของแบบจำลองสังคมนิยมตลาดหลายแบบจำลอง[15]

Guy Standing เสนอให้จัดหาเงินทุนแก่เงินปันผลสังคมจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่รับผิดชอบแบบประชาธิปไตยซึ่งตั้งขึ้นเป็นหลักจากเงินรายได้ที่เก็บภาษีเอากับรายได้ของผู้มีรายได้ประจำจากการเป็นเจ้าของหรือควบคุมสินทรัพย์ ทั้งทางกายภาพ การเงินและปัญญา[16][17]

Herman Daly ซึ่งถือเป็นผู้ก่อตั้ง ecologism คนหนึ่ง ให้เหตุผลสนับสนุนเศรษฐกิจเติบโตเป็นศูนย์เป็นหลักภายในขีดจำกัดนิเวศวิทยาของโลก แต่ให้มีเศรษฐกิจแบบเขียวและยั่งยืน รวมทั้งสวัสดิการเศรษฐกิจและหลักประกันพื้นฐานแก่ทุกคน เขาเขียนเกี่ยยวกับความจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบทุนนิยมเชิงโครงสร้าง รวมทั้งรายได้มูลฐาน การปฏิรูปการเงิน ภาษีมูลค่าที่ดิน การปฏิรูปการค้าและภาษีสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น เขามองว่ารายได้มูลฐานเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าสู่ระบบเขียวและยั่งยืนมากขึ้น

เชิงอรรถ แก้

  1. ชื่ออื่น เช่น การรับประกันรายได้มูลฐาน (basic income guarantee), รายได้พลเมือง (citizen's income), รายได้มูลฐานไร้เงื่อนไข (unconditional basic income), รายได้มูลฐานถ้วนหน้า (universal basic income), เงินประจำครองชีพมูลฐาน (basic living stipend) หรือการให้ความคุ้มครองถ้วนหน้า (universal demogrant)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "BIEN | Basic Income Earth Network". BIEN. สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.
  2. "What Is It? – Citizen's Income". สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.
  3. Mattei, Lauro; Sánchez-Ancochea, Diego (2011). "Bolsa Família, poverty and inequality: Political and economic effects in the short and long run". Global Social Policy: 1. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  4. https://obamawhitehouse.archives.gov/sites/default/files/docs/ERP_2016_Book_Complete%20JA.pdf whitehouse
  5. Forget, Evelyn L. (2011). "The Town With No Poverty: The Health Effects of a Canadian Guaranteed Annual Income Field Experiment". Canadian Public Policy. 37 (3): 283–305. doi:10.3138/cpp.37.3.283.
  6. Roy, Abhishek. "Part 2 of SPI's Universal Basic Income Series". Sevenpillarsinstitute.org. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
  7. "Paul Vallee, Basic Income, for publication". Google Docs. สืบค้นเมื่อ 28 May 2017.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Sheahen, Allan 2012
  9. Koga, Kenya. "Pennies From Heaven." Economist 409.8859 (2013): 67–68. Academic Search Complete. Web. 12 April 2016.
  10. David K. Evans, Anna Popova (1 May 2014). "Cash Transfers and Temptation Goods: A Review of Global Evidence. Policy Research Working Paper 6886" (PDF). The World Bank. Office of the Chief Economist.: 1–3. สืบค้นเมื่อ 18 December 2017. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. Shutt, Harry (15 March 2010). Beyond the Profits System: Possibilities for the Post-Capitalist Era. Zed Books. p. 124. ISBN 978-1-84813-417-1. a flat rate payment as of right to all resident citizens over the school leaving age, irrespective of means of employment status...it would in principle replace all existing social-security entitlements with the exception of child benefits.
  12. Wright, Erik Olin. "Basic Income as a Socialist Project," เก็บถาวร 2019-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน paper presented at the annual US-BIG Congress, 4 – 6 March 2005 (University of Wisconsin, March 2005).
  13. "Basic Income". Media Hell. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-28. สืบค้นเมื่อ 9 December 2012.
  14. Russell, Bertrand. Roads to Freedom. Socialism, Anarchism and Syndicalism, London: Unwin Books (1918), pp. 80–81 and 127
  15. Marangos, John (2003). "Social Dividend versus Basic Income Guarantee in Market Socialism". International Journal of Political Economy. 34 (3): 20–40. doi:10.1080/08911916.2004.11042930. JSTOR 40470892.
  16. Standing, Guy (April 5, 2017). Basic Income: And how we can make it happen. [London] UK: Pelican Books. ISBN 9780141985480. OCLC 993361670.
  17. Standing, Guy (2016). The Corruption of Capitalism: Why rentiers thrive and work does not pay. London: Biteback Publishing. ISBN 9781785900440. OCLC 954428078.