รายพระนามผู้ปกครองมิลาน

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

รรายพระนามผู้ปกครองมิลาน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13-1814, ก่อนถูกจัดตั้งเป็นราชอาณาจักรลอมบาร์ดี-เวเนเทียโดยการประชุมที่เวียนนา

ก่อนจัดตั้งเป็นดัชชี แก้

กระทั่ง 1259 มิลานเป็นคอมมูนอิสระ ที่สามารถเลือกผู้นำ (podestà) ของตนเอง ตระกูลตอร์ริอานี ได้รับอำนาจที่แน่นอนในค.ศ. 1240, เมื่อพากาโน เดลลา ทอร์เรได้รับเลือกเป็น podestà.[1] หลังมรณกรรมของพากาโน, บาลโด กิริงเฮลลีได้รับเลือกเป็น podestà ต่อในค.ศ. 1259, แต่เมื่อสิ้นสุดยุคของเขา มาร์ติโน เดลลา ทอเร, หลานชายของพากาโน ก่อการยึดอำนาจของครอบครัวเหนือคอมมูน สถาปนาตนเป็นลอร์ดแห่งมิลาน (Signoria) [2]

ลอร์ด (ซินญอร์) ปกครอง สังกัด
มาร์ติโน เดลลา ทอเร 8 กันยายน 1259 20 พฤศจิกายน 1263 เกลฟ์
ฟิลิปโป เดลลา ทอเร 20 พฤศจิกายน 1263 24 ธันวาคม 1265 เกลฟ์
นาโปเลออเน เดลลา ทอเร 24 ธันวาคม 1265 21 มกราคม 1277 เกลฟ์

ยุคนี้ตระกูลทอริอานีมีความใกล้ชิดกับชาร์ลส์แห่งอองชู, เริ่มการแข่งขันที่แข็งแกร่งกับตระกูลวิสคอนติที่จงรักภักดีกับราชวงศ์โฮเฮินสเตาเฟน[3] ค.ศ. 1262, สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 4 รับรองออตโตเน วิสคอนติเป็นอาร์ชบิชอปแห่งมิลาน, นำไปสู่ความผิดหวังของมาร์ติโน เดลลา ทอเร[4] ค.ศ. 1273, เกิดสงครามกลางเมืองระหว่าง 2 ตระกูล สงครามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของตระกูลทอร์รานีในการศึกที่เดสิโอในค.ศ. 1277[5]

ลอร์ด (ซินญอร์) ปกครอง สังกัด
ออตโตเน วิสคอนติ 21 มกราคม 1277 8 สิงหาคม 1295 กิเบลลิเน
มัตเตโอที่ 1 วิสคอนติ 8 สิงหาคม 1295 มิถุนายน 1302 กิเบลลิเน

มิถุนายน 1302, กุยโด เดลลา ทอเร ขับไล่ตระกูลวิสคอนติ[6] อย่างไรก็ดี, ค.ศ. 1308 กุยโดเริ่มมีเรื่องวิวาทกับญาติ, อาร์ชบิชอป คัสโซเน เดลลา ทอเร ภายหลังการโจมตีที่มหาวิหารมิลาน, คัสโซเนหลบหนีไปยังโบโลญญาและเรียกร้องให้มีการแทรกแซงของจักรพรรดิ[7] เพื่อใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่วุ่นวายในภาคเหนือของอิตาลี, จักรพรรดิไฮน์ริกที่ 7 แห่งเยอรมนีกรีฑาทัพเข้าสู้อิตาลี ในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1310 พระองค์ก็มาถึงมิลานและฟื้นฟูอำนาจทั้งคัสโซเนและตระกูลวิสคอนติ หลังจากการล่มสลายของมิลาน, พระองค์ก็ได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์อิตาลี[8]

ลอร์ด (ซินญอร์) ปกครอง สังกัด
กุยโด เดลลา ทอเร มิถุนายน 1302 6 January 1311 เกลฟ์
มัตเตโอที่ 1 วิสคอนติ 6 January 1311 24 June 1322 กิเบลลิเน
กาเลอัสโซที่ 1 วิสคอนติ 24 June 1322 6 August 1328 กิเบลลิเน
อัซโซเน วิสคอนติ 6 August 1328 16 August 1339 กิเบลลิเน
ลูชิโน วิสคอนติ 16 August 1339 24 January 1349 กิเบลลิเน
จิโอวานนี วิสคอนติ 5 October 1354
มัตเตโอที่ 2 วิสคอนติ 5 October 1354 29 September 1355 กิเบลลิเน
กาเลอัซโซที่ 2 วิสคอนติ 4 August 1378
เบอร์นาโบ วิสคอนติ 6 May 1385
เกียน กาเลอัซโซ วิสคอนติ 6 May 1385 5 September 1395 กิเบลลิเน

หลังจัดตั้งเป็นดัชชี แก้

ราชวงศ์วิสคอนติ แก้

ค.ศ. 1395, เกียน กาเลอัซโซ วิสคอนติได้รับตำแหน่ง ดยุกแห่งมิลานโดย พระเจ้าเวนเซสเลาส์ที่ 4 แห่งโบฮีเมีย,[9] ซึ่งขายตำแหน่งนี้ในราคาราว 100,000 ฟลอริน.[10] นับแต่นั้นมา ผู้ปกครองมิลานจึงมีสถานะเป็นดยุค

ดยุก ตรา สมัย สมรส
ทายาท
สิทธิ
เกียน กาเลอัซโซ
1347–1402
(รวมพระชนม์ 50)
    5 กันยายน 1395

3 กันยายน 1402
(1) อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส
(m. 1360; d. 1372)
4 พระองค์
(2 พระองค์มีชีวิตรอยถึงวัยหนุ่มสาว)

(2) กาเทอรีนา วิสคอนติ
(m. 1380; w. 1402)
2 พระองค์
บุตรนอกกฎหมาย 2 พระองค์
จิโอวานนี มาเรีย
1388–1412
(รวมพระชนม์ 23)
    3 กันยายน 1402

16 พฤษภาคม 1412
แอนโทเนีย มาลาเทสตาแห่งเคเซนา
(m. 1408; w. 1412)
ไม่มี
พระโอรสในเกียน กาเลอัซโซ
ฟิลิปโป มาเรีย
1392–1447
(รวมพระชนม์ 54)
    16 พฤษภาคม 1412

13 สิงหาคม 1447
(1) เบียทริซแห่งเทนดา
(m. 1412; ex. 1418)
ไม่มี

(2) แมรี่แห่งซาวอย
(m. 1428; w. 1447)
ไม่มี
บุตรนอกกฎหมาย 1 พระองค์
พระโอรสในเกียน กาเลอัซโซ

ราชวงศ์สฟอร์ซา (ครั้งแรก) แก้

ฟิลิปโป มาเรียสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1447, ตระกูลวิสคอนติสายตรงจึงสิ้นสุดแต่เพียงเท่านี้ นำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง, กลุ่มเศรษฐี, นักปราชญ์และนักบวชประกาศยุบเลิกดัชชีและจัดตั้งระบอบอภิชนาธิปไตยในนาม สาธารณรัฐโกลเดนอัมโบเซียน[11] สาธารณรัฐไม่เคยได้รับการรับรองและรัฐข้างเคียงทั้งเวนิสและซาวอย พยายามเข้ามาขยายอิทธิพลในนี้ เช่นเดียวกับฝรั่งเศส การใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของรัฐและการฟื้นคืนชีพความขัดแย้งระหว่างเกลฟ์และกิเบลลิเน, ผู้บัญชาการกองทัพมิลาน, ฟรานเซสโกที่ 1 สฟอร์ซา, แปรพักตร์จากมิลานไปอยู่กับเวนิสในค.ศ. 1448,[12] และ 2 ปีให้หลัง, หลังจากสับเปลี่ยนหลายฝ่ายและกลยุทธอันชาญฉลาด, สฟอร์ซาเดินทางเข้าเมืองระหว่างงานแม่พระรับสารเขาประกาศตนเป็นดยุกแห่งมิลาน,[13] และสมรสกับบิอันกา มาเรีย วิสคอนติ พระธิดานอกกฎหมายของฟิลิปโป มาเรีย

ดยุก ตรา สมัย สมรส
ทายาท
สิทธิ
ฟรานเซสโกที่ 1
1401–1466
(aged 64)
    25 มีนาคม 1450

8 มีนาคม 1466
(1) โปลิสเซนา รัฟโฟ
(m. 1418; d. 1420)
ไม่มี

(2) บุตรสาวของ ยาโกโป คาลโดรา
(m. 1424; ann. 142?)
ไม่มี

(3) บิอันกา มาเรีย วิสคอนติ
(m. 1441; w. 1466)
8 พระองค์
จิโอวันนา ดักกาปองดองต์
บุตรนอกกฎหมาย 7 พระองค์
(5 survived to adulthood)
กาเลอัซโซ มาเรีย
1444–1476
(aged 32)
    8 มีนาคม 1466

26 ธันวาคม 1476
โบนาแห่งซาวอย
(m. 1468; w. 1503)
4 พระองค์
ลูเครเซีย ลันดริอานี
บุตรนอกกฎหมาย 4 พระองค์

ลูเซีย มาริอานี
บุตรนอกกฎหมาย 2 พระองค์
พระโอรสในฟรานเซสโกที่ 1 สฟอร์ซา
เกียน กาเลอัสโซ
1469–1494
(aged 25)
    26 ธันวาคม 1476

21 ตุลาคม 1494
อิซาเบลลาแห่งอารากอน
(m. 1489; w. 1494)
3 พระองค์
พระโอรสในกาเลอัซโซ มาเรีย สฟอร์ซา
ลูโดวิโก
1452–1508
(aged 55)
    21 ตุลาคม 1494

17 กันยายน 1499
เบียทริซแห่งเอสต์
(m. 1491; d. 1499)
2 พระองค์
Bernardina de Corradis
บุตรนอกกฎหมาย 2 พระองค์

Cecilia Gallerani
บุตรนอกกฎหมาย 1 พระองค์

Lucrezia Crivelli
บุตรนอกกฎหมาย 2 พระองค์
พระโอรสในฟรานเซสโกที่ 1 สฟอร์ซา

ราชวงศ์วาลัวส์ (ครั้งแรก) แก้

ค.ศ. 1494, ลูโดวิโกขึ้นครองตำแหน่งดยุคแห่งมิลาน, หลังมีเสียงเล่าลือว่าทรงลอบวางยาพิษพระภาติยะ เกียน กาเลอัซโซ. หลังภัยคุกคามจากเวเนเทีย, ลูโดวิโกร้องขอให้กษัตริย์ฝรั่งเศส ชาร์ลส์ที่ 8 นำกองทัพลงอิตาลี,[14] เป็นการเริ่มต้นสงครามอิตาเลียนครั้งแรก.หลังลูโดวิโกทรยศไปเป็นพันธมิตรกับสันนิบาตแห่งเวนิสในค.ศ. 1495, ฝรั่งเศสก็พ่ายแพ้ในยุทธการที่ฟอร์โนโว และไม่สามารถขยายอิทธิพลเข้ามาในอิตาลีได้. สร้างความอับอายให้กับแม่ทัพฝรั่งเศสและพระญาติของชาร์ลส์ หลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลออง (ต่อมาเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 12),ประกอบกับการเกลียดลูโดวิโกเป็นการส่วนตัว,[15] หลุยส์จึงอ้างสิทธิเหนือดัชชีแห่งมิลาน, อ้างว่าสืบสายจากวาเลนตินา วิสคอนติและพินัยกรรมของเกียน เกลาซซิโอหลังพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ครองราชสมบัติฝรั่งเศสในค.ศ. 1499, พระองค์เริ่มต้นสงครามอิตาเลียนครั้งที่ 2 เพื่อพิชิตมิลานและเนเปิลส์พร้อมกับกองทัพฝรั่งเศสใกล้ปาเวีย, ลูโดวิโกและผู้ที่ยังภักดีกับเขาหนีออกจากมิลานในวันที่ 17 กันยายน 1499 และหลบหนีไปยังเยอรมนี[16] ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 กลายเป็นดยุคแห่งมิลาน, เข้าเมืองในวันที่ 6 ตุลาคม 1499.[17]

ดยุก ตรา สมัย สมรส
ทายาท
สิทธิ
หลุยส์ที่ 1
(ลุยจิที่ 1)

1462–1515
(aged 52)
    6 ตุลาคม 1499

20 มิถุนายน 1512
(1) ฌานแห่งฝรั่งเศส
(m. 1476; ann. 1498)
ไม่มี

(2) อานน์แห่งเบอร์ตาญ
(m. 1499; d. 1514)
2 พระองค์

(3) แมรี่แห่งอังกฤษ
(m. 1514; w. 1515)
ไม่มี

ราชวงศ์สฟอร์ซา (ครั้งที่ 2) แก้

ลูโดวิโกถูกจับกุมในเดือนกุมภาพันธ์ 1500,[18] และสิ้นพระชนม์ในคุกในค.ศ. 1508 พระโอรสมัสซิมิเลียโนอ่างสิทธิในบัลลังก์มิลานต่อมา, ในที่สุดก็ได้บัลลังก์คืนในเดือนมกราคม 1513 6 เดือนหลังกองทัพสวิสเข้าเมือง

ดยุก ตรา สมัย สมรส
ทายาท
สิทธิ
มัสซิมิเลียโน
1493–1530
(aged 37)
    9 มกราคม 1513

5 ตุลาคม 1515
มิได้สมรส พระโอรสในลูโดวิโก

ราชวงศ์วาลัวส์ (ครั้งที่ 2) แก้

หลังความพ่ายแพ้ในยุทธการมารียาโนในค.ศ. 1515, กองทัพสวิสออกไปจากมิลานและมัสซิมิเลียโน ถูกคุมขังโดยทหารฝรั่งเศส เขาสละสิทธิ์ในมิลานแลกกับเงิน 30,000 ดูกัต และพำนักอยู่ในฝรั่งเศสต่อไป[19]

ดยุก ตรา สมัย สมรส
ทายาท
สิทธิ
ฟรานซิสที่ 2
(ฟรานเซสโกที่ 2)

1494–1547
(aged 52)
    11 ตุลาคม 1515

20 พฤศจิกายน 1521
(1) โคลดแห่งฝรั่งเศส
(m. 1514; d. 1524)
7 พระองค์

(2) เอเลนอร์แห่งออสเตรีย
(m. 1530; w. 1547)
ไม่มี

ราชวงศ์สฟอร์ซา (ครั้งที่ 3) แก้

เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1521, สถานการณ์ที่ฝรั่งเศสอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว จักรพรรดิคาร์ลที่ 5, พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ, และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10ร่วมเป็นพันธมิตรต่อต้านฝรั่งเศสในวันที่ 28 พฤศจิกายน[20] โอเดต์ เดอ ฟัวซ์, วิสเคานต์แห่งโลเทรก, ผู้ว่าการฝรั่งเศสในมิลานได้รับมอบหมายให้ต่อต้านฝ่ายจักรวรรดิและศาสนจักร อย่างไรก็ดี เขาถูกขับไล่ออดจากมิลานในปลายพฤศจิกายน และล่าถอยไปยังบริเวณแม่น้ำแอดดา.[21] นำไปสู่การขึ้นครองอำนาจเป็นครั้งที่ 3 และครั้งสุดท้ายของราชวงศ์สฟอร์ซา

ดยุค ตรา สมัย สมรส
ทายาท
สิทธิ
ฟรานเซสโกที่ 2
1495–1535
(aged 40)
    4 เมษายน 1522

24 ตุลาคม 1535
คริสติน่าแห่งเดนมาร์ก
(m. 1534; w. 1535)
ไม่มี
พระโอรสในลูโดวิโก สฟอร์ซา

ค.ศ. 1535, หลังฟราเซสโกที่ 2 สฟอร์ซาสิ้นพระชนม์โดยปราศจากรัชทายาท, จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ผนวกดัชชีในฐานะรัฐในจักรวรรดิเพื่อหลีกเลี่ยงการอ้างสิทธิ์โดยฝรั่งเศสหรือเครือญาติสาขาอื่นของราชวงศ์สฟอร์ซา

ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก-สเปน แก้

ค.ศ. 1540, ดัชชีถูกส่งต่อให้พระราชโอรสในจักพรรดิคาร์ล เฟลิเป เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ซึ่งมีการส่งมอบเป็นทางการหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิคาร์ลในค.ศ. 1555 ค.ศ. 1556 เฟลิิเปครองราชย์เป็นพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน มิลานจึงกลายเป็นรัฐร่วมประมุขกับสเปน

ดยุค ตรา สมัย สมรส
ทายาท
สิทธิ
เฟลิเปที่ 1
(Filippo I)

1527–1598
(aged 71)
    11 ตุลาคม 1540

13 กันยายน 1598
(1) มาเรีย มานูเอลาแห่งโปรตุเกส
(m. 1543; d. 1545)
1 พระองค์

(2) สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษ
(m. 1554; d. 1558)
ไม่มี

(3) เอลืซาเบธแห่งวาลัวส์
(m. 1559; d. 1568)
2 พระองค์

(4) อันนาแห่งออสเตรีย
(m. 1570; d. 1580)
5 พระองค์
(1 survived to adulthood)
รับพระราชทานมาจากคาร์ลที่ 5
เฟลิเปที่ 2
(Filippo II)

1578–1621
(aged 42)
    13 กันยายน 1598

31 มีนาคม 1621
มาร์กาเร็ตแห่งออสเตรีย
(m. 1599; d. 1611)
8 พระองค์
(5 survived to adulthood)
พระโอรส
เฟลิเปที่ 3
(Filippo III)

1605–1665
(aged 60)
    31 มีนาคม 1621

17 กันยายน 1665
(1) เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส
(m. 1615; d. 1644)
8 พระองค์
(2 survived to adulthood)

(2) มาเรียนาแห่งออสเตรีย
(m. 1649; w. 1665)
5 พระองค์
(2 survived to adulthood)
มารีอา กาลเดรอน
นอกกฎหมาย 1 พระองค์
พระโอรส
คาร์ลอสที่ 1
(Carlo I)

1661–1700
(aged 38)
    17 กันยายน 1665

1 พฤศจิกายน 1700
(1) มารี หลุยส์แห่งออร์เลอองส์
(m. 1679; d. 1689)
ไม่มี

(2) มาเรีย อันนา แห่งนอยบูร์ก
(m. 1690; w. 1700)
ไม่มี
พระโอรส

ราชวงศ์บูร์บง แก้

กันยายน 1700 พระเจ้าคาร์ลอสประชวรหนัก ปอร์โตการ์เรโรเกลี้ยกล่อมให้พระองค์แต่งตั้งพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสคือเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งอองชู.[22] เมื่อพระเจ้าคาร์ลอสสวรรคตในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1700, พระราชบัลลังก์ถูกส่งต่อไปยังฟิลิป, ซึ่งได้รับการประกาศเป็นพระมหากษัตริย์สเปนในวันที่ 16 พฤศจิกายน 1700 โดยได้รับรองจากอังกฤษและดัตช์ ท่ามกลางการโต้แย้งในด้านดินแดนและเศรษฐกิจนำไปสู่สงครามสืบราชบัลลังก์สเปนในค.ศ. 1701[23]

ดยุค ตรา สมัย สมรส
ทายาท
สิทธิ
เฟลิเปที่ 4
(Filippo IV)

1683–1746
(aged 62)
    1 พฤศจิกายน 1700

7 มีนาคม 1714
(1) มาเรีย ลุยซาแห่งซาวอย
(m. 1701; d. 1714)
4 พระองค์
(2 survived to adulthood)

(2) เอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ
(m. 1714; w. 1746)
6 พระองค์
  • ทายาทโดยพินัยกรรมของคาร์ลอสที่ 1
  • มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในคาร์ลอสที่ 1

ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก-ออสเตรีย (และ ฮับส์บูร์ก-ลอแรน) แก้

หลังสนธิสัญญาราสตัตท์ในค.ศ. 1714, จักรพรรดิคาร์ลที่ 6ได้รับดัชชีแห่งมิลานอย่างเป็นทางการนับเป็นการครอบครองที่ถือว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของชายแดนทางใต้ของออสเตรีย[24] นับแต่นั้น มิลานจึงเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮับส์บูร์ก

ดยุค ตรา สมัย สมรส
ทายาท
สิทธิ
คาร์ลที่ 2
(Carlo II)

1685–1740
(aged 55)
    7 มีนาคม 1714

20 ตุลาคม 1740
เอลิซาเบธ คริสตีนแห่งบรันสวิก-โวลแฟงบูทเทล
(m. 1708; w. 1740)
4 พระองค์
(3 survived to adulthood)
มาเรีย เทเรซา
(Maria Teresa)

1717–1780
(aged 63)
    20 ตุลาคม 1740

29 พฤศจิกายน 1780
ฟรานซ์ที่ 1 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(m. 1736; d. 1765)
15 พระองค์
(10 survived to adulthood)
โจเซฟที่ 1
(Giuseppe I)

1741–1790
(aged 48)
    29 พฤศจิกายน 1780

20 กุมภาพันธ์ 1790
(1) อิซาเบลลาแห่งปาร์มา
(m. 1760; d. 1763)
2 พระองค์
(Not survived to adulthood)

(2) มาเรีย โฌเซฟา แห่งบาวาเรีย
(m. 1765; d. 1767)
ไม่มี
เลโอโปลด์ที่ 1
(Leopoldo I)

1747–1792
(aged 44)
    20 กุมภาพันธ์ 1790

1 มีนาคม 1792
ทาเรีย ลุยซาแห่งสเปน
(m. 1765; w. 1792)
16 พระองค์
(14 survived to adulthood)
ฟรานซ์ที่ 3
(Francesco III)

1768–1835
(aged 67)
    1 มีนาคม 1792

15 พฤษภาคม 1796
(1) เอลีซาเบธแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค
(m. 1788; d. 1790)
1 พระองค์
(Not survived to adulthood)

(2) มาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลี
(m. 1790; d. 1807)
11 พระองค์
(7 survived to adulthood)

(3) Mมาเรีย ลูโดวิก้าแห่งออสเตรีย-เอสต์
(m. 1808; d. 1816)
ไม่มี

(4) แคโรไลน์ ออกัสตา แห่งบาวาเรีย
(m. 1816; w. 1835)
ไม่มี
ว่างกษัตริย์ (1796–1814):
สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน
11 เมษายน 1814

7 เมษายน 1815
การประชุมที่เวียนนา ดู กษัตริย์แห่งลอมบาร์ดีและเวเนเทีย

เชิงอรรถ แก้

  1. Motta, Antonio (1931). Treccani (บ.ก.). Della Torre. Enciclopedia Italiana (ภาษาอิตาลี).
  2. Fantoni, Giuliana L. (1989). Treccani (บ.ก.). Della Torre, Martino. Dizionario Biografico degli Italiani (ภาษาอิตาลี). Vol. 37.
  3. Gallavresi, Giuseppe (1906). La riscossa dei guelfi in Lombardia dopo il 1260 e la politica di Filippo della Torre (ภาษาอิตาลี). Vol. 6. Arch. stor. lombardo, 4th section.
  4. Richard, Charles-Louis; Giraud, Jean-Joseph (1822). Méquignon Fils Ainé (บ.ก.). Bibliothèque sacrée, ou, Dictionnaire universel [...] des sciences ecclésiastiques (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 13. p. 301.
  5. Pugliese, Michela (2017). Youcanprint (บ.ก.). All'ombra del castello (ภาษาอิตาลี). p. 76. ISBN 9788892664630.
  6. Treccani (บ.ก.). "Della Tórre, Guido" (ภาษาอิตาลี).
  7. Fantoni, Giuliana L. (1989). Treccani (บ.ก.). Della Torre, Cassone. Dizionario Biografico degli Italiani (ภาษาอิตาลี). Vol. 37.
  8. Jones, Michael (2000). Cambridge University Press (บ.ก.). The New Cambridge Medieval History. Vol. 6. p. 533.
  9. Bartoš, František M. (1937). Treccani (บ.ก.). Venceslao IV re di Boemia e di Germania. Enciclopedia Italiana (ภาษาอิตาลี).
  10. Symonds, John A. (1888). Henry Holt and Co. (บ.ก.). Renaissance in Italy: the Age of the Despots (ภาษาอิตาลี).
  11. Lucas, Henry S. (1960). Harper Bros (บ.ก.). The Renaissance and the Reformation. p. 268.
  12. Ady & Armstrong 1907, p. 47
  13. Ady & Armstrong 1907, p. 60
  14. Baumgartner 1996, p. 40
  15. Baumgartner 1996, p. 105
  16. Baumgartner 1996, p. 114
  17. Baumgartner 1996, p. 117
  18. Durant, Will (1953). Simon and Schuster (บ.ก.). The Renaissance. The Story of Civilization. Vol. 5. p. 191.
  19. Frieda, Leonie (2012). Weidenfeld & Nicolson (บ.ก.). The Deadly Sisterhood: A Story of Women, Power and Intrigue in the Italian Renaissance. p. 333.
  20. Konstam, Angus (1996). Osprey Publishing (บ.ก.). Pavia 1525: The Climax of the Italian Wars. p. 88.
  21. Blocksman, Wim (2002). Oxford University Press (บ.ก.). Emperor Charles V, 1500–1558. p. 52.
  22. Hargreaves- Mawdsley, HN (1979). Eighteenth-Century Spain 1700-1788: A Political, Diplomatic and Institutional History. Macmillan. pp. 15–16. ISBN 0333146123.
  23. Falkner, James (2015). The War of the Spanish Succession 1701-1714 (Kindle ed.). 96: Pen and Sword. ISBN 9781473872905.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  24. Ward, William, Leathes, Stanley (1912). The Cambridge Modern History (2010 ed.). Nabu. p. 384. ISBN 1174382058.


อ้างอิง แก้