ราชอาณาจักรอิรัก

ราชอาณาจักรอิรัก (อาหรับ: المملكة العراقية; อังกฤษ: Kingdom of Iraq) เป็นรัฐที่ดำรงอยู่ในตะวันออกกลางระหว่างค.ศ. 1932–1958 ราชอาณาจักรอิรักสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1922 หลังจักรวรรดิออตโตมันพ่ายแพ้ในการทัพเมโสโปเตเมียในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากนั้นสันนิบาตชาติมอบหมายให้ดินแดนเมโสโปเตเมียอยู่ใต้อาณัติของสหราชอาณาจักร แต่การลุกฮือในอิรักในปีค.ศ. 1920 ทำให้สหราชอาณาจักรต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาเพื่อมอบอำนาจการปกครองตนเองให้แก่อิรัก ในช่วงแรกราชอาณาจักรอิรักภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮัชไมต์ประสบปัญหาด้านศาสนาและเชื้อชาติ นำไปสู่รัฐประหารในปี ค.ศ. 1936 ที่ทำให้การปกครองยิ่งไม่มีเสถียรภาพ

ราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรัก (1932–1941; 1947-1958)
المملكة العراقية الهاشمية
ราชอาณาจักรอิรัก (1941–1947)
المملكة العراقية

1932–1958
เพลงชาติอัสซาลาม อัลมาลากี السلام الملكي
Es Salaam al-Malaky
สันติภาพแด่กษัตริย์
ที่ตั้งของอิรัก
เมืองหลวงแบกแดด
ภาษาทั่วไปอาหรับ
เคิร์ด
แอราเมอิก
เปอร์เซีย
ศาสนา
ซุนนีย์
ศาสนาคริสต์
ศาสนายูดาห์
Yazdânism
Mandaeism
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[1]
พระมหากษัตริย์ 
• 1932-1933
ฟัยศ็อลที่ 1
• 1933-1939
ฆอซี
• 1939-1958
ฟัยศ็อลที่ 2
นายกรัฐมนตรี 
• 1920-1922
Abd Al-Rahman Al-Gillani (คนแรก)
• 1958
Ahmad Mukhtar Baban (คนสุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม, สงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามเย็น[2]
• การครองราชย์ของพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1
1932
• เป็นเอกราช
3 ตุลาคม 1932[3]
1 เมษายน 1941
24 กุมภาพันธ์ 1955
• การรวมตัวของสหพันธรัฐอาหรับ[4]
14 กุมภาพันธ์ 1958
• ระบอบกษัตริย์ถูกล้มเลิก
14 กรกฎาคม 1958
พื้นที่
1958[5]438,317 ตารางกิโลเมตร (169,235 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1958[5]
6488000
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐอารักขาเมโสโปเตเมีย
สหพันธรัฐอาหรับ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลอิรักนำโดยมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์แห่งอิรักถูกล้มล้างโดยกลุ่มนายทหารนิยมฟาสซิสต์ แต่ไม่นานก็พ่ายแพ้ให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามอังกฤษ-อิรัก จากนั้นอิรักกลายเป็นฐานของฝ่ายสัมพันธมิตรในการโจมตีซีเรียใต้อาณัติของฝรั่งเศสวิชีและรุกรานอิหร่าน ช่วงปลายสงคราม อิรักเป็นสมาชิกสหประชาชาติและสมาชิกก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในปี ค.ศ. 1948 อิรักเป็นชาติหนึ่งที่ทำสงครามกับอิสราเอล ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล

เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดนกับมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ตกลงที่จะจัดตั้งสหภาพชื่อสหพันธรัฐอาหรับ เพื่อตอบโต้ฝ่ายอียิปต์กับซีเรียที่รวมตัวเป็นสหสาธารณรัฐอาหรับที่มีแนวคิดแบบนาสเซอร์ แต่สหพันธรัฐนี้คงอยู่ได้ไม่นานเนื่องจากระบอบกษัตริย์ถูกโค่นล้มโดยอิบด์ อัล-คะริม กอซิมในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน

ประวัติศาสตร์ แก้

รัฐอารักขาของสหราชอาณาจักร แก้

การประกาศอิสรภาพ แก้

ความขัดแย้งทางการการเมือง ค.ศ. 1933-1941 แก้

สงครามอังกฤษ-อิรัก และ การควบคุมอิรักครั้งที่ 2 แก้

ค.ศ.1941-1958 แก้

การล้มล้างราชบัลลังก์ แก้

พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิรัก แก้

  พระปรมาภิไธย พระบรมราชสมภพ สวรรคต สมเด็จพระบรมราชินี
  พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งอิรัก 23 สิงหาคม พ.ศ. 246423 สิงหาคม พ.ศ. 2464 8 กันยายน พ.ศ. 24768 กันยายน พ.ศ. 2476 สมเด็จพระราชินีฮะซัยมาแห่งอิรัก
  พระเจ้าฆอซีแห่งอิรัก 8 กันยายน พ.ศ. 24768 กันยายน พ.ศ. 2476 4 เมษายน พ.ศ. 24824 เมษายน พ.ศ. 2482 สมเด็จพระราชินีอะลียะฮ์แห่งอิรัก
  พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก 4 เมษายน พ.ศ. 24824 เมษายน พ.ศ. 2482 14 กรกฎาคม พ.ศ. 250114 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่านแห่งอิรัก

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Ghareeb, Edmund A.; Dougherty, Beth K. Historical Dictionary of Iraq. Lanham, Maryland and Oxford: The Scarecrow Press, Ltd., 2004. Pp. lvii.
  2. Duiker, William J; Spielvogel, Jackson J. World History: From 1500. 5th edition. Belmont, California, USA: Thomson Wadsworth, 2007. Pp. 839.
  3. Ghareeb; Dougherty. Pp lvii
  4. Gareth Stansfield; Anderson, Liam D. (2004). The Future of Iraq : Dictatorship, Democracy or Division?. Basingstoke: Palgrave Macmillan. ISBN 1-4039-6354-1.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Ghareeb; Dougherty. Pp lviii

แหล่งข้อมูลอื่น แก้