ราชสำนักใต้ (ญี่ปุ่น: 南朝โรมาจิNanchō) ราชสำนักที่จักรพรรดิ 4 พระองค์ปกครองในช่วง ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ โดยปกครองในช่วงปี ค.ศ. 1338 - ค.ศ. 1392 ซึ่งยุคนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อ จักรพรรดิโกะ-คะเมะยะมะ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชสำนักใต้ได้ประกาศยอมแพ้ต่อ จักรพรรดิโกะ-โคะมะสึ แห่ง ราชสำนักเหนือ

ราชสำนักใต้

南朝
Nanchō
ค.ศ. 1338ค.ศ. 1392
ตราแผ่นดินของราชสำนักใต้
ตราแผ่นดิน
สถานะราชสำนัก
เมืองหลวงโยชิโนะ
ภาษาทั่วไปภาษาญี่ปุ่นยุคกลาง
ศาสนา
ชินบุสึ ชูโง
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จักรพรรดิ 
• 1318 - 1339
โกะ-ไดโงะ
• 1339 - 1368
โกะ-มุระกะมิ
• 1368 - 1383
โชเก
• 1383 - 1392
โกะ-คะเมะยะมะ
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา ราชสำนักใต้
ค.ศ. 1338
• การยอมแพ้ของ จักรพรรดิโกะ-คะเมะยะมะ
ค.ศ. 1392
ก่อนหน้า
ถัดไป
การฟื้นฟูเค็มมุ
ราชวงศ์ญี่ปุ่น
รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ

ที่มาของชื่อมาจากที่ตั้งเมืองหลวงของราชสำนักใต้คือโยชิโนะ (ปัจจุบันคืออำเภอหนึ่งใน จังหวัดนาระ) นั้นตั้งอยู่ทางใต้ของ นครหลวงเคียวโตะ เมืองหลวงของ ราชสำนักเหนือ ซึ่งบางทีก็เรียกว่า ราชสำนักโยะชิโนะ

โดยราชสำนักใต้มีชื่อราชสกุลว่า ไดกากูจิ ซึ่งมีที่มาจากชื่อพระตำหนักที่ใช้ว่าราชการในวัดของ จักรพรรดิโกะ-อุดะ พระราชโอรสของ จักรพรรดิคะเมะยะมะ ผู้เป็นต้นราชสกุล

จุดเริ่มต้น แก้

 
แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองหลวงของทั้งสองราชสำนัก
เมืองหลวงของราชสำนักเหนือ : เคียวโตะ
เมืองหลวงของราชสำนักใต้ : โยะชิโนะ

จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งก่อนที่จะกลายมาเป็นยุคราชสำนักเหนือ-ใต้เริ่มต้นมาจากการที่ จักรพรรดิโกะ-ซะงะ ซึ่งครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1242 - ค.ศ. 1246 และทรงเป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) ได้บีบบังคับ จักรพรรดิโกะ-ฟุกะกุซะ สละราชบัลลังก์ให้กับ เจ้าชายสึเนะฮิโตะ ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิคะเมะยะมะ เมื่อปี ค.ศ. 1260 หลังจากนั้นเจ้าชายจากราชสกุล จิเมียวอิง ที่สืบเชื้อสายจากจักรพรรดิโกะ-ฟุกะกุซะและราชสกุล ไดกะกุจิ ที่สืบเชื้อสายจากจักรพรรดิคะเมะยะมะก็ได้ผลัดกันเป็นจักรพรรดิสืบต่อกันมาจนถึงรัชสมัย จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ที่ขึ้นสืบราชบัลลังก์เมื่อปี ค.ศ. 1318 สืบต่อจาก จักรพรรดิฮะนะโซะโนะ ที่มาจากราชสกุลจิเมียวอิง

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1331 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะทรงพยายามก่อการโค่นอำนาจ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ แต่ไม่สำเร็จจึงถูกเนรเทศไปเจ้าชายคะซุฮิโตะที่รัชทายาทจากราชสกุลจิเมียวอิงจึงได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโคงง

ราชสำนักเหนือ แก้

อ้างอิง แก้