ราชรัฐห่าเตียน[1] (เวียดนาม: Hà Tiên trấn, จีนตัวย่อ: 河仙镇; จีนตัวเต็ม: 河僊鎮 หรือ 河仙鎮; พินอิน: Héxiān zhèn), รัฐกั๋งโข่ว (港口国)[2] หรือ รัฐในอารักขาห่าเตียน[3] เอกสารตะวันตกเรียก คังเคา (Can Cao)[4][5][6] ส่วนเอกสารไทยเรียก เมืองบันทายมาศ[7] หรือ พุทไธมาศ[8][9] เป็นรัฐเมืองท่าบริเวณปากแม่น้ำโขง ก่อตั้งโดยม่อ จิ่ว (鄚玖) หรือ หมัก กื๋ว (Mạc Cửu) ชาวจีนอพยพ[1] มีลักษณะเป็นเมืองท่าปลอดภาษี เปิดบ่อนการพนัน ผลิตเหรียญกษาปณ์ และเปิดเหมืองแร่ดีบุกเป็นของตนเอง[10] โดยอาศัยพื้นที่ชายขอบของปริมณฑลแห่งอำนาจของรัฐขนาดใหญ่ พัฒนาเป็นเมืองท่าสำคัญของภูมิภาค[11] และขยายพื้นที่อำนาจของตนเองด้วยการตั้งเมืองใหม่อีกหกเมือง[12]

ราชรัฐห่าเตียน

河僊鎮
ค.ศ. 1707–ค.ศ. 1832
ดินแดนที่ถูกปกครองโดยตระกูลม่อ (ค.ศ. 1829)
ดินแดนที่ถูกปกครองโดยตระกูลม่อ (ค.ศ. 1829)
สถานะรัฐในอารักขาของกัมพูชา (ค.ศ. 1707–1736)
รัฐในอารักขาของเวียดนาม (ค.ศ. 1707–1832)
รัฐในอารักขาของสยาม (ค.ศ. 1785–1809)
เมืองหลวงห่าเตียน
ภาษาทั่วไป
การปกครองรัฐในอารักขา
เจ้าผู้ครอง 
• 1707–1735
ม่อ จิ่ว (คนแรก)
• 1735–1777
ม่อ ซื่อหลิน
• 1830–1832
ม่อ กงไฉ (สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• สวามิภักดิ์ขุนนางตระกูลเหงียน
ค.ศ. 1707
• จัดตั้งเป็นจังหวัดห่าเตียน
ค.ศ. 1832
ก่อนหน้า
ถัดไป
สมัยอุดง
ราชวงศ์เหงียน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

ห่าเตียนเป็นรัฐอิสระในอารักขาของทั้งกัมพูชา เวียดนาม หรือสยาม โอนอ่อนตามแต่สถานการณ์จะพาไป[10] เพราะศักยภาพทางการทหารต่ำ[13] รัฐต่าง ๆ พยายามเข้าควบคุมห่าเตียนตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา[11] ที่สุดห่าเตียนถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเวียดนามใน ค.ศ. 1832

ประวัติ แก้

ยุคแรกเริ่ม แก้

เดิมห่าเตียนเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมร กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 ม่อ จิ่ว (鄚玖) หรือ หมัก กื๋ว (Mạc Cửu) ชาวจีนกวางตุ้ง เข้าไปก่อตั้งเมืองท่าชื่อ เฟืองถั่ญ (Phương Thành) บ้างเรียก เมืองคำ (Máng-khảm, ม้างขาม) เปี่ยม หรือ เปียม (ពាម "ปากน้ำ")[7][12] เมื่อ ค.ศ. 1671 โดยได้รับพระราชานุญาตจากกษัตริย์เขมรให้ดูแลการค้าทางทะเลแถบนั้น พร้อมกับพระราชทานตำแหน่งเป็น ออกญา (ឧកញ៉ា)[14]

ยูมิโอะ ซากูไร (桜井由躬雄) นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเสนอว่า เฟืองถั่ญนี้เป็นเมืองที่ถูกสร้างใหม่ที่ประกอบไปด้วยหมู่บ้านชาวจีนโพ้นทะเลเจ็ดหมู่รวมกัน ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับบันทายมาศ (បន្ទាយមាស, บ็อนเตียย์เมียะฮ์) ซึ่งขณะนั้นมีเจ้าเมืองชาวเขมรปกครองอยู่แล้ว[15] แม้จะเป็นคนละเมือง แต่เอกสารไทยมักเรียกเมืองใหม่แห่งนี้ว่าบันทายมาศ (สำเนียงเขมร) หรือพุทไธมาศ (สำเนียงไทย) เพราะเป็นเมืองเก่าที่เคยมีความสัมพันธ์กับสยามมาก่อน[12] ที่ตั้งของเฟืองถั่ญอยู่บริเวณปากแม่น้ำใหญ่ เรือสินค้าสามารถจอดเรือหลบมรสุมได้ และสามารถเดินทางผ่านสาขาแม่น้ำเข้าไปค้าขายยังพื้นที่ตอนในแผ่นดินได้[14]

ในเวลาต่อมาม่อ จิ่ว เริ่มสวามิภักดิ์กับขุนนางตระกูลเหงียนเมื่อ ค.ศ. 1707 หลังถูกสยามรุกรานจนเมืองเสียหาย ม่อ จิ่วรับตำแหน่งขุนนาง เหิ่ว (hầu) จากตระกูลเหงียน ตั้งแต่นั้นมาห่าเตียนก็มีสถานะเป็นรัฐกึ่งอิสระของเวียดนามมาตั้งแต่นั้น[16] พร้อมกับตั้งนามเมืองให้เสียใหม่ว่า ห่าเตียน (Hà Tiên) แปลว่า "เทพแห่งสายน้ำ"[17] แต่เขายังคงส่งส่วยเข้าราชสำนักเขมรตามเดิม[18]

ยุคทอง แก้

หลังม่อ จิ่วถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1736 ม่อ ซื่อหลิน (莫士麟) หรือ หมัก เทียน ตื๊อ (Mạc Thiên Tứ) บุตรชาย ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองห่าเตียนสืบมา ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของห่าเตียน กองทัพเขมรของพระศรีธรรมราชาที่ 4 ยกทัพตีห่าเตียนใน ค.ศ. 1739 แต่ปรากฏว่าเขมรพ่ายห่าเตียน และไม่ยกทัพมาตีอีก ห่าเตียนจึงเป็นอิสระจากเขมรเต็มที่[3] ต่อมาพระนารายน์ราชารามาธิบดี หรือนักองตน เจ้านายเขมรขอเป็นบุตรบุญธรรมม่อ ซื่อหลิน หลังเกิดการชิงอำนาจกันในราชสำนักเขมร[7] ม่อ ซื่อหลินจึงประสานไปยังขุนนางตระกูลเหงียนให้สนับสนุนนักองตนเป็นกษัตริย์เขมรจนสำเร็จ[10] หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง มีชาวไทยลี้ภัยไปห่าเตียนมากกว่า 30,000 คน หนึ่งในนั้นคือเจ้าจุ้ย (Chiêu Thúy, เจียว ทวี้) ซึ่งเป็นเจ้านายชั้นสูงของกรุงศรีอยุธยา[19] พระโอรสในเจ้าฟ้าอภัย พระราชนัดดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ[20] ม่อ ซื่อหลินวางแผนตั้งเจ้านายพระองค์นี้เป็นกษัตริย์สยาม แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสถาปนากรุงธนบุรีสำเร็จเสียก่อน[21]

ม่อ ซื่อหลินวางแผนกำจัดกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสยามหลายทาง ทั้งการทูตกับจีนไม่ให้จีนยอมรับกรุงธนบุรี[22] การแย่งตัวเจ้านายราชวงศ์บ้านพลูหลวง และให้บุตรเขยตนลอบสังหารสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแต่แผนแตกเสียก่อน จึงถูกสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตีกองทัพเรือของห่าเตียนจนพ่ายไป[19] ความตึงเครียดระหว่างธนบุรีกับห่าเตียนทวีความรุนแรงขึ้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งค่ายที่ปากน้ำพระประแดง ท่าจีน และแม่กลองสำหรับรับศึกของทัพเรือห่าเตียน ครั้นเสด็จไปตีหัวเมืองภาคใต้ ม่อ ซื่อหลินก็ส่งทัพ 50,000 คน ตีเมืองทุ่งใหญ่และจันทบูรกวาดครัวไทยไปจำนวนมาก[7] และส่งทัพเรือ 2,000 นายที่เกณฑ์จากบันทายมาศและกรังมาตีบางกอกแต่พ่ายไป ดังปรากฏใน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับนักองค์นพรัตน ความว่า[23]

"๏ ลุศักราช ๑๑๓๒ (พ.ศ. 2313) ปีขาล สมเด็จพระโสร์ทศ ผู้เปนใหญ่ในเมืองเปี่ยม ได้เกณฑ์ไพร่พลในเขตรแขวงเมืองบันทายมาศ เมืองตรัง ยกเปนกองทัพไปตีเมืองทุ่งใหญ่ เมืองจันทบุรี จึงพวกกองทัพไทยออกมาสู้รบมีไชยชนะแก่กองทัพสมเด็จพระโสร์ทศ ๆ พ่ายแพ้แก่กองทัพไทย แตกหนีทิ้งเครื่องสาตราวุธเรือรบเสียเปนอันมาก จึงพากันล่าถอยกลับคืนมายังเมืองเปี่ยม ๚"

ครั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสร็จศึกที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็ทรงยกทัพยึดเมืองจันทบูรคืนแล้วล้อมทัพของม่อ ซื่อหลินไว้สองเดือน ที่สุดม่อ ซื่อหลินก็ปราชัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทิ้งอาวุธและเรือรบไว้จำนวนมาก[23][24] ด้วยเหตุนี้หลังเสร็จศึกปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงตอบโต้ด้วยการโจมตีห่าเตียนเมื่อ ค.ศ. 1771[16][25] ม่อ ซื่อหลินหลบหนีออกจากเมือง ก่อนเสด็จกลับพระนครสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนำครอบครัวของม่อ ซื่อหลิน พร้อมด้วยเจ้าจุ้ยไปด้วย ภายหลังจึงประหารชีวิตเจ้าจุ้ย[26] ดังปรากฏใน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับนักองค์นพรัตน ความว่า[23]

"๏ ลุศักราช ๑๑๓๓ (พ.ศ. 2314) ปีเถาะ พระเจ้าตากได้ยกกองทัพมาตีเมืองเขมรอิก ในครั้งนั้นได้ยกมาเปนสองทาง คือพระเจ้าตากได้จัดให้เจ้าพระยายมราช [คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช] เปนแม่ทัพใหญ่ คุมไพร่พลยกมาทางบก เดินทางเมืองเสียมราฐ พระตะบอง แลมาเมืองโพธิสัตว์นั้นทางหนึ่ง ส่วนพระเจ้าตากเองได้ทรงเปนจอมทัพยกมาทางน้ำ พร้อมสรรพไปด้วยเรือรบแลเครื่องสาตราวุธ [...] ยกมาทางทเล ครั้นถึงเมืองเปี่ยม ก็ตีเมืองเปี่ยมแตก สมเด็จพระโสร์ทศสู้ไม่ได้ ก็หนีออกจากเมืองเปี่ยม ไปพักอยู่ที่เมืองตึกเขมา (น้ำดำ)..."

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งขุนพิพิธวาทีเป็นพระยาราชาเศรษฐี ว่าราชการเมืองบันทายมาศ หลังจากนั้นม่อ ซื่อหลินก็กลับมาตีเมืองคืนได้ครั้งหนึ่ง ก่อนถูกขุนพิพิธวาทีตีคืน[8][9] แต่สองปีต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเกรงว่าขุนพิพิธวาทีอาจเป็นอันตรายจึงเรียกตัวกลับบางกอก[7] พร้อมญวนเข้ารีตจำนวนหนึ่ง[10] ม่อ ซื่อหลินจึงกลับมาครองห่าเตียนอีกครั้ง[8][9][21]

ช่วงเกิดการกบฏเต็ยเซิน (Tây Sơn, เอกสารไทยเรียก ญวนไกเซิน)[27] ห่าเตียนแสดงท่าทีสนับสนุนขุนนางตระกูลเหงียน ทว่า ค.ศ. 1771 ตระกูลเหงียนพ่ายแพ้แก่ฝ่ายกบฏ และถูกกบฏยึดเมืองซาดิ่ญได้เมื่อ ค.ศ. 1776 ม่อ ซื่อหลิน และโตน เทิ้ต ซวน (Tôn Thất Xuân, เอกสารไทยเรียก องเชียงซุน)[28] ปฏิเสธที่จะยอมจำนนต่อกลุ่มกบฏจึงลี้ภัยไปสยาม แต่ถูกสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจับกุมและประหารเสียใน ค.ศ. 1780[29] และหลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อ ค.ศ. 1782 พระองค์เริ่มมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับเหงียน ฟุก อั๊ญ (Nguyễn Phúc Ánh, เอกสารไทยเรียก องเชียงสือ)[30] เพื่อประโยชน์ด้านการขยายอำนาจไปแถบปากแม่น้ำโขง[31] พระองค์มีพระราชกระแสรับสั่งให้พระยาทัศดา (Thát Xỉ Đa, ท้าต สี ดา) ไปยึดห่าเตียนหรือพุทไธมาศคืนจากการยึดครองของพวกเต็ยเซิน เหงียน ฟุก อั๊ญได้ยึดเมืองคืนได้ระยะหนึ่งแต่สุดท้ายต้องละทิ้งเมืองเพราะถูกกบฏโจมตี[32] กระทั่ง ค.ศ. 1785 เหงียน ฟุก อั๊ญ พร้อมด้วยกองทัพสยาม นำโดยสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ (Chiêu Tăng, เจียว ตัง) เดินทางไปยังเมืองบันทายมาศเตรียมรบกับกบฏเต็ยเซิน ในช่วงเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชส่งม่อ ซือเชิง (鄚子泩) หรือ หมัก ตื๋อ ซิญ (Mạc Tử Sinh) บุตรชายม่อ ซื่อหลินกลับไปครองห่าเตียนแล้ว และส่งทัพไปช่วยสยามในการรบที่สักเกิ่ม-สว่ายมู้ต (Trận Rạch Gầm – Xoài Mút) ทว่าสยามพ่ายแก่กบฏอย่างสิ้นรูป[33] เหงียน ฟุก อั๊ญ และม่อ ซือเชิง จึงหนีกลับกรุงสยาม

รายนามเจ้าผู้ครอง แก้

ชื่อตัว
(จีน/ญวน)
ราชทินนามเวียดนาม ราชทินนามสยาม ราชทินนามเขมร ช่วงปี (ค.ศ.) หมายเหตุ
ม่อ จิ่ว/หมัก กื๋ว
鄚玖
ห่าเตียนเจิ๊นต๋งบิญกื๋วหง็อกเหิ่ว
(Hà Tiên trấn tổng binh Cửu Ngọc hầu, 河僊鎮總兵玖玉侯)
ออกญา (ឧកញ៉ា) 1707–1735
ม่อ ซื่อหลิน/หมัก เทียน ตื๊อ
鄚天賜
ห่าเตียนเจิ๊นเคิมซายโดด๊กตงดึ๊กเหิ่ว
(Hà Tiên trấn khâm sai đô đốc Tông Đức hầu, 河僊鎮欽差都督琮德侯)
พระยาราชาเศรษฐีญวน นักพระโสทัต[7][34]
(ព្រះសុទត្ដ)
1736–1771 บุตรม่อ จิ่ว
เฉิน เหลียน/เจิ่น เลียน
陳聯
พระยาราชาเศรษฐีจีน 1771–1773 สยามแต่งตั้ง
ม่อ ซื่อหลิน/หมัก เทียน ตื๊อ
鄚天賜
ห่าเตียนเจิ๊นเคิมซายโดด๊กตงดึ๊กเหิ่ว
(Hà Tiên trấn khâm sai đô đốc Tông Đức hầu, 河僊鎮欽差都督琮德侯) (ก่อน ค.ศ. 1775)
ดักเตี๊ยนกว๊กหลาวห่าเตียนเจิ๊นโดด๊กตงเกวิ่นกง
(Đặc tiến quốc lão Hà Tiên trấn đô đốc Tông quận công, 特進國老河僊鎮都督琮郡公) (ใน ค.ศ. 1775)
พระยาราชาเศรษฐีญวน นักพระโสทัต 1773–1777 ครั้งที่สอง
ว่าง
(ค.ศ. 1777–1785)
ม่อ ซือเชิง/หมัก ตื๋อ ซิญ
鄚子泩
ห่าเตียนลืวถูทามเตื๊องลี้จั๊ญเหิ่ว
(Hà Tiên lưu thủ tham tướng Lý Chánh hầu, 河僊留守參將理政侯)
พระยาราชาเศรษฐี 1785–1788 บุตรม่อ ซื่อหลิน
ว่าง
โง มา (Ngô Ma) ปฏิบัติหน้าที่แทน (1788–1789)
[35]
ม่อ กงปิ่ง/หมัก กง บิ๊ญ
鄚公柄
ล็องเซวียนลืวถูบิ๊ญจั๊ญเหิ่ว
(Long Xuyên lưu thủ Bính Chánh hầu, 龍川留守柄正侯)
1789–1792 หลานม่อ ซื่อหลิน
ว่าง
เจิ๊น ฮัญ (Trần Hanh) และเจิ๊น โต (Trần Tô) ปฏิบัติหน้าที่แทน (1792–1800)[35]
ม่อ จือเทียน/หมัก ตื๋อ เทียม
鄚子添
ห่าเตียนจั๊ญเคิมซายลืวถูกายเกอเทียมหลกเหิ่ว (Hà Tiên chánh khâm sai lưu thủ cai cơ Thiêm Lộc hầu, 河僊正欽差留守該奇添祿侯) (ก่อน ค.ศ. 1805)
ห่าเตียนเจิ๊นเคิมซายเจื๋องเกอเทียมหลกเหิ่ว
(Hà Tiên trấn khâm sai chưởng cơ Thiêm Lộc hầu, 河僊鎮欽差掌奇添祿侯) (หลัง ค.ศ. 1805)
เจ้าพระยา ?[36] 1800–1809 บุตรม่อ ซื่อหลิน
โง อี เหงียม (Ngô Y Nghiễm) และเล เตี๊ยน สาง (Lê Tiến Giảng) เป็นรัฐบาล (1809–1816)[35]
ม่อ กงหยู/หมัก กง ซู
鄚公榆
ห่าเตียนเจิ๊นเหียปเจิ๊นซูถั่ญเหิ่ว
(Hà Tiên trấn hiệp trấn Du Thành hầu, 河僊鎮叶鎮榆成侯) (ก่อน ค.ศ. 1818)
ห่าเตียนเจิ๊นถูซูถั่ญเหิ่ว
(Hà Tiên trấn thủ Du Thành hầu, 河僊鎮守榆成侯) (หลัง ค.ศ. 1818)
1816–1829 หลานม่อ ซื่อหลิน
ม่อ กงไฉ/หมัก กง ต่าย
鄚公材
ห่าเตียนถูกว๋านถู
(Hà Tiên thủ quản thủ, 河僊守管守)
1830–1832 หลานม่อ ซื่อหลิน

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 Wade, p. 102
  2. 李庆新. "鄚氏河仙政权("港口国")与18世纪中南半岛局势" (ภาษาจีน).
  3. 3.0 3.1 Cooke & Li 2004, p. 43–46
  4. Nicholas Sellers, The Princes of Hà-Tiên (1682-1867): the Last of the Philosopher-Princes and the Prelude to the French Conquest of Indochina: a Study of the Independent Rule of the Mac Dynasty in the Principality of Hà-Tiên, and the Establishment of the Empire of Vietnam, Brussels, Thanh-long, 1983, p. 164.
  5. Dai & Yang 1991, p. 303–304
  6. พิทยะ ศรีวัฒนสาร (31 พฤษภาคม 2555). "เมือง Kamkam ในจารึก Asemto อยู่ไหน?". สยาม-โปรตุเกสศึกษา. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 8.2 พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี, หน้า 65
  9. 9.0 9.1 9.2 จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. "พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (3 มิถุนายน 2560). ""ฮ่าเตียน" เมืองท่าชายฝั่งของเมืองบันทายมาศ". ประวัติศาสตร์ของคนกลุ่มเล็ก ๆ. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. 11.0 11.1 รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ, หน้า 9
  12. 12.0 12.1 12.2 "ภูมิบ้านภูมิเมือง : ฮาเตียน ภูมิเมืองพุทไธมาศของพระราชาเศรษฐี'". แนวหน้า. 30 สิงหาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ, หน้า 65
  14. 14.0 14.1 รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ, หน้า 61
  15. รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ, หน้า 120
  16. 16.0 16.1 Choi, p. 23-24
  17. รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ, หน้า 68
  18. Dai & Yang 1991, p. 311
  19. 19.0 19.1 การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี, หน้า 175-177
  20. ปรามินทร์ เครือทอง (1 พฤศจิกายน 2562). "ตามติดปฏิบัติการ พระเจ้าตาก "ตามล่า" รัชทายาทกรุงศรีอยุธยา". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. 21.0 21.1 Dai & Yang 1991, p. 313–319
  22. "จีนอคติต่อพระเจ้าตากรุนแรงในระยะแรก ทำไมยอมรับสถานะกษัตริย์ในภายหลัง". ศิลปวัฒนธรรม. 30 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. 23.0 23.1 23.2 ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 136-137
  24. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี, หน้า 179-180
  25. รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ, หน้า 83
  26. รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ, หน้า 103
  27. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 เรื่องพงศาวดารญวน". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ, หน้า 107, 135
  30. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. รุกตะวันออก ความสัมพันธ์ "สยาม-เวียดนาม" ก่อนอานามสยามยุทธ, หน้า 118
  32. Dai & Yang 1991, p. 322–323
  33. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "ប្រវត្តិសាស្ត្រប្រទេសកម្ពុជា-ជំពូកទី៣" (ภาษาเขมร).
  35. 35.0 35.1 35.2 Dai & Yang 1991, p. 326–329
  36. Dai & Yang 1991, p. 256
บรรณานุกรม