รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ

รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา เป็นผู้บังคับบัญชาและหัวหน้ากระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ปกป้องดูแลพลเมืองชาวอเมริกันและประเทศชาติ รัฐมนตรีฯถือเป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรีสหรัฐ ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ หลังจากเกิดเหตุการณ์ วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 . โดยเป็นการยุบรวมหน่วยงานย่อยหลายหน่วยงานที่มีภารกิจปกป้องมาตุภูมิมาไว้ด้วยกัน เช่น ยามฝั่งสหรัฐ, หน่วยปกป้องกลาง , กองศุลกากรและปกป้องชายแดนสหรัฐ (รวม สายตรวจประจำชายแดนด้วย), หน่วยตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐ (รวมฝ่ายสืบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิด้วย), เจ้าหน้าที่ซีเคร็ท เซอร์วิส และ สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ (FEMA). แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวม สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ และ สำนักข่าวกรองกลาง ด้วย[2]

รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
สหรัฐอเมริกา
ตราประจำกระทรวง
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
อเลฮันโดร มาร์ยอคัส

ตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021
กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
การเรียกขานท่านรัฐมนตรี
สมาชิกของคณะรัฐมนตรีสหรัฐ
รายงานต่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ที่ว่าการวอชิงตัน ดีซี
ผู้แต่งตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
โดยคำแนะนำและยินยอมจากวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา
วาระไม่กำหนดวาระ
ตราสารจัดตั้ง6 U.S.C. § 112
สถาปนา24 มกราคม 2003
(21 ปีก่อน)
 (2003-01-24)
คนแรกทอม ริดจ์
ตำแหน่งที่มาแทน18[1]
รองรัฐมนตรีช่วยความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ
เงินตอบแทนExecutive Schedule, level 1
เว็บไซต์www.dhs.gov

วันที่ 20 มกราคม 2552 วุฒิสภาสหรัฐ ได้รับรองการแต่งตั้งนางจาเน็ต นาตาโปลิโน ตามการเสนอชื่อของประธานาธิบดี บารัก โอบามา ให้เป็นรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐคนที่ 3[3] ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552[4] นาง นาตาโปลิโน ประกาศลาออกจากตำแหน่งมีผลในเดือนสิงหาคมปี 2556 ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ต่อมาวันที่ 17 ตุลาคม ประธานาธิบดีโอบามา ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะแต่งตั้งอดีตที่ปรึกษาทั่วไปของกระทรวงกลาโหม เจห์ จอห์นสัน ให้เข้าดำรงตำแหน่ง และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม วุฒิสภาสหรัฐอเมริกาได้รับรองการแต่งตั้ง [5]

รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา คนก่อนคือ นางคริสเตนท์ นีลเซน (Kirstjen Nielsen) หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสืบต่อจาก จอห์น เอฟ. เคลลี่ ที่ไปดำรงตำแหน่งเสนาธิการทำเนียบขาว โดยประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ [6] มีการประกาศเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2017 ว่านางคริสต์เจน นีลเซ่น ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ เธอได้รับการรับรองจากวุฒิสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560[7]

การรวมไว้ในลำดับสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี แก้

ตามประเพณี ลำดับการสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะถูกกำหนดขึ้น (หลังจากรองประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ประธานชั่วคราวแห่งวุฒิสภา) ตามลำดับตำแหน่งของรัฐมนตรี และตามที่ได้รับมอบอำนาจตาม ประมวลกฎหมายสหรัฐอเมริกา ลักษณะ 3 มาตรา 19 ตามประเพณีนี้[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้ลงนามในคำสั่งทางบริหาร ซึ่งต่ออายุรัฐบัญญัติการรักชาติที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปี 2544 และ แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเนียบประธานาธิบดี โดยให้ รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ อยู่ในลำดับการสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากรัฐมนตรีกระทรวงทหารผ่านศึก (มาตรา 503) (ซึ่งมีการระบุและกำหนดไว้ในลำดับกระทรวงที่ก่อตั้งขึ้น) ในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ชุดที่ 109 ทางสภา ได้มีการแนะนำให้ตำแหน่งรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สืบอำนาจต่อจากอัยการสูงสุดสหรัฐ แต่ก็ไม่ได้รับการสนใจจนหมดสมัยประชุม[ต้องการอ้างอิง]

ลำดับสืบทอดตำแหน่งรัฐมนตรี แก้

ลำดับการสืบทอดตำแหน่ง "รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ" หากผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า ลาออก ถึงแก่อสัญกรรม ถูกถอดถอน มีดังนี้[8]

  1. Deputy Secretary of Homeland Security รัฐมนตรีช่วยความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
  2. Under Secretary of Homeland Security for National Protection and Programs ปลัดกระทรวงฯ ฝ่ายป้องกันประเทศและแผนงาน
  3. Under Secretary of Homeland Security for Management ปลัดกระทรวงฯ ฝ่ายการจัดการ
  4. Under Secretary, Office of Strategy, Policy, and Plans ปลัดกระทรวงฯ สำนักงานกลยุทธ์,นโยบายและแผน
  5. Under Secretary of Homeland Security for Science and Technology ปลัดกระทรวงฯ ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  6. General Counsel of the Department of Homeland Security ที่ปรึกษาทั่วไปประจำกระทรวง
  7. Administrator of the Transportation Security Administration ผู้อำนวยการสำนักงานความปลอดภัยทางคมนาคม
  8. Administrator of the Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการสำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
  9. Commissioner of U.S. Customs and Border Protection กรรมาธิการกองศุลกากรและปกป้องชายแดนสหรัฐ
  10. Director of U.S. Immigration and Customs Enforcement ผู้อำนวยการหน่วยตรวจคนเข้าเมืองและชายแดนสหรัฐ
  11. Director of U.S. Citizenship and Immigration Services ผู้อำนวยการหน่วยบริการพลเมืองและตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐ
  12. Chief Financial Officer อธิบดีฝ่ายการเงิน
  13. Regional Administrator, Region V, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 5 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
  14. Regional Administrator, Region VI, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 6 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
  15. Regional Administrator, Region VII, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 7 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
  16. Regional Administrator, Region IX, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 9 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ
  17. Regional Administrator, Region I, Federal Emergency Management Agency ผู้อำนวยการภูมิภาค 1 สำนักงานรับมือและจัดการฉุกเฉินแห่งชาติ

อ้างอิง แก้

  1. "3 U.S. Code § 19 - Vacancy in offices of both President and Vice President; officers eligible to act". LII / Legal Information Institute.
  2. Homeland Security Act, แม่แบบ:USPL
  3. Murray, Shailagh; Kane, Paul (January 21, 2009). "Obama Picks Confirmed, But Clinton Is on Hold". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ September 2, 2010.
  4. Chertoff: Inauguration security forces 'ready' - CNN.com
  5. "Senate confirms new homeland security secretary". bostonherald.com.
  6. Byrnes, Jesse (July 28, 2017). "Meet the woman set to lead Homeland Security". TheHill. สืบค้นเมื่อ August 1, 2017.
  7. "Senate confirms Kirstjen Nielsen to head Homeland Security". CBS News. December 5, 2017. สืบค้นเมื่อ December 5, 2017.
  8. "Executive Order 13442: Amending the Order of Succession in the Department of Homeland Security" (PDF). สืบค้นเมื่อ January 29, 2009.