รัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2540

รัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2540 (เขมร: រដ្ឋប្រហារកម្ពុជាឆ្នាំ១៩៩៧) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัมพูชาในเดือนกรกฎาคม –สิงหาคม พ.ศ. 2540 ผลที่ตามมาจากเหตุการณ์นี้คือ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีร่วม ปลดพระนโรดม รณฤทธิ์ นายกรัฐมนตรีร่วมอีกคนหนึ่งได้ มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 10 คน

รัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2540[2][3][4]
วันที่5 กรกฎาคม – 7 กันยายน พ.ศ. 2540
สถานที่
ผล ฮุน เซนเป็นฝ่ายชนะ พระนโรดม รณฤทธิ์ลี้ภัยไปฝรั่งเศสจนถึง พ.ศ. 2541
คู่สงคราม
พรรคประชาชนกัมพูชา ฟุนซินเปก กัมพูชา เขมรแดง (ส่วนใหญ่อยู่ทางจังหวัดภาคเหนือคืออุดรมีชัย​)[1]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฮุน เซน
Ke Kim Yan
สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์
ญึก บุญชัย
เสเร็ย โกซัล (ในจังหวัดพระตะบอง)
กัมพูชา ตา ม็อก
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ฝ่ายฟุนซินเปกถูกฆ่าประมาณ 40 คน[5] ไม่ทราบ
ประชาชนถูกฆ่า 100 คน (5–6 กรกฎาคม)[6]
นายกรัฐมนตรีคนแรก สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์
นายกรัฐมนตรีคนที่สอง ฮุน เซน

ภูมิหลัง แก้

ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2535 คณะผู้บริหารของอันแทคได้เดินทางมาถึงกัมพูชาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจัดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2536 เขมรแดงหรือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตยไม่ยอมวางอาวุธ ไม่หยุดเคลื่อนไหว และไม่ให้ประชาชนในเขตของตนเข้าร่วมการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่าพระนโรดม รณฤทธิ์จากพรรคฟุนซินเปกชนะการเลือกตั้ง โดยฮุน เซนจากพรรคประชาชนกัมพูชาได้ลำดับที่สอง ทั้งสองพรรคได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีพระนโรดม รณฤทธิ์และฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีร่วม

การต่อสู้ แก้

ใน พ.ศ. 2540 ความตึงเครียดที่ยาวนานระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสองพรรคกลายเป็นการต่อสู้ระหว่างพระนโรดม รณฤทธิ์กับฮุนเซน ทั้งสองฝ่ายพยายามแย่งชิงโอกาสในการกุมอำนาจทั้งหมด รวมทั้งพยายามดึงเขมรแดงเข้ามาเป็นพวก ฮุนเซนได้ออกมากล่าวหาว่าพระนโรดม รณฤทธิ์วางแผนจะยึดอำนาจโดยมีทหารเขมรแดงหนุนหลัง จึงสั่งให้ทหารในฝ่ายของตนจับกุมฝ่ายของฟุนซินเปก[7] เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 เกิดการปะทะระหว่างทหารที่สนับสนุนฮุน เซนกับพระนโรดม รณฤทธิ์กลางกรุงพนมเปญ ทหารฝ่ายฮุน เซนสามารถยึดครองพื้นที่ได้ 90% ฝ่ายของพระนโรดม รณฤทธิ์ที่มีพลเอกญึก บุญชัยเป็นหัวหน้าได้ล่าถอยมาตั้งมั่นที่โอร์เสม็ดติดแนวชายแดนที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมีกองกำลังเขมรแดงส่วนหนึ่งเข้าช่วยเหลือฝ่ายพระนโรดม รณฤทธิ์ คือกลุ่มของเขียว สัมพันและตา มกที่ตั้งมั่นอยู่ที่อันลองเวง อีกกลุ่มหนึ่งเข้าโจมตีฝ่ายรัฐบาลที่บ้านโอตาเตี๊ยะตรงข้ามกับอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดนำโดยตา มุต และตา มิต การต่อสู้ระหว่างทั้งสองฝ่ายทำให้กระสุนเข้ามาตกในเขตไทย ทหารไทยเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 3 นาย ชาวกัมพูชาอพยพหนีเข้ามาฝั่งไทยประมาณ 3,000 คน [8]มีการต่อสู้กับฝ่ายของฮุน เซนจนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540[9] เมื่อฮุน เซนเป็นฝ่ายชนะ พระนโรดม รณฤทธิ์ลี้ภัยไปฝรั่งเศส ผู้นำพรรคฟุนซินเปกอีกหลายคนออกนอกประเทศไปด้วย อึง ฮวดได้เป็นนายกรัฐมนตรีร่วมแทน

ผู้นำของพรรคฟุนซินเปกกลับสู่กัมพูชาในช่วงสั้น ๆ ระหว่างการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 ซึ่งพรรคประชาชนกัมพูชาเป็นฝ่ายชนะแต่เสียงไม่พอจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคฟุนซินเปกอีก

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Cambodge: les royalistes assiégésAidés des Khmers rouges ils défendent leur - Libération". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-04. สืบค้นเมื่อ 2009-08-26.
  2. Hul, Reaksmey (9 July 2015). "Opposition Marks Anniversary of 1997 Coup". Voice of America. สืบค้นเมื่อ 3 August 2019.
  3. Willemnys, Alex (5 July 2017). "Making of a strongman: In July 1997, Hun Sen took full control of the country – and his party". The Phnom Penh Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-03. สืบค้นเมื่อ 3 August 2019.
  4. Hutt, David (28 June 2017). "Remembering the Cambodian Coup". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 3 August 2019.
  5. Ayres, David M. (2000). Anatomy of a Crisis. p. 150. ISBN 9780824822385. สืบค้นเมื่อ 2015-01-23.
  6. David Ashley. "Between war and peace: Cambodia 1991-1998 | Conciliation Resources". C-r.org. สืบค้นเมื่อ 2018-07-04.
  7. Cambodia: July 1997: Shock and Aftermath by Brad Adams
  8. วัชรินทร์ ยงศิริ. สงครามกัมพูชา จุดสุดท้ายที่โอร์เสม็ด ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์กราฟิก. 2545 หน้า 30-37
  9. http://www.liberation.fr/monde/0101221900-cambodge-les-royalistes-assiegesaides-des-khmers-rouges-ils-defendent-leur-dernier-bastion-attaque-par-hun-sen

บรรณานุกรม แก้

  • Mehta, Harish C. & Julie B. (2013). Strongman: The Extraordinary Life of Hun Sen: The Extraordinary Life of Hun Sen. Singapore: Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. ISBN 978-9814484602.
  • Peou, Sorpong (2000). Intervention & Change in Cambodia: Towards Democracy?. National University of Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 9813055391.
  • Widyono, Benny (2008). Dancing in Shadows: Sihanouk, the Khmer Rouge, and the United Nations in Cambodia. Lanham, Maryland, United States of America: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0742555532.