เสรีรัฐทือริงเงิน[3] (เยอรมัน: Freistaat Thüringen) หรือ เสรีรัฐทูรินเจีย[3] (อังกฤษ: Free State of Thuringia) เป็นหนึ่งในสิบหกรัฐของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ มีเนื้อที่ 16,171 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเล็กเป็นอันดับ 6 ของประเทศ มีประชากรประมาณ 2.14 ล้านคน ซึ่งน้อยเป็นอันดับ 5 ของประเทศ[4] รัฐทือริงเงินมีเมืองแอร์ฟวร์ทเป็นเมืองหลวง เมืองสำคัญอื่นๆ ของรัฐ เช่น ไวมาร์ เกรา เยนา ซูล เป็นต้น

เสรีรัฐทือริงเงิน

Freistaat Thüringen
ธงของเสรีรัฐทือริงเงิน
ธง
ตราแห่งรัฐ
ตราอาร์ม
พิกัด: 50°51′40″N 11°3′7″E / 50.86111°N 11.05194°E / 50.86111; 11.05194
ประเทศเยอรมนี
เมืองหลวงแอร์ฟวร์ท
การปกครอง
 • มุขมนตรีBodo Ramelow (Die Linke)
 • พรรคการเมืองLeft / SPD / Greens
 • จำนวนผู้แทนรัฐ4 (จาก 69)
พื้นที่
 • ทั้งหมด16,172.50 ตร.กม. (6,244.24 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2020-12-31)[1]
 • ทั้งหมด2,120,237 คน
 • ความหนาแน่น130 คน/ตร.กม. (340 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัส ISO 3166DE-TH
จีดีพี (ตัวเงิน)€ 64 พันล้าน (2019) [2]
จีดีพีต่อหัว€ 30,000 (2019)
NUTS RegionDEG
เว็บไซต์thueringen.de

รัฐทือริงเงินมีฉายาว่า "หัวใจสีเขียวแห่งเยอรมนี" (เยอรมัน: das grüne Herz Deutschlands) ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[5] เนื่องจากมีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่มาก

ภูมิศาสตร์ แก้

 
ป่าทือริงเงินในฤดูหนาว

รัฐทือริงเงินมีอาณาเขตติดต่อนับจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ซัคเซิน-อันฮัลท์ ซัคเซิน บาวาเรีย และเฮ็สเซิน โดยรัฐนีเดอร์ซัคเซินมีแนวเขาฮาร์ซ ฝั่งตะวันตกแบ่ง รัฐซัลเซิน-อันฮัลท์ก็ถูกแบ่งโดยแนวเขาฮาร์ซฝั่งตะวันออก เขตติดต่อรัฐบาวาเรียที่อยู่ตอนใต้มีป่าทือริงเงินกั้น โดยแนวเขาฮาร์ซนี้ทอดยาวไปทางใต้จนถึงป่าทือริงเงิน ส่วนฝั่งตะวันออกของรัฐเป็นที่ราบ แม่น้ำที่สำคัญของรัฐได้แก่ แม่น้ำแวร์รา (Werra) ที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเวเซอร์ และแม่น้ำซาเลอ (Saale) ที่ไหลจากทิศใต้สู่เหนือผ่านที่ราบฝั่งตะวันออก

จุดกึ่งกลางของเยอรมนีตั้งอยู่ในรัฐทือริงเงิน ซึ่งอยู่บริเวณเทศบาลนีเดอร์ดอร์ลา

อาณาเขต แก้

ภูมิอากาศ แก้

รัฐทือริงเงินมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นจากอิทธิพลของลมตะวันตกที่พัดนำความชื้นปกคลุม โดยเฉพาะลมจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพภูมิอากาศแสดงลักษณะภาคพื้นทวีป ฤดูหนาวมีความหนาวเย็นเป็นเวลานาน และฤดูร้อนอบอุ่นขึ้น ช่วงเวลาที่แห้งแล้งได้รับการบันทึกบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอ่งทือริงเงิน ซึ่งอับลมจากการมีภูเขาล้อมรอบในทุกทิศทาง เป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งที่สุดของประเทศเยอรมนี โดยมีปริมาณน้ำฝนรายปีเพียง 400 ถึง 500 มิลลิเมตร

เมืองอาร์เทิร์นทางตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศอบอุ่นและแห้ง โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 8.5 °C และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 450 มม. แตกต่างกับเมืองโอแบร์โฮฟ ซึ่งอยู่ในป่าทือริงเงิน ที่เปียกชื้นและมีอากาศเย็นซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพียง 4.4 °C และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 1,300 มม.

ข้อมูลภูมิอากาศของแอร์ฟวร์ท (ค.ศ. 1971–2000)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.2
(36)
3.2
(37.8)
7.8
(46)
12.2
(54)
17.5
(63.5)
20.1
(68.2)
22.5
(72.5)
22.7
(72.9)
18.3
(64.9)
12.7
(54.9)
6.4
(43.5)
3.4
(38.1)
12.4
(54.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -3.1
(26.4)
-2.9
(26.8)
0.3
(32.5)
2.8
(37)
7.1
(44.8)
10.2
(50.4)
12.1
(53.8)
12.0
(53.6)
9.1
(48.4)
5.1
(41.2)
0.9
(33.6)
-1.5
(29.3)
4.3
(39.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 24.7
(0.972)
23.8
(0.937)
35.5
(1.398)
40.3
(1.587)
54.8
(2.157)
60.8
(2.394)
62.5
(2.461)
52.8
(2.079)
40.5
(1.594)
36.8
(1.449)
37.5
(1.476)
31.5
(1.24)
501.5
(19.744)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 7.0 6.7 8.3 7.9 8.5 10.0 8.7 8.3 7.4 6.9 7.8 7.6 95.1
แหล่งที่มา: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[6]

เขตปกครอง แก้

 
แผนที่การแบ่งเขตปกครองของรัฐทือริงเงิน

รัฐทือริงเงินแบ่งเขตปกครองชนิดอำเภอ (Landkreis) จำนวน 17 อำเภอ ได้แก่

หมายเลข อำเภอ ที่ตั้งศูนย์กลางบริหาร พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(2015)[4]
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
1 ไอชส์เฟลด์
(Eichsfeld)
ไฮล์บาดไฮลิเกนชตัดท์
(Heilbad Heiligenstadt)
940.06 101,325 108
2 นอร์ดเฮาเซิน
(Nordhausen)
นอร์ดเฮาเซิน
(Nordhausen)
711.00 85,355 120
3 อุนชตรูท-ไฮนิช-ไครส์
(Unstrut-Hainich-Kreis)
มึลเฮาเซิน
(Mühlhausen)
975.53 105,273 108
4 คึฟฮอยเซอร์ไครส์
(Kyffhäuserkreis)
ซอนเดอร์สเฮาเซิน
(Sondershausen)
1,035.16 77,110 74
5 เซิมแมร์ดา
(Sömmerda)
เซิมแมร์ดา
(Sömmerda)
804.20 70,600 88
7 วาร์ทบวร์คไครส์
(Wartburgkreis)
บาดซัลซุงเงิน
(Bad Salzungen)
1,304.86 125,655 96
8 โกทา
(Gotha)
โกทา
(Gotha)
935.61 136,831 146
11 ไวมาเรอร์ลันด์
(Weimarer Land)
อะโพลดา
(Apolda)
803.04 82,127 102
13 ซาเลอ-โฮลส์ลันด์-ไครส์
(Saale-Holzland-Kreis)
ไอเซนแบร์ก
(Eisenberg)
816.97 86,184 105
14 ไกรซ์
(Greiz)
ไกรซ์
(Greiz)
843.52 101,114 120
16 อัลเทนบูร์เกอร์ลันด์
(Altenburger Land)
อัลเทินบวร์ค
(Altenburg)
569.08 92,344 162
17 ชมาลคัลเดิน-ไมนิงเงิน
(Schmalkalden-Meiningen)
ไมนิงเงิน
(Meiningen)
1,210.14 124,623 103
19 อิลม์-ไครส์
(Ilm-Kreis)
อาร์นชตัดท์
(Arnstadt)
843.14 109,620 130
20 ซาลเฟลด์-รูดอลชตัดท์
(Saalfeld-Rudolstadt)
ซาลเฟลด์
(Saalfeld)
1,034.58 109,278 106
21 ซาเลอ-ออร์ลา-ไครส์
(Saale-Orla-Kreis)
ชไลซ์
(Schleiz)
1,148.47 82,951 72
22 (เขียว) ฮิลด์บวร์คเฮาเซิน
(Hildburghausen)
ฮิลด์บวร์คเฮาเซิน
(Hildburghausen)
937.37 64,524 69
22 (แดง) ซอนเนแบร์ก
(Sonneberg)
ซอนเนแบร์ก
(Sonneberg)
433.49 56,818 131

และมีเขตปกครองชนิดเมือง (kreisfreie Stadt) จำนวน 6 เมือง ได้แก่

หมายเลข เมือง พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(2015)[4]
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
6 ไอเซนัค (Eisenach) 103.84 42,417 408
9 แอร์ฟวร์ท (Erfurt) 269.17 210,118 781
10 ไวมาร์ (Weimar) 84.26 64,131 761
12 เยนา (Jena) 114.29 109,527 958
15 เกรา (Gera) 151.93 96,011 632
18 ซูล (Suhl) 102.70 36,778 358

อ้างอิง แก้

  1. "Bevölkerung der Gemeinden, erfüllenden Gemeinden und Verwaltungsgemeinschaften in Thüringen Gebietsstand: 31.12.2020". Thüringer Landesamt für Statistik (ภาษาเยอรมัน). June 2021.
  2. "Bruttoinlandsprodukt – in jeweiligen Preisen – 1991 bis 2019". statistik-bw.de (ภาษาเยอรมัน).
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  4. 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Population2017
  5. Verein Fur Naturkunde, Kassel (2009-07-30). A. Trinius (1898). สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
  6. "World Weather Information Service - Erfurt". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-23. สืบค้นเมื่อ 22 January 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้