ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ (Railway signalling system) เป็นระบบกลไก สัญญาณไฟ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ในการเดินขบวนรถไฟเพื่อแจ้งให้พนักงานขับรถไฟทราบสภาพเส้นทางข้างหน้า และตัดสินใจที่จะหยุดรถ ชะลอความเร็ว หรือบังคับทิศทาง ให้การเดินรถดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการเดินรถสวนกันบนเส้นทางเดียว หรือการสับหลีกเพื่อให้รถไฟวิ่งสวนกันบริเวณสถานีรถไฟ หรือควบคุมรถไฟให้การเดินขบวนเป็นไปตามที่กำหนดไว้กรณีที่ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบคอมพิวเตอร์

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟจะควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ และระยะเวลาในการเดินรถ ของขบวนรถที่อยู่บนทางร่วมเดียวกัน รวมทั้งการสับหลีกบริเวณสถานีรถไฟ โดยการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ จะออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟสามารถตัดสินใจเดินรถได้อย่างมั่นใจ และไม่ให้เกิดความสับสน

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟในประเทศไทย แก้

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟในประเทศไทย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัย สภาพภูมิประเทศ (ความลาดชัน, ทางโค้ง, สภาพราง) ความหนาแน่นของชุมชน และงบประมาณ

สัญญาณประจำที่ (Wayside Signals) แก้

 
อาณัติสัญญาณประจำที่ชนิดไฟสีสองท่า ที่สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟในประเทศไทย มีการลักษณะใช้สัญญาณประจำที่โดยพนักงานขับรถจะต้องปฏิบัติตามท่าแสดงสัญญาณอย่างเคร่งครัด โดยสัญญาณประจำที่นั้นได้มีการกำหนดให้ตั้งอยู่ทางด้านขวาของขบวนรถในทางเดี่ยว และด้านซ้ายของขบวนรถในทางคู่ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้

  1. สัญญาณไฟสี (Color Light Signals) แบ่งเป็นประเภทไฟสีสองท่า (Two Aspect) หรือไฟสีสามท่า (Three Aspect)
  2. สัญญาณหางปลา (Semaphore Signals)
  3. หลักเขตสถานี

สัญญาณประจำที่ของการรถไฟที่ใช้มีดังนี้

หลักเขตสถานี (Limit of Station) ตั้งอยู่ก่อนถึงสถานีและอยู่ภายนอกประแจอันนอกสุดของสถานี ทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินเข้าสู่สถานี

สัญญาณเตือน (Warner SIgnal หรือ Distant Signal) ตั้งอยู่ก่อนถึงสัญญาณเข้าเขตนอก หรืออยู่ร่วมกับสัญญาณเข้าเจตนอก หรือก่อนถึงสัญญาณเข้าเขตใน(หากไม่มีสัญญาณเข้าเขตนอก) หรือก่อนถึงสัญญาณอัตโนมัติ ประมาณ 1000 ถึง 1,500 เมตร ทำหน้าที่แสดงให้ทราบถึงสัญญาณประจำที่ตัวถัดไปว่าอยู่ในท่าใด

สัญญาณเข้าเขตนอก (Outer Home Signal) ตั้งอยู่ก่อนถึงสัญญาณเข้าเขตใน ทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินถึงสัญญาณเข้าเขตใน

สัญญาณเข้าเขตใน (Inner Home Signal) ตั้งอยู่ก่อนถึงสถานีและประแจตัวนอกสุดของสถานี ทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินเข้าสู่สถานี

สัญญาณออก (Starter Signal หรือ Exit Signal) ตั้งอยู่ในทิศทางที่ขบวนรถจะออกจากสถานี ทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินเข้าสู่ตอน หรือตอนอัตโนมัติ หรือสัญญาณออกอันนอก(ถ้ามี)

 
สัญญาณหางปลา จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์รถไฟแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ

สัญญาณออกอันนอก (Outer Starter Signal) ตั้งอยู่ถัดจากสัญญาณออก เป็นสัญญาณที่อยู่อันนอกสุด ทำหน้าที่เช่นเดียวกับสัญญาณออกหรือหลักเขตสับเปลี่ยน

สัญญาณเรียกเข้า (Call-On Signal) ตั้งอยู่ร่วมกับสัญญาณเข้าเขตนอกหรือสัญญาณเข้าเขตในชนิดไฟสี ทำหน้าที่อนุญาตให้ขบวนรถเดินผ่านสัญญาณที่อยู่ในที่ห้าม

สัญญาณตัวแทน (Repeater Signal) ตั้งอยู่ก่อนถึงสัญญาณประจำที่ในกรณีที่ไม่สามารถมองเห็นสัญญาณถัดไปในระยะไกลได้ (เช่นทางโค้ง) โดยแสดงสัญญาณตามท่าของสัญญาณประจำที่ตัวถัดไป

สัญญาณอัตโนมัติ (Automatic Signal) ตั้งอยู่ในตอนอัตโนมัติทำหน้าที่ห้ามหรืออนุญาตให้ขบวนรถเดินถึงสัญญาณประจำที่ตัวถัดไป

สัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง (Level Crossing Rail Warning Signal) ตั้งอยู่ห่างจากขอบถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟไม่น้อยกว่า 50 เมตร ทำหน้าที่แสดงให้พนักงานขับรถทราบว่าเครื่องกั้นถนนได้ปิดเรียบร้อยแล้วหรือไม่

ประเภทของเครื่องสัญญาณประจำที่ (Classification of Interlocking Station) แก้

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้แบ่งประเภทของระบบอาณติสัญญาณประจำสถานีรถไฟ โดยแบ่งตามประเภทของสัญญาณประจำที่ที่ใช้ในแต่ละสถานีดังนี้

 
อาณัติสัญญาณประจำที่ชนิดไฟสีสามท่า ที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน

ประเภท ก. ประแจกลหมู่ (Class A. Fully Interlocking) แก้

  • ก.1ก : ประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ และสัญญาณไฟสี (A1a : All Relay Interlocking with Color Light Signals)
  • ก.1ข : ประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ และสัญญาณไฟสี (A1b : Computer Base Interlocking with Color Light Signals)
  • ก.2 : ประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยเครื่องกล และสัญญาณไฟสี (A2 : Electromechanical Interlocking with Color Light Signals)

1) ประแจกลหมู่ชนิดควบคุมโดยเครื่องกลและไฟฟ้าสัมพันธ์กับสัญญาณไฟสี (Electromechanical Interlocking with Color Light Signals)

2) ประแจกลหมู่ชนิดควบคุมโดยสายลวดสัมพันธ์กับสัญญาณไฟสี (Electromechanical Interlocking but Operated from Lever Frame with Color Light Signals)

  • ก.3 : ประแจสายลวดพร้อมสัญญาณหางปลาชนิดมีสัญญาณเตือน สัญญาณเข้าเขตใน และสัญญาณออกนอก (A3 : Mechanical Interlocking with Semaphore Signals Equiped with Warner Home and Starter Signals)
  • ก.4 : ประแจสายลวดพร้อมสัญญาณหางปลา สัญญาณเข้าเขตใน และสัญญาณออกนอก ไม่มีสัญญาณเตือน (A4 : Mechanical Interlocking with Semaphore Signals Equiped but without Warner Either Equiped with Home and Starter)
 
อาณัติสัญญาณประจำที่ชนิดหางปลา ที่สถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้

ประเภท ข. ประแจกลเดี่ยว (Class B. Semi Interlocking) แก้

ข. ประแจกลเดี่ยว (ประแจมือ) พร้อมสัญญาณหางปลา (B : Semi Interlocking with Semaphore Signal with Hand Operated Key Locked Points)

ประเภท ค. (Class C.) แก้

ค. สถานีมีเสาสัญญาณหางปลาอย่างเดียว (C: Station with Semaphore Signals Only)

ประเภท ง. (Class D.) แก้

ง. สถานีใช้ป้ายเขตสถานี ไม่มีสัญญาณประจำที่ (D : Stations without Signals but with Hand Operated Key Locked Points)

ประเภท จ. (Class E.) แก้

จ. สถานีใช้ป้ายหยุดรถ หรือที่หยุดรถ (E : Stopping Place)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้