รอเบิร์ต มูกาบี

อดีตประธานาธิบดีซิมบับเว

รอเบิร์ต เกเบรียล มูกาบี (อังกฤษ: Robert Gabriel Mugabe; 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 – 6 กันยายน ค.ศ. 2019) เป็นอดีตประธานาธิบดีซิมบับเว ดำรงตำแหน่งระหว่างปี ค.ศ. 1987–2017 เขาเป็นหนึ่งในผู้นำในสงครามประกาศเอกราชซิมบับเว ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปต่อต้านชาวผิวขาว เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี ค.ศ. 1980 โดยก่อนหน้านั้นเคยเป็นผู้นำพรรคสหภาพแห่งชาติแอฟริกาแห่งซิมบับเว-แนวหน้ารักปิตุภูมิมาก่อน

รอเบิร์ต มูกาบี
ภาพถ่ายรอเบิร์ต มูกาบีในปี ค.ศ. 2015
ประธานาธิบดีซิมบับเว คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
31 ธันวาคม ค.ศ. 1987 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
(29 ปี 325 วัน)
นายกรัฐมนตรีมอร์แกน แชงกิราย (2009–2013)
รองประธานาธิบดีJoshua Nkomo (1987–1999)
Simon Muzenda (1987–2003)
Joseph Msika (1999–2009)
Joice Mujuru (2004–2014)
John Nkomo (2009–2013)
เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา (2013-2017)
เพเลเกเซลา อึมโพโก (2014-2017)
ก่อนหน้าเคนัน บานานา
ถัดไปเอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา
นายกรัฐมนตรีซิมบับเว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
18 เมษายน ค.ศ. 1980 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1987
(7 ปี 257 วัน)
ประธานาธิบดีเคนัน บานานา
รองSimon Muzenda
ก่อนหน้าAbel Muzorewa (ซิมบับเวโรดีเชีย)
ถัดไปมอร์แกน แชงกิราย (2009)
ผู้นำพรรค ZANU–PF
ZANU (1975–1987)
ดำรงตำแหน่ง
18 มีนาคม ค.ศ. 1975 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
(42 ปี 246 วัน)
ก่อนหน้าHerbert Chitepo
ถัดไปเอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา
ประธานสหภาพแอฟริกา คนที่ 13
ดำรงตำแหน่ง
30 มกราคม ค.ศ. 2015 – 30 มกราคม ค.ศ. 2016
(1 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้ามุฮัมมัด อูลด์ อับดุลอะซีซ
ถัดไปอีดริส เดบี
เลขาธิการขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ดำรงตำแหน่ง
6 กันยายน ค.ศ. 1986 – 7 กันยายน ค.ศ. 1989
(3 ปี 1 วัน)
ก่อนหน้าZail Singh
ถัดไปJanez Drnovšek
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
รอเบิร์ต เกเบรียล มูกาบี

21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924
Kutama, เซาเทิร์นโรดีเชีย
(ซิมบับเวในปัจจุบัน)
เสียชีวิต6 กันยายน ค.ศ. 2019 (95 ปี)
สิงคโปร์
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองNational Democratic Party (1960–1961)
Zimbabwe African People's Union (1961–1963)
Zimbabwe African National Union (1963–1987)
Zimbabwe African National Union-Patriotic Front (1987–2017)
คู่สมรสSally Hayfron (1961–1992; เสียชีวิต)
Grace Marufu (1996–ปัจจุบัน)
บุตรNhamodzenyika (เสียชีวิต)
Bona
Robert Peter
Bellarmine Chatunga
การศึกษาKutama College
ศิษย์เก่าUniversity of Fort Hare
University of South Africa
University of London
ลายมือชื่อ

ตำแหน่งประธานาธิบดี แก้

มูกาบีเป็นผู้นำที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในเรื่องการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อเข้ารับตำแหน่งใน ค.ศ. 1987 ผลจากการเปลี่ยนนโยบายเป็นสังคมนิยมอย่างกะทันหัน ทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของซิมบับเวลดลงอย่างมาก ประกอบกับการเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ในปี ค.ศ. 2008 อันเป็นผลเนื่องมาจากมาตราคว่ำบาตรจากนานาชาติ อย่างไรก็ตามจากรายงานของธนาคารโลก ยังมีมุมมองในแง่ดีของพัฒนาการทางสังคมในแง่อัตราการถือครองที่ดินของเกษตรกรรายย่อยที่ขยายตัวขึ้นอย่างมากในช่วงปี ค.ศ. 1980 ถึง ค.ศ. 1990[1]

รัฐประหารในประเทศซิมบับเว ค.ศ. 2017 แก้

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ประธานาธิบดีมูกาบีวัย 93 ปี ปลดรองประธานาธิบดีเอ็มเมอร์สัน มนังกากวา หลังการแย่งชิงอำนาจเพื่อเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างมนังกากวากับเกรซ มูกาบี ภรรยาของรอเบิร์ต มูกาบี[2] กองทัพซิมบับเวเริ่มก่อการรัฐประหารในวันที่ 14 พฤศจิกายน กักขังมูกาบีไว้ในบ้านพักในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 และประกาศว่าเป็นการกระทำเพื่อจัดการกับอาชญากรรอบตัวมูกาบี[3][4][5]

ในวันที่ 19 พฤศจิกายน มูกาบีถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้นำพรรค ZANU-PF และพรรคได้แต่งตั้งมนังกากวาขึ้นเป็นผู้นำพรรคแทน[6] เกรซ มูกาบีถูกขับออกจากพรรค[7] พรรคขีดเส้นตายให้มูกาบีลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีภายในเที่ยงของวันรุ่งขึ้นหรือไม่ก็จะถูกดำเนินการถอดถอน[8]

หลังเลยกำหนดเส้นตายและรัฐสภาเตรียมดำเนินการถอดถอน ในที่สุดมูกาบีก็ประกาศลาออกในวันที่ 21 พฤศจิกายน[9]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Zimbabwe Achieving Shared Growth" (PDF). World Bank. สืบค้นเมื่อ 28 June 2008.
  2. "Grace Mugabe warns of coup plot" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Additional political analysis by Shingai Nyoka of BBC News Harare. BBC News. 6 October 2017. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.{{cite news}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  3. CNN, David McKenzie, Brent Swails and Angela Dewan,. "Zimbabwe in turmoil after apparent coup". CNN. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.{{cite news}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  4. "Zimbabwe's Robert Mugabe confined to home as army takes control". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
  5. "Stunned Zimbabweans face uncertain future without Mugabe". สืบค้นเมื่อ 21 November 2017.
  6. "Ruling party sacks Mugabe as leader". BBC. 19 November 2017. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
  7. correspondent, Jason Burke Africa; Graham-Harrison, Emma (20 November 2017). "Chaos in Zimbabwe after Mugabe fails to announce expected resignation". Theguardian.com. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  8. "Robert Mugabe, in Speech to Zimbabwe, Refuses to Say if He Will Resign". The New York Times. 19 November 2017. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  9. "Zimbabwe's President Mugabe 'resigns'" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC News. 21 November 2017. สืบค้นเมื่อ 21 November 2017.