ยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลนส์ เที่ยวบินที่ 752

ยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลนส์ เที่ยวบินที่ 752 เป็นเที่ยวบินผู้โดยสารระหว่างประเทศซึ่งมีกำหนดบินจากกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ไปยังกรุงเคียฟ ประเทศยูเครน ดำเนินการโดยสายการบินยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลนส์ เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563 เครื่องบินลำที่กำลังให้บริการในเส้นทางดังกล่าว (โบอิง 737-800) ประสบเหตุตกหลังทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติเตหะรานอิหม่ามโฆเมย์นีเป็นเวลาไม่นาน[3][4] ส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 176 คนเสียชีวิต นับเป็นภัยพิบัติทางอากาศที่ร้ายแรงที่สุดในอิหร่านในรอบกว่าทศวรรษ

ยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลนส์
เที่ยวบินที่ 752
อากาศยานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ (UR-PSR) ภาพถ่ายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562
สรุป ถูกยิงตก
วันที่8 มกราคม 2563 (2563-01-08)
สรุปทหารอิหร่านยิงเครื่องบินโดยใช้ขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน และอ้างว่าเป็นอุบัติเหตุเนื่องจากความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์
จุดเกิดเหตุใกล้เมืองแชฮ์รียอร์ อิหร่าน[1]
35°33′40″N 51°06′14″E / 35.56111°N 51.10389°E / 35.56111; 51.10389
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
ประเภทอากาศยานโบอิง 737-8KV
ดําเนินการโดยยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลนส์
หมายเลขเที่ยวบิน IATAPS752
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOAUI752
รหัสเรียกUKRAINE INTERNATIONAL 752
ทะเบียนUR-PSR
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติเตหะรานอิหม่ามโฆเมย์นี เตหะราน
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติบอรึสปิล เคียฟ
ผู้โดยสาร167 คน
ลูกเรือ9 คน
เสียชีวิต176 คน (ทั้งหมด)[2]
รอดชีวิต0

เหตุเครื่องบินตกครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ร้ายแรงที่สุดที่เกี่ยวข้องกับโบอิง 737 เน็กซต์เจ็นเนอเรชัน และเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงเป็นอันดับที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับโบอิง 737 (รองจากไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 610) นอกจากนี้ยังเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงทางการบินครั้งแรกของยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลนส์ นับตั้งแต่สายการบินเปิดทำการใน พ.ศ. 2535[5]

เจ้าหน้าที่สหรัฐระบุว่า ภาพบันทึกจากดาวเทียมลาดตระเวนแสดงให้เห็นว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกยิงด้วยระบบขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศของอิหร่าน[6] ทางการยูเครนกล่าวว่า การถูกยิงเป็นหนึ่งใน "ทฤษฎีหลักในเบื้องต้น" ในขณะที่เจ้าหน้าที่อิหร่านปฏิเสธความเป็นไปได้[7][8] เจ้าหน้าที่กลาโหมสหราชอาณาจักรเห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าหน้าที่สหรัฐ[7] ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563 จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา กล่าวว่า มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าเครื่องบินถูกยิงด้วยขีปนาวุธของอิหร่าน[9] ต่อมาในวันเดียวกัน มีการอ้างว่าวิดีโอจากโทรศัพท์เคลื่อนที่แสดงให้เห็นขีปนาวุธลูกหนึ่งกำลังพุ่งเข้าชนเครื่องบินขณะไต่ระดับความสูง[10] ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563 ทหารอิหร่านยอมรับในแถลงการณ์ว่าพวกเขายิงเครื่องบิน "โดยไม่เจตนา" เพราะความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์[11]

ผู้โดยสารและลูกเรือ แก้

 
ปฏิบัติการกู้ศพเหยื่อของเที่ยวบินที่ 752
จำนวนผู้เสียชีวิต[12]
สัญชาติ ผู้โดยสาร ลูกเรือ รวม
  อิหร่าน 130[13] 0 130
  แคนาดา 63[14] 0 63
  ยูเครน 2 9 11
  สวีเดน 10 0 10
  อัฟกานิสถาน 4 0 4
  บริเตนใหญ่ 3 0 3
  เยอรมนี 3 0 3
รวม 167 9 176
นายกรัฐมนตรีทรูโดพูดกับสื่อเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563 เกี่ยวกับอุบัติเหตุเครื่องบินตก

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "UR-PSR Accident description". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
  2. "Ukrainian Boeing plane crashes in Iran, 176 people dead". CNN. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
  3. "Ukrainian airplane with 180 aboard crashes in Iran: Fars". Reuters. 7 January 2020. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
  4. "Ukrainian airliner crashes near Tehran: Iranian media". Al Jazeera. 8 January 2020. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
  5. "Iran plane crash: All 176 passengers killed as Ukraine Boeing 737 crashes near Tehran". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
  6. [1] Iran missile appears to have shot down Ukraine-bound Boeing airliner, US sources tell NBC News, CNBC
  7. 7.0 7.1 [2] Iran plane crash: Western defence officials confident Tehran ‘accidentally shot down Ukraine jet’, Independent 9 January 2019
  8. "Iran 'mistakenly shot down Ukraine jet' - US media". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 9 January 2019.
  9. Tunney, Catharine (9 January 2020). "Trudeau says evidence suggests Iranian missile brought down Ukrainian flight". cbc.ca. CBC Canada. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
  10. Triebert, Christiaan; Browne, Malachy; Kerr, Sarah; Tiefenthäler, Ainara (9 January 2020). "Video Shows Ukrainian Plane Being Hit Over Iran". nytimes.com. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
  11. "Iran says it 'unintentionally' shot down Ukrainian jetliner". AP NEWS. 2020-01-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-11.
  12. Buck, Kate (8 January 2020). "Three Brits confirmed dead after Ukrainian Airlines plane crash kills 176 in Iran". LBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2020. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
  13. 48 dual nationality
  14. 48 dual nationality