ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2013

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2013 เป็นนัดชิงชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอล ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2012–13 และเป็นครั้งที่ 58 ของการแข่งขันชิงแชมป์สโมสรในทวีปยุโรปโดยยูฟ่า และเป็นฤดูกาลที่ 21 ตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อ จากยูโรเปียนแชมเปียนคลับ เป็นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยการแข่งขันนัดนี้ จะมีขึ้นที่สนามกีฬาเวมบลีย์ ชานกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งสนามนี้เป็นสนามเหย้าของทีมชาติอังกฤษ

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศ 2013
รายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2012–13
วันที่25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[1]
สนามสนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด ยูฟ่า
อาร์เยิน โรบเบิน (บาเยิร์นมิวนิก)[2]
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด แฟนส์
มานูเอล นอยเออร์ (บาเยิร์นมิวนิก)[3]
ผู้ตัดสินนิโกลา ริซโซลี (อิตาลี)[4]
ผู้ชม86,298 คน[5]
สภาพอากาศมีแดดมาก
14 องศาเซลเซียส (57 องศาฟาเรนไฮต์)
ความชื้นสัมพัทธ์ : 40%[6]
2012
2014

ในฐานะทีมชนะเลิศ, บาเยิร์นมิวนิกจะต้องไปพบกับเชลซี ในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2013 และจะเป็นทีมของยูฟ่า เข้าแข่งขันในรอบรองชนะเลิศของ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2013

สถานที่แข่งขัน แก้

สนามเวมบลีย์ หรือ สนามกีฬาเวมบลีย์ ถูกยืนยันให้เป็นสนามแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยเคยจัดการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ 2011 (พ.ศ. 2554) มาแล้ว โดยเวมบลีย์จะสร้างประวัติศาสตร์โดยการเป็นสนามแรกี่ได้จัดการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ 2 ครั้งภายในเวลา 3 ปี[7] ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้นที่สุดในการจัดการแข่งขัน 2 ครั้ง โดยมิเชล พลาตินี่ ประธานยูฟ่า จัดให้มีการแข่งขันที่สนามนี้ เพื่อฉลอง 150 ปีของ สมาคมฟุตบอลอังกฤษ[8] และจะเป็นครั้งที่ 7 ที่จะจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปที่เวมบลีย์ นับตั้งแต่ 1963, 1968, 1971, 1978, 1992 และ 2011

โดยสนามกีฬาเวมบลีย์ ก่อนที่จะมีการปรับปรุงสร้างใหม่ ได้จัดการแข่งขัน 5 ครั้ง โดยปี 1968 และ 1978 เป็นทีมจากประเทศอังกฤษ ที่แข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งปี 1968 เป็น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่สามารถเอาชนะ ไบฟีกา 4–1 และต่อมาในปี 1978 ลิเวอร์พูล ก็ชนะ คลับบรูจ 1–0 ต่อมาในปี 1971 อาแจ็กซ์ ก็ทำสำเร็จในการคว้าแชมป์ติดต่อกัน 3 ครั้งที่เวบลีย์ ซึ่งเอาชนะ พานาธีไนกอส 2–0 ในปี 1992 บาร์เซโลนา ชนะ ซัมป์โดเรีย 1–0 โดยเป็นฤดูกาลสุดท้ายก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นแชมเปียนส์ลีก

เมื่อมีการเปิดงาน บริติชเอ็มไพร์เอ็กซ์ฮิบีชัน ในปี ค.ศ. 1923 สนามนี้จึงรู้จักกันในชื่อ เอ็มไพร์สเตเดียม โดยปีนั้นมีการจัดการแข่งขัน รอบชิงชนะเลิศของเอฟเอคัพ โดยมีผู้ชมประมาณ 120,000 คน ระหว่างโบลตันวันเดอเรอส์ กับ เวสต์แฮมยูไนเต็ด และต่อมาก็ได้เป็นสนามเหย้าของ ทีมชาติอังกฤษ ใน ฟุตบอลโลก 1966 รวมถึงรอบชิงชนะเลิศที่อังกฤษได้ชนะ เยอรมนี 4–2 และ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 ต่อมาสนามถูกปิดในปี ค.ศ. 2000 และถูกสร้างใหม่ใน 3 ปีต่อมา โดยมีความจุประมาณ 90,000 ที่นั่ง และเปิดครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2007[9] และสนามใหม่แห่งนี้ได้ถูกจัดการแข่งขัน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงนะเลิศ 2011 โดย บาร์เซโลนา พบกับ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นรีแมตซ์ของการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศใน 2 ปีก่อนหน้านี้ โดยเป็นบาร์เซโลนาที่คว้าแชมป์สมัยที่ 4 ด้วยการชนะ 3–1

การแข่งขัน แก้

รายละเอียด แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บาเยิร์นมิวนิก
GK 1   โรมัน ไวเดนเฟลเลอร์ (c)
RB 26   วูกัช ปิชต์แชก
CB 4   เนเวน ซูบอติช
CB 15   มัทส์ ฮุมเมิลส์
LB 29   มาร์เซล ชเมลเซอร์
DM 8   อิลคาย กุนโดแกน
DM 6   ซเฟิน เบนเดอร์   90+1'
RW 16   ยากุป บวัชต์ชือกอฟสกี   90+1'
AM 11   มาร์โค รอยส์
LW 19   เควิน กรอสส์ครอยซ์   73'
FW 9   โรเบิร์ต เลวันดอฟสกี
ตัวสำรอง:
GK 20   มิตเชล แลนเกอร์รัค
DF 27   เฟลิเป ซานตานา
MF 21   โอลิเวอร์ เคิร์ช
MF 5   เซบัสเทียน เคห์ล
MF 7   โมริทซ์ ไลท์เนอร์
MF 18   นูรี ชาฮิน   90+1'
FW 23   จูเลียน ซีเบอร์   90+1'
ผู้จัดการทีม:
  เยือร์เกิน คลอพพ์
 
GK 1   มานูเอล นอยเออร์
RB 21   ฟิลิปป์ ลาห์ม (c)
CB 17   เชโรม โบอาเทง
CB 4   ดังชี   29'
LB 27   ดาวิด อลาบา
DM 31   บัสเตียน ชไวน์ชไตเกอร์
DM 8   คาบี มาร์ตีเนซ
RW 10   อาร์เยิน โรบเบิน
AM 25   โทมัส มึลเลอร์
LW 7   ฟร็องก์ รีเบรี   73'   90+1'
CF 9   มารีออ มันจูคิช   90+4'
ตัวสำรอง:
GK 22   ทอม สตาร์ค
DF 5   ดาเนียล ฟาน บุยเต็น
MF 11   แจร์ดัน ชาชีรี
MF 30   ลูอิส กุสตาวู   90+1'
MF 44   อนาโตลี ทีโมชุค
FW 14   คลาวดีโอ ปีซาร์โร
FW 33   มารีโอ โกเมซ   90+4'
ผู้จัดการทีม:
  ยุพพ์ ไฮน์เคส

ยูฟ่าแมนออฟเดอะแมตช์:
  อาร์เยิน โรบเบิน (บาเยิร์นมิวนิก)[2]
แฟนส์แมนออฟเดอะแมตช์:
  มานูเอล นอยเออร์ (บาเยิร์นมิวนิก)[3]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน :
  เรนาโต ฟาเวรานี
  อันเดรีย สเตฟานี
ผู้ตัดสินที่สี่ :
  ดาเมียร์ ชโกมีนา
ผู้ช่วยผู้ตัดสินเพิ่มเติม :
  กีอานลูคา รอชชี
  ปาโอโล ทากลีอาเวนโต

ข้อมูลในการแข่งขัน[10]

  • แข่งขันครบ 90 นาที (นับช่วงทดเวลาบาดเจ็บ)
  • ต่อเวลาพิเศษไปอีก 30 นาที เมื่อทั้งสองทีมเกิดผลการแข่งขันเสมอกัน
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกจุดโทษ เพื่อหาผู้ชนะ
  • รายชื่อนักฟุตบอล 7 คนที่จะต้องยิงจุดโทษ

อ้างอิง แก้

  1. "New Champions League season". UEFA. 22 June 2012.
  2. 2.0 2.1 Rodríguez, Alfredo (26 May 2013). "Robben: 'For a footballer, this is the peak'". UEFA.com. Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 26 May 2013.
  3. 3.0 3.1 "Player rater". UEFA.com. Union of European Football Associations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-13. สืบค้นเมื่อ 26 May 2013.
  4. "Rizzoli to referee UEFA Champions League final". UEFA.com. Union of European Football Associations. 20 May 2013. สืบค้นเมื่อ 20 May 2013.
  5. "Full-time report" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 25 May 2013. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
  6. "Tactical lineups" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 25 May 2013. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
  7. "Wembley to host UEFA Champions League Final 2013". The Football Association. TheFA.com. 16 June 2011. สืบค้นเมื่อ 18 August 2011.
  8. "Wembley, Amsterdam ArenA, Prague get 2013 finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. 16 June 2011. สืบค้นเมื่อ 16 June 2011.
  9. "Wembley returns to centre stage". UEFA.com. Union of European Football Associations. 30 January 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-04. สืบค้นเมื่อ 24 March 2010.
  10. "Regulations of the UEFA Champions League 2012/13" (PDF). Nyon: UEFA. March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-13. สืบค้นเมื่อ 1 June 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้