ยุทโธปกรณ์[1] (อังกฤษ: materiel; matériel มะเทียเรียล มากกว่าปกติในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน นอกจากนี้ ยังระบุว่าเป็นตัวสะกดเฉพาะในพจนานุกรมสหราชอาณาจักรบางแห่ง[2][3][4][5] ทั้งสองออกเสียง /məˌtɪəriˈɛl/, จาก ฝรั่งเศส: matériel, แปลตรงตัว'อุปกรณ์, อาวุธยุทโธปกรณ์') หมายถึง วัสดุ, อุปกรณ์ และอาวุธในการบริหารห่วงโซ่อุปทานของทหาร รวมถึงวัสดุและอุปกรณ์โดยทั่วไปในบริบทของห่วงโซ่อุปทานเชิงพาณิชย์เท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

การเคลื่อนย้ายมะเทียเรียล (อาวุธยุทธสัมภาระ) ในการฝึกคอบร้าโกลด์ใน ค.ศ. 1998

ในบริบททางทหาร คำว่า "มะเทียเรียล" หมายถึงความต้องการเฉพาะอาวุธยุทธสัมภาระ (ไม่รวมกำลังคน) ของกองกำลังที่จะทำภารกิจเฉพาะให้สำเร็จ หรือความหมายทั่วไปของความต้องการอาวุธยุทธสัมภาระ (ไม่รวมกำลังคน) ของกองทัพที่ทำงาน[ต้องการอ้างอิง]

การจัดการวัสดุประกอบด้วยการดำเนินการต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน, การจัดระเบียบ, กำกับ, ประสานงาน, ควบคุม และประเมินการใช้ทรัพยากรเพื่อให้การสนับสนุนกองกำลังทหารมีประสิทธิภาพและประหยัด ซึ่งรวมถึงการจัดเตรียม, การลงรายการ, การกำหนดความต้องการ, การได้มา, การแบ่งสรรปันส่วน, การบำรุงรักษา และการกำจัด โดยคำว่า "การจัดการวัสดุ", "การควบคุมวัสดุ", "การควบคุมรายการสิ่งของ", "การจัดการรายการสิ่งของ" และ "การจัดการอุปทาน" มีความหมายเหมือนกัน[6][7]

อาวุธยุทธสัมภาระทางทหารมักจะถูกส่งไปและใช้ในสภาพอากาศที่รุนแรงโดยไม่มีคลังเก็บของควบคุมหรืออุปกรณ์ขนถ่ายคงที่ การบรรจุและการติดฉลากมักจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคที่เข้มงวด เพื่อช่วยให้มั่นใจว่ามีการจัดส่งที่เหมาะสมและการใช้งานในที่สุด[8]

ส่วนวัสดุในบริบทการจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์หมายถึงผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจของตัวเองอย่างเด่นชัด[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. พจนานุกรมศัพท์ และ คำย่อด้านความมั่นคง อังกฤษไทย พ.ศ.๒๕๕๔ (2 ed.). p. 415. ISBN 9789748377247. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  2. Merriam-Webster.com
  3. Random House Dictionary
  4. Longman Dictionary of Contemporary English
  5. [Cambridge Advanced Learner's Dictionary]
  6. DoD Integrated Materiel Management (IMM) for Consumable Items, 4140.26-M, Volume 2, September 24, 2010, Glossary, p. 38.
  7. Mitchell, D G (December 2017). "The important role of materiel management in building Army readiness". Army Sustainment. สืบค้นเมื่อ March 1, 2019.
  8. Maloney, J. C. (July 2003). "The History and Significance of Military Packaging" (PDF). Defence Packaging Policy Group. Defence Logistics Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-18. สืบค้นเมื่อ 30 Oct 2016.