ยุทธนาวีที่ซาลามิส

ยุทธนาวีที่ซาลามิส (กรีกโบราณ: Ναυμαχία τῆς Σαλαμῖνος, อักษรโรมัน: Naumachía tês Salamînos, เนามาเคีย แตส ซาลามินอส) เป็นยุทธนาวีระหว่างฝ่ายพันธมิตรนครรัฐกรีก ภายใต้การนำของเธมิสโตคลีส กับจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้จักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราช เมื่อ ปีที่ 480 ก่อนคริสต์ศักราช โดยฝ่ายกรีกที่จำนวนเรือรบน้อยกว่าได้รับชัยชนะแบบเด็ดขาด ยุทธนาวีนี้เกิดขึ้นที่ช่องแคบระหว่างดินแดนใหญ่ของกรีซ กับเกาะซาลามิสในอ่าวซาโรนิค ใกล้กรุงเอเธนส์ และถือเป็นจุดสูงสุดของการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย

ยุทธนาวีที่ซาลามิส
ส่วนหนึ่งของ การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย

ภาพวาดการสู้รบแนวโรแมนติกโดย วิลเฮิล์ม ฟ็อน เคาล์บัช
วันที่26 หรือ 27 กันยายน 480 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1]
สถานที่
ช่องแคบซาลามิส
37°57′5″N 23°34′0″E / 37.95139°N 23.56667°E / 37.95139; 23.56667
ผล กรีกชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
เปอร์เซียล้มเหลวในการบุกยึดครองเพโลพอนนีส
คู่สงคราม
นครรัฐกรีก จักรวรรดิอะคีเมนิด
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
เรือ 371–378 ลำ[i]
  • เรือประมาณ 900–1207 ลำ[ii]
  • เรือ 600–800 ลำ[iii]
  • เรือ 400–700 ลำ[iv]
ความสูญเสีย
เรือ 40 ลำ เรือ 200–300? ลำ
  1. เฮอรอโดทัสระบุจำนวนเรือฝ่ายพันธมิตรที่ 378 ลำ แต่จำนวนนั้นสามารถเพิ่มได้สูงถึง 371 ลำ[2]
  2. จากข้อมูลสมัยโบราณบางส่วน
  3. ประมาณการในปัจจุบัน[3][4][5]
  4. ประมาณการในปัจจุบัน[6]
ยุทธนาวีที่ซาลามิสตั้งอยู่ในประเทศกรีซ
ยุทธนาวีที่ซาลามิส
ที่ตั้งสมรภูมิซาลามิส ตามแผนที่ปัจจุบัน

ในการทัพรุกรานกรีกครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย กองกำลังเล็ก ๆ ของกรีก นำโดยทหารสปาร์ตา เข้าขวางทางเดินทัพของเปอร์เซียที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี (Thermopylae) ในขณะที่กองกำลังพันธมิตรทางนาวี ประกอบด้วยกองเรือของเอเธนส์เป็นหลัก เข้าปะทะกองเรือเปอร์เซียน ที่ช่องแคบอาร์เตมีเซียม (Artemisium) ห่างออกไปไม่ไกล กองกำลังระวังหลังของกรีกถูกสังหารหมดสิ้นในยุทธการที่เทอร์มอพิลี ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรกรีกในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม ก็ได้รับความเสียหายหนัก และต้องถอยกลับไปเมื่อช่องเขาเทอร์มอพิลีเสียให้แก่ข้าศึก ทัพเปอร์เซียจึงสามารถเข้ายึดครองบีโอเชีย (อังกฤษ: Boeotia, กรีก: Βοιωτία, บอยยอเทีย) และแอตทิกาได้ เมืองเอเธนส์ถูกกองทัพเปอร์เชียเผาราบ ประชาชนต้องอพยพทิ้งเมือง แต่กำลังฝ่ายพันธมิตรกรีกสามารถเข้าป้องกันคอคอดคอรินท์ ซึ่งเชื่อมแอตทิกากับเพโลพอนนีสไว้ได้ ระหว่างนั้นทัพเรือของกรีกถูกถอยไปใช้เกาะซาลามิสเป็นฐานปฏิบัติการ

แม้ว่ากำลังทางนาวีของกรีกจะน้อยกว่าเปอร์เซียมาก แต่เธมิสโตคลีสแม่ทัพชาวเอเธนส์ สามารถล่อให้กองกำลังพันธมิตรเข้าทำศึกกับทัพเรือเปอร์เซียอีกครั้ง โดยหวังว่าชัยชนะจะป้องกันคาบสมุทรเพโลพอนนีสอันเป็นแผ่นดินใหญของกรีกไว้ได้ พระเจ้าเซอร์ซีสกษัตริย์เปอร์เซีย ทรงกระหายจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเช่นกัน ทำให้ติดกับแผนลวงพรางของเธมิสโตคลีส ซึ่งล่อทัพเรือของเปอร์เซียให้ออกมาปิดกั้นทางเข้า-ออกของช่องแคบซาลามิส แต่ด้วยสภาพที่คับแคบของพื้นที่ ทัพเรือใหญ่ของเปอร์เซียไม่อาจแปรขบวนได้และตกอยู่ในสภาพขาดระเบียบ กองเรือพันธมิตรกรีกฉวยโอกาสจัดแถวเป็นแนวประจัญบานเข้าโจมตีและได้รับชัยชนะแบบพลิกความคาดหมาย

ยุทธนาวีที่ซาลามิสกลายเป็นการรบที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมกรีกในระดับเดียวกับ ยุทธการที่มาราธอน และยุทธการที่เทอร์มอพิลี โดยเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกรีก-เปอร์เซีย [7] หลังยุทธการซาลามิส คาบสมุทรเพโลพอนนีสและอารยธรรมกรีก ก็ปลอดภัยจากการรุกรานของเปอร์เซีย ในขณะที่อาณาจักรเปอร์เซียต้องสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ขวัญกำลังใจตกต่ำ และเสียความน่าเกรงขาม [8] หลังการศึกในยุทธการที่พลาตีอา (กรีก: Πλάταια) และยุทธการที่มิกาลี (กรีก: Μυκάλη) ทัพของเปอร์เซียก็ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไป ฝ่ายพันธมิตรกรีกจึงรุกกลับได้ และยังส่งผลให้อาณาจักรมาเซดอนลุกฮือเพื่อปลดแอกตนเองจากการปกครองของเปอร์เซีย โดยเธรซ หมู่เกาะในทะเลอีเจียน และไอโอเนีย จะทยอยหลุดจากความควบคุมของเปอร์เซียในอีกสามสิบปีต่อมา เนื่องจากการเกิดขึ้นของสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำโดยเอเธนส์

ยุทธนาวีที่ซาลามิสจึงนับว่าเป็นการเปลี่ยนสมการของอำนาจให้มาอยู่ที่ฝ่ายกรีก โดยลดอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลงอย่างเฉียบพลัน พร้อม ๆ กับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งความมั่งคั่ง และความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของจักรวรรดิเอเธนส์

ภูมิหลัง แก้

กำลังรบ แก้

ฝ่ายกรีก แก้

 
โอลิมเปียอัส, เรือที่สร้างขึ้นตามแบบของเรือสามแถวพาย (เรือไตรรีม) ของชาวเอเธนส์โบราณ
 
โมเดลเรือไตรรีม Trireme ของกรีก
เมือง จำนวนเรือ เมือง จำนวนเรือ เมือง จำนวนเรือ
เอเธนส์[9] 180 โครินธ์[10][11] 40 Aegina[12] 30
คัลซีส[12][10] 20 เมการา[10][13] 20 Sparta[11] 16
Sicyon[11] 15 Epidaurus[11] 10 Eretria[12] 7
Ambracia[13] 7 Troezen[11] 5 Naxos[12] 4
Leucas[13] 3 Hermione[11] 3 Styra[12] 2
Cythnus[12] 1 (1) Ceos[12] 2 Melos[2][12] (2)
Siphnus[2][12] (1) Serifos[2][12] (1) Croton[14] 1
รวม 371 หรือ 378 ลำ[2] (5)

จำนวนเหล่านี้เป็นเรือ trireme; จำนวนในวงเล็บเป็นเรือ penteconter (fifty-oared galleys)

ฝ่ายจักรวรรดิอะคีเมนิด แก้

จำนวนที่เฮอรอโดทัสระบุไว้มีดังนี้:[15]

เชื้อชาติ จำนวนเรือ เชื้อชาติ จำนวนเรือ เชื้อชาติ จำนวนเรือ
ฟินิเชีย 300 อียิปต์ 200 ไซปรัส 150
Cilicia 100 ไอโอเนีย 100 Hellespontine Phrygia 100
Caria 70 Aeolia 60 Lycia 50
Pamphylia 30 Doria 30 Cyclades 17
รวม 1207

ความเป็นไปของการรบ แก้

 

อ้างอิง แก้

  1. Gongaki (2021) [1],
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Herodotus VIII, 48
  3. Ιστορία του Ελληνικού Έθνους 1971
  4. Demetrius, 1998
  5. Lazenby p.174
  6. Roisman, Joseph (2011). Yardley, J.C. (บ.ก.). Ancient Greece from Homer to Alexander: The Evidence. Wiley-Blackwell. p. 235. ISBN 978-1405127769. Herodotus (7.89.1) estimates that the Persians altogether had 1,207 ships, which modern historians cut to between 400 and 700 ships.
  7. Lazenby 1993, p. 197.
  8. Holland 2005, pp. 333–335.
  9. Herodotus VIII, 44
  10. 10.0 10.1 10.2 Herodotus VIII, 1
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 Herodotus VIII, 43
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 Herodotus VIII, 46
  13. 13.0 13.1 13.2 Herodotus VIII, 45
  14. Herodotus VIII, 47
  15. Romm, James (2014). Histories (ภาษาอังกฤษ). Hackett Publishing. p. 381. ISBN 9781624661150.

ข้อมูล แก้

สมัยโบราณ แก้

สมัยใหม่ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้