ยุทธการสนามเพลาะ

สงครามสนามเพลาะ (อาหรับ: غزوة الخندق) รู้จักกันในชื่อ สงครามพันธมิตร (อาหรับ: غزوة الاحزاب) เป็นสงครามที่นานถึง 30 วันในช่วงที่ล้อมเมืองยัษริบ (ปัจจุบันคือ มะดีนะฮ์) โดยชาวอาหรับ และชาวยิว โดยกองทัพสมาพันธ์มีทหารประมาณ 10,000 นาย และทหารม้ากับอูฐอีก 600 นายในขณะที่ชาวมะดีนะฮ์มีทหารประมาณ 3,000 นาย

สงครามสนามเพลาะ (มุสลิม ปะทะ กุเรช)
ส่วนหนึ่งของ สงครามระหว่างชาวมุสลิมกุเรช

การต่อสู้ระหว่างอะลี อิบน์ อบีฏอลิบ (ซ้าย) และอัมร์ อิบน์ วุด (ขวา) ในสงครามสนามเพลาะ
วันที่เชาวาล – ซุลกิอฺดะฮฺ ฮ.ศ.5[1] (มกราคม – กุมภาพันธ์ ค.ศ.627)
สถานที่
รอบๆ เมืองมะดีนะฮ์
ผล ล้มเหลว ฝ่ายมุสลิมชนะ
เผ่าต่างๆ ถอนตัวจากการรบ
คู่สงคราม

ชาวมุสลิม รวมถึง

เผ่าต่างๆ รวมถึง

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มุฮัมมัด
อะลี
ซัลมาน ฟารซี[2]
อบูซุฟยาน
อัมร์ อิบน์ วุด
ตุลัยฮา
กำลัง
3,000[3] 10,000[3]
ความสูญเสีย
น้อย[4] เสียหายมาก[4]

ขาวมุสลิมได้ทำตามศาสดามุฮัมหมัดให้ขุดสนามเพลาะตามคำแนะนำของซัลมาน ฟารซี[5] และปราการธรรมชาติในมะดีนะฮ์ทำให้ทหารม้า (รวมถึงม้าและอูฐ) ของสมาพันธ์ไร้ประโยชน์ และได้ชักชวนเผ่าบนูกุร็อยเซาะฮ์ให้โจมตีฝ่ายมุสลิมทางตอนใต้ แต่อย่างไรก็ตาม แผนทางการทูตของมูฮัมหมัดได้ทำให้ฝ่ายสมาพันธ์แตกแยกโดยสิ้นเชิง พร้อมกับสภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้สงครามนี้สิ้นสุดลง

หลังจากที่ชาวมักกะฮ์แพ้สงครามแล้ว พวกเขาสูญเสียทั้งการค้าขายและศักดิ์ศรี[4]

ชื่อ แก้

สงครามนี้ได้ชื่อว่า "สนามเพลาะ" หรือ คอนดัค เนื่องจากเป็นการขุดสนามเพลาะโดยชาวมุสลิม คำว่า คอนดัค (خندق) เป็นคำในอาหรับถูกยืมมาจากเปอร์เซียว่า คันดาก (หมายถึง "บริเวณที่ถูกขุด")[6] ซัลมาน ฟารซีได้แนะนำให้มุฮัมหมัดขุดสนามเพลาะทั่วเมือง สงครามนี้ได้ชื่อว่า สงครามสมาพันธ์ (غزوة الاحزاب) ในกุรอานมีซูเราะฮ์ที่มีชื่อว่า สมาพันธ์ (الاحزاب) ในซูเราะฮ์ อัล-อะฮ์ซาบ

เหตุผลในการต่อสู้ แก้

เหตุผลส่วนใหญ่นั้น คือการแก้แค้นจากชาวกุเรช เพราะชาวมุสลิมไปสู้รบกับบนูก็อยนูกอ และบนูนาดีร[7][8] อิบน์ คอตีรได้ตอบว่า: "เหตุผลในการทำสงครามครั้งนี้เพราะกลุ่มของผู้นำจากบนูนาดีร เป็นเผ่าที่ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ให้เนรเทศออกจากมะดีนะฮ์ไปที่ค็อยบัร คนที่มามักกะฮ์คือซัลลาม อิบน์ อัล-ฮูก็อยก์, ซัลลาม อิบน์ มิชกาม และกินานาฮ์ อิบน์ อัร-ราบี โดยพวกเขามาเพื่อที่จะให้ผู้นำของมักกะฮ์ประกาศสงครามต่อท่านศาสดา"[9]

สมาพันธ์ของเผ่า แก้

ทหารในสมาพันธ์ของเผ่าถูกรวบรวมโดยชาวกุเรชแห่งมักกะฮ์ นำโดยอบูซุฟยาน มีทหารเดินเท้า 4,000 นาย, ทหารม้า 300 นาย และทหารบนอูฐ 1,000–1,500 นาย[10]

ส่วนบนูนาดีรได้รวบรวมเผ่าเร่ร่อนแถวแคว้นนัจญ์ โดยเกณฑ์ทหารจากบนูคอตาฟานแล้วจ่ายไปครึ่งหนึ่ง[6][11], ทหาร 2,000 นาย และทหารม้า 300 นาย นำโดยอุนัยนา อิบน์ ฮะซัน ฟาซารี เผ่าบนีอะซัดได้เข้าร่วม[10] แต่เผ่าบนีอะมีร ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม เนื่องจากมีข้อตกลงกับมุฮัมหมัด[12] ส่วนเผ่าอื่นเช่นบนูมุรรานำโดยฮารส์ อิบน์ เอาฟ์ มุรรีพร้อมกับทหาร 400 นาย และบนูชูญานำโดยซุฟยาน อิบน์ อับดุลชามพร้อมกับทหาร 700 นาย

ถ้านำมารวมแล้ว ไม่มีใครรู้ว่าจำนวนทหารของสมาพันธ์มีอยู่เท่าใด จึงมีการประมาณว่า มีทหารอยู่ 10,000 นาย และทหารม้า 600 นาย โดยมีอบูซุฟยานเป็นแม่ทัพ[3]

การป้องกันของฝ่ายมุสลิม แก้

ผู้ชายจากเผ่าบนูคุซาอ์ได้มาหามุฮัมหมัดในเวลา 4 วัน เพื่อเตือนถึงกองทัพสมาพันธ์ที่กำลังมาที่นี่ภายในหนึ่งสัปดาห์[12] มุฮัมหมัดจึงเรียกชาวมะดีนะฮ์เพื่อหาความคิดที่ดีที่สุดในการสู้รบ โดยมีผู้เสนอดังนี้[13]

แต่ความคิดที่ยอมรับมากที่สุดคือ การขุดคูบริเวณทางตอนเหนือของมะดีนะฮ์ที่เสนอโดยซัลมาน ฟารซี โดยที่ชาวมุสลิมในมะดีนะฮ์ขุดคูเสร็จภายใน 6 วัน[14] โดยขุดทางตอนเหนือเท่านั้น ส่วนฝั่งอื่นของมะดีนะฮ์ถูกล้อมรอบโดยภูเขาหินและต้นไม้ ทำให้กองทัพขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะทหารม้า) ไม่สามารถผ่านได้ ผู้หญิงและเด็กทุกคนถูกย้ายเข้าไปในตัวเมืองชั้นในให้หมด[6][14] พร้อมกับเก็บเกี่ยวพืชผลก่อนถึงฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อให้ฝ่ายสมาพันธ์ใช้แต่เสบียงของพวกเขาเท่านั้น[13][14]

มุฮัมหมัดได้ตั้งทหารประจำที่ภูเขาซาละอ์[6] เพื่อสกัดศัตรูที่กระโดดข้างสนามเพลาะ[11]

สุดท้าย กองทัพที่ปกป้องเมืองมะดีนะฮ์มีอยู่ 3,000 นาย[15] โดยรวมถึงชาวเมืองในมะดีนะฮ์ที่มีอายุมากกว่า 14 ปี ยกเว้นเผ่าบนูกุร็อยเซาะฮ์ (เพราะพวกเขาจัดหาเครื่องมือให้กับชาวมุสลิมในการขุดร่อง)[11]

การล้อมเมืองมะดีนะฮ์ แก้

 
แผนที่สงครามค็อนดัก (สงครามสนามเพลาะ) แบบย่อ

การล้อมเมืองมะดีนะฮ์เริ่มขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ.627 และใช้เวลา 27 วัน[1] เนื่องจากพวกเขาไม่เคยเจอสนามเพลาะมาก่อน พวกเขาจึงต้องอาศัยม้าในการกระโดดข้างสนามเพลาะ แต่ถูกฝ่ายมุสลิมยิงธนูสวนกลับ[4] แต่มีคนหนึ่งที่ข้ามสนามเพลาะนี้ได้คือกลุ่มทหารของอัมร์ อิบน์ อับดุลวัดด์ (เป็นชายที่มีค่าพอๆ กับทหาร 1000 นาย[16]) และอิกริมะฮ์ อิบน์ อบูญะฮัล โดยการหาบริเวณที่แคบที่สุดของคู จากนั้นจึงท้าให้มีใครซักคนมาสู้กับเขา อะลี อิบน์ อบูฏอลิบได้ตอบรับคำท้าและสู้รบจนเป็นฝ่ายชนะ[17]

ปัญหาในมะดีนะฮ์ แก้

มุฮัมหมัดพยายามที่จะเก็บความลับเกี่ยวกับบนูกุร็อยเซาะฮ์ แต่อย่างไรก็ตาม มีข่าวลือว่ามีการโจมตีครั้งใหญ่มาจากเผ่ากุร็อยเซาะฮ์ ซึ่งทำลายความสัมพันธ์ไปมาก[18]

ตอนนี้ฝ่ายมุสลิมเริ่มประสบปัญหาหลายด้าน เช่น: เสบียงเริ่มน้อยลง และในช่วงกลางคืนอากาศหนาวมากขึ้น การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้สถานะการณ์แย่ลงกว่าเดิม[19] จนกระทั่งการละหมาดห้าเวลาถูกทอดทิ้งไป เหลือแค่ช่วงกลางคืนเท่านั้นที่ชาวมุสลิมสามารถละหมาดได้[18] รายงานจากอิบน์ อิสฮากว่า สถานะการณ์ตึงเครียดมากขึ้น และมีความกลัวอยู่ทุกที่[20]

การตอบรับของมุสลิม แก้

มุฮัมหมัดได้ส่งคนไป 100 คนไปในเมืองทันทีหลังจากได้ยินข่าวลือมาจากเผ่ากุร็อยเซาะฮ์ หลังจากนั้นจึงส่งทหารม้า 300 นาย (ทหารม้าไม่จำเป็นต้องอยู่ในสนามเพลาะ)[13] การที่กองทัพได้กล่าวคำสรรเสริญเสียงดัง ทำให้เกิดภาพลวงตาว่าเป็นกองทัพขนาดใหญ่[21]

ในตอนนั้นเอง นุอัยม์ อิบน์ มะซูดได้มาเยี่ยมมุฮัมหมัด โดยที่เขาเป็นผู้นำที่สมาพันธ์เชื่อถือได้ แต่ไม่มีใครรู้ว่าเขาเข้ารับอิสลามอย่างลับๆ แล้ว มุฮัมหมัดได้บอกให้เขาหยุดสงครามนี้โดยการสร้างความแตกแยกในสมาพันธ์

นุอัยม์ยอมรับแผนนี้ โดยที่เขาเริ่มไปหาพวกบนูกุร็อยเซาะฮ์ก่อน แล้วเตือนเรื่องความตั้งใจในของส่วนที่เหลือของสมาพันธ์ ถ้ายุทธวิธีนี้ล้มเหลว ฝ่ายสมาพันธ์ไม่กลัวที่จะทิ้งชาวยิว พร้อมกับให้สันติภาพกับมุฮัมหมัด แล้วพวกกุร็อยเซาะฮ์ต้องนำตัวประกันจากฝ่ายสมาพันธ์ ข้อเสนอแนะนี้ทำให้พวกเขาเริ่มมีความกลัวแล้ว[13][19]

จากนั้น นุอัยม์ได้ไปหาอบูซุฟยาน แล้วเตือนว่าพวกบนูกุร็อยเซาะฮ์ได้ยอมรับมุฮัมหมัดแล้ว และต้องการตัวประกัน เพื่อเป็นการตอบแทนในสิ่งที่ทำลงไป แต่ฝ่ายสมาพันธ์กลับไม่ส่งตัวประกันซักคน

หลังจากนั้น นุอัยม์ได้เผยแพร่ข้อความแบบเดียวกับให้กับเผ่าอื่นๆ ทุกเผ่าในสมาพันธ์[13][19]

ฝ่ายสมาพันธ์แตกแยก แก้

แผนการของนูอัยม์ได้ผล หลังจากที่พวกเขาโต้เถียงกันแล้ว ฝ่ายสมาพันธ์ได้ส่งอิกริมะฮ์ไปยังพวกกุร็อยเซาะฮ์ เป็นการส่งสัญญาณว่าพวกเขาจะโจมตีเป็นกลุ่ม แต่ทางเผ่าบนูกุร็อยเซาะฮ์ได้ขอให้ฝ่ายสมาพันธ์ส่งตัวประกันมาให้พวกเขา เพื่อเป็นข้อตกลงว่าจะไม่ทิ้งพวกเขา แต่พวกเขากลับปฏิเสธสัญญานี้[13][19]

อบูซุฟยานได้ส่งฮุยัย อิบน์ อัคตับตามที่เผ่าบนูกุร็อยเซาะตามสัญญา แต่เขาถูกนำตัวกลับไป แล้วถูกอบูซุฟยานตีตราว่า "คนทรยศ" จากนั้นฮุยัยจึงรีบหนีไปยังที่มั่นของเผ่ากุร็อยเซาะฮ์[13][19]

ส่วนเผ่าบนูคอฟาตานและกลุ่มอื่นๆ จากแคว้นนัจญ์ได้รับการประนีประนอมโดยการเจรจากับมูฮัมหมัด เนื่องจากว่าพวกเขาได้เข้าร่วมกลุ่มนี้เพื่อปล้นสดม มากกว่าที่จะมีส่วนอคติเกี่ยวกับอิสลาม พวกเขาเริ่มสูญเสียความหวังที่จะชนะ, เบื่อหน่ายต่อสงครามที่เยือดเยื้อ โดยกองทัพทั้งสองฝ่ายตีตราว่ามีการทะเลาะวิวาทและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน[19]

เสบียงของฝ่ายสมาพันธ์เริ่มหมดลง ม้าและอูฐของพวกเขาตายลงเนื่องจากความหิวโหยและบาดแผล หลายวันผ่านไปสภาพแวดล้อมเริ่มมีอากาศหนาวและชื้น มีพายุลูกใหญ่พัดถล่มค่ายอย่างหนัก ทำให้ฝ่ายสมาพันธ์ไม่มีไฟใช้ แต่ฝ่ายมุสลิมมีบ้านไว้กันพายุลูกใหญ่ไว้แล้ว ค่ายของฝ่ายศัตรูถูกถอนรากถอนโคนหมด ทั้งทรายและฝนได้พัดใส่หน้าพวกเขาอย่างหนัก และกลัวถึงลางบอกเหตุต่อพวกเขา

เช้าวันต่อมา ไม่มีฝ่ายสมาพันธ์เหลืออีกเลย[22]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Watt, Muhammad at Medina, p. 36f.
  2. Islamic Occasions. "Battle of al - Ahzab (Tribes), Battle of Khandaq (Dirch, Moat, Trench". สืบค้นเมื่อ 20 June 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 Rodinson, Muhammad: Prophet of Islam, p. 208.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Watt, Muhammad: Prophet and Statesman, pp. 167–174.
  5. The Sealed Nectar by Safi-ur-Rahman.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Nomani, Sirat al-Nabi, pp. 368–370.
  7. Sa'd, Ibn (1967). Kitab al-tabaqat al-kabir. Vol. 2. Pakistan Historical Society. pp. 82–84. ASIN B0007JAWMK.
  8. Mubarakpuri, The Sealed Nectar, pp. 196–198. (online)
  9. Muhammad Saed Abdul-Rahman, Tafsir Ibn Kathir Juz' 21 (Part 21): Al-Ankaboot 46 to Al-Azhab 30 2nd Edition, p. 122, MSA Publication Limited, 2009, ISBN 1861797338. (online)
  10. 10.0 10.1 al-Halabi, al-Sirat al-Halbiyyah, p. 19.
  11. 11.0 11.1 11.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Watt35-6
  12. 12.0 12.1 Lings, Muhammad: his life based on the earliest sources, pp. 215f.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ramadan
  14. 14.0 14.1 14.2 Rodinson, p. 209.
  15. Glasse & Smith, New Encyclopedia of Islam: A Revised Edition of the Concise Encyclopedia of Islam, p. 81.
  16. Tabqaar ibn-e-Sadd 1:412, Anwaar Mohammadiya minal mawahib Page 84.
  17. Razwy, Sayed Ali Asgher. "A Restatement of the History of Islam & Muslims": 171. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  18. 18.0 18.1 Peterson, Muhammad. Prophet of God, p. 123f.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ghatafanLings
  20. Peters Muhammad and the Origins of Islam, p. 221f.
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ huyayyLings
  22. Lings, pp. 227f.

สารานุกรม แก้

ข้อมูลปฐมภูมิ
  • Guillaume, Alfred, The Life of Muhammad: A Translation of Ibn Ishaq's Sirat Rasul Allah. Oxford University Press, 1955. ISBN 0-19-636033-1
ข้อมูลทุติยภูมิ

เว็บไซต์ แก้