ยุทธการที่แม่น้ำกราไนคัส

ยุทธการที่แม่น้ำกราไนคัส เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 334 ปีก่อนคริสตกาล เป็นการสู้รบระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอากับเซแทร็ปของจักรวรรดิอะคีเมนิด ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช สนามรบอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำบิกาชายี ประเทศตุรกีในปัจจุบัน

ยุทธการที่แม่น้ำกราไนคัส
ส่วนหนึ่งของ สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

ยุทธการที่แม่น้ำกราไนคัส โดยชาลส์ เลอ บรัน
วันที่พฤษภาคม 334 ปีก่อนคริสตกาล
สถานที่
ผล มาซิดอนชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
อเล็กซานเดอร์ครองครึ่งหนึ่งของอานาโตเลีย
คู่สงคราม
ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา
สันนิบาตคอรินธ์
Achaemenid Empire จักรวรรดิอะคีเมนิด
ดินแดนเซแทร็ปในอานาโตเลีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อเล็กซานเดอร์มหาราช
พาร์มีเนียน
เฮฟีสเทียน
สปิทริดาเตส 
โรซาเซส 
เมมนอน
กำลัง
ทหารราบ 32,000 คน
ทหารม้า 5,100 คน
รวม: 37,100 คน
ทหารม้า 10,000–20,000 คน[1][2]
5,000–20,000 ฮอปไลต์กรีก[1][2]
รวม: 20,000–40,000 คน
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 300–400 คน[3]
บาดเจ็บ 1,150–4,200 คน[3]
ทหารราบเสียชีวิต 3,000 คน[4]
ทหารม้าเสียชีวิต 1,000 คน[4]
ถูกจับ 2,000 คน[4]

หลังการสวรรคตของพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา ได้เกิดความปั่นป่วนทั่วราชอาณาจักรมาเกโดนีอา พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์องค์ต่อมาได้ทำการปราบปรามกบฏต่าง ๆ ในปี 334 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยกทัพข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์ (ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในปัจจุบัน) เพื่อทำศึกกับจักรวรรดิอะคีเมนิด ในขณะเดียวกันทัพเปอร์เซียได้รวมพลที่เมืองซีเลีย เมมนอน ผู้บัญชาการชาวกรีกของฝ่ายเปอร์เซียเสนอให้ใช้วิธีสกอชท์เอิร์ธเพื่อตัดเสบียงทัพมาซิดอน แต่เซแทร็ปเปอร์เซียหลายคนปฏิเสธแล้วเลือกยกทัพไปที่แม่น้ำกราไนคัสเพื่อสกัดทัพมาซิดอนไม่ให้เข้าสู่อานาโตเลีย[5] ตามบันทึกของแอร์เรียน นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ทั้งสองฝ่ายประจัญหน้ากันในวันที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม อเล็กซานเดอร์จัดทัพให้ทหารราบหนักอยู่ตรงกลาง โดยพระองค์คุมกองทหารม้าฝั่งขวาและแม่ทัพพาร์มีเนียนคุมฝั่งซ้าย ด้านทัพเปอร์เซียจัดทัพให้ทหารม้าอยู่ด้านหน้า โดยมีทหารรับจ้างชาวกรีกอยู่ด้านหลัง[6]

การสู้รบเริ่มขึ้นเมื่ออเล็กซานเดอร์นำทหารม้าข้ามแม่น้ำ โดยทัพเปอร์เซียตอบโต้ด้วยธนูและหอกซัด การต่อสู้เปลี่ยนเป็นการรบระยะประชิดเมื่อทัพมาซิดอนขึ้นฝั่ง ไดโอโดรัส ซิคัวรัสบันทึกว่าอเล็กซานเดอร์ฆ่าโรซาเซส แม่ทัพเปอร์เซียหลังถูกโรซาเซสใช้ดาบฟันเข้าที่ศีรษะจนหมวกแตก[7] ฝ่ายเปอร์เซียตัดสินใจถอนทัพหลังทหารม้าและทหารราบมาซิดอนที่จัดเป็นรูปขบวนแฟแลงซ์บุกผ่านทหารม้าฝ่ายตนแล้วเข้าโจมตีทหารรับจ้างกรีกที่อยู่ด้านหลัง หลังฝ่ายเปอร์เซียถอนทัพ ทหารรับจ้างกรีกพยายามเจรจากับอเล็กซานเดอร์แต่ไม่สำเร็จ ทหารส่วนใหญ่ถูกฆ่าและส่งไปเป็นทาสในมาเกโดนีอา[8]

หลังยุทธการครั้งนี้ อเล็กซานเดอร์เดินทัพผ่านอานาโตเลียโดยมีการต่อต้านเพียงเล็กน้อย พระองค์ยึดไมเลตัสและแฮลิคาร์แนสซัส ก่อนจะปะทะกับทัพเปอร์เซียที่นำโดยพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ในยุทธการที่อิสซัสในปีต่อมา

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Welman estimates the Persian army to be 25,000 in total, including 10,000 cavalry and 5,000 Greeks. Fuller (1960) estimates 15,000 in total. Delbrück (1920) estimates as low as 6,000 in total.
  2. 2.0 2.1 Arrian. "Anabasis, book 1, chapter 14, section 4". en.m.wikisource.org. The Persian cavalry were about 20,000 in number, and their infantry, consisting of Grecian mercenaries, fell a little short of the same number. (translated by E. J. Chinnock)
  3. 3.0 3.1 Arrian in describing another battle considers that the proportion of twelve to one between wounded and killed is above what could have been expected (5.24.5). Riiatow and Kbchly (p. 27) state that in modern battles the ordinary proportion of wounded to killed is from 8:1 to 10:1. A total number of 115 is given as killed and 10 times of that for the wounded by Grote, George. A History of Greece From the Earliest Period to the Close of the Generation Contemporary with Alexander the Great.
  4. 4.0 4.1 4.2 Arrian 1.16.45 – 50
  5. Mixter, John R. "Wars of Alexander the Great: Battle of the Granicus". Historynet.com. สืบค้นเมื่อ 2013-07-19.
  6. "Battle of the Granicus". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ November 8, 2018.
  7. Diodorus XVII.20.6-7
  8. "Battle of Granicus". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ November 8, 2018.

40°13′41″N 27°14′32″E / 40.22806°N 27.24222°E / 40.22806; 27.24222