ยุทธการที่วอร์ซอ (ค.ศ. 1920)

ยุทธการที่วอร์ซอ (Polish: Bitwa Warszawska, Russian: Варшавская битва, transcription: Varshavskaya bitva, Ukrainian: Варшавська битва, transcription: Varshavsʹka bytva), ยังเป็นที่รู้จักกันคือ ปาฏิหาริย์ที่แม่น้ำวิสตูลา (Polish: Cud nad Wisłą), เป็นชุดการสู้รบที่ส่งผลทำให้โปแลนด์ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในปี ค.ศ. 1920 ในช่วงสงครามโปแลนด์–โซเวียต

ยุทธการที่วอร์ซอ
ส่วนหนึ่งของ สงครามโปแลนด์–โซเวียต

หมุนตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
ทหารราบชาวโปแลนด์ที่กำลังเคลื่อนที่; การรับประทานอาหารเย็นในขณะปฏิบัติหน้าที่; การยิงปืนใหญ่ขนาด 120มม. ในตำแหน่งของรัสเซีย; รังปืนกล; กองกำลังเสริมโปแลนด์ซึ่งกำลังเคลื่อนทัพไปยังแนวหน้า; การยึดธงรบโซเวียตที่ถูกละทิ้งโดยฝ่ายพ่ายแพ้.
วันที่12-25 สิงหาคม ค.ศ. 1920
สถานที่52°18′N 20°49′E / 52.300°N 20.817°E / 52.300; 20.817พิกัดภูมิศาสตร์: 52°18′N 20°49′E / 52.300°N 20.817°E / 52.300; 20.817
ผล โปแลนด์ชนะ
คู่สงคราม
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย


Supported by:
 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย
 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
Józef Piłsudski
T. Jordan-Rozwadowski
Władysław Sikorski
Józef Haller
Edward Rydz-Śmigły
Bolesław Roja
Franciszek Latinik
Leonard Skierski
Zygmunt Zieliński
Wacław Iwaszkiewicz
Symon Petliura
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เลออน ทรอตสกี
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Sergey Kamenev
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีคาอิล ตูคาเชฟสกี
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Hayk Bzhishkyan
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Nikolai Sollogub
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีคาอิล ตูคาเชฟสกี
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เซมิออน บูดิออนนืย
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย อเล็กซานเดอร์ เยโกรอฟ
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย August Kork
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Aleksandr Shuvayev
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Vladimir Lazarevich
กำลัง
113,000–135,000[1] 104,000–140,000[1]
ความสูญเสีย
4,500 dead
26,000 wounded
10,000 missing[1]
Total: 40,500
10,000–25,000 dead
30,000 wounded
65,000–85,000 captured
30,000–35,000 interned in East Prussia[1][2]
Total: 110,000–126,000

โปแลนด์ซึ่งใกล้จะปราชัยโดยสิ้นเชิง แต่กลับสามารถขับไล่และเอาชนะกองทัพแดงไปได้ สิ่งนี้ทำให้วลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำบอลเชวิคได้เรียกว่า "เป็นความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวง" สำหรับกองทัพของเขา

ภายหลังโปแลนด์เข้ารุกเคียฟ กองทัพโซเวียตได้เปิดฉากโจมตีตอบโต้กลับซึ่งประสบความสำเร็จในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1920 ได้บีบบังคับให้กองทัพโปแลนด์ต้องล่าถอยไปยังทางตะวันตกด้วยความระส่ำระสาย กองทัพโปแลนด์ซึ่งดูเหมือนว่าใกล้จะแตกสลายและผู้สังเกตการณ์ได้คาดการณ์ถึงชัยชนะอย่างเด็ดขาดของโซเวียต

ยุทธการที่วอร์ซอซึ่งเป็นการสู้รบตั้งแต่วันที่ 12-25 สิงหาคม ค.ศ. 1920 ในขณะที่กองทัพแดงซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาการโดยมีคาอิล ตูคาเชฟสกี ได้เคลื่อนทัพเข้าใกล้สู่กรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์และป้อมปราการมอลลินที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม กองทัพโปแลนด์ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาการโดยยูแซฟ ปิวซุดสกี ได้โจมตีตอบโต้กลับจากทางใต้ เข้าขัดขวางการรุกของข้าศึก ทำให้กองทัพรัสเซียต้องล่าถอยอย่างไม่เป็นระเบียบซึ่งไปทางตะวันออกและแนวหลังแม่น้ำเนมาน การสูญเสียโดยประมาณของรัสเซียนั้นมีผู้เสียชีวิต 10,000 นาย สูญหาย 500 นาย บาดเจ็บ 30,000 นาย และถูกจับเป็นเชลย 66,000 นาย เทียบเท่ากับการสูญเสียโดยประมาณของโปแลนด์ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 4,500 นาย สูญหาย 10,000 นาย และบาดเจ็บ 22,000 นาย

ความพ่ายแพ่อย่างย่อยยับของกองทัพแดง ทำให้วลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำของบอลเชวิคได้เรียกว่า "เป็นความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวง" สำหรับกองทัพของเขา ในเดือนต่อมา ชัยชนะที่ตามมาอีกหลายครั้งของฝ่ายโปแลนด์ทำให้ประเทศโปแลนด์ได้รับเอกราชและนำไปสู่การลงนามสนธิสัญญาสันติภาพกับโซเวียตรัสเซียและโซเวียตยูเครนในปีนั้นถัดมา ซึ่งเป็นการรับรองถึงชายแดนทางตะวันออกของรัฐโปแลนด์จนถึงปี ค.ศ. 1939

นักการเมืองและนักการทูตที่ชื่อว่า Edgar Vincent ได้ถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในการสู้รบที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสร์ในรายการเพิ่มเติมของการสู้รบที่เด็ดขาดที่สุด เนื่องจากชัยชนะของโปแลนด์เหนือโซเวียตได้หยุดยั้งการแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปทางตะวันตกสู่ยุโรป ชัยชนะของโซเวียตซึ่งจะนำไปสู่การจัดตั้งโปแลนด์ที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์โซเวียต ซึ่งจะเข้าสู่ชายแดนตะวันออกของเยอรมนีโดยตรงซึ่งที่แห่งนั้นเต็มไปด้วยนักปฏิวัติจำนวนมากในช่วงเวลานั้น

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Szczep
  2. Soviet casualties refer to all the operations during the battle, from the fighting on the approaches to Warsaw, through the counteroffensive, to the battles of Białystok and Osowiec, while the estimate of Red Army strength may be only for the units that were close to Warsaw, not counting the units held in reserve that took part in the later battles.

ดูเพิ่ม แก้