ยาระงับปวด[1] ยาบรรเทาปวด หรือ ยาแก้ปวด (อังกฤษ: analgesic หรือ painkiller) เป็นยาใด ๆ ในกลุ่มยาที่ใช้ระงับความเจ็บปวด มีผลหลายทางทั้งระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ประกอบด้วย

  1. พาราเซตามอล (acetaminophen)
  2. เอ็นเซด (nonsteroidal anti-inflammatory drug-NSAIDs) เช่น ซาลิไซเลต
  3. นาร์โคติก (narcotic drugs) เช่น มอร์ฟีน
  4. ยาสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติทำให้เสพติด เช่น ทรามาดอล (tramadol)

ยาที่ไม่จัดว่าเป็นยาระงับปวดแต่ใช้รักษาอาการเจ็บทางประสาทได้แก่

  1. ไตรไซคลิก แอนตี้ดีเพรสแซนต์ (tricyclic antidepressants)
  2. แอนตี้คอนวัลแซนต์ (anticonvulsant)

ขั้นตอนของการบรรเทาปวด แก้

ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อปี ค.ศ. 1990 แนะนำว่าให้ใช้ยาบรรทาปวดอย่างอ่อนก่อน จนกระทั่งใช้ไม่ได้ผลแล้วจึงค่อยใช้ยาที่แรงขึ้นเป็นขั้นบันไดดังนี้

  1. ขั้นตอนแรกให้ใช้ พาราเซตามอล (500 มิลลิกรัม ถึง 1 กรัม ทุก 4-6 ชม.)
  2. ขั้นตอนที่สองให้ใช้ยาในขั้นตอนแรกร่วมกับ เอ็นเซด (เช่น ไอบูโปรเฟน) หรือโอปิออยด์อย่างอ่อน (เช่น โคดีอีน)
  3. ขั้นตอนที่สามให้ใช้ โอปิออยด์อย่างแรง (เช่น มอร์ฟีน, ออกซิโคโดน หรือ เฟนทานิล)

กลไกการออกฤทธิ์ แก้

พาราเซตามอล และ เอ็นเซด แก้

กลไกการออกฤทธิ์ของ พาราเซตามอล ยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน แต่ของ แอสไพริน และ เอ็นเซด คือ มันจะไปยับยั้งการทำงานของไซโคลออกซิเจเนส (cyclooxygenase) ทำให้ร่างกายลดการผลิตโปรสตาแกลนดิน เป็นผลให้ลดความเจ็บปวดและการอักเสบ ซึ่งตรงข้ามกับ พาราเซตามอล และ โอปิออยด์

โอปิแอต และ มอร์ฟิโนมิเมติกส์ แก้

ทรามาดอล และ บูปรีนอร์ฟิน มีผลกระตุ้นบางส่วน ที่ โอปิออยด์ รีเซพเตอร์

อ้างอิง แก้

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน สาขาแพทยศาสตร์ ปรับปรุง ๖ ส.ค. ๒๕๔๔
  • Cancer pain relief and palliative care. Report of a WHO expert committee [World Health Organization Technical Report Series, 804] . Geneva, Switzerland: World Health Organization; 1990. pp. 1-75.